กองทุนสำรองเลี้ยงชีพครึ่งปีแรก โตสวนเศรษฐกิจซบเซา นายจ้างเพิ่ม เงินลงทุนไหลเข้ากว่า 2.6 หมื่นล้านบาท จับตาครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจตัวแปรสำคัญ ด้าน บลจ.ไทยพาณิชย์ เบียดขึ้นแท่นแชมป์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Povident Fund) ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาว่า ถึงแม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะชะลอตัว จนส่งผลให้หลายๆ ประสบกับปัญหาสภาพคล่อง นายจ้างหลายแห่งต้องขอลดจำนวนเงินที่ส่งเข้ากองทุน บางบริษัทต้องปิดกิจการไป และเป็นที่มาของการยื่นขอหยุดส่งเงินเข้ากองทุนชั่วคราวของนายจ้าง เพื่อลดต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยตัวเลขเงินลงทุนล่าสุดกลับพบว่า ทั้งจำนวนเงินลงทุนและจำนวนนายจ้างล่าสุด ไม่ได้ลดลงจากปีก่อนหน้านี้ แต่กลับเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงทีเดียว
โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา เงินลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งระบบอยู่ที่ 491,515.32 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 26,218.88 ล้านบาท จากเงินลงทุนสิ้นปีที่แล้ว 465,296.44 ล้านบาท ซึ่งสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ทำให้รอบ 6 เดือนแรกของปี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพการขยายตัวแล้ว 5.6% ทั้งนี้ นอกเหนือจากการส่งเงินที่เพิ่มขึ้นตามตามจำนวนนายจ้างที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งยังได้อานิสงส์จากการที่ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากต้นปีด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับบรรยากาศการในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา พบว่ายังอยู่ในระดับที่สูงพอสมควร เห็นได้จากช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา มีการโยกย้ายและสับเปลี่ยนผู้จัดการกองทุนอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ยังได้เงินลงทุนส่วนหนึ่งจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เข้ามาด้วย โดนคาดหมายว่าในช่วงที่เหลือของปี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่คงขยายตัวในอัตราที่ไม่สูงมากนัก โดยมีปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวเป็นปัจจัยสำคัญ
ทั้งนี้ หลังจากผ่านครึ่งปีแรกไปแล้ว พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำตลาด โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด สามารถเบียดแซงขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ด้วยเงินลงทุนรวม 72,714.74 ล้านบาท อันดับ 2 บลจ.กสิกรไทย 68,330.55 ล้านบาท อันดับ 3 บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 63,569.93 ล้านบาท อันดับ 4 บลจ.ทิสโก้ 62,389.25 ล้านบาทและอันดับ 5 บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ด้วยเงินลงทุนภายใต้การบริหารรวม 61,418.48 ล้านบาท
อันดับ 6 บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย)ด้วยเงินลงทุนรวม 45,554.86 ล้านบาท อันดับ 7 ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 39,208.86 ล้านบาท อันดับ 8 บริษัท อเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด (AIA) ด้วยสินทรัพย์รวม 15,470.19 ล้านบาท อันดับ 9 บลจ. ฟินันซ่า 12,384.24 ล้านบาทและอันดับ 10 บลจ.อยุธยา ด้วยเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 10,902.31 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Povident Fund) ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาว่า ถึงแม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะชะลอตัว จนส่งผลให้หลายๆ ประสบกับปัญหาสภาพคล่อง นายจ้างหลายแห่งต้องขอลดจำนวนเงินที่ส่งเข้ากองทุน บางบริษัทต้องปิดกิจการไป และเป็นที่มาของการยื่นขอหยุดส่งเงินเข้ากองทุนชั่วคราวของนายจ้าง เพื่อลดต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยตัวเลขเงินลงทุนล่าสุดกลับพบว่า ทั้งจำนวนเงินลงทุนและจำนวนนายจ้างล่าสุด ไม่ได้ลดลงจากปีก่อนหน้านี้ แต่กลับเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงทีเดียว
โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา เงินลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งระบบอยู่ที่ 491,515.32 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 26,218.88 ล้านบาท จากเงินลงทุนสิ้นปีที่แล้ว 465,296.44 ล้านบาท ซึ่งสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ทำให้รอบ 6 เดือนแรกของปี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพการขยายตัวแล้ว 5.6% ทั้งนี้ นอกเหนือจากการส่งเงินที่เพิ่มขึ้นตามตามจำนวนนายจ้างที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งยังได้อานิสงส์จากการที่ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากต้นปีด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับบรรยากาศการในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา พบว่ายังอยู่ในระดับที่สูงพอสมควร เห็นได้จากช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา มีการโยกย้ายและสับเปลี่ยนผู้จัดการกองทุนอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ยังได้เงินลงทุนส่วนหนึ่งจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เข้ามาด้วย โดนคาดหมายว่าในช่วงที่เหลือของปี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่คงขยายตัวในอัตราที่ไม่สูงมากนัก โดยมีปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวเป็นปัจจัยสำคัญ
ทั้งนี้ หลังจากผ่านครึ่งปีแรกไปแล้ว พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำตลาด โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด สามารถเบียดแซงขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ด้วยเงินลงทุนรวม 72,714.74 ล้านบาท อันดับ 2 บลจ.กสิกรไทย 68,330.55 ล้านบาท อันดับ 3 บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 63,569.93 ล้านบาท อันดับ 4 บลจ.ทิสโก้ 62,389.25 ล้านบาทและอันดับ 5 บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ด้วยเงินลงทุนภายใต้การบริหารรวม 61,418.48 ล้านบาท
อันดับ 6 บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย)ด้วยเงินลงทุนรวม 45,554.86 ล้านบาท อันดับ 7 ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 39,208.86 ล้านบาท อันดับ 8 บริษัท อเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด (AIA) ด้วยสินทรัพย์รวม 15,470.19 ล้านบาท อันดับ 9 บลจ. ฟินันซ่า 12,384.24 ล้านบาทและอันดับ 10 บลจ.อยุธยา ด้วยเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 10,902.31 ล้านบาท