xs
xsm
sm
md
lg

Q&A Corner : หุ้นกู้ภาค 2

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เมื่อวานก่อนทางทีมงานได้อธิบายหุ้นกู้ไปเเล้ว เเเต่เนื้อที่มีจำกัดเราจึงต้องนำมาอธิบายต่อวันนี้นะครับ ทางทีมงานขออนุญาตนำคำตอบมาจากหนังสือ การลงทุนในตราสารทุน ของสถาบันพัมนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย ท่านใดสนใจก็สามรถหาาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไปนะครับ

หุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือ subordinated bond เป็นหุ้นกู้ที่มีสิทธิเรียกร้องในทรัพย์ของผู้ออกหุ้นกู้ หลังจากที่ผู้ออกได้ชำระหนี้หุ้นกู้มีประกันเเละไม่มีประกัน หุ้นกู้ด้อยสิทธิอาจเเบ่งเป็น หุ้นกู้ด้อยสิทธิอันดับที่หนึ่ง หุ้นกู้ด้อยสิทธิอันดับที่สอง เเละหุ้นกู้ด้อยสิทธิอันดับที่สาม ซึ่งเป็นหุ้นกู้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้คืนหลังสุดจากทั้งสามประเภท

หุ้นกู้รายได้ หรือ income bond เป็นหุ้นกู้ที่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยจ่ายไว้เเน่นอน เเต่ผู้ออกหุ้นกู้จะจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ลงทุนก็ต่อเมื่อผู้ออกมีกำไรมากพอจ่ายเมื่อถึงกำหนดเวลาที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ในกรณีที่ผู้ออกไม่ได้จ่ายดอกเบี้ยในงวดใดๆ เนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอ ผู้ลงทุนไม่มีสิทธิฟ้องร้อง การลงทุนในหุ้นกู้ประเภทนี้ผู้ลงทุนจึงไม่ได้รับความคุ้มครองเหมือนหุ้นกู้มีประกันเเละอาจได้รับผลตอบเเทนช้ากว่าการลงทุนในหุ้นกู้เเบบอื่น อย่างไรก็ตาม หุ้นกู้รายได้มักจะจ่ายผลตอบเเทนเพื่อชดเชยความเสี่ยงให้กับผู้ลงทุน เนื่องจากได้รับความเสี่ยงมากขึ้น ตัวอย่างของหุ้นกู้รายได้ ได้เเก่ พันธบัตรรายได้ของรัฐบาลท้องถิ่น municipal revenue bond

หุ้นกู้เเปลงสภาพ หรือ convertible bond เป็นหุ้นกู้ที่มีการกำหนดอัตราการจ่ายดอกเบี้ยไว้เเน่นอน เเละจ่ายคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนเหมือนหุ้นกู้ประเภทอื่น เเต่จะมีลักษณะพิเศษคือ ผู้ถือหุ้นจะได้สิทธิที่จะเเปลงสภาพจากหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญได้ในราคาเเละระยะเวลาที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจออกหุ้นกู้เเปลงสภาพที่มีมูลค่าตราไว้หุ้นละ 1,000 บาท เเละกำหนดเงื่อนไขว่า ผู้เป็นเจ้าของหุ้นกู้เเปลงสภาพสามารถใช้สิทธิเเปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของบริษัทได้ 40 หุ้น เป็นต้น หุ้นกู้เเปลงสภาพเป็นที่น่าสนใจของผู้ลงทุน เนื่องจากลักษณะผสมผสานระหว่างตราสารที่ให้รายได้เเน่นอนในฐานะเจ้าหนี้สิทธิในการเปลี่ยนเเปลงเป็นเจ้าของ

เมื่อธุรกิจที่ออกหุ้นกู้มีเเนโน้มในการดำเนินงานที่ดีขึ้นในอนาคต การเเปลงสภาพจะทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบเเทนมากขึ้นในฐานะผู้ถือหุ้นสามัญ เเต่ถ้าธุรกิจมีผลประกอบการที่ไม่น่าพอใจผู้ลงทุนก็จะไม่เเปลงสภาพเเก่ผู้ลงทุน หุ้นกู้เเปลงสภาพจึงมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าหุ้นกู้ที่ไมีมีสิทธิเเปลงสภาพที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกัน นอกจากนั้นสิทธิเรียกร้องเเละอันดับความน่าเชื่อถือก็อยู่ในระดับต่ำกว่าหุ้นที่ไม่เเปลงสภาพ

หุ้นกู้ควบใบสำคัญเเสดงสิทธิ หรือ debenture with warrant เป็นหุ้นที่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ย เเละการชำระคืนเงินต้นไว้เเน่นอนเหมือนหุ้นกู้ทั่วไป เเต่ผู้ลงทุนได้สิทธิตามใบสำคัญเเสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นสามัญของธุรกิจที่ออกหุ้นกู้ ได้ในราคาที่กำหนดเเละภายในระยะเวลาที่กำหนด ราคาที่กำหนดในการซื้อหุ้นสามัญโดยทั่วไปจะสูงกว่าราคาหุ้นสามัญ ณ วันที่ออกหุ้นกู้ เเต่จะต่ำกว่าราคาที่คาดว่าจะเป็นไปในอนาคต

ใบสำคัญเเสดงสิทธิที่ผู้ลงทุนจะได้รับมาเมื่อกู้ซื้อหุ้นกู้ ทำให้การลงทุนในหุ้นกู้เป็นที่น่าสนใจสำหรับเเสดงสิทธิที่ผู้ลงทุนจะได้รับมาเมื่อซื้อหุ้นกู้ ทำให้การลงทุนในหุ้นกู้เป็นที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน เนื่องจากให้ผู้ลงทุนมีโอกาสเป็นเจ้าของธุรกิจเเละได้รับผลตอบเเทนเพิ่มขึ้นในอนาคต ดังนั้นเรื่องอัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้ควบใบสำคัญเเสดงสิทธิต่ำ ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ระดมทุนในเรื่องต้นทุนเงินทุน นอกจานั้น หากผู้ลงทุนใช้สิทธิตามใบสำคัญเเสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของธุรกิจก็จะทำให้ธุรกิจระดมทุนได้เพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

ห้นกู้ที่ไม่กำหนดอัตราดอกเบี้ย zero-coupon bond เป็นหุ้นกู้ที่ไม่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยจ่ายผู้ออกหุ้นกู้จะจ่ายคืนเฉพาะเงินต้น เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ดังนั้น ราคาหุ้นกู้จะได้จากการหาค่าปัจจุบันของเงินต้นโดยใช้ส่วนลดเท่ากับอัตราผลตอบเเทนที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น หุ้นกู้ไม่กำหนดอัตราดอกเบี้ยมีราคาตราไว้ 10,000 บาท ระยะเวลากำหนดไถ่ถอน 5 ปี ถ้าผู้ลงทุนต้องการผลตอบเเทนจากการลงทุน 8% ราคาซื้อขายจะเท่ากับ 6,756 บาท (สมมติฐาน คือ หุ้นกู้จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน ดังนั้น ระยะเวลาการหาค่าปัจจุบันจะเท่ากับ 10 งวด อัตราส่วนลดจะเท่ากับ 4% ปัจจัยดอกเบี้ยเท่ากับ 0.6756)

เรื่องหุ้นกู้ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้นะครับ พรุ่งนี้มาต่ออีกนะครับ สำหรับท่านผู้อ่านท่านใดที่มีข้อสงสัยเรื่องกองทุนรวม สามารถส่งคำถามมาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์ข้อความไว้ที่หน้า กองทุนรวม www.manager.co.th ทางเรายินดีที่จะตอบคำถามให้ครับ
กำลังโหลดความคิดเห็น