นักวิเคราะห์กองทุนรวม ประเมิน มาตรการคุมเข้มกฎระเบียบด้านเงินทุนของธนาคารจีน จะส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลกให้ในเเง่การปรับฐานของราคาหุ้น เเนะนักลงทุนพักเงินในกองทุนตราสารหนี้รอจังหวะก่อนลุยกองทุนหุ้น
นางสาวศุภมาศ พยัคพันธ์ Fund Super Mart Analyst บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่ากระแสข่าวการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯในสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้สินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวสูงขึ้น แต่เรามองว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์เสี่ยงมีโอกาสโดนขายทำกำไร และความเสี่ยงในการออกมาตรการของจีนที่จะส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลก ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่ายังคงทรงตัวในระดับเดิมจนถึงปลายปี2552นี้ โดยดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาและยุโรป รวมทั้งราคาน้ำมันและทองคำปรับขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด ในขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นในเอเชียส่วนใหญ่ยังปรับ ลดลงตามทิศทางตลาดหุ้นจีนที่กังวลด้านมาตรการคุมเข้มต่อเศรษฐกิจจีน โดยโอกาสการปรับฐานของราคาหุ้นทั่วโลกจากมาตรการคุมเข้มของรัฐบาลจีนครั้งนี้จะส่งผลต่อทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์
อย่างไรก็ตามหลังจากมีข่าวจากหน่วยกำกับดูแลด้านการธนาคารของจีนว่า อาจจะคุมเข้มกฎระเบียบด้านเงินทุนของธนาคารในจีน ซึ่งคาดว่าอาจจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน และจะส่งผลต่อการปรับฐานของราคาหุ้นจีนและหุ้นกลุ่มเอเชียหรือประเทศอื่นๆต่อไปอีก เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนส่งผลบวกต่อการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกและการเคลื่อนย้ายเงินทุนมาลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย ทั้งนี้นักวิเคราะห์มองว่ารัฐบาลจีนมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการคุมเข้มที่เข้มงวดมากเกินไปเพื่อให้การขยายตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงานอยู่ในระดับที่เหมาะสม
ทั้งนี้เรายังคงแนะนำกองทุนเปิดทหารไทยธนวัฒ และกองทุเปิดไอเอ็นจีไทยตราสารหนี้ อย่างไรก็ตามหากนักลงทุนรับความเสี่ยงในการลงทุนต่างประเทศได้เราขอแนะนำ กองทุนเปิดธนชาติ โกลบอล บอนด์ ฟันด์ ซึ่งเป็น Feeder Fund โดยจะลงทุนในกองทุนTempleton Global Bond Fund ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐทั่วโลก (ณ วันที 30 มิ.ย. 52) มีสัดส่วนการลงทุนใน เกาหลี, เม็กซิโก,สวีเดน และ อินโดนีเซีย รวมกันราว 43.66% ของสินทรัพย์ในพอร์ต และเป็นสินทรัพย์อื่นๆ อยู่ 28.19% อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยกองทุนอยู่ที่4.93%
ส่วนการออกพันธบัตรภาครัฐของรัฐบาลเกาหลีใต้ในช่วงตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาใช้ไปแล้วประมาณ 70% ของวงเงินการออกพันธบัตรภาครัฐของเกาหลีใต้ทั้งหมดรวมทั้งคาดว่าความต้องการสภาพคล่องของรัฐบาลเกาหลีใต้ผ่านการออกพันธบัตรน่าจะเริ่มลดลง ซึ่งทำให้จำนวนกองทุนที่ไปลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้เริ่มลดลง และมีเพียงกองทุนที่มีระยะเวลาการลงทุน 9 เดือนและ 1 ปี 11 เดือนเท่านั้น
ขณะที่อัตราผลตอบแทนกองทุนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาทรงตัว โดยระยะเวลาลงทุน 9 เดือน ผลตอบแทนอยู่ที่ 2.10%-2.30%ต่อปีในขณะที่ผลตอบแทนสำหรับระยะ 1 ปี 11 เดือน อยู่ที่ 3.25% ต่อปี ตามลำดับ เรามองว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ระยะเวลาสูงกว่า 1 ปี อาจจะมีความเสี่ยงจากแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเกาหลีใต้ในปี 2553 เนื่องจากแนวโน้มเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
สำหรับนักลงทุนในประเทศไทย หากมองว่าอัตราผลตอบแทนการลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้สำหรับระยะเวลา 2 ปี ที่ 3.25% ยังดูน่าสนใจเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศและเมื่อเทียบกับพันธบัตรออมทรัพย์ 5 หมื่นล้านบาทซึ่งจะขายในช่วง 3-7 กันยายน 2552โดยชุดที่1 มีอายุ 4 ปี และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.5% ต่อปี และอายุ 7 ปี ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดในปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.0% ปีที่ 3-4 อยู่ที่ 4.0% ปีที่ 5-6 อยู่ที่ 5.0% และปีที่ 7 อยู่ที่ 6.0%
นอกจากนี้เริ่มมีบาง บลจ. ออกกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐบาลของกลุ่มประเทศตะวันออกกลางที่มีอันดับเครดิตที่สูงกว่าประเทศไทย โดยกองทุนเหล่านี้มีการป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินทั้งหมดเช่นกันซึ่งคาดว่าเพื่อที่จะทดแทนการฝากเงินและขายในช่วงอัตราดอกเบี้ยใน ประเทศที่ยังอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามปริมาณพันธบัตรที่ออกมายังมีปริมาณไม่มากนัก
นางสาวศุภมาศ พยัคพันธ์ Fund Super Mart Analyst บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่ากระแสข่าวการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯในสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้สินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวสูงขึ้น แต่เรามองว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์เสี่ยงมีโอกาสโดนขายทำกำไร และความเสี่ยงในการออกมาตรการของจีนที่จะส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลก ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่ายังคงทรงตัวในระดับเดิมจนถึงปลายปี2552นี้ โดยดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาและยุโรป รวมทั้งราคาน้ำมันและทองคำปรับขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด ในขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นในเอเชียส่วนใหญ่ยังปรับ ลดลงตามทิศทางตลาดหุ้นจีนที่กังวลด้านมาตรการคุมเข้มต่อเศรษฐกิจจีน โดยโอกาสการปรับฐานของราคาหุ้นทั่วโลกจากมาตรการคุมเข้มของรัฐบาลจีนครั้งนี้จะส่งผลต่อทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์
อย่างไรก็ตามหลังจากมีข่าวจากหน่วยกำกับดูแลด้านการธนาคารของจีนว่า อาจจะคุมเข้มกฎระเบียบด้านเงินทุนของธนาคารในจีน ซึ่งคาดว่าอาจจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน และจะส่งผลต่อการปรับฐานของราคาหุ้นจีนและหุ้นกลุ่มเอเชียหรือประเทศอื่นๆต่อไปอีก เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนส่งผลบวกต่อการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกและการเคลื่อนย้ายเงินทุนมาลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย ทั้งนี้นักวิเคราะห์มองว่ารัฐบาลจีนมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการคุมเข้มที่เข้มงวดมากเกินไปเพื่อให้การขยายตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงานอยู่ในระดับที่เหมาะสม
ทั้งนี้เรายังคงแนะนำกองทุนเปิดทหารไทยธนวัฒ และกองทุเปิดไอเอ็นจีไทยตราสารหนี้ อย่างไรก็ตามหากนักลงทุนรับความเสี่ยงในการลงทุนต่างประเทศได้เราขอแนะนำ กองทุนเปิดธนชาติ โกลบอล บอนด์ ฟันด์ ซึ่งเป็น Feeder Fund โดยจะลงทุนในกองทุนTempleton Global Bond Fund ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐทั่วโลก (ณ วันที 30 มิ.ย. 52) มีสัดส่วนการลงทุนใน เกาหลี, เม็กซิโก,สวีเดน และ อินโดนีเซีย รวมกันราว 43.66% ของสินทรัพย์ในพอร์ต และเป็นสินทรัพย์อื่นๆ อยู่ 28.19% อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยกองทุนอยู่ที่4.93%
ส่วนการออกพันธบัตรภาครัฐของรัฐบาลเกาหลีใต้ในช่วงตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาใช้ไปแล้วประมาณ 70% ของวงเงินการออกพันธบัตรภาครัฐของเกาหลีใต้ทั้งหมดรวมทั้งคาดว่าความต้องการสภาพคล่องของรัฐบาลเกาหลีใต้ผ่านการออกพันธบัตรน่าจะเริ่มลดลง ซึ่งทำให้จำนวนกองทุนที่ไปลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้เริ่มลดลง และมีเพียงกองทุนที่มีระยะเวลาการลงทุน 9 เดือนและ 1 ปี 11 เดือนเท่านั้น
ขณะที่อัตราผลตอบแทนกองทุนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาทรงตัว โดยระยะเวลาลงทุน 9 เดือน ผลตอบแทนอยู่ที่ 2.10%-2.30%ต่อปีในขณะที่ผลตอบแทนสำหรับระยะ 1 ปี 11 เดือน อยู่ที่ 3.25% ต่อปี ตามลำดับ เรามองว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ระยะเวลาสูงกว่า 1 ปี อาจจะมีความเสี่ยงจากแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเกาหลีใต้ในปี 2553 เนื่องจากแนวโน้มเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
สำหรับนักลงทุนในประเทศไทย หากมองว่าอัตราผลตอบแทนการลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้สำหรับระยะเวลา 2 ปี ที่ 3.25% ยังดูน่าสนใจเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศและเมื่อเทียบกับพันธบัตรออมทรัพย์ 5 หมื่นล้านบาทซึ่งจะขายในช่วง 3-7 กันยายน 2552โดยชุดที่1 มีอายุ 4 ปี และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.5% ต่อปี และอายุ 7 ปี ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดในปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3.0% ปีที่ 3-4 อยู่ที่ 4.0% ปีที่ 5-6 อยู่ที่ 5.0% และปีที่ 7 อยู่ที่ 6.0%
นอกจากนี้เริ่มมีบาง บลจ. ออกกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐบาลของกลุ่มประเทศตะวันออกกลางที่มีอันดับเครดิตที่สูงกว่าประเทศไทย โดยกองทุนเหล่านี้มีการป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินทั้งหมดเช่นกันซึ่งคาดว่าเพื่อที่จะทดแทนการฝากเงินและขายในช่วงอัตราดอกเบี้ยใน ประเทศที่ยังอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามปริมาณพันธบัตรที่ออกมายังมีปริมาณไม่มากนัก