ในช่วง 5 เดือนแรก ตลาดหุ้นทั่วโลกเริ่มกลับมาปรับตัวขึ้นไปอีกครั้ง หลังจากราคาหุ้นโดยเฉลี่ยทั่วโลกในช่วงปีที่ผ่านมาปรับลดลงไปค่อนข้างมากเกือบ 50% ส่งผลให้หลายกองทุนกลับมาสร้างผลตอบแทนเป็นบวกได้แล้ว นักลงทุนเองเริ่มยิ้มแย้มได้มากขึ้น และมีความหวังเรืองรองกับการลงทุนมากขึ้นมาตามลำดับแล้ว ขณะที่ราคาน้ำมัน และทองคำเองก็เริ่มกลับมาทะยานไม่แพ้กัน
วันนี้ คอลัมน์ “Best of Fund” ขอพามาดูผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) สิ้นสุด ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2552 ว่ามีกองทุนใดน่าสนใจบ้าง เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการลงทุนต่อไป พร้อมกับเปิดมุมมองการลงทุนของผู้บริหารกองทุนที่สามารถให้ผลตอบแทนมาเป็นอันดับ 1 ด้วย
สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดมาเป็นอันดับ 1 คือกองทุนเปิดพรีมาเวสท์-อลิอันซ์ จีไอ บริค สตาร์ ฟันด์ (PBS) ภายใต้การบริหารของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) พรีมาเวสท์ จำกัด โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 52.72% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 45.21%
อันดับ 2 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลด์ ลิงค์ 3 (SCBGLF3) ของ บลจ.ไทยพาณิชย์ ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 51.21% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 43.70%
อันดับ 3 กองทุนเปิดทิสโก้ ไชน่า อินเดีย ดิวิเดนด์ ฟันด์ (TISCOCID) ของ บลจ.ทิสโก้ ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 43.80% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 36.29%
อันดับ 4 กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเวสท์ เอเชี่ยน อิควิตี้ ฟันด์ (I-ASIA) ของ บลจ.เอ็มเอฟซี ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 43.34% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 35.83%
อันดับ 5 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ เอเชียน อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต ฟันด์ (SCBAEM) ของ บลจ.ไทยพาณิชย์ ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 40.97% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 33.46%
อันดับ 6 กองทุนเปิดทิสโก้ ไชน่า อินเดีย เพื่อการเลี้ยงชีพ (TCIRMF) ของ บลจ.ทิสโก้ ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 40.48% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 32.97%
อันดับ 7 กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล โบนัส แชนซ์ ฟันด์ (I-BONUS)ของ บลจ.เอ็มเอฟซี ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 40.09% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 32.58%
อันดับ 8 กองทุนเปิดทหารไทย China Equity Index (TMBCHEQ) ของ บลจ.ทหารไทย ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 37.31% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 29.80%
อันดับ 9 กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย บริค 40 (ING BRIC)ของ บลจ.ไอเอ็นจี (ไทย) ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 36.62% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 29.11%
และอันดับ 10 กองทุนเปิดแมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อิเมอร์จิ้ง อีสเทอร์น ยุโรป เอฟไอเอฟ (MS-EE EURO) ภายใต้การบริหารของ บลจ.แมนูไลฟ์ ให้ผลตอบแทน ย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 34.38% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 26.87%
ทั้งนี้ เกณฑ์มาตรฐานอ้างอิง คือ MSCI AC World CR USD ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันให้ผลตอบแทนที่ 7.51%
เปิดมุมมองกองทุนอันดับ 1
ศรีเนตร ฤทธิ์รงค์ประธานเจ้าหน้าที่สายงานตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) พรีมาเวสท์ จำกัด เล่าให้ฟังว่า กองทุนนี้ยังเน้นลงทุนในประเทศจีน อินเดีย บราซิล และรัสเซีย เหมือเดิม โดยให้น้ำหนักในการลงทุนเท่ากันที่ 25% แต่การลงทุนในจีน และบราซิลจะมีการกระจายการลงทุนไปในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม (Sector) ขณะที่รัสเซียจะเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานเป็นพิเศษ และอินเดียจะเน้นไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมไอที
นอกจากนี้ กองทุนนี้จะมีความแตกต่างจากกองทุนที่เน้นลงทุนในกลุ่ม BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) กองทุนอื่น โดยจะให้น้ำหนักการลงทุนในทุกประเทศเท่ากัน แต่กองทุนอื่นจะให้น้ำหนักการลงทุนในจีนประมาณ 30% แต่ไปลดน้ำหนักการลงทุนในรัสเซียน้อย โดยในช่วงที่ผ่านมาราคาหุ้นรัสเซียได้ปรับขึ้นไปมากกว่า 50% แล้ว
ทั้งนี้ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา กองทุนสามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 17% ขณะที่มูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ในปัจจุบันอยู่ที่ 5.12 บาทต่อหน่วย ซึ่งถือว่ายังค่อนข้างถูก และมองว่ายังมีโอกาสการลงทุนในรัสเซียอีกค่อนข้างมาก นักลงทุนจึงควรจะเข้ามาลงทุนในช่วงนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) น่าจะปรับขึ้นไปก่อน
อย่างไรก็ตาม การที่ผลตอบแทนของกองทุนปรับตัวขึ้นมาสูงมาจาก 2 สาเหตุด้วยกัน โดยก่อนหน้านี้มองกันว่าวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในครั้งนี้น่าจะใช้เวลาในการฟื้นตัวค่อนข้างนาน เนื่องจากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจหลายครั้งมักจะใช้เวลาค่อนข้างนานพอสมควร แต่กลับพบว่าวิกฤติการณ์เศรษฐกิจครั้งนี้หลายประเทศน่าจะฟื้นตัวได้เร็ว โดยเฉพาะกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ อาทิ จีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีเงินสำรองระหว่างประเทศค่อนข้างสูง
ขณะเดียวกัน ยังมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ที่ค่อนข้างสูง ทำให้มีเม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจค่อนข้างมาก หากภาวะเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง จะทำให้ภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศนี้กลับมาได้อย่างรวดเร็วกว่าสหรัฐอเมริกาที่ประสบกับปัญหามาก
สำหรับกองทุนเปิดพรีมาเวสท์-อลิอันซ์ จีไอ บริค สตาร์ ฟันด์ ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Allianz-dit BRIC Stars เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
วันนี้ คอลัมน์ “Best of Fund” ขอพามาดูผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) สิ้นสุด ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2552 ว่ามีกองทุนใดน่าสนใจบ้าง เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการลงทุนต่อไป พร้อมกับเปิดมุมมองการลงทุนของผู้บริหารกองทุนที่สามารถให้ผลตอบแทนมาเป็นอันดับ 1 ด้วย
สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดมาเป็นอันดับ 1 คือกองทุนเปิดพรีมาเวสท์-อลิอันซ์ จีไอ บริค สตาร์ ฟันด์ (PBS) ภายใต้การบริหารของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) พรีมาเวสท์ จำกัด โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 52.72% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 45.21%
อันดับ 2 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลด์ ลิงค์ 3 (SCBGLF3) ของ บลจ.ไทยพาณิชย์ ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 51.21% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 43.70%
อันดับ 3 กองทุนเปิดทิสโก้ ไชน่า อินเดีย ดิวิเดนด์ ฟันด์ (TISCOCID) ของ บลจ.ทิสโก้ ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 43.80% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 36.29%
อันดับ 4 กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเวสท์ เอเชี่ยน อิควิตี้ ฟันด์ (I-ASIA) ของ บลจ.เอ็มเอฟซี ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 43.34% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 35.83%
อันดับ 5 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ เอเชียน อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต ฟันด์ (SCBAEM) ของ บลจ.ไทยพาณิชย์ ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 40.97% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 33.46%
อันดับ 6 กองทุนเปิดทิสโก้ ไชน่า อินเดีย เพื่อการเลี้ยงชีพ (TCIRMF) ของ บลจ.ทิสโก้ ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 40.48% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 32.97%
อันดับ 7 กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล โบนัส แชนซ์ ฟันด์ (I-BONUS)ของ บลจ.เอ็มเอฟซี ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 40.09% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 32.58%
อันดับ 8 กองทุนเปิดทหารไทย China Equity Index (TMBCHEQ) ของ บลจ.ทหารไทย ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 37.31% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 29.80%
อันดับ 9 กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย บริค 40 (ING BRIC)ของ บลจ.ไอเอ็นจี (ไทย) ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 36.62% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 29.11%
และอันดับ 10 กองทุนเปิดแมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อิเมอร์จิ้ง อีสเทอร์น ยุโรป เอฟไอเอฟ (MS-EE EURO) ภายใต้การบริหารของ บลจ.แมนูไลฟ์ ให้ผลตอบแทน ย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 34.38% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 26.87%
ทั้งนี้ เกณฑ์มาตรฐานอ้างอิง คือ MSCI AC World CR USD ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันให้ผลตอบแทนที่ 7.51%
เปิดมุมมองกองทุนอันดับ 1
ศรีเนตร ฤทธิ์รงค์ประธานเจ้าหน้าที่สายงานตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) พรีมาเวสท์ จำกัด เล่าให้ฟังว่า กองทุนนี้ยังเน้นลงทุนในประเทศจีน อินเดีย บราซิล และรัสเซีย เหมือเดิม โดยให้น้ำหนักในการลงทุนเท่ากันที่ 25% แต่การลงทุนในจีน และบราซิลจะมีการกระจายการลงทุนไปในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม (Sector) ขณะที่รัสเซียจะเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานเป็นพิเศษ และอินเดียจะเน้นไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมไอที
นอกจากนี้ กองทุนนี้จะมีความแตกต่างจากกองทุนที่เน้นลงทุนในกลุ่ม BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) กองทุนอื่น โดยจะให้น้ำหนักการลงทุนในทุกประเทศเท่ากัน แต่กองทุนอื่นจะให้น้ำหนักการลงทุนในจีนประมาณ 30% แต่ไปลดน้ำหนักการลงทุนในรัสเซียน้อย โดยในช่วงที่ผ่านมาราคาหุ้นรัสเซียได้ปรับขึ้นไปมากกว่า 50% แล้ว
ทั้งนี้ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา กองทุนสามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 17% ขณะที่มูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ในปัจจุบันอยู่ที่ 5.12 บาทต่อหน่วย ซึ่งถือว่ายังค่อนข้างถูก และมองว่ายังมีโอกาสการลงทุนในรัสเซียอีกค่อนข้างมาก นักลงทุนจึงควรจะเข้ามาลงทุนในช่วงนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) น่าจะปรับขึ้นไปก่อน
อย่างไรก็ตาม การที่ผลตอบแทนของกองทุนปรับตัวขึ้นมาสูงมาจาก 2 สาเหตุด้วยกัน โดยก่อนหน้านี้มองกันว่าวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในครั้งนี้น่าจะใช้เวลาในการฟื้นตัวค่อนข้างนาน เนื่องจากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจหลายครั้งมักจะใช้เวลาค่อนข้างนานพอสมควร แต่กลับพบว่าวิกฤติการณ์เศรษฐกิจครั้งนี้หลายประเทศน่าจะฟื้นตัวได้เร็ว โดยเฉพาะกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ อาทิ จีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีเงินสำรองระหว่างประเทศค่อนข้างสูง
ขณะเดียวกัน ยังมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ที่ค่อนข้างสูง ทำให้มีเม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจค่อนข้างมาก หากภาวะเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง จะทำให้ภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศนี้กลับมาได้อย่างรวดเร็วกว่าสหรัฐอเมริกาที่ประสบกับปัญหามาก
สำหรับกองทุนเปิดพรีมาเวสท์-อลิอันซ์ จีไอ บริค สตาร์ ฟันด์ ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Allianz-dit BRIC Stars เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน