คอลัมน์ออมอุ่นใจกับกองทุนประกันสังคม
วิน พรหมแพทย์ สำนักบริหารการลงทุน สำนักงานประกันสังคม
หุ้นนอกตลาด คืออะไร
หุ้นนอกตลาด (Private Equity) หมายถึง การลงทุนในหุ้นของบริษัทเอกชนที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนใหญ่จะเป็นกิจการขนาดเล็กที่อยู่ในช่วงเริ่มต้น หรือเป็นธุรกิจที่ค้นพบเทคโนโลยีใหม่แต่ยังอยู่ในช่วงการออกแบบผลิตภัณฑ์และสำรวจตลาด บริษัทเกิดใหม่เหล่านี้ต้องการเงินลงทุนแต่ยังไม่มีรายได้ ฐานะการเงินยังไม่มั่นคง ทำให้ไม่สามารถขอกู้เงินจากธนาคารหรือออกหุ้นกู้ขายประชาชนได้ จึงต้องอาศัยเงินลงทุนในรูปแบบ Private Equity เพื่อก่อร่างสร้างตัว
นอกจากนี้ Private Equity ยังรวมถึงการลงทุนใน “หุ้นนอกตลาด” ของบริษัทที่มีกิจการมั่นคงแล้ว หรือเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยบริษัทเหล่านี้ต้องการแหล่งเงินทุนจาก Private Equity เพื่อขยายกิจการ ควบรวมกิจการ หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น
เนื่องจาก Private Equity เป็นการลงทุนในหุ้นที่ไม่มีตลาดรองซื้อขาย วิธีการลงทุนจึงใช้รูปแบบ “ห้างหุ้นส่วน (Partnerships)” โดยผู้ลงทุนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. Limited Partners เป็นนักลงทุนที่ใส่เงินลงทุนจำนวนมากเพื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน Partnership มีบทบาทในการกำกับดูแลการลงทุนของ Partnership และมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเมื่อ Partnership มีกำไร จากการสำรวจข้อมูลพบว่า เนื่องจากการลงทุนในหุ้นนอกตลาดเป็นการลงทุนระยะยาว นักลงทุนส่วนใหญ่จึงเป็นนักลงทุนสถาบันที่เน้นลงทุนระยะยาว อาทิ กองทุนบำนาญ มูลนิธิและองค์กรการกุศล บริษัทประกันชีวิต และนักลงทุนบุคคลรายใหญ่ เป็นต้น
2. General Partners เป็นนักบริหารมืออาชีพที่ใส่เงินลงทุนน้อยแต่มีบทบาทในการบริหารกิจการของ Partnership โดยเป็นผู้กลั่นกรองและคัดเลือกบริษัทที่ Partnership จะเข้าไปลงทุน เมื่อได้บริษัทที่จะลงทุนแล้ว General Partners มีหน้าที่ควบคุมและให้คำแนะนำการบริหารงาน โดย General Partners มีสิทธิได้รับมีสิทธิค่าธรรมเนียมการจัดการ (ประมาณ 1 – 3%) และได้รับส่วนแบ่งกำไร (Profit Sharing) ประมาณ 20-30% ของผลกำไรจากการลงทุน
ทางเลือกการลงทุนในหุ้นนอกตลาด
เนื่องจากบริษัทที่มีให้เลือกลงทุนมีความหลากหลายมาก จึงมีการจัดกลุ่มดังนี้
1. บริษัทเกิดใหม่ (New Ventures) เป็นธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น ยังไม่มีรายได้หรือมีรายได้เพียงเล็กน้อย ธุรกิจใหม่พวกนี้หากประสบความสำเร็จจะมีโอกาสโตเร็วและมีกำไรมาก มูลค่าหุ้นที่ลงทุนก็จะสูงขึ้นมาก แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงสูงที่บริษัทเกิดใหม่จะไปไม่รอด โดยทั่วไปโอกาสที่บริษัทเกิดใหม่จะประสบความสำเร็จมีเพียง 10 – 20% หรือเทียบได้ว่า ในจำนวน 10 บริษัทที่ตั้งใหม่ อาจมีประสบความสำเร็จเพียงรายเดียว ด้วยความเสี่ยงสูงบริษัทเหล่านี้จึงเข้าไม่ถึงเงินกู้จากธนาคาร ทำให้ต้องระดมทุนจาก Private Equity ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่าเงินกู้ธนาคารมาก
2. บริษัทขนาดกลาง (Middle-market Private Firms) เป็นบริษัทที่เริ่มมีฐานะทางการเงินมั่นคงแล้ว มีรายได้สม่ำเสมอ สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ แต่ยังไม่นำหุ้นไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และยังไม่เป็นที่รู้จักมากพอที่จะออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนจากประชาชน บริษัทขนาดกลางเหล่านี้จึงต้องพึ่งพิง Private Equity เพื่อเป็นแหล่งเงินทุน (นอกเหนือจากเงินกู้ธนาคาร) เพื่อใช้ในการขยายกิจการ สร้างโรงงานใหม่ ซื้อเครื่องจักร หรือเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้น ในกรณีที่เจ้าของบริษัทต้องการขายกิจการ แต่เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงต้องระดมทุนจาก Private Equity เพื่อเข้ามาซื้อกิจการ
3. บริษัทจดทะเบียน (Public Companies) เป็นบริษัทที่อาจจะเคยมีฐานะมั่นคงแต่กำลังประสบปัญหา ทำให้เป็นเป้าหมายถูกเทคโอเวอร์กิจการ หรือมีปัญหาทางการเงินจนต้องได้รับความช่วยเหลือ (Financial Distress) การเข้าไปลงทุนในบริษัทเหล่านี้ในรูปของเพิ่มทุนขายประชาชนหรือออกหุ้นกู้ทำได้ยาก จึงต้องพึ่งพิงการระดมทุนจาก Private Equity เพื่อเข้ามากอบกู้กิจการ
ขั้นตอนการลงทุน
โดยทั่วไปการลงทุนในหุ้นนอกตลาดใช้เวลาประมาณ 10 ปี แบ่งเป็น 3 ช่วง ดังนี้
ปีที่ 1 – ปีที่ 3 เป็นช่วงระดมทุนจากนักลงทุนเพื่อจัดตั้ง Partnerships เมื่อระดมทุนได้แล้ว General Partners ก็จะเริ่มคัดเลือกบริษัทที่จะเข้าไปลงทุน ว่ากันว่าความสำเร็จของการลงทุนในหุ้นนอกตลาดมาจากการคัดเลือกนี่เอง จากข้อมูลทางสถิติพบว่า มีข้อเสนอการลงทุนไม่ถึง 10% เท่านั้นที่จะผ่านการคัดเลือกในรอบแรก เมื่อผ่านมาได้ ในรอบสองจะเป็นการศึกษาข้อมูลโดยละเอียด หรือที่เรียกกันว่า Due Diligence ซึ่งจะทำให้เหลือบริษัทที่จะลงทุนเพียง 1 – 2% เมื่อคัดเลือกได้แล้ว จะเป็นการเจรจาเพื่อกำหนดวงเงินและรูปแบบการลงทุน ในช่วงนี้ผู้ลงทุนอาจจะไม่สามารถถอนเงินลงทุนออกได้ (Lock up period) และหากมีตัวเลือกที่น่าลงทุนเพิ่มอาจจะต้องใส่เงินลงทุนไปใน Partnership อีก 2 – 3 รอบ
ปีที่ 4 – ปีที่ 5 เป็นช่วงของการขับเคลื่อนให้บริษัทที่เข้าไปลงทุนก่อร่างสร้างตัวและดำเนินธุรกิจไปตามแผนที่วางไว้ โดย General Partners จะเข้าไปติดตามและให้คำแนะนำกับผู้บริหารอย่างใกล้ชิด ประเมินผล และรายงานผลให้ผู้ลงทุนทราบอย่างต่อเนื่อง
ปีที่ 6 เป็นต้นไป เป็นช่วงของการเก็บเกี่ยว (Harvesting) ดอกผลจากการลงทุน โดยบริษัทที่ลงทุนเริ่มมีกำไรและจ่ายปันผลคืนให้ผู้ถือหุ้น และอาจหาทางขายหุ้น หรือนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อคืนเงินให้กับผู้ลงทุน
(อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้)
วิน พรหมแพทย์ สำนักบริหารการลงทุน สำนักงานประกันสังคม
หุ้นนอกตลาด คืออะไร
หุ้นนอกตลาด (Private Equity) หมายถึง การลงทุนในหุ้นของบริษัทเอกชนที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนใหญ่จะเป็นกิจการขนาดเล็กที่อยู่ในช่วงเริ่มต้น หรือเป็นธุรกิจที่ค้นพบเทคโนโลยีใหม่แต่ยังอยู่ในช่วงการออกแบบผลิตภัณฑ์และสำรวจตลาด บริษัทเกิดใหม่เหล่านี้ต้องการเงินลงทุนแต่ยังไม่มีรายได้ ฐานะการเงินยังไม่มั่นคง ทำให้ไม่สามารถขอกู้เงินจากธนาคารหรือออกหุ้นกู้ขายประชาชนได้ จึงต้องอาศัยเงินลงทุนในรูปแบบ Private Equity เพื่อก่อร่างสร้างตัว
นอกจากนี้ Private Equity ยังรวมถึงการลงทุนใน “หุ้นนอกตลาด” ของบริษัทที่มีกิจการมั่นคงแล้ว หรือเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยบริษัทเหล่านี้ต้องการแหล่งเงินทุนจาก Private Equity เพื่อขยายกิจการ ควบรวมกิจการ หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น
เนื่องจาก Private Equity เป็นการลงทุนในหุ้นที่ไม่มีตลาดรองซื้อขาย วิธีการลงทุนจึงใช้รูปแบบ “ห้างหุ้นส่วน (Partnerships)” โดยผู้ลงทุนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. Limited Partners เป็นนักลงทุนที่ใส่เงินลงทุนจำนวนมากเพื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน Partnership มีบทบาทในการกำกับดูแลการลงทุนของ Partnership และมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเมื่อ Partnership มีกำไร จากการสำรวจข้อมูลพบว่า เนื่องจากการลงทุนในหุ้นนอกตลาดเป็นการลงทุนระยะยาว นักลงทุนส่วนใหญ่จึงเป็นนักลงทุนสถาบันที่เน้นลงทุนระยะยาว อาทิ กองทุนบำนาญ มูลนิธิและองค์กรการกุศล บริษัทประกันชีวิต และนักลงทุนบุคคลรายใหญ่ เป็นต้น
2. General Partners เป็นนักบริหารมืออาชีพที่ใส่เงินลงทุนน้อยแต่มีบทบาทในการบริหารกิจการของ Partnership โดยเป็นผู้กลั่นกรองและคัดเลือกบริษัทที่ Partnership จะเข้าไปลงทุน เมื่อได้บริษัทที่จะลงทุนแล้ว General Partners มีหน้าที่ควบคุมและให้คำแนะนำการบริหารงาน โดย General Partners มีสิทธิได้รับมีสิทธิค่าธรรมเนียมการจัดการ (ประมาณ 1 – 3%) และได้รับส่วนแบ่งกำไร (Profit Sharing) ประมาณ 20-30% ของผลกำไรจากการลงทุน
ทางเลือกการลงทุนในหุ้นนอกตลาด
เนื่องจากบริษัทที่มีให้เลือกลงทุนมีความหลากหลายมาก จึงมีการจัดกลุ่มดังนี้
1. บริษัทเกิดใหม่ (New Ventures) เป็นธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น ยังไม่มีรายได้หรือมีรายได้เพียงเล็กน้อย ธุรกิจใหม่พวกนี้หากประสบความสำเร็จจะมีโอกาสโตเร็วและมีกำไรมาก มูลค่าหุ้นที่ลงทุนก็จะสูงขึ้นมาก แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงสูงที่บริษัทเกิดใหม่จะไปไม่รอด โดยทั่วไปโอกาสที่บริษัทเกิดใหม่จะประสบความสำเร็จมีเพียง 10 – 20% หรือเทียบได้ว่า ในจำนวน 10 บริษัทที่ตั้งใหม่ อาจมีประสบความสำเร็จเพียงรายเดียว ด้วยความเสี่ยงสูงบริษัทเหล่านี้จึงเข้าไม่ถึงเงินกู้จากธนาคาร ทำให้ต้องระดมทุนจาก Private Equity ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่าเงินกู้ธนาคารมาก
2. บริษัทขนาดกลาง (Middle-market Private Firms) เป็นบริษัทที่เริ่มมีฐานะทางการเงินมั่นคงแล้ว มีรายได้สม่ำเสมอ สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ แต่ยังไม่นำหุ้นไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และยังไม่เป็นที่รู้จักมากพอที่จะออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนจากประชาชน บริษัทขนาดกลางเหล่านี้จึงต้องพึ่งพิง Private Equity เพื่อเป็นแหล่งเงินทุน (นอกเหนือจากเงินกู้ธนาคาร) เพื่อใช้ในการขยายกิจการ สร้างโรงงานใหม่ ซื้อเครื่องจักร หรือเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้น ในกรณีที่เจ้าของบริษัทต้องการขายกิจการ แต่เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงต้องระดมทุนจาก Private Equity เพื่อเข้ามาซื้อกิจการ
3. บริษัทจดทะเบียน (Public Companies) เป็นบริษัทที่อาจจะเคยมีฐานะมั่นคงแต่กำลังประสบปัญหา ทำให้เป็นเป้าหมายถูกเทคโอเวอร์กิจการ หรือมีปัญหาทางการเงินจนต้องได้รับความช่วยเหลือ (Financial Distress) การเข้าไปลงทุนในบริษัทเหล่านี้ในรูปของเพิ่มทุนขายประชาชนหรือออกหุ้นกู้ทำได้ยาก จึงต้องพึ่งพิงการระดมทุนจาก Private Equity เพื่อเข้ามากอบกู้กิจการ
ขั้นตอนการลงทุน
โดยทั่วไปการลงทุนในหุ้นนอกตลาดใช้เวลาประมาณ 10 ปี แบ่งเป็น 3 ช่วง ดังนี้
ปีที่ 1 – ปีที่ 3 เป็นช่วงระดมทุนจากนักลงทุนเพื่อจัดตั้ง Partnerships เมื่อระดมทุนได้แล้ว General Partners ก็จะเริ่มคัดเลือกบริษัทที่จะเข้าไปลงทุน ว่ากันว่าความสำเร็จของการลงทุนในหุ้นนอกตลาดมาจากการคัดเลือกนี่เอง จากข้อมูลทางสถิติพบว่า มีข้อเสนอการลงทุนไม่ถึง 10% เท่านั้นที่จะผ่านการคัดเลือกในรอบแรก เมื่อผ่านมาได้ ในรอบสองจะเป็นการศึกษาข้อมูลโดยละเอียด หรือที่เรียกกันว่า Due Diligence ซึ่งจะทำให้เหลือบริษัทที่จะลงทุนเพียง 1 – 2% เมื่อคัดเลือกได้แล้ว จะเป็นการเจรจาเพื่อกำหนดวงเงินและรูปแบบการลงทุน ในช่วงนี้ผู้ลงทุนอาจจะไม่สามารถถอนเงินลงทุนออกได้ (Lock up period) และหากมีตัวเลือกที่น่าลงทุนเพิ่มอาจจะต้องใส่เงินลงทุนไปใน Partnership อีก 2 – 3 รอบ
ปีที่ 4 – ปีที่ 5 เป็นช่วงของการขับเคลื่อนให้บริษัทที่เข้าไปลงทุนก่อร่างสร้างตัวและดำเนินธุรกิจไปตามแผนที่วางไว้ โดย General Partners จะเข้าไปติดตามและให้คำแนะนำกับผู้บริหารอย่างใกล้ชิด ประเมินผล และรายงานผลให้ผู้ลงทุนทราบอย่างต่อเนื่อง
ปีที่ 6 เป็นต้นไป เป็นช่วงของการเก็บเกี่ยว (Harvesting) ดอกผลจากการลงทุน โดยบริษัทที่ลงทุนเริ่มมีกำไรและจ่ายปันผลคืนให้ผู้ถือหุ้น และอาจหาทางขายหุ้น หรือนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อคืนเงินให้กับผู้ลงทุน
(อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้)