คำถาม - อยากรู้จักหุ้นกู้ให้มากขึ้นครับ ซึ่งหุ้นกู้ในบ้านเรามีกี่ประเภท เพราะเห็นว่าบางกองทุนได้เข้าไปลงทุนในหุ้นกู้ด้วย ขอบคุณนะครับ มานิต
ตอบ - หุ้นกู้ หรือ Corporate bond คือ ตราสารที่จ่ายผลตอบเเทนเเน่นอนประเภทหนึ่งที่ออกโดยธุรกิจต่างๆ เพื่อระดมทุนไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภททุน เช่น โรงงาน อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร หรือเพื่อเป็นทุนหมุนเวียน หุ้นกู้ทุกประเภทจะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขหรือที่เรียกว่ายข้อกำหนดของหุ้นกู้ (Indenture) ซึ่งเป็นข้อตกลงตามกฎหมายที่ระบุภาระผูกพันของผู้ออกหุ้นกู้ที่มีต่อผู้ลงทุน การเเบ่งประเภทของหุ้นกู้อาจทำได้หลายวิธีทั้งนี้เเล้วเเต่จะใช้หลักการใดในการเเบ่ง อาทิเช่น เเบ่งตามอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งจัดทำโดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยดูจากโอกาสที่ผู้ออกหุ้นกู้จะไม่สามารถชำระหนี้ได้
เเบ่งตามระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนโดยเเบ่งเป็นหุ้นกู้ระยะสั้น เเละหุ้นกู้ระยะยาว เเบ่งตามเงื่อนไขบางประการที่ระบุไว้ในข้อตกลงการออกหุ้นกู้ เช่น หุ้นกู้ที่มีการกันเงินาสำรองไว้เพื่อการไถ่ถอนหรือเเบ่งเป็นหุ้นกู้ที่ผู้ออกสามารถไถ่อถอนคืนก่อนครบกำหนดเเละหุ้นกู้ที่ไม่สามรถไถ่ถอนคืนก่อนกำหนดเป็นต้น โดยประเภทของหุ้นกู้ที่หนังสือเล่มนี้จะอธิบายได้เเบ่งตามระดับความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับชำระหนี้ โดยเริ่มจากหุ้นกู้ที่มีระดับความเสี่ยงต่ำกว่าสุดไปจนถึงสูงสุด ดังนี้
หุ้นกู้มีประกัน หรือ Secured bond เป็นหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับชำระหนี้คืทนต่ำที่สุด เนื่องจากเป็นหุ้นกู้ที่มีหลักทรัพย์ค่ำประกัน หลักทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักทรัพย์มาเป็นหลักประกันอาจมีลักษณะต่างๆกันออกไป หุ้นกู้มีประกันจึงเเบ่งประเภทตามหลักประกันดังนี้
1.หุ้นกู้ที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นประกัน (mortgage bond) คือหุ้นกู้ที่ใช้สินทรัพย์ประเภท ที่ดิน เเละอาคารเป็นหลักประกัน ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ สืนทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักประกันจะถูกนำออกขายเพื่อนำเงินมาชำระหนี้
2.หุ้นกู้ที่มีสินทรัพย์ทางการเงินเป็นประกัน (collateral trust bond) คือหุ้นกู้ที่ใช้ตราสารการเงินประเภทต่างๆเป็นหลักประกัน เช่นหุ้นสามัญ ตั๋วเงินคลัง เเละหุ้นกู้ที่มีคุณภาพดีความเสี่ยงต่ำ
3.หุ้นกู้ที่มีสังราริมทรัพย์เป็นประกัน (equopment trust bond) คือหุ้นกู้ที่ใช้สังหาริมทรัพย์บางประเภทเป็นหลักประกัน เช่น เรือ รถไฟ เครื่องบิน เป็นต้น
หุ้นกู้ไม่มีประกัน หรือ Debenture เป็นหุ้นที่ออกโดยไม่มีสินทรัพย์ใดๆเป็นหลักประกันการชำระหนี้ การลงทุนในประเภทนี้ ผู้ลงทุนต้องพิจารณาโอกาสในการชำระหนี้จากความน่าเชื่อถือ ฐานะทางการเงิน เเละผลประกอบการของผู้ออกหุ้นกู้เป็นหลัก ในการณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยเเละเงินต้นได้ ผู้ลงทุนจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้หลังจากที่ผู้ออกได้ชำระหนี้ให้กับผู้ถือหุ้นมีประกันเเล้ว
หุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือ subordinated bond เป็นหุ้นกู้ที่มีสิทธิเรียกร้องในทรัพย์ของผู้ออกหุ้นกู้ หลังจากที่ผู้ออกได้ชำระหนี้หุ้นกู้มีประกันเเละไม่มีประกัน หุ้นกู้ด้อยสิทธิอาจเเบ่งเป็น หุ้นกู้ด้อยสิทธิอันดับที่หนึ่ง หุ้นกู้ด้อยสิทธิอันดับที่สอง เเละหุ้นกู้ด้อยสิทธิอันดับที่สาม ซึ่งเป็นหุ้นกู้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้คืนหลังสุดจากทั้งสามประเภท
หุ้นกู้รายได้ หรือ income bond เป็นหุ้นกู้ที่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยจ่ายไว้เเน่นอน เเต่ผู้ออกหุ้นกู้จะจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ลงทุนก็ต่อเมื่อผู้ออกมีกำไรมากพอจ่ายเมื่อถึงกำหนดเวลาที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ในกรณีที่ผู้ออกไม่ได้จ่ายดอกเบี้ยในงวดใดๆ เนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอ ผู้ลงทุนไม่มีสิทธิฟ้องร้อง การลงทุนในหุ้นกู้ประเภทนี้ผู้ลงทุนจึงไม่ได้รับความคุ้มครองเหมือนหุ้นกู้มีประกันเเละอาจได้รับผลตอบเเทนช้ากว่าการลงทุนในหุ้นกู้เเบบอื่น อย่างไรก็ตาม หุ้นกู้รายได้มักจะจ่ายผลตอบเเทนเพื่อชดเชยความเสี่ยงให้กับผู้ลงทุน เนื่องจากได้รับความเสี่ยงมากขึ้น ตัวอย่างของหุ้นกู้รายได้ ได้เเก่ พันธบัตรรายได้ของรัฐบาลท้องถิ่น municipal revenue bond
เนื้อที่ของเรามีจำกัดนะครับ พรุ่งนี้มาต่อเรื่องหุ้นกู้ ต่อนะครับ ท่านผู้อ่านท่านใดที่มีข้อสงสัยเรื่องกองทุนรวม สามารถส่งคำถามมาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์ข้อความไว้ที่หน้า กองทุนรวม www.manager.co.th ทางเรายินดีที่จะตอบคำถามให้ครับ
ตอบ - หุ้นกู้ หรือ Corporate bond คือ ตราสารที่จ่ายผลตอบเเทนเเน่นอนประเภทหนึ่งที่ออกโดยธุรกิจต่างๆ เพื่อระดมทุนไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภททุน เช่น โรงงาน อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร หรือเพื่อเป็นทุนหมุนเวียน หุ้นกู้ทุกประเภทจะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขหรือที่เรียกว่ายข้อกำหนดของหุ้นกู้ (Indenture) ซึ่งเป็นข้อตกลงตามกฎหมายที่ระบุภาระผูกพันของผู้ออกหุ้นกู้ที่มีต่อผู้ลงทุน การเเบ่งประเภทของหุ้นกู้อาจทำได้หลายวิธีทั้งนี้เเล้วเเต่จะใช้หลักการใดในการเเบ่ง อาทิเช่น เเบ่งตามอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งจัดทำโดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยดูจากโอกาสที่ผู้ออกหุ้นกู้จะไม่สามารถชำระหนี้ได้
เเบ่งตามระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนโดยเเบ่งเป็นหุ้นกู้ระยะสั้น เเละหุ้นกู้ระยะยาว เเบ่งตามเงื่อนไขบางประการที่ระบุไว้ในข้อตกลงการออกหุ้นกู้ เช่น หุ้นกู้ที่มีการกันเงินาสำรองไว้เพื่อการไถ่ถอนหรือเเบ่งเป็นหุ้นกู้ที่ผู้ออกสามารถไถ่อถอนคืนก่อนครบกำหนดเเละหุ้นกู้ที่ไม่สามรถไถ่ถอนคืนก่อนกำหนดเป็นต้น โดยประเภทของหุ้นกู้ที่หนังสือเล่มนี้จะอธิบายได้เเบ่งตามระดับความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับชำระหนี้ โดยเริ่มจากหุ้นกู้ที่มีระดับความเสี่ยงต่ำกว่าสุดไปจนถึงสูงสุด ดังนี้
หุ้นกู้มีประกัน หรือ Secured bond เป็นหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับชำระหนี้คืทนต่ำที่สุด เนื่องจากเป็นหุ้นกู้ที่มีหลักทรัพย์ค่ำประกัน หลักทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักทรัพย์มาเป็นหลักประกันอาจมีลักษณะต่างๆกันออกไป หุ้นกู้มีประกันจึงเเบ่งประเภทตามหลักประกันดังนี้
1.หุ้นกู้ที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นประกัน (mortgage bond) คือหุ้นกู้ที่ใช้สินทรัพย์ประเภท ที่ดิน เเละอาคารเป็นหลักประกัน ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ สืนทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักประกันจะถูกนำออกขายเพื่อนำเงินมาชำระหนี้
2.หุ้นกู้ที่มีสินทรัพย์ทางการเงินเป็นประกัน (collateral trust bond) คือหุ้นกู้ที่ใช้ตราสารการเงินประเภทต่างๆเป็นหลักประกัน เช่นหุ้นสามัญ ตั๋วเงินคลัง เเละหุ้นกู้ที่มีคุณภาพดีความเสี่ยงต่ำ
3.หุ้นกู้ที่มีสังราริมทรัพย์เป็นประกัน (equopment trust bond) คือหุ้นกู้ที่ใช้สังหาริมทรัพย์บางประเภทเป็นหลักประกัน เช่น เรือ รถไฟ เครื่องบิน เป็นต้น
หุ้นกู้ไม่มีประกัน หรือ Debenture เป็นหุ้นที่ออกโดยไม่มีสินทรัพย์ใดๆเป็นหลักประกันการชำระหนี้ การลงทุนในประเภทนี้ ผู้ลงทุนต้องพิจารณาโอกาสในการชำระหนี้จากความน่าเชื่อถือ ฐานะทางการเงิน เเละผลประกอบการของผู้ออกหุ้นกู้เป็นหลัก ในการณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยเเละเงินต้นได้ ผู้ลงทุนจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้หลังจากที่ผู้ออกได้ชำระหนี้ให้กับผู้ถือหุ้นมีประกันเเล้ว
หุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือ subordinated bond เป็นหุ้นกู้ที่มีสิทธิเรียกร้องในทรัพย์ของผู้ออกหุ้นกู้ หลังจากที่ผู้ออกได้ชำระหนี้หุ้นกู้มีประกันเเละไม่มีประกัน หุ้นกู้ด้อยสิทธิอาจเเบ่งเป็น หุ้นกู้ด้อยสิทธิอันดับที่หนึ่ง หุ้นกู้ด้อยสิทธิอันดับที่สอง เเละหุ้นกู้ด้อยสิทธิอันดับที่สาม ซึ่งเป็นหุ้นกู้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้คืนหลังสุดจากทั้งสามประเภท
หุ้นกู้รายได้ หรือ income bond เป็นหุ้นกู้ที่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยจ่ายไว้เเน่นอน เเต่ผู้ออกหุ้นกู้จะจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ลงทุนก็ต่อเมื่อผู้ออกมีกำไรมากพอจ่ายเมื่อถึงกำหนดเวลาที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ในกรณีที่ผู้ออกไม่ได้จ่ายดอกเบี้ยในงวดใดๆ เนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอ ผู้ลงทุนไม่มีสิทธิฟ้องร้อง การลงทุนในหุ้นกู้ประเภทนี้ผู้ลงทุนจึงไม่ได้รับความคุ้มครองเหมือนหุ้นกู้มีประกันเเละอาจได้รับผลตอบเเทนช้ากว่าการลงทุนในหุ้นกู้เเบบอื่น อย่างไรก็ตาม หุ้นกู้รายได้มักจะจ่ายผลตอบเเทนเพื่อชดเชยความเสี่ยงให้กับผู้ลงทุน เนื่องจากได้รับความเสี่ยงมากขึ้น ตัวอย่างของหุ้นกู้รายได้ ได้เเก่ พันธบัตรรายได้ของรัฐบาลท้องถิ่น municipal revenue bond
เนื้อที่ของเรามีจำกัดนะครับ พรุ่งนี้มาต่อเรื่องหุ้นกู้ ต่อนะครับ ท่านผู้อ่านท่านใดที่มีข้อสงสัยเรื่องกองทุนรวม สามารถส่งคำถามมาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์ข้อความไว้ที่หน้า กองทุนรวม www.manager.co.th ทางเรายินดีที่จะตอบคำถามให้ครับ