เอเอฟพี/เอเยนซีส์ – เข้าสู่สัปดาห์ของการลุ้นระทึกในดีทรอยต์ ที่ลงท้ายพี่ใหญ่จีเอ็มอาจถูกบีบให้ล้มละลาย และค่ายรถอันดับ 3 ไครสเลอร์หลุดพ้นจากการคุ้มครองของศาลอย่างรวดเร็ว โดยโอบามาแสดงความเชื่อมั่นว่าทั้งสองบริษัทจะกระฉับกระเฉง มุ่งมั่นและมีศักยภาพการแข่งขันมากขึ้นเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้น
ขณะนี้มีความเห็นพ้องกันมากขึ้นว่าเจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) ที่จะถึงกำหนดเส้นตายในการยื่นแผนปรับโครงสร้างหรือถูกตัดความช่วยเหลือจากรัฐในวันที่ 1 เดือนหน้านั้น คงจะเลือกขอรับการคุ้มครองจากศาลล้มละลาย แม้กระทั่งเมื่อแผนปรับโครงสร้างผ่านความเห็นชอบจากวอชิงตันในนาทีสุดท้ายก็ตาม
ล่าสุด จีเอ็มบรรลุข้อตกลงชั่วคราวกับสหภาพแรงงานยานยนต์ (ยูเอดับเบิลยู) เรื่องการแปลงหนี้ที่บริษัทติดค้างอยู่ให้เป็นหุ้นสามัญ แต่ยังต้องขอให้สมาชิกสหภาพลงคะแนนเห็นชอบกันต่อไป และ ในวันอังคาร (26) จีเอ็มก็จะขอไฟเขียวจากผู้ถือหุ้นกู้ที่มีมูลค่ารวมกันสูงถึง 27,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับแผนปรับโครงสร้าง
ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องผู้ถือหุ้นกู้ของจีเอ็มนั้น มีขนาดใหญ่โตกว่าไครสเลอร์มาก เพราะฝ่ายหลังมีเจ้าหนี้เพียงร้อยกว่าราย แต่จีเอ็มมีเจ้าหนี้เป็นสถาบันการเงินใหญ่กว่า 120 แห่ง ไม่นับรวมผู้ถือหุ้นรายย่อยอีกราวแสนคน
เจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้ของจีเอ็มจำนวนไม่น้อยกำลังโวยวายว่า จีเอ็มภายใต้การผลักดันของรัฐบาล กำลังเรียกร้องการเสียสละจากพวกเจ้าหนี้ ยิ่งกว่าทางสหภาพแรงงานและฝ่ายอื่นๆ
เคน อีเกิลเก แห่ง แคปิโตล ซีเคียวริตีส์ แมเนจเมนต์ บอกว่า ตามแผนการของรัฐบาลที่มีการรายงานข่าวกันนั้น พวกถือหุ้นกู้ซึ่งตามกฎหมายถือเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ที่ต้องมีฐานะเหนือเจ้าหนี้อื่นๆ กลับจะต้องยกหนี้จำนวนถึง 27,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อแลกกับหุ้นเพียง 10% ในบริษัทจีเอ็มหลังปรับโครงสร้างใหม่ แต่กระทรวงการคลังสหรัฐฯและฝ่ายสหภาพแรงงานที่ยกหนี้จำนวน 20,000 ล้านดอลลาร์ จะได้หุ้นจีเอ็มใหม่เป็นจำนวนถึง 89%
กระนั้นก็ตาม ดักลาส เบิร์นสไตน์ นักกฎหมายในมิชิแกนที่เป็นตัวแทนของซัปพลายเออร์ยานยนต์ในกรณีไครสเลอร์ เชื่อว่าผู้ถือหุ้นกู้ของจีเอ็มไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากยอมรับแผน ดีกว่าต้องแทงบัญชีหนี้สูญ
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมองว่า แม้แต่เมื่อแผนลดต้นทุนของจีเอ็มผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา ตามเส้นตายที่ให้ไว้เมื่อปลายเดือนมีนาคม แต่พี่ใหญ่แห่งดีทรอยต์รายนี้ก็อาจเลือกขอความคุ้มครองจากศาลล้มละลายเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดีลเลอร์ฟ้องร้อง เนื่องจากบริษัทมีแผนลดเครือข่ายดีลเลอร์ลง 40% และปิดโชว์รูม 2,300 แห่งภายในปลายปีหน้า
สำหรับทางด้านไครสเลอร์นั้น กำลังรอคำวินิจฉัยสำคัญจากศาลล้มละลายในวันพุธ (27) ที่จะเปิดทางให้บริษัทสามารถขายธุรกิจหลักให้บริษัทไครสเลอร์ใหม่ ที่มีเฟียตร่วมเป็นพันธมิตร ซึ่งจะเท่ากับสามารถเดินหน้าปรับโครงสร้างเพื่อสะสางปัญหาอย่างรวดเร็วตามที่รัฐบาลคาดหวัง เนื่องจากจะทำให้ไครสเลอร์หลุดพ้นจากสภาพล้มละลายกลายเป็นบริษัทใหม่ที่บริหารโดยเฟียตจากอิตาลี แต่มีสหาภาพแรงงานยูเอดับเบิลยูถือหุ้นใหญ่ และรัฐบาลสหรัฐฯ และแคนาดาถือหุ้นบางส่วน
อย่างไรก็ตาม บรูซ เบลโซวสกี้ จากสถาบันวิจัยด้านการขนส่งของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ชี้ว่าการรวมพลังระหว่างไครสเลอร์-เฟียตยังต้องเจอความท้าทายอีกมาก อาทิ สภาพเศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในภาวะถดถอย
ทว่า ดานา จอห์นสัน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของคอมเมอร์เชียล แบงก์ มองต่างมุมว่าหลังจากสะสางหนี้และต้นทุนอื่นๆ แล้ว ไครสเลอร์-เฟียตอาจฟื้นตัวได้ นอกจากนี้ ยังเป็นที่คาดว่าเศรษฐกิจจะถึงจุดต่ำสุดในช่วงครึ่งหลังปีนี้ ซึ่งหมายถึงแนวโน้มขาขึ้นของยอดขายรถยนต์ที่จะเกิดขึ้นปลายปีนี้
เดวิด โคล ประธานศูนย์เพื่อการวิจัยด้านยานยนต์ในมิชิแกน ขานรับว่าสถานการณ์ของผู้เล่นในดีทรอยต์จะดีขึ้น หลังลดต้นทุนจากการลดศักยภาพการผลิต รวมถึงตัดค่าใช้จ่ายด้านกฎหมายออกไป อันจะทำให้จุดคุ้มทุนอยู่ที่ยอดขายเพียงปีละ 10 ล้านคัน ลดจาก 15-16 ล้านคันในขณะนี้ ซึ่งจากการคาดหมายว่ายอดขายโดยรวมจะเพิ่มขึ้นเป็น 13-14 ล้านคัน จึงหมายความว่าผู้เล่นจะมีศักยภาพการทำกำไรสูงขึ้น
มุมมองแง่ดีเหล่านี้สอดรับกับการให้สัมภาษณ์ของโอบามาต่อสถานีทีวีสเปนเมื่อวันเสาร์ (23) หรือเพียงหนึ่งวันหลังจากกระทรวงคลังสหรัฐฯ อัดฉีดเงินเพิ่มให้จีเอ็มจนขณะนี้ยอดรวมเป็นกว่า 19,000 ล้านดอลลาร์
ผู้นำแดนอินทรีแสดงความเชื่อมั่นว่าทั้งจีเอ็มและไครสเลอร์จะกลับมาใหม่ในสภาพที่กระฉับกระเฉง มุ่งมั่นและมีศักยภาพการแข่งขันมากขึ้นเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้น ด้วยสายผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ดึงดูดใจลูกค้า นั่นคือรถแห่งอนาคตที่ใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แม้โอบามาไม่ได้เอ่ยถึงทางเลือกของจีเอ็มในการล้มละลาย แต่ได้แสดงความกังวลต่อผลที่อาจเกิดตามมาจากการปลดแรงงานในอุตสาหกรรมรถยนต์
ขณะนี้มีความเห็นพ้องกันมากขึ้นว่าเจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) ที่จะถึงกำหนดเส้นตายในการยื่นแผนปรับโครงสร้างหรือถูกตัดความช่วยเหลือจากรัฐในวันที่ 1 เดือนหน้านั้น คงจะเลือกขอรับการคุ้มครองจากศาลล้มละลาย แม้กระทั่งเมื่อแผนปรับโครงสร้างผ่านความเห็นชอบจากวอชิงตันในนาทีสุดท้ายก็ตาม
ล่าสุด จีเอ็มบรรลุข้อตกลงชั่วคราวกับสหภาพแรงงานยานยนต์ (ยูเอดับเบิลยู) เรื่องการแปลงหนี้ที่บริษัทติดค้างอยู่ให้เป็นหุ้นสามัญ แต่ยังต้องขอให้สมาชิกสหภาพลงคะแนนเห็นชอบกันต่อไป และ ในวันอังคาร (26) จีเอ็มก็จะขอไฟเขียวจากผู้ถือหุ้นกู้ที่มีมูลค่ารวมกันสูงถึง 27,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับแผนปรับโครงสร้าง
ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องผู้ถือหุ้นกู้ของจีเอ็มนั้น มีขนาดใหญ่โตกว่าไครสเลอร์มาก เพราะฝ่ายหลังมีเจ้าหนี้เพียงร้อยกว่าราย แต่จีเอ็มมีเจ้าหนี้เป็นสถาบันการเงินใหญ่กว่า 120 แห่ง ไม่นับรวมผู้ถือหุ้นรายย่อยอีกราวแสนคน
เจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้ของจีเอ็มจำนวนไม่น้อยกำลังโวยวายว่า จีเอ็มภายใต้การผลักดันของรัฐบาล กำลังเรียกร้องการเสียสละจากพวกเจ้าหนี้ ยิ่งกว่าทางสหภาพแรงงานและฝ่ายอื่นๆ
เคน อีเกิลเก แห่ง แคปิโตล ซีเคียวริตีส์ แมเนจเมนต์ บอกว่า ตามแผนการของรัฐบาลที่มีการรายงานข่าวกันนั้น พวกถือหุ้นกู้ซึ่งตามกฎหมายถือเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ที่ต้องมีฐานะเหนือเจ้าหนี้อื่นๆ กลับจะต้องยกหนี้จำนวนถึง 27,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อแลกกับหุ้นเพียง 10% ในบริษัทจีเอ็มหลังปรับโครงสร้างใหม่ แต่กระทรวงการคลังสหรัฐฯและฝ่ายสหภาพแรงงานที่ยกหนี้จำนวน 20,000 ล้านดอลลาร์ จะได้หุ้นจีเอ็มใหม่เป็นจำนวนถึง 89%
กระนั้นก็ตาม ดักลาส เบิร์นสไตน์ นักกฎหมายในมิชิแกนที่เป็นตัวแทนของซัปพลายเออร์ยานยนต์ในกรณีไครสเลอร์ เชื่อว่าผู้ถือหุ้นกู้ของจีเอ็มไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากยอมรับแผน ดีกว่าต้องแทงบัญชีหนี้สูญ
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมองว่า แม้แต่เมื่อแผนลดต้นทุนของจีเอ็มผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา ตามเส้นตายที่ให้ไว้เมื่อปลายเดือนมีนาคม แต่พี่ใหญ่แห่งดีทรอยต์รายนี้ก็อาจเลือกขอความคุ้มครองจากศาลล้มละลายเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดีลเลอร์ฟ้องร้อง เนื่องจากบริษัทมีแผนลดเครือข่ายดีลเลอร์ลง 40% และปิดโชว์รูม 2,300 แห่งภายในปลายปีหน้า
สำหรับทางด้านไครสเลอร์นั้น กำลังรอคำวินิจฉัยสำคัญจากศาลล้มละลายในวันพุธ (27) ที่จะเปิดทางให้บริษัทสามารถขายธุรกิจหลักให้บริษัทไครสเลอร์ใหม่ ที่มีเฟียตร่วมเป็นพันธมิตร ซึ่งจะเท่ากับสามารถเดินหน้าปรับโครงสร้างเพื่อสะสางปัญหาอย่างรวดเร็วตามที่รัฐบาลคาดหวัง เนื่องจากจะทำให้ไครสเลอร์หลุดพ้นจากสภาพล้มละลายกลายเป็นบริษัทใหม่ที่บริหารโดยเฟียตจากอิตาลี แต่มีสหาภาพแรงงานยูเอดับเบิลยูถือหุ้นใหญ่ และรัฐบาลสหรัฐฯ และแคนาดาถือหุ้นบางส่วน
อย่างไรก็ตาม บรูซ เบลโซวสกี้ จากสถาบันวิจัยด้านการขนส่งของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ชี้ว่าการรวมพลังระหว่างไครสเลอร์-เฟียตยังต้องเจอความท้าทายอีกมาก อาทิ สภาพเศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในภาวะถดถอย
ทว่า ดานา จอห์นสัน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของคอมเมอร์เชียล แบงก์ มองต่างมุมว่าหลังจากสะสางหนี้และต้นทุนอื่นๆ แล้ว ไครสเลอร์-เฟียตอาจฟื้นตัวได้ นอกจากนี้ ยังเป็นที่คาดว่าเศรษฐกิจจะถึงจุดต่ำสุดในช่วงครึ่งหลังปีนี้ ซึ่งหมายถึงแนวโน้มขาขึ้นของยอดขายรถยนต์ที่จะเกิดขึ้นปลายปีนี้
เดวิด โคล ประธานศูนย์เพื่อการวิจัยด้านยานยนต์ในมิชิแกน ขานรับว่าสถานการณ์ของผู้เล่นในดีทรอยต์จะดีขึ้น หลังลดต้นทุนจากการลดศักยภาพการผลิต รวมถึงตัดค่าใช้จ่ายด้านกฎหมายออกไป อันจะทำให้จุดคุ้มทุนอยู่ที่ยอดขายเพียงปีละ 10 ล้านคัน ลดจาก 15-16 ล้านคันในขณะนี้ ซึ่งจากการคาดหมายว่ายอดขายโดยรวมจะเพิ่มขึ้นเป็น 13-14 ล้านคัน จึงหมายความว่าผู้เล่นจะมีศักยภาพการทำกำไรสูงขึ้น
มุมมองแง่ดีเหล่านี้สอดรับกับการให้สัมภาษณ์ของโอบามาต่อสถานีทีวีสเปนเมื่อวันเสาร์ (23) หรือเพียงหนึ่งวันหลังจากกระทรวงคลังสหรัฐฯ อัดฉีดเงินเพิ่มให้จีเอ็มจนขณะนี้ยอดรวมเป็นกว่า 19,000 ล้านดอลลาร์
ผู้นำแดนอินทรีแสดงความเชื่อมั่นว่าทั้งจีเอ็มและไครสเลอร์จะกลับมาใหม่ในสภาพที่กระฉับกระเฉง มุ่งมั่นและมีศักยภาพการแข่งขันมากขึ้นเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้น ด้วยสายผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ดึงดูดใจลูกค้า นั่นคือรถแห่งอนาคตที่ใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แม้โอบามาไม่ได้เอ่ยถึงทางเลือกของจีเอ็มในการล้มละลาย แต่ได้แสดงความกังวลต่อผลที่อาจเกิดตามมาจากการปลดแรงงานในอุตสาหกรรมรถยนต์