บลจ.ทิสโก้ คาดแนวโน้มดอกเบี้ยไทยขาลงอย่างน้อย 1 ปี แต่เชื่อระดับต่ำสุดไม่น่าเกิน 0.75%-1.00% พร้อมแนะลูกค้าลุยลงทุนหุ้นกู้เอกชนเรตติ้งดีมากขึ้น หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงตามอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกันเปิดขาย"กองทุนเปิด ทิสโก้ สเปเชี่ยล พลัส 11"ต่อเนื่อง สนองความต้องการนักลงทุนระหว่างวันที่ 16-24 เมษายนนี้
รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า มุมมองและกลยุทธ์การลงทุนในตราสารหนี้หลังจากนี้ของบลจ.ทิสโก้ เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังคงปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกจากระดับปัจจุบันที่ 1.50% แต่คาดว่าจะลงได้อีกไม่มากนัก โดยดอกเบี้ยนโยบายระดับต่ำสุดของประเทศไทยน่าจอยู่ที่ประมาณ 0.75%-1.00% และจะทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อยใน 1 ปีข้างหน้า แต่ในส่วนของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่ซื้อขายในตลาดรองได้สะท้อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอนาคตไปล่วงหน้าแล้ว ทำให้พันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 5 ปี ไม่น่าสนใจในมุมมองของบลจ.ทิสโก้
อย่างไรก็ตามสำหรับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลอายุประมาณ 7-10 ปี ซึ่งอัตราผลตอบแทนได้ปรับเพิ่มขึ้นมาค่อนข้างมากนับตั้งแต่ต้นปี 2552 โดยสวนทางกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ บลจ.ทิสโก้มีมุมมองว่าพันธบัตรรัฐบาลในรุ่นดังกล่าวมีความน่าสนใจอีกครั้งหนึ่ง และมีโอกาสที่จะซื้อขายเพื่อทำกำไรระยะสั้นได้
ส่วนการลงทุนในหุ้นกู้เอกชน บลจ.ทิสโก้แนะนำหุ้นกู้อายุประมาณ 2-3 ปี ที่ปัจจุบันให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุใกล้เคียงกัน โดยเน้นการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตที่ระดับ A- ขึ้นไป
ทั้งนี้ บลจ.ทิสโก้ได้ทำการเปิดขายกองทุน“กองทุนเปิด ทิสโก้ สเปเชี่ยล พลัส 11”อายุโครงการประมาณ 2 ปี และมูลค่าโครงการ 500 ล้านบาท ในระหว่างวันที่ 16-24 เมษายนนี้ โดยกองทุนนี้จะมีนโยบายการลงทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้เอกชนภายในประเทศที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเอกชนในประเทศที่มีคุณภาพ ระยะเวลาลงทุนประมาณ 2 ปี แต่จะมีการเพิ่มสภาพคล่องให้นักลงทุนด้วยการจ่ายผลตอบแทนสม่ำเสมอ (Auto Redemption) ทุกๆ 6 เดือน
สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ของบลจ.ทิสโก้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นไม่เกิน 2 ปี ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตามการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีการปรับลดลงจาก 2.75% ณ ต้นปี 2552 มาที่ระดับ 1.50% ณ สิ้นไตรมาส 1/2552 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยหดตัวอย่างรุนแรงในช่วงไตรมาส 4/51 โดยหดตัวถึง 4.3% เมื่อเทียบกับในช่วงไตรมาส 4/50 จากผลกระทบจากการหดตัวของเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจะปรับตัวลดลงตามอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้เอกชนซึ่งส่วนใหญ่มีอายุไม่เกิน 5 ปี กลับไม่ได้ปรับลดลงตามการปรับลดของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลในสภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มถดถอยที่อาจจะส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้และดอกเบี้ยของบริษัทเอกชนในอนาคต ซึ่งส่งผลต่ออัตราดผลตอบแทนของตราสารหนี้เอกชนให้อยู่ในระดับสูงต่อไป แม้ว่าจะเป็นตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจ และตราสารหนี้เอกชนที่มีการจัดอันดับอยู่ในระดับสูงก็ตาม
โดยสรุปในช่วงไตรมาส 1/52 พันธบัตรอายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี ปรับลดลง 0.80%-1.00% มาอยู่ที่ระดับ 1.12%-1.15% พันธบัตรอายุ 2 ปี ปรับลดลง 0.61% มาอยู่ที่ระดับ 1.37% พันธบัตรอายุ 5-7 ปี ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 0.20%-0.50% มาอยู่ที่ระดับ 2.42% ถึง 3.01% ขณะที่พันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 0.90% มาอยู่ที่ระดับ 3.60%
รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า มุมมองและกลยุทธ์การลงทุนในตราสารหนี้หลังจากนี้ของบลจ.ทิสโก้ เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังคงปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกจากระดับปัจจุบันที่ 1.50% แต่คาดว่าจะลงได้อีกไม่มากนัก โดยดอกเบี้ยนโยบายระดับต่ำสุดของประเทศไทยน่าจอยู่ที่ประมาณ 0.75%-1.00% และจะทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อยใน 1 ปีข้างหน้า แต่ในส่วนของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่ซื้อขายในตลาดรองได้สะท้อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอนาคตไปล่วงหน้าแล้ว ทำให้พันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 5 ปี ไม่น่าสนใจในมุมมองของบลจ.ทิสโก้
อย่างไรก็ตามสำหรับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลอายุประมาณ 7-10 ปี ซึ่งอัตราผลตอบแทนได้ปรับเพิ่มขึ้นมาค่อนข้างมากนับตั้งแต่ต้นปี 2552 โดยสวนทางกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ บลจ.ทิสโก้มีมุมมองว่าพันธบัตรรัฐบาลในรุ่นดังกล่าวมีความน่าสนใจอีกครั้งหนึ่ง และมีโอกาสที่จะซื้อขายเพื่อทำกำไรระยะสั้นได้
ส่วนการลงทุนในหุ้นกู้เอกชน บลจ.ทิสโก้แนะนำหุ้นกู้อายุประมาณ 2-3 ปี ที่ปัจจุบันให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุใกล้เคียงกัน โดยเน้นการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตที่ระดับ A- ขึ้นไป
ทั้งนี้ บลจ.ทิสโก้ได้ทำการเปิดขายกองทุน“กองทุนเปิด ทิสโก้ สเปเชี่ยล พลัส 11”อายุโครงการประมาณ 2 ปี และมูลค่าโครงการ 500 ล้านบาท ในระหว่างวันที่ 16-24 เมษายนนี้ โดยกองทุนนี้จะมีนโยบายการลงทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้เอกชนภายในประเทศที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเอกชนในประเทศที่มีคุณภาพ ระยะเวลาลงทุนประมาณ 2 ปี แต่จะมีการเพิ่มสภาพคล่องให้นักลงทุนด้วยการจ่ายผลตอบแทนสม่ำเสมอ (Auto Redemption) ทุกๆ 6 เดือน
สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ของบลจ.ทิสโก้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นไม่เกิน 2 ปี ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตามการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีการปรับลดลงจาก 2.75% ณ ต้นปี 2552 มาที่ระดับ 1.50% ณ สิ้นไตรมาส 1/2552 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยหดตัวอย่างรุนแรงในช่วงไตรมาส 4/51 โดยหดตัวถึง 4.3% เมื่อเทียบกับในช่วงไตรมาส 4/50 จากผลกระทบจากการหดตัวของเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจะปรับตัวลดลงตามอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้เอกชนซึ่งส่วนใหญ่มีอายุไม่เกิน 5 ปี กลับไม่ได้ปรับลดลงตามการปรับลดของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลในสภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มถดถอยที่อาจจะส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้และดอกเบี้ยของบริษัทเอกชนในอนาคต ซึ่งส่งผลต่ออัตราดผลตอบแทนของตราสารหนี้เอกชนให้อยู่ในระดับสูงต่อไป แม้ว่าจะเป็นตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจ และตราสารหนี้เอกชนที่มีการจัดอันดับอยู่ในระดับสูงก็ตาม
โดยสรุปในช่วงไตรมาส 1/52 พันธบัตรอายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี ปรับลดลง 0.80%-1.00% มาอยู่ที่ระดับ 1.12%-1.15% พันธบัตรอายุ 2 ปี ปรับลดลง 0.61% มาอยู่ที่ระดับ 1.37% พันธบัตรอายุ 5-7 ปี ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 0.20%-0.50% มาอยู่ที่ระดับ 2.42% ถึง 3.01% ขณะที่พันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 0.90% มาอยู่ที่ระดับ 3.60%