คอลัมน์ – เงินทองต้องวางแผน-
โดยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
คนเราต่างมีหน้าที่ต้องจัดการอยู่เรื่อย ไม่เรื่องนั้นก็เรื่องโน้น ไม่เว้นแต่เรื่องเงินทองของเราเอง เคยมีคนถามว่าจะจัดการเรื่องเงินทองของเราเองอย่างไรกัน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ เมื่อมีเงินก็ต้องจัดการแบ่งเงินให้เหมาะสม ให้พอเหมาะกับการใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีวิตในวันนี้ และในวันหน้า เช่นเราต้องจัดการเงินแต่ละเดือนที่ได้มาโดยแบ่งเป็นส่วน ๆ เช่นใช้หนี้ส่วนหนึ่ง ใช้จ่ายส่วนหนึ่ง เก็บออมส่วนหนึ่ง และลงทุนส่วนหนึ่ง เป็นต้น และการที่เราต้องแบ่งเงินเพื่อการออมและการลงทุนก็เพราะต้องการได้ผลตอบแทนทำให้เงินของเราเพิ่มมูลค่ามากขึ้นเพื่ออนาคตอัน มั่นคงของเรานั่นเอง
การได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่น่าพอใจ จึงเป็นคำตอบที่นักลงทุนทุกคนปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นการฝากเงินในธนาคาร การลงทุนในกองทุนรวม การลงทุนในหุ้น เป็นต้น แต่ไม่เสมอไปที่นักลงทุนจะประสบความสำเร็จอยู่ตลอดเวลา สาเหตุมักจะขึ้นกับวิธีการจัดสัดส่วนการ ลงทุนของนักลงทุนแต่ละคนด้วย ดังนั้น เมื่อเรามีเงินก้อนหนึ่ง เราต้องหาที่ๆ เหมาะสมกับเงินของเราให้เงินของเรานั้นไปทำงานให้งอกเงย เราจึงควรมารู้กันว่าหลักเกณฑ์ที่นักลงทุนควรจะนำมาใช้ในการจัดสัดส่วนการลงทุนได้แก่อะไรกันบ้าง
ประการแรกได้แก่ การกระจายความเสี่ยงอย่างมีเหตุผล นักลงทุนไม่ควรนำเงินทุน ทั้งหมดที่มี เช่นอุตสาห์เก็บเงินมานานและวันนี้มีเงินออมอยู่ 5 แสนบาทแล้ว วันนี้ตัดสินใจนำเงิน 5 แสนบาทไปลงทุนในแบบใดแบบหนึ่ง แต่ควรเลือกที่จะลงทุนในหลากหลายรูปแบบหลักทรัพย์อื่น ๆ ที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและให้มีความหลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ในกรณีที่หากการลงทุนในแบบใดแบบหนึ่งประสบปัญหา เช่น เราแบ่งส่วนหนึ่งไปฝากธนาคาร ส่วนที่สองไปซื้อพันธบัตร ที่เหลืออาจจะไปลงทุนในหุ้น เพื่อหากเมื่อวันนี้ตลาดพันธบัตรได้ผลตอบแทนลดลง ก็ยังได้ผลตอบแทนจากเงินฝาก หรือ หุ้นด้วย
ประการที่สอง ไม่ควรกระจายการลงทุนให้กระจัดกระจายเกินไป เพราะจะทำให้ยากต่อการติดตามดูแล รวมทั้งต้นทุนการลงทุนอาจสูงเกินความจำเป็น ตัวเราเองก็จะงงไปด้วยถ้าเราไม่ได้ชำนาญในการลงทุนหรือมีหน้าที่โดยตรงที่จะติดตามข้อมูลความเคลื่อนไหว ดังนั้นนำเงินไปลงทุนในสิ่งที่เรามีความรู้ความชำนาญที่ไม่กระจัดกระจายจะช่วยให้เราดูแลเงินเราให้เกิดผลงอกเงยได้เป็นอย่างดี
ประการที่สาม ควรมีสัดส่วนการลงทุนที่ เหมาะสม ทั้งที่มีความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนแน่นอนสม่ำเสมอ กับ ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น ทั้งนี้แล้วแต่ระดับการยอมรับความเสี่ยงของแต่ละคนที่จะยอมรับได้ รวมไปถึงช่วงอายุของผู้ลงทุนแต่ละคนด้วย ซึ่งผลตอบแทนที่ได้อาจไม่แน่นอน เพราะสามารถทำกำไร หรือ ขาดทุนจากการลงทุนได้ตลอดเวลา
ประการสุดท้าย การจัดสัดส่วนการลงทุนควรมีลักษณะยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ตามภาวะเศรษฐกิจ สถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นๆ ได้ หากสามารถลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาได้ ก็จะช่วยให้การลงทุนของท่าน เป็นการลงทุนที่มีประสิทธิภาพได้ไม่ยาก
อย่าลืมที่จะนำหลักเกณฑ์เหล่านี้ไปใช้ เรื่องเงินทองเป็นเรื่องที่ต้องจัดการเช่นเดียวกับเรื่องอื่น ๆ เช่นกัน
โดยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
คนเราต่างมีหน้าที่ต้องจัดการอยู่เรื่อย ไม่เรื่องนั้นก็เรื่องโน้น ไม่เว้นแต่เรื่องเงินทองของเราเอง เคยมีคนถามว่าจะจัดการเรื่องเงินทองของเราเองอย่างไรกัน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ เมื่อมีเงินก็ต้องจัดการแบ่งเงินให้เหมาะสม ให้พอเหมาะกับการใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีวิตในวันนี้ และในวันหน้า เช่นเราต้องจัดการเงินแต่ละเดือนที่ได้มาโดยแบ่งเป็นส่วน ๆ เช่นใช้หนี้ส่วนหนึ่ง ใช้จ่ายส่วนหนึ่ง เก็บออมส่วนหนึ่ง และลงทุนส่วนหนึ่ง เป็นต้น และการที่เราต้องแบ่งเงินเพื่อการออมและการลงทุนก็เพราะต้องการได้ผลตอบแทนทำให้เงินของเราเพิ่มมูลค่ามากขึ้นเพื่ออนาคตอัน มั่นคงของเรานั่นเอง
การได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่น่าพอใจ จึงเป็นคำตอบที่นักลงทุนทุกคนปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นการฝากเงินในธนาคาร การลงทุนในกองทุนรวม การลงทุนในหุ้น เป็นต้น แต่ไม่เสมอไปที่นักลงทุนจะประสบความสำเร็จอยู่ตลอดเวลา สาเหตุมักจะขึ้นกับวิธีการจัดสัดส่วนการ ลงทุนของนักลงทุนแต่ละคนด้วย ดังนั้น เมื่อเรามีเงินก้อนหนึ่ง เราต้องหาที่ๆ เหมาะสมกับเงินของเราให้เงินของเรานั้นไปทำงานให้งอกเงย เราจึงควรมารู้กันว่าหลักเกณฑ์ที่นักลงทุนควรจะนำมาใช้ในการจัดสัดส่วนการลงทุนได้แก่อะไรกันบ้าง
ประการแรกได้แก่ การกระจายความเสี่ยงอย่างมีเหตุผล นักลงทุนไม่ควรนำเงินทุน ทั้งหมดที่มี เช่นอุตสาห์เก็บเงินมานานและวันนี้มีเงินออมอยู่ 5 แสนบาทแล้ว วันนี้ตัดสินใจนำเงิน 5 แสนบาทไปลงทุนในแบบใดแบบหนึ่ง แต่ควรเลือกที่จะลงทุนในหลากหลายรูปแบบหลักทรัพย์อื่น ๆ ที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและให้มีความหลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ในกรณีที่หากการลงทุนในแบบใดแบบหนึ่งประสบปัญหา เช่น เราแบ่งส่วนหนึ่งไปฝากธนาคาร ส่วนที่สองไปซื้อพันธบัตร ที่เหลืออาจจะไปลงทุนในหุ้น เพื่อหากเมื่อวันนี้ตลาดพันธบัตรได้ผลตอบแทนลดลง ก็ยังได้ผลตอบแทนจากเงินฝาก หรือ หุ้นด้วย
ประการที่สอง ไม่ควรกระจายการลงทุนให้กระจัดกระจายเกินไป เพราะจะทำให้ยากต่อการติดตามดูแล รวมทั้งต้นทุนการลงทุนอาจสูงเกินความจำเป็น ตัวเราเองก็จะงงไปด้วยถ้าเราไม่ได้ชำนาญในการลงทุนหรือมีหน้าที่โดยตรงที่จะติดตามข้อมูลความเคลื่อนไหว ดังนั้นนำเงินไปลงทุนในสิ่งที่เรามีความรู้ความชำนาญที่ไม่กระจัดกระจายจะช่วยให้เราดูแลเงินเราให้เกิดผลงอกเงยได้เป็นอย่างดี
ประการที่สาม ควรมีสัดส่วนการลงทุนที่ เหมาะสม ทั้งที่มีความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนแน่นอนสม่ำเสมอ กับ ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น ทั้งนี้แล้วแต่ระดับการยอมรับความเสี่ยงของแต่ละคนที่จะยอมรับได้ รวมไปถึงช่วงอายุของผู้ลงทุนแต่ละคนด้วย ซึ่งผลตอบแทนที่ได้อาจไม่แน่นอน เพราะสามารถทำกำไร หรือ ขาดทุนจากการลงทุนได้ตลอดเวลา
ประการสุดท้าย การจัดสัดส่วนการลงทุนควรมีลักษณะยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ตามภาวะเศรษฐกิจ สถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นๆ ได้ หากสามารถลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาได้ ก็จะช่วยให้การลงทุนของท่าน เป็นการลงทุนที่มีประสิทธิภาพได้ไม่ยาก
อย่าลืมที่จะนำหลักเกณฑ์เหล่านี้ไปใช้ เรื่องเงินทองเป็นเรื่องที่ต้องจัดการเช่นเดียวกับเรื่องอื่น ๆ เช่นกัน