xs
xsm
sm
md
lg

การลงทุนใน Stock Futures (ตอนจบ)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


คอลัมน์ ถนนสู่การลงทุน
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต

กลยุทธ์ Calendar Spread
เป็นกลยุทธ์ที่ใช้การซื้อและขายฟิวเจอร์สของหุ้นสามัญตัวเดียวกัน แต่มีเดือนของอายุสัญญาต่างกัน เช่น ซื้อฟิวเจอร์สของหุ้น XYZ เดือนมีนาคม พร้อมกับขายฟิวเจอร์สของหุ้น XYZ เดือนมิถุนายน พร้อมๆกัน

กลยุทธ์นี้จะนำมาใช้เมื่อ ผู้ลงทุนคาดการณ์ว่า ราคา Stock Futures ที่มีอายุต่างกันจะเคลื่อนไหวเข้าหากัน ทำให้ส่วนต่าง (Spread) ระหว่างราคาฟิวเจอร์สลดลง หรือหากมีการเคลื่อนไหวออกจากกัน จะทำให้ Spread เพิ่มขึ้น

หากผู้ลงทุนคาดว่า Spread จะเพิ่มขึ้น ผู้ลงทุนจะใช้กลยุทธ์ ซื้อสัญญาไกล และขายสัญญาใกล้ (Long Spread) แต่ถ้าผู้ลงทุนคาดว่า Spread จะลดลง ผู้ลงทุนจะใช้กลยุทธ์ ซื้อสัญญาใกล้ ขายสัญญาไกล (Short Spread) เป็นทางกลับกัน

ถ้าอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ฟิวเจอร์สตัวไกล มีราคาเพิ่มสูงมากกว่าตัวใกล้ ทำให้ Spread เพิ่มขึ้น ตัวอย่าง ถ้าผู้ลงทุนคาดว่า Spread ระหว่างสัญญา XYZH09 (มีนาคม) และ XYZ M09 (มิถุนายน) จะเพิ่มขึ้น ผู้ลงทุนเลือกใช้ กลยุทธ์ Long Spread คือ ซื้อสัญญาไกล ขายสัญญาใกล้ เช่น วันที่ 1 มีนาคม ผู้ลงทุนซื้อสัญญา XYZM09 (ไกล) ราคา 110 บาท และขายสัญญา XYZH09 (ใกล้) ราคา 100 บาท อย่างละ 1 สัญญา ผู้ลงทุนจึงมี Spread = 110 – 100 =10

หากต่อมาวันที่ 20 มีนาคม Spread ทั้งสองสัญญาเป็นไปตามที่ผู้ลงทุนคาดการณ์ไว้ ผู้ลงทุนจะสามารถปิดสถานะ คือขายสัญญา XYZM09 (ไกล) ราคา 122 บาท และซื้อสัญญา XYZH09 (ใกล้) ราคา 110 บาท อย่างละ 1 สัญญา จึงทำให้มี Spread = 122 – 110 = 12
สรุปผลการซื้อขายผู้ลงทุนจะได้กำไรดังนี้
XYZH09 = (ราคาขาย 100 – ราคาซื้อ 110) * 1,000 หุ้น = -10,000 บาท
XYZM09 = (ราคาขาย 122 – ราคาซื้อ 110) * 1,000 หุ้น = 12,000 บาท
กำไรของผู้ลงทุนคือ -10,000 + 12,000 = 2,000 บาท

กลยุทธ์ Pairs Trading
กลยุทธ์นี้จะถูกนำมาใช้เมื่อ ผู้ลงทุนคาดการณ์ว่าหุ้นตัวหนึ่งจะมีผลประกอบการดีกว่าหุ้นอีกตัวหนึ่งซึ่งอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวหันกลยุทธ์นี้ จะทำการ Long Futures ของหุ้นที่คาดการณ์ว่าจะมีผลกระกอบการณ์ดี พร้อมกับ Short Futures ของหุ้นที่คาดการณ์ว่าจะมีผลประกอบการณ์ด้อยกว่า โดยที่กำไรขาดทุนของผู้ลงทุนจะอยู่ที่ส่วนต่างของราคา Stock Futures ทั้ง 2 หุ้น โดยไม่มีผลกระทบอื่น ๆ จากภาวะตลาด

หากผู้ลงทุนไม่แน่ใจว่า ในเดือนมิถุนายน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือลดลง แต่ผู้ลงทุนมีความมั่นใจว่าหุ้นสามัญ AAA จะมีผลประกอบการณ์ดีกว่า หุ้นสามัญ BBB ผู้ลงทุนจึงทำการตัดสินใจ Long AAA Futures AAAM09 ราคา 150 บาท และ Short BBB Futures BBBM09 ราคา 110 บาท

ถ้าตลาดเกิดการปรับตัวสูงขึ้น AAAM09 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 160 บาท และ BBBM09 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 115 บาท ผู้ลงทุนปิดสถานะโดย Short AAAM09 ที่ราคา 160 บาท และ Long BBBM09 ที่ราคา 115 บาท
AAAM09 = (160 – 150) * 1,000 หุ้น = 10,000 บาท
BBBM09 = (110 – 115) * 1,000 หุ้น = - 5,000 บาท
รวมกำไร = 10,000 – 5,000 = 5,000 บาท

ถ้าตลาดปรับตัวลดลง AAAM09 ปรับตัวลดลงเป็น 141 บาท และ BBBM09 ปรับตัวลดลงเป็น 99 บาท ผู้ลงทุนปิดสถานะโดย Short AAAM09 ที่ราคา 141 บาท และ Long BBBM09 ที่ราคา 99 บาท
AAAM09 = (141 – 150) * 1,000 หุ้น = - 9,000 บาท
BBBM09 = (110 – 99) * 1,000 หุ้น = 11,000 บาท
รวมกำไร = -9,000 + 11,000 = 2,000 บาท
กำลังโหลดความคิดเห็น