บลจ.บัวหลวง ชูกลยุทธ์ลงทุนช่วงวิกฤต เน้นความระมัดระวัง ติดตามอย่างใกล้ชิด สร้างผลตอบแทนที่ดีให้ลูกค้า เผยเน้นกระจายความเสี่ยง บวกกับการคัดสรรหุ้นดี ศักยภาพเติบโตระยะยาวเข้าพอร์ต พร้อมปรับเปลี่ยนพอร์ตทุก 6 เดือนตามภาวะตลาด
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้การบริหารกองทุนหุ้นต้องมีความระมัดระวังและให้ความใกล้ชิดเป็นพิเศษ เพื่อทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดี ซึ่งจากกลยุทธ์การบริหารกองทุนของเรา ส่งผลให้กองทุนหุ้นของบลจ.บัวหลวง ได้รับรางวัลจากลิปเปอร์ในการบริหารกองทุนหุ้นยอดเยี่ยมอีกด้วย
โดยกลยุทธ์ของบริษัท จะเน้นลงทุนด้วยหลักการกระจายความเสี่ยง (asset allocation) บวกกับการคัดสรรหุ้น (stock selection) ที่ดี เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ไม่เกิน 10 ตัว โดยคัดเลือกหุ้นโดยใช้ทั้งการวิเคราะห์มหภาค Top Down ผสมผสานกับการวิเคราะห์แบบ Bottom up เพื่อหาหุ้นที่สามารถสร้างผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในสภาวะการณ์นั้นๆ และส่วนที่สำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า asset allocation และ stock selection ก็คือเวลาที่เหมาะสมในการเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ (Timing) ซึ่งโดยทฤษฎีนักลงทุนส่วนใหญ่จะมองว่า "Don’t time the market" แต่เราเชื่อว่าเราต้องใช้มันด้วย และก็ใช้มาตลอดในจังหวะที่เรามั่นใจเท่านั้น
นอกจากนี้ หุ้นที่ถูกเลือกเอง จะเน้นหุ้นที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ปันผลดีและสม่ำเสมอ ซึ่งในส่วนนี้ผู้จัดการกองทุนก็จะให้น้ำหนักการลงทุนเป็นพิเศษ โดยเราจะมีการทบทวนหุ้นที่อยู่ผ่านการคัดเลือกในพอร์ตทุกๆ 6 เดือน หรือเมื่อมีเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญต่อการลงทุน โดยจะมีการปรับน้ำหนักตามภาวะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหุ้นที่อยู่ในพอร์ต จะพิจารณาด้านศักยภาพในการเติบโตในระยะยาวมากกว่าช่วงสั้น มีราคาต่ำกว่ามูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานมาก มีบัญชีงบดุลที่โดดเด่นและมีทีมผู้บริหารที่มีประสบการณ์ เชื่อถือได้ในความสามารถและความโปร่งใส และสุดท้ายต้องมีสภาพคล่องในการซื้อขายพอสมควร
ปัจจุบัน บลจ.บัวหลวง มีกองทุนหุ้นภายใต้การบริหารจัดการด้วยกัน 8 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนเปิดบัวหลวงธนคม, กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน, กองทุนเปิดบัวแก้ว , กองทุนเปิดบัวแก้วปันผล , กองทุนเปิดบัวแก้ว 2 , กองทุนเปิดทรัพย์บัวหลวง , กองทุนเปิดบัวทศพล และกองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน
นางวรวรณกล่าวว่า นอกจากกองทุนหุ้นจะได้รับรางวัลจากลิปเปอร์จากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาแล้ว กองทุนผสมแบบยืดหยุ่นของบริษัทเองยังได้รับรางวัลด้วยเช่นกัน โดยกองทุนที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นในครั้งนี้ได้แก่กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ
ทั้งนี้ ในการบริหารกองทุนดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องตามนโยบายการลงทุนที่เน้นการลงทุนระยะยาว กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ เราจึงเน้นการกระจายความเสี่ยงเป็นพิเศษ ดังนั้น ในช่วงที่ตลาดหุ้นอยู่ในช่วงปรับตัวลดลง เราจะให้น้ำหนักกับการลงทุนในตราสารหนี้มากกว่าตราสารทุน เพื่อจำกัดความเสี่ยงขาลงได้ ณ ระดับหนึ่ง แต่หากในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้น เราจะเน้นลงทุนในหุ้นมากกว่าตราสารหนี้ เป็นต้น หุ้นที่เลือกลงทุนก็มี Criteria ในการคัดสรรไม่ต่างจากบัวหลวงทศพล แต่ที่แตกต่างคือ หุ้นที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายไม่มากแต่ให้ผลตอบแทนเงินปันผลที่ดี และยังมีศักยภาพในการเติบโตที่ดี ก็สามารถลงทุนได้ เนื่องจากผู้จัดการกองทุนจะทราบ cash outflow ที่แน่นอนเนื่องจากไม่ค่อยมีการไถ่ถอนมากนัก
สำหรับผลการดำเนินงานกองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ ณ วันที่ 27 มีนาคม 2552 กองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 0.61% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -1.44% ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ -28.78% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -12.09% ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ -32.93% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -20.18% และผลตอบแทนตั้งแต่ต่นปีอยู่ที่ 1.42% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -1.94%
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้การบริหารกองทุนหุ้นต้องมีความระมัดระวังและให้ความใกล้ชิดเป็นพิเศษ เพื่อทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดี ซึ่งจากกลยุทธ์การบริหารกองทุนของเรา ส่งผลให้กองทุนหุ้นของบลจ.บัวหลวง ได้รับรางวัลจากลิปเปอร์ในการบริหารกองทุนหุ้นยอดเยี่ยมอีกด้วย
โดยกลยุทธ์ของบริษัท จะเน้นลงทุนด้วยหลักการกระจายความเสี่ยง (asset allocation) บวกกับการคัดสรรหุ้น (stock selection) ที่ดี เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ไม่เกิน 10 ตัว โดยคัดเลือกหุ้นโดยใช้ทั้งการวิเคราะห์มหภาค Top Down ผสมผสานกับการวิเคราะห์แบบ Bottom up เพื่อหาหุ้นที่สามารถสร้างผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในสภาวะการณ์นั้นๆ และส่วนที่สำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า asset allocation และ stock selection ก็คือเวลาที่เหมาะสมในการเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ (Timing) ซึ่งโดยทฤษฎีนักลงทุนส่วนใหญ่จะมองว่า "Don’t time the market" แต่เราเชื่อว่าเราต้องใช้มันด้วย และก็ใช้มาตลอดในจังหวะที่เรามั่นใจเท่านั้น
นอกจากนี้ หุ้นที่ถูกเลือกเอง จะเน้นหุ้นที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ปันผลดีและสม่ำเสมอ ซึ่งในส่วนนี้ผู้จัดการกองทุนก็จะให้น้ำหนักการลงทุนเป็นพิเศษ โดยเราจะมีการทบทวนหุ้นที่อยู่ผ่านการคัดเลือกในพอร์ตทุกๆ 6 เดือน หรือเมื่อมีเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญต่อการลงทุน โดยจะมีการปรับน้ำหนักตามภาวะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหุ้นที่อยู่ในพอร์ต จะพิจารณาด้านศักยภาพในการเติบโตในระยะยาวมากกว่าช่วงสั้น มีราคาต่ำกว่ามูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานมาก มีบัญชีงบดุลที่โดดเด่นและมีทีมผู้บริหารที่มีประสบการณ์ เชื่อถือได้ในความสามารถและความโปร่งใส และสุดท้ายต้องมีสภาพคล่องในการซื้อขายพอสมควร
ปัจจุบัน บลจ.บัวหลวง มีกองทุนหุ้นภายใต้การบริหารจัดการด้วยกัน 8 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนเปิดบัวหลวงธนคม, กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน, กองทุนเปิดบัวแก้ว , กองทุนเปิดบัวแก้วปันผล , กองทุนเปิดบัวแก้ว 2 , กองทุนเปิดทรัพย์บัวหลวง , กองทุนเปิดบัวทศพล และกองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน
นางวรวรณกล่าวว่า นอกจากกองทุนหุ้นจะได้รับรางวัลจากลิปเปอร์จากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาแล้ว กองทุนผสมแบบยืดหยุ่นของบริษัทเองยังได้รับรางวัลด้วยเช่นกัน โดยกองทุนที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นในครั้งนี้ได้แก่กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ
ทั้งนี้ ในการบริหารกองทุนดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องตามนโยบายการลงทุนที่เน้นการลงทุนระยะยาว กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ เราจึงเน้นการกระจายความเสี่ยงเป็นพิเศษ ดังนั้น ในช่วงที่ตลาดหุ้นอยู่ในช่วงปรับตัวลดลง เราจะให้น้ำหนักกับการลงทุนในตราสารหนี้มากกว่าตราสารทุน เพื่อจำกัดความเสี่ยงขาลงได้ ณ ระดับหนึ่ง แต่หากในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้น เราจะเน้นลงทุนในหุ้นมากกว่าตราสารหนี้ เป็นต้น หุ้นที่เลือกลงทุนก็มี Criteria ในการคัดสรรไม่ต่างจากบัวหลวงทศพล แต่ที่แตกต่างคือ หุ้นที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายไม่มากแต่ให้ผลตอบแทนเงินปันผลที่ดี และยังมีศักยภาพในการเติบโตที่ดี ก็สามารถลงทุนได้ เนื่องจากผู้จัดการกองทุนจะทราบ cash outflow ที่แน่นอนเนื่องจากไม่ค่อยมีการไถ่ถอนมากนัก
สำหรับผลการดำเนินงานกองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ ณ วันที่ 27 มีนาคม 2552 กองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 0.61% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -1.44% ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ -28.78% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -12.09% ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ -32.93% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -20.18% และผลตอบแทนตั้งแต่ต่นปีอยู่ที่ 1.42% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -1.94%