ที่ผ่านมา เราได้ย้ำไปหลายต่อหลายครั้งแล้ว ถึงการจับจังหวะทยอยลงทุนสะสมไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้น ซึ่งตอนนี้ ต้องบอกว่าหลายต่อหลายคน ยังมองข้ามโอกาสได้ของถูกไปอยู่ และกว่าจะกล้าเข้ามาซื้อ ราคาหุ้นในตลาดก็แพงขึ้นไปแล้ว ถึงแม้จะยังถูกหากเทียบกับราคาก่อนหน้านี้ แต่โอกาสดีดีไม่ได้มีบ่อนครั้งไป
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เอง ก็เป็นกองทุนหุ้นที่น่าสนใจในจังหวะเช่นนี้เช่นกัน ซึ่งกองทุนประเภทนี้ ดูจะสอดคล้องกับสิ่งที่เราเกริ่นไปข้างต้น นั่นคือ นักลงทุนส่วนใหญ่รอซื้อช่วงปลายปีมากกว่า ซึ่งหากมองแบบนี้ แน่นอนว่าโอกาสเช่นนี้อาจจะไม่มีให้เห็นแล้ว (แต่ความเสี่ยงก็ยังมีเช่นกัน)...ส่วนใครที่กล้า และมองเห็นโอกาส "Best of Fund" สัปดาห์นี้ มีผลการดำเนินงานของกองทุน LTF ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 10 อันดับแรกในรอบ 3 เดือนแรกที่ผ่านมา...ไปดูกันว่ากองทุนไหน ตอบโจทย์การลงทุนในช่วงผันผวนเช่นนี้ได้บ้าง
สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทน อันดับ 1 ได้แก่ กองทุนเปิดหุ้นระยะยาวอยุธยาปันผล กองทุนภายใต้การบริหารจัดการของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด โดยกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (สิ้นสุด 31 มีนาคม 2552) อยู่ที่ 4.24% สูงกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ถึง 8.34%
อันดับ 2 กองทุนเปิดหุ้นระยะยาวอยุธยาปันผล 70/30 ของบลจ.อยุธยา ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี 2.92% เป็นบวกเมื่อเทียบกับผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์และสูงกว่าถึง 7.02%
อันดับ 3 กองทุนเปิดกรุงไทยหุ้นระยะยาว 70/30 ภายใต้พอร์ตของ บลจ.กรุงไทย ซึ่งกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี 0.16% สูงกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ 4.26%
อันดับ 4 กองทุนเปิดฟิลลิป หุ้นระยะยาว ของบลจ. ฟิลลิป พบว่ากองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากระดับเดิม แต่ยังเหนือกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ 4.10%
อันดับ 5 กองทุนเปิดอเบอร์ดีนหุ้นระยะยาว ภายใต้การบริหารของ บลจ.อเบอร์ดีน ซึ่งกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีติดลบไป 0.04% แต่ยังเหนือกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์เช่นกันที่ 4.06%
อันดับ 6 กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 ของบลจ.บัวหลวง ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี -1.05% เหนือกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 3.05%
อันดับ 7 กองทุนเปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 ของบลจ. พรีมาเวสท์ พบว่ากองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -1.07% ยังเหนือกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 3.03%
อันดับ 8 กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว ของค่าย บลจ.บัวหลวง โดยกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -1.08% สูงกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ 3.02%
อันดับ 9 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาว พลัส ภายใต้พอร์ตของ บลจ.ไทยพาณิชย์ กองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี -1.10% สูงกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ 3.00%
อันดับ 10 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 ภายใต้พอร์ตของ บลจ.ไทยพาณิชย์เช่นกัน โดยกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาติดลบ 1.21% แต่ก็ยังสูงกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ 2.89%
ทั้งนี้ ผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (เกณฑ์มาตรฐาน) ในช่วงเวลาเดียวกัน อยู่ที่ -4.10%
เปิดพอร์ตกองทุนอันดับ 1
นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.อยุธยา กล่าวว่า กองทุนเปิดหุ้นระยะยาวอยุธยาปันผล เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นที่มีกระแสเงินสดดีเป็นหลัก รวมถึงหุ้นที่มีการจ่ายปันผลในระดับสูง และบริษัทที่มีโอกาสการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงภาวะเศรษฐกิจจะไม่ดี ซึ่งบริษัทเหล่านี้ นอกจากต้องใช้เงินลงทุนแล้ว ยังมีกระแสเงินสดเหลือเพียงพอจ่ายปันผลในระดับที่สูงได้ด้วย
ทั้งนี้ จากปัจจัยทั้งหมดดังกล่าว ทำให้ผลตอบแทนของกองทุนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาออกมาอยู่ในระดับดีและเป็นบวกได้ และถึงแม้ในช่วงไตรมาส 1 ดัชนีหุ้นไทยจะค่อนข้างผันผวน แต่หุ้นที่กองทุนลงทุนส่วนใหญ่ ไม่แกว่งตัวตามตลาดมากนัก ขณะเดียวกัน ยังได้รับเงินปันผลจากหุ้นที่ลงทุนในระดับที่สูงด้วย และด้วยการจ่ายปันผลที่ดีดังกล่าว ทำให้มีดีมานด์จากนักลงทุนที่มองเห็นโอกาสรับเงินปันผลเข้าไปลงทุนมากขึ้น ส่งผลให้ราคาหุ้นในกลุ่มดังกล่าวปรับขึ้น และส่งผลต่อถึงผลตอบแทนของกองทุนด้วย
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหุ้นกลุ่มดังกล่าว หากลงทุนผ่านกองทุนรวม จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าหากนักลงทุนจะลงทุนเอง เพราะการลงทุนผ่านกองทุนรวม เป็นการใช้ผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ คอยดูแลพอร์ตการลงทุนให้ ทั้งการวิเคราะห์ความเสี่ยง การติดตามข้อมูล การเข้าไปพูดคุยกับผู้บริหาร ทำให้ผู้จัดการกองทุนมีข้อมูลและสามารถวิเคราะห์ตัวบริษัทและธุรกิจนั้นได้มากกว่า ซึ่งบางครั้งการลงทุนเอง อาจจะเกิดความผิดพลาดได้ โดยเฉพาะจังหวะและเวลาลงทุน เพราะส่วนใหญ่จะเน้นลงทุนในระยะสั้น
สำหรับกองทุนเปิดหุ้นระยะยาวอยุธยาปันผล มีนโยบายการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 โดยจะเน้นลงทุนในหุ้นที่มีแนวโน้มจ่ายเงินปันผลดีและหุ้นที่มีราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดต่ำถึงปานกลาง และกองทุนจะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) และตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร (Structured Note) ส่วนนโยบายเงินปันผล กองทุนจะจ่ายได้ก็ต่อเมื่อกองทุนมีกำไรสะสมและจะต้องไม่มีผลขาดทุนสะสมขึ้นในงวดปีบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น
ส่วนพอร์ตการลงทุนล่าสุด 10 อันดับแรกของหลักทรัพย์ที่ลงทุน (ณ วันที่ 31 มี.ค. 2552) ประกอบด้วย บมจ. ซีพี ออลล์ 14.56% บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 13.44% บมจ.บีอีซี เวิลด์ 11.09% บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป 8.38% บมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ 6.90% บมจ.สยามแม็คโคร 6.38% บมจ.เอ็ม บี เค 6.03% กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท 5.99% บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ 3.82% และบมจ.เบอร์ลี่ยุคเกอร์ 3.06%
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เอง ก็เป็นกองทุนหุ้นที่น่าสนใจในจังหวะเช่นนี้เช่นกัน ซึ่งกองทุนประเภทนี้ ดูจะสอดคล้องกับสิ่งที่เราเกริ่นไปข้างต้น นั่นคือ นักลงทุนส่วนใหญ่รอซื้อช่วงปลายปีมากกว่า ซึ่งหากมองแบบนี้ แน่นอนว่าโอกาสเช่นนี้อาจจะไม่มีให้เห็นแล้ว (แต่ความเสี่ยงก็ยังมีเช่นกัน)...ส่วนใครที่กล้า และมองเห็นโอกาส "Best of Fund" สัปดาห์นี้ มีผลการดำเนินงานของกองทุน LTF ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 10 อันดับแรกในรอบ 3 เดือนแรกที่ผ่านมา...ไปดูกันว่ากองทุนไหน ตอบโจทย์การลงทุนในช่วงผันผวนเช่นนี้ได้บ้าง
สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทน อันดับ 1 ได้แก่ กองทุนเปิดหุ้นระยะยาวอยุธยาปันผล กองทุนภายใต้การบริหารจัดการของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด โดยกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (สิ้นสุด 31 มีนาคม 2552) อยู่ที่ 4.24% สูงกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ถึง 8.34%
อันดับ 2 กองทุนเปิดหุ้นระยะยาวอยุธยาปันผล 70/30 ของบลจ.อยุธยา ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี 2.92% เป็นบวกเมื่อเทียบกับผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์และสูงกว่าถึง 7.02%
อันดับ 3 กองทุนเปิดกรุงไทยหุ้นระยะยาว 70/30 ภายใต้พอร์ตของ บลจ.กรุงไทย ซึ่งกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี 0.16% สูงกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ 4.26%
อันดับ 4 กองทุนเปิดฟิลลิป หุ้นระยะยาว ของบลจ. ฟิลลิป พบว่ากองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากระดับเดิม แต่ยังเหนือกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ 4.10%
อันดับ 5 กองทุนเปิดอเบอร์ดีนหุ้นระยะยาว ภายใต้การบริหารของ บลจ.อเบอร์ดีน ซึ่งกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีติดลบไป 0.04% แต่ยังเหนือกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์เช่นกันที่ 4.06%
อันดับ 6 กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 ของบลจ.บัวหลวง ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี -1.05% เหนือกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 3.05%
อันดับ 7 กองทุนเปิดกรุงศรี-พรีมาเวสท์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 ของบลจ. พรีมาเวสท์ พบว่ากองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -1.07% ยังเหนือกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 3.03%
อันดับ 8 กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว ของค่าย บลจ.บัวหลวง โดยกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -1.08% สูงกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ 3.02%
อันดับ 9 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาว พลัส ภายใต้พอร์ตของ บลจ.ไทยพาณิชย์ กองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี -1.10% สูงกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ 3.00%
อันดับ 10 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 ภายใต้พอร์ตของ บลจ.ไทยพาณิชย์เช่นกัน โดยกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาติดลบ 1.21% แต่ก็ยังสูงกว่าผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ 2.89%
ทั้งนี้ ผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (เกณฑ์มาตรฐาน) ในช่วงเวลาเดียวกัน อยู่ที่ -4.10%
เปิดพอร์ตกองทุนอันดับ 1
นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.อยุธยา กล่าวว่า กองทุนเปิดหุ้นระยะยาวอยุธยาปันผล เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นที่มีกระแสเงินสดดีเป็นหลัก รวมถึงหุ้นที่มีการจ่ายปันผลในระดับสูง และบริษัทที่มีโอกาสการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงภาวะเศรษฐกิจจะไม่ดี ซึ่งบริษัทเหล่านี้ นอกจากต้องใช้เงินลงทุนแล้ว ยังมีกระแสเงินสดเหลือเพียงพอจ่ายปันผลในระดับที่สูงได้ด้วย
ทั้งนี้ จากปัจจัยทั้งหมดดังกล่าว ทำให้ผลตอบแทนของกองทุนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาออกมาอยู่ในระดับดีและเป็นบวกได้ และถึงแม้ในช่วงไตรมาส 1 ดัชนีหุ้นไทยจะค่อนข้างผันผวน แต่หุ้นที่กองทุนลงทุนส่วนใหญ่ ไม่แกว่งตัวตามตลาดมากนัก ขณะเดียวกัน ยังได้รับเงินปันผลจากหุ้นที่ลงทุนในระดับที่สูงด้วย และด้วยการจ่ายปันผลที่ดีดังกล่าว ทำให้มีดีมานด์จากนักลงทุนที่มองเห็นโอกาสรับเงินปันผลเข้าไปลงทุนมากขึ้น ส่งผลให้ราคาหุ้นในกลุ่มดังกล่าวปรับขึ้น และส่งผลต่อถึงผลตอบแทนของกองทุนด้วย
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหุ้นกลุ่มดังกล่าว หากลงทุนผ่านกองทุนรวม จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าหากนักลงทุนจะลงทุนเอง เพราะการลงทุนผ่านกองทุนรวม เป็นการใช้ผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ คอยดูแลพอร์ตการลงทุนให้ ทั้งการวิเคราะห์ความเสี่ยง การติดตามข้อมูล การเข้าไปพูดคุยกับผู้บริหาร ทำให้ผู้จัดการกองทุนมีข้อมูลและสามารถวิเคราะห์ตัวบริษัทและธุรกิจนั้นได้มากกว่า ซึ่งบางครั้งการลงทุนเอง อาจจะเกิดความผิดพลาดได้ โดยเฉพาะจังหวะและเวลาลงทุน เพราะส่วนใหญ่จะเน้นลงทุนในระยะสั้น
สำหรับกองทุนเปิดหุ้นระยะยาวอยุธยาปันผล มีนโยบายการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 โดยจะเน้นลงทุนในหุ้นที่มีแนวโน้มจ่ายเงินปันผลดีและหุ้นที่มีราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดต่ำถึงปานกลาง และกองทุนจะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) และตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร (Structured Note) ส่วนนโยบายเงินปันผล กองทุนจะจ่ายได้ก็ต่อเมื่อกองทุนมีกำไรสะสมและจะต้องไม่มีผลขาดทุนสะสมขึ้นในงวดปีบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น
ส่วนพอร์ตการลงทุนล่าสุด 10 อันดับแรกของหลักทรัพย์ที่ลงทุน (ณ วันที่ 31 มี.ค. 2552) ประกอบด้วย บมจ. ซีพี ออลล์ 14.56% บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 13.44% บมจ.บีอีซี เวิลด์ 11.09% บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป 8.38% บมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ 6.90% บมจ.สยามแม็คโคร 6.38% บมจ.เอ็ม บี เค 6.03% กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท 5.99% บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ 3.82% และบมจ.เบอร์ลี่ยุคเกอร์ 3.06%