ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) ได้รายงานผลทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress Test) ของสถาบันการเงินขนาดใหญ่จำนวน 19 แห่ง ของสหรัฐอเมริกา ที่มีสินทรัพย์รวมทั้งหมดมากกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นไปผลการทดสอบภาวะวิกฤติในกรณีที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งสรุปว่า สถาบันการเงินที่ไม่ต้องเพิ่มทุนมีจำนวน 9 แห่งประกอบไปด้วย JP Morgan Chase, Goldman Sachs, MetLife, US Bancorp, Capital One Financial , Bank of New York Mellon, BB&T, American Express และ State Street ในขณะที่ธนาคารอีก 10 แห่ง ต้องเพิ่มเงินทุนเป็นจำนวน 74,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบไปด้วย Bank of America, Wells Fargo, Citigroup,Morgan Stanley, PNC Financial Services, GMAC, SunTrust, Regions Financial, Fifth Third Bancorp และKeyCorp
ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดตาม Fed ประเมิน ความเสียหายทั้งหมดของสถาบันการเงิน 19 แห่ง ถึงสิ้นปี 2553 อยู่ที่599,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับการคาดการณ์ความเสียหายของสถาบันการเงินสหรัฐฯโดยรวมทั้งหมดในปี 2552 – 2553 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ล่าสุด ณ เดือน เม.ย. 2552 ซึ่งอยู่ที่550,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะพบว่าความเสียหายตามการคาดการณ์ของ Fed ในส่วนของสถาบันการเงิน 19แห่ง สูงกว่าการคาดการณ์ของ IMF ซึ่งคาดการณ์ความเสียหายของสถาบันการเงินสหรัฐฯทั้งหมด
ขณะที่ สถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) ประเมิน ใน เรื่องสมมติฐานของ Fed ที่ใช้ประเมินโดยเฉพาะกรณีที่เลวร้ายที่สุดสอดคล้องกับความเป็นจริงของพัฒนาการของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาหรือไม่ ด้านจำนวนเงินทุนที่สถาบันการเงินสหรัฐฯต้องเพิ่มทุนของในอนาคตมีโอกาสจะสูงกว่าที่ Fed ประเมินไว้หรือไม่ และผลกระทบเบื้องต้นของการเพิ่มทุนสถาบันการเงินสหรัฐฯต่อส่วนอื่นๆของระบบเศรษฐกิจ โดยใช้รายงานประเมินเสถียรภาพระบบการเงินโลกของ IMF มาเทียบเคียงกับการประเมินของ Fed
เปรียบเทียบสมมติฐานของ Fed และ IMF
การทดสอบภาวะวิกฤติของ Fed ใช้สมมติฐานทางเศรษฐกิจที่เข้มงวดกว่า แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯที่จะเกิดขึ้นจริง ส่งผลให้การประเมินทั้งในด้านการเพิ่มทุนและสถานะความมั่นคงของธนาคาร 19 แห่งของ Fed มีแนวโน้มที่จะทนทานต่อภาวะวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯได้ ในเงื่อนไขที่ภาวะเศรษฐกิจจริงไม่เลวร้ายไปกว่าสมมติฐานทางเศรษฐกิจที่ Fed ใช้ ในแง่วงเงินที่ธนาคารทั้ง 10 แห่งต้องทำการเพิ่มทุนนั้นจะสามารถครอบคลุมและรองรับความเสียหายจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตได้ ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในทางบวกต่อตลาดว่าวิกฤติการเงินโดยเฉพาะสถานะของธนาคารสหรัฐฯ ขนาดใหญ่ 19 แห่ง มีแนวโน้มสูงที่จะไม่มีธนาคารใน 19 แห่ง ต้องล้มไปในช่วงปี 2552-2553
สมมติฐานของ Fed ในการทำ Stress Test และการคาดการณ์ของ IMF
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) Fed มีสมมติฐาน อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดในปี 2552 และ 2553 อยู่ที่ -3.3% yoy และ 0.5%yoy ในขณะที่ IMF ประเมินว่า จะอยู่ที่ -2.8% yoy และ 0% yoy ตามลำดับ SCRI ประเมินว่า การที่IMF ประเมินอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯปี 2553 เลวร้ายน้อยกว่า Fed เพราะว่า GDPGrowth Rate ในปี 2553 ที่ 0% yoy จากฐานปี 2552 ที่หดตัว -2.8% yoy แย่น้อยกว่าของ Fed ที่หดตัวในปี 2552 ที่ -3.3% yoy และขยายตัวที่ 0.5% yoy กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การขยายตัวของ GDP ปี2553 ตามสมมติฐานของ Fed ถ้าพิจารณาเป็นมูลค่า GDP ที่ปรับด้วยราคาคงที่ (Constant Price) จะน้อยกว่าของมูลค่า GDP ปี 2553 ตามการคาดการณ์ของ IMF ที่ปรับด้วยราคาคงที่
การคาดการณ์ความเสียหายของสินเชื่อ (Total Loan Loss Rate) พบว่า ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดของ Fed ระดับความเสียหายของสินเชื่อหรือระดับหนี้เสีย (NPL Ratio) ที่จะเกิดขึ้นกับสถาบันการเงินทั้ง 19 แห่ง อยู่ที่ 9.1% ในขณะที่ของ IMF จะอยู่ที่ 10.2% อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการประเมินของ IMFในส่วนของ NPL Ratio จะสูงกว่า Fed สำหรับในส่วนการประเมินของ IMFที่มีการประเมินระดับความเสียหายของสินเชื่อสูงกว่า Fed เป็นเพราะว่าการประเมินของ IMFครอบคลุมสถาบันการเงินประเภทต่างๆของสหรัฐฯ ทั้งหมด
อัตราการว่างงานสหรัฐฯ Fed คาดการณ์ว่าในกรณีเลวร้ายที่สุด ในปี 2552 และ 2553 อัตราการว่างงาน จะอยู่ที่ 8.9% และ 10.3% ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลล่าสุดของการว่างงานสหรัฐฯ ในเดือน เม.ย.2552 อยู่ที่ 8.9% และมีการคาดว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มเป็น 9.5% ในปลายปี 2552 แต่จะปรับลดลงในปี 2553 ซึ่งเมื่อนำการคาดการณ์ของตลาดมาเปรียบเทียบกับสมมติฐานในกรณีเลวร้ายที่สุดของ Fedที่อัตราการว่างงานสูงที่ 10.3% จะพบว่าสมมติฐานของ Fed ค่อนข้างที่จะเลวร้ายกว่าความเป็นจริงที่ตลาดคาดการณ์ค่อนข้างมาก เพราะการคาดการณ์ของตลาดประเมินอัตราการว่างงานจะสูงสุด (peak)ที่ 9.5% และอัตราการว่างงานจะทยอยลดลง ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดของ Fed เทียบกับ การคาดการณ์ของตลาดและIMF สมมติฐานของ Fed น่าจะครอบคลุมต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เมื่อพิจารณาถึงระดับการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินถือว่าเป็นวงเงินที่ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์เป็นอันมากและมีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่สถาบันการเงิน จะทำการเพิ่มทุนได้แล้วเสร็จทั้งหมด และถ้ามีเหตุที่สถาบันการเงินบางแห่งไม่สามารถเพิ่มทุนจากภาคเอกชนได้ SCRI ประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะเข้ามาทำการเพิ่มทุนให้ เพราะวงเงินเพิ่มทุนในกรอบที่ 74,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นกรอบที่รัฐบาลสหรัฐฯ มีศักยภาพที่สามารถเพิ่มทุนให้ได้ประการสำคัญ การประเมินของ Fed บ่งชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มที่สถาบันการเงินทั้ง 19 แห่งจะล้มนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำมาก
เปรียบเทียบวงเงินเพิ่มทุนของ Fed และ IMF
Fed และ IMF ยังมีวิธีการคำนวณเงินเพิ่มทุนของของสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่แตกต่างกัน โดย Fed ประเมินเฉพาะการเพิ่มทุนบนฐานของสินทรัพย์เสี่ยง (Risk-Weighted Asset) ในขณะที่ IMF ประเมินการเพิ่มทุนบนฐานของสินทรัพย์ทั้งหมด (Tangible Asset) Fed ประเมินว่าจำนวนเงินเพิ่มทุนที่สถาบันการเงิน 10 แห่ง จะต้องเพิ่มทุนอยู่ในวงเงิน 74,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคำนวณจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1)ต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Risk–WeightedAsset) ที่ระดับ 6% ในขณะที่เกณฑ์สากลหรือมาตรฐาน Basel 2 อยู่ที่ 4.25% และ มูลค่าของเงินทุนที่แท้จริง (Tangible Common Equity : TCE) ต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Risk–Weighted Asset) หรือTCE/TA อยู่ที่ 4% IMF คาดการณ์การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินสหรัฐฯออกเป็น 2 กรณี คือ เกณฑ์การเพิ่มทุนโดยกำหนดให้เงินทุนที่แท้จริง (Tangible Common Equity หรือ TCE) ต่อสินทรัพย์ทั้งหมด (TangibleAsset: TA) ที่ 4% พบว่าสถาบันการเงินสหรัฐฯของสหรัฐจะต้องเพิ่มทุนเป็นวงเงินประมาณ 275,000ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ เกณฑ์เงินทุนที่แท้จริงต่อสินทรัพย์ทั้งหมด (TCE/TA) อยู่ที่ 6% พบว่าภายใต้เกณฑ์ดังกล่าว สถาบันการเงินสหรัฐฯทั้งหมดจะต้องเพิ่มทุนประมาณ 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม วงเงินการเพิ่มทุนตามการประเมินของ IMF เป็นวงเงินสำหรับสถาบันการเงินประเภทต่างๆทั้งหมดของสหรัฐฯ ในช่วงปี 2552 – 2553 ในขณะที่วงเงินเพิ่มทุนของ Fed เป็นวงเงินการเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน 10 แห่ง ซึ่งการใช้เกณฑ์ สินทรัพย์เสี่ยง (Risk-Weighted Asset) ของ Fed เป็นตัวเปรียบเทียบในการเพิ่มทุนย่อมดีกว่าการใช้มูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด (Tangible Asset) เพราะการใช้มูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด ไม่สามารถสะท้อนคุณภาพและความเสี่ยงของสินทรัพย์ได้ดีกว่าการใช้เกณฑ์ของสินทรัพย์เสี่ยง แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินสหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าการประเมินล่าสุดของตลาดและการคาดการณ์ของ IMF ค่อนข้างมาก ซึ่งอาจจะบ่งชี้ว่าการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินสหรัฐฯ ทั้งหมดอาจจะต่ำกว่าการคาดการณ์ของ IMF ซึ่งเป็นผลดีต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจและจิตวิทยาตลาด
ผลกระทบเบื้องต้นของการเพิ่มทุนต่อระบบเศรษฐกิจ
ในระยะสั้น ตลาดมีความชัดเจนว่ามีโอกาสในระดับต่ำที่สถาบันการเงินขนาดใหญ่ของสหรัฐฯจะล้มจากวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ในระยะสั้นนั้นการเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน 10 แห่งจะดึงสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกให้ตึงตัวและถ้าสถาบันการเงินรายใดใน 10 แห่ง ไม่สามารถเพิ่มทุนได้ ก็มีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลสหรัฐฯจะเข้ามาทำการเพิ่มทุนให้
โดยในระยะยาว เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนนั้นจำต้องอาศัยภาคธนาคารซึ่งไม่เพียงแต่ทำการเพิ่มทุนเพื่อรองรับความเสียหายของสินทรัพย์อันเกิดจากวิกฤติเศรษฐกิจเท่านั้น หากแต่ภาคธนาคารจะต้องเพิ่มทุนจนมีทุนเพียงพอที่จะทำการปล่อยสินเชื่อเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจกลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง ซึ่ง ณ ขณะนี้ปัญหาภาคการเงินสหรัฐฯ เดินมาถึงครึ่งทางแล้ว คือป้องกันไม่ให้ธนาคารล้มจนเกิดความตระหนกในระบบเศรษฐกิจทั้งด้านผู้ฝากเงินและด้านนักลงทุนรวมทั้งเจ้าหนี้ ส่วนเส้นทางต่อไป คือ การเพิ่มทุนของธนาคารเพื่อที่จะปล่อยสินเชื่อได้อีกครั้ง
ด้านผู้จัดการกองทุนมีมุมมองความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวว่าอย่างไร อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล CFA ผู้อำนวยการ สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) ได้รายงานผลทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress Test) ของสถาบันการเงินขนาดใหญ่จำนวน 19 แห่ง ของสหรัฐอเมริกาว่า การจัดทำรายงานดังกล่าว เป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นแก่สถาบันการเงิน เพราะส่วนใหญ่การทำ Stress Test จะใช้ในกรณีที่เลวร้ายมากกว่า
โดย Stress Test ที่จัดทำออกมานั้น ถือเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะจะได้มีการรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่มีการเพิ่มทุนของแบงก์ทั้ง 10 ที่มีการประเมินว่าจะต้องมีการเพิ่มทุนในกรณีที่เลวร้ายนั้น หากเกิดขึ้นจริงจะไม่ทำให้ตลาดหุ้นได้รับผลกกระทบมากนักเพราะตลาดได้รับรู้มาก่อนหน้านี้แล้ว จาก Stress Test ที่จัดทำขึ้น
สำหรับการเพิ่มทุนของธนาคารทั้ง 10 แห่งนั้น จะมีการเพิ่มทุนก็ต่อเมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงเท่านั้น โดยจากผลสืบเนื่องในครั้งนี้ จะทำให้ผู้บริโภค รวมไปถึงนักลงทุนมีความมั่นใจในเศรษฐกิจสหรัฐเพิ่มมากขึ้น และจากจุดนี้จะช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาปรับตัวดีขึ้นมาได้
ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดตาม Fed ประเมิน ความเสียหายทั้งหมดของสถาบันการเงิน 19 แห่ง ถึงสิ้นปี 2553 อยู่ที่599,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับการคาดการณ์ความเสียหายของสถาบันการเงินสหรัฐฯโดยรวมทั้งหมดในปี 2552 – 2553 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ล่าสุด ณ เดือน เม.ย. 2552 ซึ่งอยู่ที่550,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะพบว่าความเสียหายตามการคาดการณ์ของ Fed ในส่วนของสถาบันการเงิน 19แห่ง สูงกว่าการคาดการณ์ของ IMF ซึ่งคาดการณ์ความเสียหายของสถาบันการเงินสหรัฐฯทั้งหมด
ขณะที่ สถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) ประเมิน ใน เรื่องสมมติฐานของ Fed ที่ใช้ประเมินโดยเฉพาะกรณีที่เลวร้ายที่สุดสอดคล้องกับความเป็นจริงของพัฒนาการของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาหรือไม่ ด้านจำนวนเงินทุนที่สถาบันการเงินสหรัฐฯต้องเพิ่มทุนของในอนาคตมีโอกาสจะสูงกว่าที่ Fed ประเมินไว้หรือไม่ และผลกระทบเบื้องต้นของการเพิ่มทุนสถาบันการเงินสหรัฐฯต่อส่วนอื่นๆของระบบเศรษฐกิจ โดยใช้รายงานประเมินเสถียรภาพระบบการเงินโลกของ IMF มาเทียบเคียงกับการประเมินของ Fed
เปรียบเทียบสมมติฐานของ Fed และ IMF
การทดสอบภาวะวิกฤติของ Fed ใช้สมมติฐานทางเศรษฐกิจที่เข้มงวดกว่า แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯที่จะเกิดขึ้นจริง ส่งผลให้การประเมินทั้งในด้านการเพิ่มทุนและสถานะความมั่นคงของธนาคาร 19 แห่งของ Fed มีแนวโน้มที่จะทนทานต่อภาวะวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯได้ ในเงื่อนไขที่ภาวะเศรษฐกิจจริงไม่เลวร้ายไปกว่าสมมติฐานทางเศรษฐกิจที่ Fed ใช้ ในแง่วงเงินที่ธนาคารทั้ง 10 แห่งต้องทำการเพิ่มทุนนั้นจะสามารถครอบคลุมและรองรับความเสียหายจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตได้ ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในทางบวกต่อตลาดว่าวิกฤติการเงินโดยเฉพาะสถานะของธนาคารสหรัฐฯ ขนาดใหญ่ 19 แห่ง มีแนวโน้มสูงที่จะไม่มีธนาคารใน 19 แห่ง ต้องล้มไปในช่วงปี 2552-2553
สมมติฐานของ Fed ในการทำ Stress Test และการคาดการณ์ของ IMF
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) Fed มีสมมติฐาน อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดในปี 2552 และ 2553 อยู่ที่ -3.3% yoy และ 0.5%yoy ในขณะที่ IMF ประเมินว่า จะอยู่ที่ -2.8% yoy และ 0% yoy ตามลำดับ SCRI ประเมินว่า การที่IMF ประเมินอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯปี 2553 เลวร้ายน้อยกว่า Fed เพราะว่า GDPGrowth Rate ในปี 2553 ที่ 0% yoy จากฐานปี 2552 ที่หดตัว -2.8% yoy แย่น้อยกว่าของ Fed ที่หดตัวในปี 2552 ที่ -3.3% yoy และขยายตัวที่ 0.5% yoy กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การขยายตัวของ GDP ปี2553 ตามสมมติฐานของ Fed ถ้าพิจารณาเป็นมูลค่า GDP ที่ปรับด้วยราคาคงที่ (Constant Price) จะน้อยกว่าของมูลค่า GDP ปี 2553 ตามการคาดการณ์ของ IMF ที่ปรับด้วยราคาคงที่
การคาดการณ์ความเสียหายของสินเชื่อ (Total Loan Loss Rate) พบว่า ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดของ Fed ระดับความเสียหายของสินเชื่อหรือระดับหนี้เสีย (NPL Ratio) ที่จะเกิดขึ้นกับสถาบันการเงินทั้ง 19 แห่ง อยู่ที่ 9.1% ในขณะที่ของ IMF จะอยู่ที่ 10.2% อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการประเมินของ IMFในส่วนของ NPL Ratio จะสูงกว่า Fed สำหรับในส่วนการประเมินของ IMFที่มีการประเมินระดับความเสียหายของสินเชื่อสูงกว่า Fed เป็นเพราะว่าการประเมินของ IMFครอบคลุมสถาบันการเงินประเภทต่างๆของสหรัฐฯ ทั้งหมด
อัตราการว่างงานสหรัฐฯ Fed คาดการณ์ว่าในกรณีเลวร้ายที่สุด ในปี 2552 และ 2553 อัตราการว่างงาน จะอยู่ที่ 8.9% และ 10.3% ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลล่าสุดของการว่างงานสหรัฐฯ ในเดือน เม.ย.2552 อยู่ที่ 8.9% และมีการคาดว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มเป็น 9.5% ในปลายปี 2552 แต่จะปรับลดลงในปี 2553 ซึ่งเมื่อนำการคาดการณ์ของตลาดมาเปรียบเทียบกับสมมติฐานในกรณีเลวร้ายที่สุดของ Fedที่อัตราการว่างงานสูงที่ 10.3% จะพบว่าสมมติฐานของ Fed ค่อนข้างที่จะเลวร้ายกว่าความเป็นจริงที่ตลาดคาดการณ์ค่อนข้างมาก เพราะการคาดการณ์ของตลาดประเมินอัตราการว่างงานจะสูงสุด (peak)ที่ 9.5% และอัตราการว่างงานจะทยอยลดลง ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดของ Fed เทียบกับ การคาดการณ์ของตลาดและIMF สมมติฐานของ Fed น่าจะครอบคลุมต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เมื่อพิจารณาถึงระดับการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินถือว่าเป็นวงเงินที่ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์เป็นอันมากและมีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่สถาบันการเงิน จะทำการเพิ่มทุนได้แล้วเสร็จทั้งหมด และถ้ามีเหตุที่สถาบันการเงินบางแห่งไม่สามารถเพิ่มทุนจากภาคเอกชนได้ SCRI ประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะเข้ามาทำการเพิ่มทุนให้ เพราะวงเงินเพิ่มทุนในกรอบที่ 74,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นกรอบที่รัฐบาลสหรัฐฯ มีศักยภาพที่สามารถเพิ่มทุนให้ได้ประการสำคัญ การประเมินของ Fed บ่งชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มที่สถาบันการเงินทั้ง 19 แห่งจะล้มนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำมาก
เปรียบเทียบวงเงินเพิ่มทุนของ Fed และ IMF
Fed และ IMF ยังมีวิธีการคำนวณเงินเพิ่มทุนของของสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่แตกต่างกัน โดย Fed ประเมินเฉพาะการเพิ่มทุนบนฐานของสินทรัพย์เสี่ยง (Risk-Weighted Asset) ในขณะที่ IMF ประเมินการเพิ่มทุนบนฐานของสินทรัพย์ทั้งหมด (Tangible Asset) Fed ประเมินว่าจำนวนเงินเพิ่มทุนที่สถาบันการเงิน 10 แห่ง จะต้องเพิ่มทุนอยู่ในวงเงิน 74,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคำนวณจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1)ต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Risk–WeightedAsset) ที่ระดับ 6% ในขณะที่เกณฑ์สากลหรือมาตรฐาน Basel 2 อยู่ที่ 4.25% และ มูลค่าของเงินทุนที่แท้จริง (Tangible Common Equity : TCE) ต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Risk–Weighted Asset) หรือTCE/TA อยู่ที่ 4% IMF คาดการณ์การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินสหรัฐฯออกเป็น 2 กรณี คือ เกณฑ์การเพิ่มทุนโดยกำหนดให้เงินทุนที่แท้จริง (Tangible Common Equity หรือ TCE) ต่อสินทรัพย์ทั้งหมด (TangibleAsset: TA) ที่ 4% พบว่าสถาบันการเงินสหรัฐฯของสหรัฐจะต้องเพิ่มทุนเป็นวงเงินประมาณ 275,000ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ เกณฑ์เงินทุนที่แท้จริงต่อสินทรัพย์ทั้งหมด (TCE/TA) อยู่ที่ 6% พบว่าภายใต้เกณฑ์ดังกล่าว สถาบันการเงินสหรัฐฯทั้งหมดจะต้องเพิ่มทุนประมาณ 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม วงเงินการเพิ่มทุนตามการประเมินของ IMF เป็นวงเงินสำหรับสถาบันการเงินประเภทต่างๆทั้งหมดของสหรัฐฯ ในช่วงปี 2552 – 2553 ในขณะที่วงเงินเพิ่มทุนของ Fed เป็นวงเงินการเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน 10 แห่ง ซึ่งการใช้เกณฑ์ สินทรัพย์เสี่ยง (Risk-Weighted Asset) ของ Fed เป็นตัวเปรียบเทียบในการเพิ่มทุนย่อมดีกว่าการใช้มูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด (Tangible Asset) เพราะการใช้มูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด ไม่สามารถสะท้อนคุณภาพและความเสี่ยงของสินทรัพย์ได้ดีกว่าการใช้เกณฑ์ของสินทรัพย์เสี่ยง แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินสหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าการประเมินล่าสุดของตลาดและการคาดการณ์ของ IMF ค่อนข้างมาก ซึ่งอาจจะบ่งชี้ว่าการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินสหรัฐฯ ทั้งหมดอาจจะต่ำกว่าการคาดการณ์ของ IMF ซึ่งเป็นผลดีต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจและจิตวิทยาตลาด
ผลกระทบเบื้องต้นของการเพิ่มทุนต่อระบบเศรษฐกิจ
ในระยะสั้น ตลาดมีความชัดเจนว่ามีโอกาสในระดับต่ำที่สถาบันการเงินขนาดใหญ่ของสหรัฐฯจะล้มจากวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ในระยะสั้นนั้นการเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน 10 แห่งจะดึงสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกให้ตึงตัวและถ้าสถาบันการเงินรายใดใน 10 แห่ง ไม่สามารถเพิ่มทุนได้ ก็มีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลสหรัฐฯจะเข้ามาทำการเพิ่มทุนให้
โดยในระยะยาว เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนนั้นจำต้องอาศัยภาคธนาคารซึ่งไม่เพียงแต่ทำการเพิ่มทุนเพื่อรองรับความเสียหายของสินทรัพย์อันเกิดจากวิกฤติเศรษฐกิจเท่านั้น หากแต่ภาคธนาคารจะต้องเพิ่มทุนจนมีทุนเพียงพอที่จะทำการปล่อยสินเชื่อเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจกลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง ซึ่ง ณ ขณะนี้ปัญหาภาคการเงินสหรัฐฯ เดินมาถึงครึ่งทางแล้ว คือป้องกันไม่ให้ธนาคารล้มจนเกิดความตระหนกในระบบเศรษฐกิจทั้งด้านผู้ฝากเงินและด้านนักลงทุนรวมทั้งเจ้าหนี้ ส่วนเส้นทางต่อไป คือ การเพิ่มทุนของธนาคารเพื่อที่จะปล่อยสินเชื่อได้อีกครั้ง
ด้านผู้จัดการกองทุนมีมุมมองความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวว่าอย่างไร อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล CFA ผู้อำนวยการ สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) ได้รายงานผลทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress Test) ของสถาบันการเงินขนาดใหญ่จำนวน 19 แห่ง ของสหรัฐอเมริกาว่า การจัดทำรายงานดังกล่าว เป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นแก่สถาบันการเงิน เพราะส่วนใหญ่การทำ Stress Test จะใช้ในกรณีที่เลวร้ายมากกว่า
โดย Stress Test ที่จัดทำออกมานั้น ถือเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะจะได้มีการรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่มีการเพิ่มทุนของแบงก์ทั้ง 10 ที่มีการประเมินว่าจะต้องมีการเพิ่มทุนในกรณีที่เลวร้ายนั้น หากเกิดขึ้นจริงจะไม่ทำให้ตลาดหุ้นได้รับผลกกระทบมากนักเพราะตลาดได้รับรู้มาก่อนหน้านี้แล้ว จาก Stress Test ที่จัดทำขึ้น
สำหรับการเพิ่มทุนของธนาคารทั้ง 10 แห่งนั้น จะมีการเพิ่มทุนก็ต่อเมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงเท่านั้น โดยจากผลสืบเนื่องในครั้งนี้ จะทำให้ผู้บริโภค รวมไปถึงนักลงทุนมีความมั่นใจในเศรษฐกิจสหรัฐเพิ่มมากขึ้น และจากจุดนี้จะช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาปรับตัวดีขึ้นมาได้