บลจ.นครหลวงไทยมั่นใจสินค้าโภคภัณฑ์ยังมีแนวโน้มสดใส หลังจากเศรษฐกิจโลกได้พ้นจากจุดต่ำสุดของการถดถอยแล้ว ส่งผลให้ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ และเงินเฟ้อสูงขึ้น แนะนักลงทุนเข้าลงทุนในกองทุน Citi COMET Index USD Fund เหตุพบว่าอัตราผลตอบแทนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีความผันผวนต่ำกว่าการลงทุนในหุ้น พร้อมจับมือ Citigroup โรดโชว์กองทุน “นครหลวงไทย Efficient Long - Short Commodity” หวังดึงลูกค้าสถาบันรายใหญ่เข้ามาลงทุน คาดว่าสามารถเปิดไอพีโอกลางเดือนมิถุนายนนี้
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า จากรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐ (รอยเตอร์ และมหาวิทยาลัยมิชิแกน) ในเดือนพฤษภาคม 2552 ปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 67.9 ซึ่งถือได้ว่าเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551 หรือในรอบกว่า 14 เดือน ขณะที่ดัชนีภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคบริการ ในเขตยูโรโซนปรับตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยปรับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 40.5 และ 44.7 ตามลำดับ
ขณะเดียวกัน ดัชนีชี้นำของภาคการผลิต PMI Manufacturing Index ทั้งสหรัฐ ยุโรป และจีนเริ่มดีขึ้น รวมกับปัจจัยอื่นๆ แล้ว ทำให้บริษัทมีมุมมองจากการวิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจโลกได้พ้นจากจุดต่ำสุดของการถดถอยแล้ว ดังนั้น ต่อไปกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ และตัวเลขเงินเฟ้อสูงขึ้นตาม ซึ่งหากนักลงทุนพึ่งพาแต่การฝากเงินเฉยๆ ก็จะมีผลทำให้ค่าเงินลดลงเมื่อเทียบกับระดับเงินเฟ้อ
อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่บริษัทเป็นบริษัทจัดการกองทุนที่มีกองทุนหุ้นและตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ และมีทีมบริหารการลงทุนและทีมบริหารความเสี่ยงที่มีศักยภาพและความสามารถสูง จึงเล็งเห็นโอกาสในการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อเป็นทางเลือกการลงทุนอีกประเภทซึ่งจะช่วยกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน และ/หรือเพิ่มอัตราผลตอบแทนให้แก่พอร์ตสำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนของบริษัทได้ดียิ่งขึ้น
นายธีรพันธุ์ กล่าวว่า จากข้อมูลในอดีตพบว่าการลงทุนในหุ้นนั้นมีความผันผวนประมาณ 25-27% ต่อปี ขณะที่อัตราผลตอบแทนของกองทุน Citi COMET Index USD Fund มีความผันผวนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยประมาณ 11% ต่อปี จึงทำให้เมื่อพิจารณาจากอัตราผลตอบแทนหลังปรับด้วยค่าความเสี่ยงแล้ว การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์จึงมีความน่าสนใจมากกว่า และสินค้าโภคภัณฑ์มักจะให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงที่อัตราผลตอบแทนจากหุ้นและตราสารหนี้ไม่สูงมากนัก
นอกจากนี้ จากการศึกษาของ Goldman Sachs ที่พบว่าแนวโน้มอัตราผลตอบแทนจากสินค้าโภคภัณฑ์จะแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่แท้จริง โดยถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะยังชะลอตัวอยู่ แต่เริ่มติดลบในอัตราที่ลดลง ก็ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นแล้ว และอัตราผลตอบแทนจากสินค้าโภคภัณฑ์จะสูงกว่า 10 เท่าของการเปลี่ยนแปลงของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดย Goldman Sachs คาดการณ์อัตราผลตอบแทนจากสินค้าโภคภัณฑ์ไว้สูงถึง 3 เท่าในช่วง 5 ปี ข้างหน้า
จากเหตุผลดังกล่าว บริษัทจึงเตรียมเสนอขายกองทุนรวมต่างประเทศ (FIF) ประเภทกองทุนรวมหน่วยลงทุน (Feeder Fund) เพื่อเพิ่มช่องทางการลงทุนให้แก่ผู้ที่ต้องการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยงของการลงทุนบางส่วนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ โดยกองทุนเปิดนครหลวงไทย Efficient Long-Short Commodity (LSCom) มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Citi COMET Index USD Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลัก ซึ่งมีกลยุทธ์การลงทุนแบบ Long – Short เพื่อหากำไรจากความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยจากข้อมูลในอดีต ผลตอบแทนจากการลงทุนในลักษณะ Long-Short จะผันผวนต่ำกว่ากองทุนที่มีนโยบายแบบ Long Only
สำหรับกองทุนดังกล่าวไม่มีการกำหนดอายุกองทุน และจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% กองทุนจึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนต่ำ มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท ราคา 10 บาทต่อหน่วย และมูลค่าขั้นต่ำของการลงทุน 20,000 บาท ซื้อขายได้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตลอดทุกสัปดาห์ ดังนั้น การลงทุนในกองทุนนี้จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับผู้ต้องการกระจายการลงทุนไปยังประเภทสินทรัพย์ (asset class) อีกประเภทหนึ่ง และสามารถรับความเสี่ยงได้ระดับปานกลางถึงสูง เช่น นักลงทุนประเภทสถาบัน และบุคคลธรรมดาที่มีพื้นฐานความรู้ด้านการลงทุนโดยขณะนี้กองทุนอยู่ระหว่างการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยคาดว่าจะสามารถเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ได้ประมาณกลางเดือนมิถุนายน 2552 นี้
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า จากรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐ (รอยเตอร์ และมหาวิทยาลัยมิชิแกน) ในเดือนพฤษภาคม 2552 ปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 67.9 ซึ่งถือได้ว่าเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551 หรือในรอบกว่า 14 เดือน ขณะที่ดัชนีภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคบริการ ในเขตยูโรโซนปรับตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยปรับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 40.5 และ 44.7 ตามลำดับ
ขณะเดียวกัน ดัชนีชี้นำของภาคการผลิต PMI Manufacturing Index ทั้งสหรัฐ ยุโรป และจีนเริ่มดีขึ้น รวมกับปัจจัยอื่นๆ แล้ว ทำให้บริษัทมีมุมมองจากการวิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจโลกได้พ้นจากจุดต่ำสุดของการถดถอยแล้ว ดังนั้น ต่อไปกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ และตัวเลขเงินเฟ้อสูงขึ้นตาม ซึ่งหากนักลงทุนพึ่งพาแต่การฝากเงินเฉยๆ ก็จะมีผลทำให้ค่าเงินลดลงเมื่อเทียบกับระดับเงินเฟ้อ
อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่บริษัทเป็นบริษัทจัดการกองทุนที่มีกองทุนหุ้นและตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ และมีทีมบริหารการลงทุนและทีมบริหารความเสี่ยงที่มีศักยภาพและความสามารถสูง จึงเล็งเห็นโอกาสในการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อเป็นทางเลือกการลงทุนอีกประเภทซึ่งจะช่วยกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน และ/หรือเพิ่มอัตราผลตอบแทนให้แก่พอร์ตสำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนของบริษัทได้ดียิ่งขึ้น
นายธีรพันธุ์ กล่าวว่า จากข้อมูลในอดีตพบว่าการลงทุนในหุ้นนั้นมีความผันผวนประมาณ 25-27% ต่อปี ขณะที่อัตราผลตอบแทนของกองทุน Citi COMET Index USD Fund มีความผันผวนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยประมาณ 11% ต่อปี จึงทำให้เมื่อพิจารณาจากอัตราผลตอบแทนหลังปรับด้วยค่าความเสี่ยงแล้ว การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์จึงมีความน่าสนใจมากกว่า และสินค้าโภคภัณฑ์มักจะให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงที่อัตราผลตอบแทนจากหุ้นและตราสารหนี้ไม่สูงมากนัก
นอกจากนี้ จากการศึกษาของ Goldman Sachs ที่พบว่าแนวโน้มอัตราผลตอบแทนจากสินค้าโภคภัณฑ์จะแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่แท้จริง โดยถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะยังชะลอตัวอยู่ แต่เริ่มติดลบในอัตราที่ลดลง ก็ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นแล้ว และอัตราผลตอบแทนจากสินค้าโภคภัณฑ์จะสูงกว่า 10 เท่าของการเปลี่ยนแปลงของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดย Goldman Sachs คาดการณ์อัตราผลตอบแทนจากสินค้าโภคภัณฑ์ไว้สูงถึง 3 เท่าในช่วง 5 ปี ข้างหน้า
จากเหตุผลดังกล่าว บริษัทจึงเตรียมเสนอขายกองทุนรวมต่างประเทศ (FIF) ประเภทกองทุนรวมหน่วยลงทุน (Feeder Fund) เพื่อเพิ่มช่องทางการลงทุนให้แก่ผู้ที่ต้องการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยงของการลงทุนบางส่วนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ โดยกองทุนเปิดนครหลวงไทย Efficient Long-Short Commodity (LSCom) มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Citi COMET Index USD Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลัก ซึ่งมีกลยุทธ์การลงทุนแบบ Long – Short เพื่อหากำไรจากความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยจากข้อมูลในอดีต ผลตอบแทนจากการลงทุนในลักษณะ Long-Short จะผันผวนต่ำกว่ากองทุนที่มีนโยบายแบบ Long Only
สำหรับกองทุนดังกล่าวไม่มีการกำหนดอายุกองทุน และจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% กองทุนจึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนต่ำ มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท ราคา 10 บาทต่อหน่วย และมูลค่าขั้นต่ำของการลงทุน 20,000 บาท ซื้อขายได้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตลอดทุกสัปดาห์ ดังนั้น การลงทุนในกองทุนนี้จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับผู้ต้องการกระจายการลงทุนไปยังประเภทสินทรัพย์ (asset class) อีกประเภทหนึ่ง และสามารถรับความเสี่ยงได้ระดับปานกลางถึงสูง เช่น นักลงทุนประเภทสถาบัน และบุคคลธรรมดาที่มีพื้นฐานความรู้ด้านการลงทุนโดยขณะนี้กองทุนอยู่ระหว่างการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยคาดว่าจะสามารถเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ได้ประมาณกลางเดือนมิถุนายน 2552 นี้