คอลัมน์ คุยกับผู้จัดการกองทุน
โดย ดร.ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมความเสี่ยง
บลจ.อยุธยา จำกัด
ผมเชื่อว่าในช่วงนี้ท่านนักลงทุนหลายท่านให้ความสนใจที่จะลงทุนในทองคำ ในขณะที่บางท่านอาจจะลงทุนในทองคำไปบ้างแล้ว โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การลงทุนในทองคำให้ผลตอบแทนดีที่สุด เมื่อเทียบกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ตราสารหนี้ และสินค้าโภคภัณฑ์ โดยข้อมูลจากบลูมเบิร์กระบุว่า จากวันที่ 31 มีนาคม 1999 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2009 ราคาทองคำปรับตัวขึ้น 228.21% หรือคิดเป็นผลตอบแทน (ทบต้น) ปีละ 12.61% ในขณะที่ลงทุนในดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วงเดียวกัน จะได้ผลตอบแทน (รวมเงินปันผล) เพิ่มขึ้น 83.72% หรือคิดเป็นปีละ 6.27% การลงทุนในตราสารหนี้จะได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นราว 86.13% หรือคิดเป็นปีละ 6.41% (คำนวณจากข้อมูลดัชนีผลตอบแทนรวมของพันธบัตรรัฐบาลไทยของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย) ซึ่งใกล้เคียงกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงมากผิดปกติ สำหรับการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ข้อมูลจากบลูมเบิร์กระบุว่า ดัชนี Rogers Commodity Total Return ให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 147.13% หรือคิดเป็นปีละ 9.46%
จากผลตอบแทนที่ดึงดูด เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนให้ความสนใจลงทุนในทองคำ Tony Daltorio ได้เขียนบทความลงใน investopedia.com ถึง 8 เหตุผลที่ควรลงทุนในทองคำ ซึ่งได้แก่
1) ประวัติศาสตร์บ่งบอกถึงคุณค่าของตัวมันเอง กล่าวคือ ในอดีต ไม่ว่าค่าเงินจะอ่อน หรือทรัพย์สินอื่นๆจะราคาตกต่ำเพียงใด ทองคำก็ยังคงรักษาระดับราคาอยู่ได้อย่างดี
2) การอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐ และเพิ่มการถือครองทองคำแทน โดยการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นผลมาจากการที่สหรัฐฯขาดดุลการค้าเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ ทางการสหรัฐฯได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมาก
3) ใช้ลดความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ โดยจากข้อมูลในอดีตบ่งชี้ว่า ทองคำเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อได้ดี เนื่องจากราคาทองคำมักจะปรับตัวขึ้นตามค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น
4) ความสามารถในการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วงเงินฝืด โดยในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังถดถอย ซึ่งมักเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะเงินฝืด มูลค่าของทองคำเมื่อเทียบกับทรัพย์สินอื่น จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากการด้อยค่าของทรัพย์สินอื่น จะส่งผลให้คนเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ทองคำ มากขึ้น
5) ในภาวะที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองสูง เช่น ในภาวะสงคราม คนทั่วไปจะเข้าซื้อทอง ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เพราะอาจไม่แน่ใจว่า เงินตราที่ตนถืออยู่จะมีค่ามากน้อยเพียงใดในช่วงสงคราม
6) ปริมาณการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยข้อมูลจาก RBS – Precious Metals Weekly ฉบับวันที่ 11 มีนาคม 2009 ระบุว่า ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีทองคำที่ถูกขุดขึ้นมารวม 163,000 ตัน โดยทองคำจำนวน 48,000 ตันอยู่ในมือของภาครัฐ (เช่น ในรูปแบบของเงินทุนสำรอง) 27,000 ตันอยู่ในมือของภาคเอกชน และ 84,000 ตันอยู่ในรูปของเครื่องประดับ ในขณะที่อีก 4,000 ตัน ไม่สามารถระบุได้ว่าอยู่ในส่วนใด สำหรับในภาคอุตสาหกรรม ทองคำส่วนใหญ่จะถูกใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ โดยข้อมูลจาก GFMS – Gold Survey 2008 ระบุว่า ในปี 2008 ทองคำถูกใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับถึง 78% อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 10% เหรียญกษาปณ์และเหรียญต่างๆ 7% และอื่นๆอีก 5%
7) ความต้องการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา เช่น จีน และอินเดีย ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ความต้องการทองคำ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวย จึงมีเพิ่มมากขึ้นไปด้วย โดยปัจจุบันอินเดียเป็นผู้บริโภคทองคำอันดับหนึ่งของโลก
8) การกระจายการลงทุน เนื่องจากทองคำมีทิศทางการเคลื่อนไหวที่ไม่สอดคล้องกับทรัพย์สินอื่นอย่างชัดเจน การลงทุนในทองคำ จึงเป็นช่องทางการกระจายความเสี่ยงที่ดีช่องทางหนึ่งในปัจจุบัน มีหลายกองทุนที่จัดตั้งกองทุนรวมที่ลงทุนในทองคำ ซึ่งเป็นผลดีต่อท่านนักลงทุนที่สามารถเป็นเจ้าของทองคำได้ โดยที่ไม่ต้องเก็บรักษาทองคำไว้กับตัวเอง ซึ่งเสี่ยงต่อการที่จะทำสูญหายได้ และท่านสามารถเลือกลงทุนในกองทุนทองคำที่มีมูลค่าการลงทุนขั้นต่ำน้อยๆได้ รวมถึงไม่ต้องเสียเวลาไปต่อแถวซื้อขายทองตามร้านทองในช่วงที่ลูกค้ามีจำนวนมาก ดังนั้น การลงทุนในกองทุนทองคำ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ...
โดย ดร.ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมความเสี่ยง
บลจ.อยุธยา จำกัด
ผมเชื่อว่าในช่วงนี้ท่านนักลงทุนหลายท่านให้ความสนใจที่จะลงทุนในทองคำ ในขณะที่บางท่านอาจจะลงทุนในทองคำไปบ้างแล้ว โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การลงทุนในทองคำให้ผลตอบแทนดีที่สุด เมื่อเทียบกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ตราสารหนี้ และสินค้าโภคภัณฑ์ โดยข้อมูลจากบลูมเบิร์กระบุว่า จากวันที่ 31 มีนาคม 1999 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2009 ราคาทองคำปรับตัวขึ้น 228.21% หรือคิดเป็นผลตอบแทน (ทบต้น) ปีละ 12.61% ในขณะที่ลงทุนในดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วงเดียวกัน จะได้ผลตอบแทน (รวมเงินปันผล) เพิ่มขึ้น 83.72% หรือคิดเป็นปีละ 6.27% การลงทุนในตราสารหนี้จะได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นราว 86.13% หรือคิดเป็นปีละ 6.41% (คำนวณจากข้อมูลดัชนีผลตอบแทนรวมของพันธบัตรรัฐบาลไทยของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย) ซึ่งใกล้เคียงกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงมากผิดปกติ สำหรับการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ข้อมูลจากบลูมเบิร์กระบุว่า ดัชนี Rogers Commodity Total Return ให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 147.13% หรือคิดเป็นปีละ 9.46%
จากผลตอบแทนที่ดึงดูด เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนให้ความสนใจลงทุนในทองคำ Tony Daltorio ได้เขียนบทความลงใน investopedia.com ถึง 8 เหตุผลที่ควรลงทุนในทองคำ ซึ่งได้แก่
1) ประวัติศาสตร์บ่งบอกถึงคุณค่าของตัวมันเอง กล่าวคือ ในอดีต ไม่ว่าค่าเงินจะอ่อน หรือทรัพย์สินอื่นๆจะราคาตกต่ำเพียงใด ทองคำก็ยังคงรักษาระดับราคาอยู่ได้อย่างดี
2) การอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐ และเพิ่มการถือครองทองคำแทน โดยการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นผลมาจากการที่สหรัฐฯขาดดุลการค้าเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ ทางการสหรัฐฯได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมาก
3) ใช้ลดความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ โดยจากข้อมูลในอดีตบ่งชี้ว่า ทองคำเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อได้ดี เนื่องจากราคาทองคำมักจะปรับตัวขึ้นตามค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น
4) ความสามารถในการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วงเงินฝืด โดยในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังถดถอย ซึ่งมักเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะเงินฝืด มูลค่าของทองคำเมื่อเทียบกับทรัพย์สินอื่น จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากการด้อยค่าของทรัพย์สินอื่น จะส่งผลให้คนเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ทองคำ มากขึ้น
5) ในภาวะที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองสูง เช่น ในภาวะสงคราม คนทั่วไปจะเข้าซื้อทอง ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เพราะอาจไม่แน่ใจว่า เงินตราที่ตนถืออยู่จะมีค่ามากน้อยเพียงใดในช่วงสงคราม
6) ปริมาณการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยข้อมูลจาก RBS – Precious Metals Weekly ฉบับวันที่ 11 มีนาคม 2009 ระบุว่า ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีทองคำที่ถูกขุดขึ้นมารวม 163,000 ตัน โดยทองคำจำนวน 48,000 ตันอยู่ในมือของภาครัฐ (เช่น ในรูปแบบของเงินทุนสำรอง) 27,000 ตันอยู่ในมือของภาคเอกชน และ 84,000 ตันอยู่ในรูปของเครื่องประดับ ในขณะที่อีก 4,000 ตัน ไม่สามารถระบุได้ว่าอยู่ในส่วนใด สำหรับในภาคอุตสาหกรรม ทองคำส่วนใหญ่จะถูกใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ โดยข้อมูลจาก GFMS – Gold Survey 2008 ระบุว่า ในปี 2008 ทองคำถูกใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับถึง 78% อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 10% เหรียญกษาปณ์และเหรียญต่างๆ 7% และอื่นๆอีก 5%
7) ความต้องการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา เช่น จีน และอินเดีย ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ความต้องการทองคำ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวย จึงมีเพิ่มมากขึ้นไปด้วย โดยปัจจุบันอินเดียเป็นผู้บริโภคทองคำอันดับหนึ่งของโลก
8) การกระจายการลงทุน เนื่องจากทองคำมีทิศทางการเคลื่อนไหวที่ไม่สอดคล้องกับทรัพย์สินอื่นอย่างชัดเจน การลงทุนในทองคำ จึงเป็นช่องทางการกระจายความเสี่ยงที่ดีช่องทางหนึ่งในปัจจุบัน มีหลายกองทุนที่จัดตั้งกองทุนรวมที่ลงทุนในทองคำ ซึ่งเป็นผลดีต่อท่านนักลงทุนที่สามารถเป็นเจ้าของทองคำได้ โดยที่ไม่ต้องเก็บรักษาทองคำไว้กับตัวเอง ซึ่งเสี่ยงต่อการที่จะทำสูญหายได้ และท่านสามารถเลือกลงทุนในกองทุนทองคำที่มีมูลค่าการลงทุนขั้นต่ำน้อยๆได้ รวมถึงไม่ต้องเสียเวลาไปต่อแถวซื้อขายทองตามร้านทองในช่วงที่ลูกค้ามีจำนวนมาก ดังนั้น การลงทุนในกองทุนทองคำ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนครับ...