ดูเหมือนว่าทางเลือกลงทุนในช่วงนี้ การลงทุนในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ ได้รับความสนใจจากนักลงทุนค่อนข้างมาก เห็นได้จากที่ผ่านมา มีกองทุนที่ออกไปลงทุนต่างประเทศออกมาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกองทุนที่ออกไปลงทุนในตราสารหนี้ของรัฐบาลเกาหลีและตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงินในเกาหลี ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นอยู่ แม้ผลตอบแทนจะขยับพอสมควรแล้ว
.
..เหตุผลที่สนับสนุนให้การลงทุนต่างประเทศได้รับความสนใจดังกล่าว แน่นอนว่าหนีไม่พ้นเรื่องของผลตอบแทนที่สูงกว่าในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในจีน อินเดีย หรือกลุ่มประเทศในเอเชียอื่นๆ ในขณะที่ตราสารหนี้ หลังหักต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ก็ยังสูงกว่าตราสารหนี้ในประเทศ...และแม้ว่าการลงทุนเหล่านี้จะมีความเสี่ยง แต่ก็เป็นความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้
ซึ่งการที่ผลตอบแทนในต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้นักลงทุนที่ลงทุนอยู่แล้วยิ้มหน้าบานไปตามๆ กัน ซึ่งถือว่าตอบโจทย์การกระจายความเสี่ยงด้วยการกระจายเงินลงทุนไปในหลายๆ แอสเซทคลาสได้เป็นอย่างดี...ส่วนใครที่ยังไม่เริ่มลงทุน ก็อย่าเพิ่งเสียดาย เพราะผลตอบแทนที่จะเห็นต่อไปนี้ เป็นผลตอบแทนส่วนหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมาจากจุดต่ำสุดเท่านั้น และอาจจะยังเป็นแค่ผลตอบแทนเพียงครึ่งเดียวของทั้งหมดที่ปรับลดลงไปก่อนหน้านี้ก็เป็นได้
คอลัมน์ "Best of Fund" ฉบับนี้ ขอหยิบเอาผลการดำเนินงานของกองทุนที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศมาเป็นข้อมูลให้นักลงทุนที่กำลังมองหาโอกาสให้กับตัวเอง ไปดูกันว่ากองทุนต่างประเทศทั้งหมด (ตราสารหนี้-หุ้น) ที่ให้ผลตอบแทน 10 อันดับแรกมีกองทุนไหนบ้าง...
สำหรับ กองทุนที่ให้ผลตอบแทนเป็นอันดับ 1 ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลด์ ลิงค์ 3 กองทุนประเภทตราสารจัดโครงสร้าง (สตรัคเจอร์โน๊ต) ภายใต้การบริหารจัดการของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด โดยกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (30 เม.ย.) อยู่ที่ 41.80% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานซึ่งอ้างอิงกับดัชนี MSCI AC World CR USD อยู่ประมาณ 41.02%
ทั้งนี้ ผลตอบแทนดังกล่าวเป็นผลตอบแทนสะสมเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าเมื่อครบอายุการลงทุนแล้ว ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในอัตราดังกล่าว
อันดับ 2 กองทุนเปิดทหารไทย China Equity Index ภายใต้การบริหารของ บลจ.ทหารไทย กองทุนนี้ได้อานิสงส์ดัชนีตลาดหุ้นจีนปรับตัวดีขึ้น จากความเชื่อมั่นต่อแผนกอบกู้เศรษฐกิจของรัฐบาล ส่งผลให้กองทุนมีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 33.13% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานถึง 32.35%
อันดับ 3 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์เอเชียนอีเมอร์จิ้งมาร์เก็ตฟันด์ อีกหนึ่งกองทุนภายใต้การบริหารของ บลจ.ไทยพาณิชย์ กองทุนนี้เน้นลงทุนในหุ้นภูมิภาคเอเชีย ทำให้ผลตอบแทนออกมาดีเช่นกัน โดยตั้งแต่ต้นปีให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 24.86% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอยู่ 24.08%
อันดับ 4 กองทุนเปิดอยุธยา เอเชียน แวลู แอนด์ โมเมนตัม ของบลจ.อยุธยา ซึ่งมีนโยบายลงทุนในหุ้นเอเชียเช่นกัน ทั้งนี้ ผลการตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีของกองทุนอยู่ที่ 21.41% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอยู่ 20.63%
อันดับ 5 กองทุนเปิดพรีมาเวสท์(ไทยแลนด์) บริค สตาร์ ฟันด์ ภายใต้การบริหารของ บลจ.พรีมาเวสท์ กองทุนนี้เป็นหนึ่งใน 4 กองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นตลาดเกิดใหม่ 4 ประเทศ บราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน ซึ่งผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีของกองทุนอยู่ที่ 20.85% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 20.07%
อันดับ 6 กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเวสท์ เอเชี่ยน อิควิตี้ ฟันด์ ของบลจ.เอ็มเอฟซี กองทุนนี้มีนโยบายลงทุนในหุ้นภูมิภาคเอเชียเช่นกัน ซึ่งผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 19.11% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอยู่ 18.33%
อันดับ 7 กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล โบนัส แชนซ์ ฟันด์ อีกหนึ่งกองทุนภายใต้การบริหารของบลจ. เอ็มเอฟซี ซึ่งกองทุนนี้ ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 19.08% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอยู่ 18.30%
อันดับ 8 กองทุนเปิดทิสโก้ ไชน่า อินเดีย ดิวิเดนด์ ฟันด์ ของบลจ.ทิสโก้ กองทุนนี้เลือกลงทุนในหุ้น 2 ประเทศ นั่นคือ จีนและอินเดียเท่านั้น ซึ่งผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา ได้อานิสงส์จากการที่หุ้นของ 2 ประเทศดังกล่าวปรับตัวขึ้นพอสมควร โดยตั้งแต่ต้นปีกองทุนให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 18.51% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอยู่ 17.73%
อันดับ 9 กองทุนเปิดไอเอ็นจี ไทย บริค 40 ของบลจ.ไอเอ็นจี เป็นอีกหนึ่งใน 4 กองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้น 4 ประเทศ บราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน ซึ่งผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีของกองทุนอยู่ที่ 17.94% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 17.16%
อันดับ 10 กองทุนเปิดทหารไทย EMERGING MARKET EQUITY INDEX ของบลจ.ทหารไทย กองทุนนี้ กระจายการลงทุนในหุ้นตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก ซึ่งในรอบ 4 เดือนที่ผ่านมา กองทุนให้ผลตอบแทน 17.36% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 16.58%
ทั้งนี้ เกณฑ์มาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกับดัชนี คือ MSCI AC World CR USD ซึ่งให้ผลตอบแทนในช่วงเวลาเดียวกันอยู่ที่ 0.78%
เปิดพอร์ตกองทุนอันดับ 1
สำหรับกองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลด์ ลิงค์ 3 มีอายุโครงการ 1 ปี จัดตั้งกองทุนในช่วงเดือนกรกฎาคมปี 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมเงินทุนจากประชาชนทั่วไปที่ต้องการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ กองทุนจะนำเงินส่วนใหญ่ไปลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ซึ่งมีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับราคาทองคำที่อยู่ในรูปสกุลเงินดอลล่าร์ออสเตรเลียที่กำหนดใช้ราคาซื้อขายของตลาดทองคำที่เสนอโดย The London Gold Market Fixing Ltd. โดยจะได้รับผลตอบแทนในกรณีที่มีการคาดการณ์ทิศทางของราคาทองคำที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ เมื่อครบอายุโครงการ ผู้ลงทุนจะได้รับมูลค่าเงินลงทุนคงเหลือ และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนคงที่จากการลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับราคาทองคำที่อยู่ในรูปสกุลเงินดอลล่าร์ออสเตรเลีย โดยมีเงื่อนไขที่จะชำระเงินต้นคืนเต็มจำนวนซึ่งออกโดยสถาบันการเงินต่างประเทศ โดยตราสารดังกล่าวมี
การจ่ายผลตอบแทนคงที่ที่อยู่ในรูปสกุลเงินดอลล่าร์ออสเตรเลีย ดังนี้ ในกรณีที่ราคาทองคำ ณ วันทำการก่อนหน้าวันครบอายุตราสารหรือก่อนหน้าวันครบอายุโครงการ 5 วันทำการมากกว่าหรือเท่ากับ ราคาทองคำ ณ วันทำการในวันเริ่มลงทุนหรือ ณ วันจดทะเบียนกองทุนรวม ตราสารดังกล่าวจะให้อัตราผลตอบแทนร้อยละ 9 ต่อปี
ทั้งนี้ หากการเคลื่อนไหวของราคาทองคำไม่เป็นไปตามเงือนไขข้างต้น กองทุนจะไม่ได้รับผลตอบแทนจากตราสารดังกล่าว แต่กองทุนจะได้รับเงินต้นในรูปเงินสกุลเงินดอลล่าร์ออสเตรเลียคืนทั้งจำนวน
.
..เหตุผลที่สนับสนุนให้การลงทุนต่างประเทศได้รับความสนใจดังกล่าว แน่นอนว่าหนีไม่พ้นเรื่องของผลตอบแทนที่สูงกว่าในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในจีน อินเดีย หรือกลุ่มประเทศในเอเชียอื่นๆ ในขณะที่ตราสารหนี้ หลังหักต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ก็ยังสูงกว่าตราสารหนี้ในประเทศ...และแม้ว่าการลงทุนเหล่านี้จะมีความเสี่ยง แต่ก็เป็นความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้
ซึ่งการที่ผลตอบแทนในต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้นักลงทุนที่ลงทุนอยู่แล้วยิ้มหน้าบานไปตามๆ กัน ซึ่งถือว่าตอบโจทย์การกระจายความเสี่ยงด้วยการกระจายเงินลงทุนไปในหลายๆ แอสเซทคลาสได้เป็นอย่างดี...ส่วนใครที่ยังไม่เริ่มลงทุน ก็อย่าเพิ่งเสียดาย เพราะผลตอบแทนที่จะเห็นต่อไปนี้ เป็นผลตอบแทนส่วนหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมาจากจุดต่ำสุดเท่านั้น และอาจจะยังเป็นแค่ผลตอบแทนเพียงครึ่งเดียวของทั้งหมดที่ปรับลดลงไปก่อนหน้านี้ก็เป็นได้
คอลัมน์ "Best of Fund" ฉบับนี้ ขอหยิบเอาผลการดำเนินงานของกองทุนที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศมาเป็นข้อมูลให้นักลงทุนที่กำลังมองหาโอกาสให้กับตัวเอง ไปดูกันว่ากองทุนต่างประเทศทั้งหมด (ตราสารหนี้-หุ้น) ที่ให้ผลตอบแทน 10 อันดับแรกมีกองทุนไหนบ้าง...
สำหรับ กองทุนที่ให้ผลตอบแทนเป็นอันดับ 1 ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลด์ ลิงค์ 3 กองทุนประเภทตราสารจัดโครงสร้าง (สตรัคเจอร์โน๊ต) ภายใต้การบริหารจัดการของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด โดยกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (30 เม.ย.) อยู่ที่ 41.80% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานซึ่งอ้างอิงกับดัชนี MSCI AC World CR USD อยู่ประมาณ 41.02%
ทั้งนี้ ผลตอบแทนดังกล่าวเป็นผลตอบแทนสะสมเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าเมื่อครบอายุการลงทุนแล้ว ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในอัตราดังกล่าว
อันดับ 2 กองทุนเปิดทหารไทย China Equity Index ภายใต้การบริหารของ บลจ.ทหารไทย กองทุนนี้ได้อานิสงส์ดัชนีตลาดหุ้นจีนปรับตัวดีขึ้น จากความเชื่อมั่นต่อแผนกอบกู้เศรษฐกิจของรัฐบาล ส่งผลให้กองทุนมีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 33.13% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานถึง 32.35%
อันดับ 3 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์เอเชียนอีเมอร์จิ้งมาร์เก็ตฟันด์ อีกหนึ่งกองทุนภายใต้การบริหารของ บลจ.ไทยพาณิชย์ กองทุนนี้เน้นลงทุนในหุ้นภูมิภาคเอเชีย ทำให้ผลตอบแทนออกมาดีเช่นกัน โดยตั้งแต่ต้นปีให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 24.86% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอยู่ 24.08%
อันดับ 4 กองทุนเปิดอยุธยา เอเชียน แวลู แอนด์ โมเมนตัม ของบลจ.อยุธยา ซึ่งมีนโยบายลงทุนในหุ้นเอเชียเช่นกัน ทั้งนี้ ผลการตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีของกองทุนอยู่ที่ 21.41% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอยู่ 20.63%
อันดับ 5 กองทุนเปิดพรีมาเวสท์(ไทยแลนด์) บริค สตาร์ ฟันด์ ภายใต้การบริหารของ บลจ.พรีมาเวสท์ กองทุนนี้เป็นหนึ่งใน 4 กองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นตลาดเกิดใหม่ 4 ประเทศ บราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน ซึ่งผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีของกองทุนอยู่ที่ 20.85% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 20.07%
อันดับ 6 กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเวสท์ เอเชี่ยน อิควิตี้ ฟันด์ ของบลจ.เอ็มเอฟซี กองทุนนี้มีนโยบายลงทุนในหุ้นภูมิภาคเอเชียเช่นกัน ซึ่งผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 19.11% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอยู่ 18.33%
อันดับ 7 กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล โบนัส แชนซ์ ฟันด์ อีกหนึ่งกองทุนภายใต้การบริหารของบลจ. เอ็มเอฟซี ซึ่งกองทุนนี้ ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 19.08% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอยู่ 18.30%
อันดับ 8 กองทุนเปิดทิสโก้ ไชน่า อินเดีย ดิวิเดนด์ ฟันด์ ของบลจ.ทิสโก้ กองทุนนี้เลือกลงทุนในหุ้น 2 ประเทศ นั่นคือ จีนและอินเดียเท่านั้น ซึ่งผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา ได้อานิสงส์จากการที่หุ้นของ 2 ประเทศดังกล่าวปรับตัวขึ้นพอสมควร โดยตั้งแต่ต้นปีกองทุนให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 18.51% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอยู่ 17.73%
อันดับ 9 กองทุนเปิดไอเอ็นจี ไทย บริค 40 ของบลจ.ไอเอ็นจี เป็นอีกหนึ่งใน 4 กองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้น 4 ประเทศ บราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน ซึ่งผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีของกองทุนอยู่ที่ 17.94% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 17.16%
อันดับ 10 กองทุนเปิดทหารไทย EMERGING MARKET EQUITY INDEX ของบลจ.ทหารไทย กองทุนนี้ กระจายการลงทุนในหุ้นตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก ซึ่งในรอบ 4 เดือนที่ผ่านมา กองทุนให้ผลตอบแทน 17.36% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 16.58%
ทั้งนี้ เกณฑ์มาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกับดัชนี คือ MSCI AC World CR USD ซึ่งให้ผลตอบแทนในช่วงเวลาเดียวกันอยู่ที่ 0.78%
เปิดพอร์ตกองทุนอันดับ 1
สำหรับกองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลด์ ลิงค์ 3 มีอายุโครงการ 1 ปี จัดตั้งกองทุนในช่วงเดือนกรกฎาคมปี 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมเงินทุนจากประชาชนทั่วไปที่ต้องการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ กองทุนจะนำเงินส่วนใหญ่ไปลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ซึ่งมีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับราคาทองคำที่อยู่ในรูปสกุลเงินดอลล่าร์ออสเตรเลียที่กำหนดใช้ราคาซื้อขายของตลาดทองคำที่เสนอโดย The London Gold Market Fixing Ltd. โดยจะได้รับผลตอบแทนในกรณีที่มีการคาดการณ์ทิศทางของราคาทองคำที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ เมื่อครบอายุโครงการ ผู้ลงทุนจะได้รับมูลค่าเงินลงทุนคงเหลือ และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนคงที่จากการลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับราคาทองคำที่อยู่ในรูปสกุลเงินดอลล่าร์ออสเตรเลีย โดยมีเงื่อนไขที่จะชำระเงินต้นคืนเต็มจำนวนซึ่งออกโดยสถาบันการเงินต่างประเทศ โดยตราสารดังกล่าวมี
การจ่ายผลตอบแทนคงที่ที่อยู่ในรูปสกุลเงินดอลล่าร์ออสเตรเลีย ดังนี้ ในกรณีที่ราคาทองคำ ณ วันทำการก่อนหน้าวันครบอายุตราสารหรือก่อนหน้าวันครบอายุโครงการ 5 วันทำการมากกว่าหรือเท่ากับ ราคาทองคำ ณ วันทำการในวันเริ่มลงทุนหรือ ณ วันจดทะเบียนกองทุนรวม ตราสารดังกล่าวจะให้อัตราผลตอบแทนร้อยละ 9 ต่อปี
ทั้งนี้ หากการเคลื่อนไหวของราคาทองคำไม่เป็นไปตามเงือนไขข้างต้น กองทุนจะไม่ได้รับผลตอบแทนจากตราสารดังกล่าว แต่กองทุนจะได้รับเงินต้นในรูปเงินสกุลเงินดอลล่าร์ออสเตรเลียคืนทั้งจำนวน