ไม่ผิดเเน่ที่จะบอกว่าการให้ความรู้คือทานอันยิ่งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ที่ไม่ได้จำกัดเเค่การสอนหนังสือในห้องเรียนเพียงเท่านั้น เเต่ยังรวมไปถึง การบริจาคหนังสือ เเละการสร้างห้องสมุด ซึ่งในวันนี้ผู้ที่ลงทุนในกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก ฟันด์ คงจะดีใจอยู่ไม่น้อย ที่ค่าธรรมเนียมกองทุนประมาณ 20% ได้สร้างห้องสมุด มอบทุนการศึกษา เเละบริจาคเงินในยามที่มีอุบัติภัยเกิดขึ้น ลองมาดูที่มาของโครงการดีๆกันว่ามีความเป็นมาอย่างไร
**ดร. พิชิต อัคราทิตย์*** กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เล่าที่มาของกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก ฟันด์ ว่า กองทุนดังกล่าว เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับพี่น้องชาวมุสลิม และนักลงทุนทั่วไปที่ต้องการลงทุนในตราสารทุน ภายใต้หลักเกณฑ์ของศาสนาอิสลาม กองทุนเปิด MIF มีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งผ่านเกณฑ์การคัดเลือกตามหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นหุ้นที่อยู่ใน MFC Islamic Index และอาจลงทุนในบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีแนวโน้มในการเจริญเติบโตสูง รวมทั้งในตราสารหนี้ซึ่งผ่านหลักเกณฑ์การคัดเลือกตามหลักศาสนาอิสลาม โดยหลักทรัพย์ที่กองทุนจะลงทุนได้ผ่านการหารือในหลักการลงทุนตามหลักศาสนาอิสลามกับคณะกรรมการศาสนา (Shariah Committee) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้การตั้งกองทุนดังกล่าวยังต้องการดึงเงินลงทุนจากประเทศในเเถบตะวันออกกลาง ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม อีกด้วย
**โดยกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก ฟันด์ ก็เป็นอีก 1 กองทุนที่มีกรอบบริหารการลงทุนภายใต้การดูเเลจากคณะกรรมการกองทุนเเลคณะกรรมการศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนให้กับชาวมุสลิม โดยค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนประมาณ 0.25% จาก 1.2% คิดเป็น 20% ของเงินค่าธรรมเนียม หรือเรียกว่าเงินซะกาต ทางกองทุนจะต้องนำเงินดังกล่าวไปบริจาคเป็นสาธารณกุศล ซึ่งตั้งเเต่จัดตั้งกองทุนขึ้นมาเเล้วทางบลจ.ได้บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนทางการศึกษาเเละช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆเเล้วทั้งสิ้น 2,905,000 บาท*** นอกจากนี้บลจ.เอ็มเอฟซี ยังมีกองทุนอสิลามอีก 1 กองทุนคือ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก หุ้นระยะยาว
นอกจากนี้บลจ.เอ็มเอฟซี มีความตั้งใจที่จะมอบกำไรคืนสู่สังคม และมุ่งเน้นที่จะพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาแก่เยาวชนไทย เพื่อเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ โดยเมื่อต้นปี 2551 ที่ผ่านมา บริษัทฯ จัดสรรเงินบริจาคซะกาตจากค่าธรรมเนียมการจัดการลงทุนกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก ฟันด์จำนวนหนึ่ง ซึ่งเงินจัดสรรงวดแรกประมาณ 400,000 บาท มอบเป็นทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียน เรียนดีแต่ด้อยโอกาสใน 3 โครงการใหญ่ทั่วประเทศ ได้แก่ โครงการกองทุนเพื่อการศึกษาสำหรับนักศึกษาเรียนดีและนักศึกษายากจน โครงการกองทุนส่งเสริมการศึกษาเพื่อเยาวชนมุสลิม และโครงการสนับสนุนมูลนิธิช่วยเหลือสังคม และเงินบริจาคซะกาตส่วนที่เหลือ คณะกรรมการจัดการกองทุนและคณะกรรมการศาสนามีความตั้งใจที่จะพัฒนาห้องสมุดให้แก่โรงเรียนในถิ่นธุรกันดาร โดยได้คัดเลือก “โรงเรียนบ้านท่าฉาง จ.ระนอง” เป็นโรงเรียนนำร่องสานต่อกิจกรรมเพื่อสังคม สร้างต้นแบบของกองทุนโดยการจัดสรรส่วนหนึ่งของค่าธรรมเนียมการจัดการลงทุนแบ่งปันสู่ประโยชน์ของสังคมต่อไป
ดร.พิชิต มองว่า การสร้างห้องสมุด ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์การศึกษาให้แก่โรงเรียนบ้านท่าฉางนั้น เราได้คำนึงถึงความสำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งด้านการศึกษาให้แก่อนาคตของชาติ ซึ่งในปัจจุบันยังมีความขาดแคลนทางด้านแหล่งความรู้อยู่มาก ดังนั้นห้องสมุดแห่งนี้จะเป็นศูนย์รวมความรู้ให้แก่นักเรียน และชุมชนใกล้เคียงได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักในการคัดเลือกพัฒนาห้องสมุดที่โรงเรียนแห่งนี้ ซึ่งเป็นชุมชนมุสลิมทั้งหมด เนื่องจากจากการสำรวจสภาพเดิมของห้องสมุด ปรากฏพบสภาพที่ทรุดโทรมเป็นอย่างมาก อันเกิดจากอายุการใช้งานที่มากกว่า40 ปี ขาดแคลนโต๊ะเก้าอี้ คอมพิวเตอร์ และชั้นหนังสือ หลังคารั่วและหน้าต่างไม่แข็งแรง นอกจากกลุ่มนักเรียนที่จะเข้ามาใช้บริการห้องสมุดดังกล่าวแล้ว ชุมชนมุสลิมบ้านท่าฉางยังสามารถมาใช้บริการห้องสมุดดังกล่าวด้วยเช่นกัน โดยเชื่อมั่นว่า ห้องสมุดแห่งใหม่นี้จะเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาที่มีส่วนพัฒนาองค์ความรู้ของชุมชนให้มีความแข็งแกร่งต่อไปอีกด้วย
ในส่วน การพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนบ้านท่าฉางของกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก ฟันด์ ประกอบด้วยการพัฒนาห้องสมุด ครุภัณฑ์ และสื่อความรู้ต่างๆ รวมทั้งการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องรวมมูลค่าประมาณ 900,000 บาท ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ MFC สร้างสรรค์มันสมองไทยที่มีเจตนารมณ์เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพความรู้ของเยาวชนไทยให้ยั่งยืน ทั้งนี้ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก ฟันด์ ได้บริจาคเงินช่วยเหลือสังคมไปแล้วเกือบ 3 ล้านบาทในปี 2548-2551
นอกจากนี้ เอ็มเอฟซียังมีโครงการ MFC Talent Award ที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องถึงรุ่นที่ 5 โดยมุ่งสร้างเยาวชนระดับอุดมศึกษาให้มีคุณภาพพร้อมก้าวสู่วิชาชีพด้านการเงิน ซึ่งมีเยาวชนผ่านโครงการไปแล้ว 200 ราย บริษัทมอบเงินรางวัลและการศึกษาดูงานบริษัทชั้นนำในต่างประเทศแก่ผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศของโครงการไปแล้วเกือบ 3 ล้านบาทเช่นกัน รวมทั้งการสนับสนุนโครงการพัฒนาการวิจัยระดับสูงเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในโครงการ “ศาสตรเมธาจารย์บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)” เป็นครั้งแรกในประเทศไทยให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกด้วย
ทางด้าน**โต๊ะอิหม่ามมะเล็บ หมาดหลี ประจำมัสยิด อัลฟาอีซีนท่าฉาง** ในฐานะตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนบ้านท่าฉาง บอกว่า หลังจากที่ บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เข้าพัฒนาห้องสมุด โรงเรียนบ้านท่าฉาง จะทำให้ห้องสมุดดังกล่าวมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากตัวอาคารที่มีความมั่นคงแข็งแรงขึ้นแล้ว ยังได้รับบริจาคโต๊ะเก้าอี้ ชั้นหนังสือ และหนังสือหลากหลายประเภท รวมทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งในการค้นคว้าหาความรู้ของเด็กๆ เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เชื่อว่านักเรียน และประชาชนในชุมชนจะสามารถใช้ประโยชน์จากห้องสมุดแห่งนี้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยพัฒนาความแข็งแกร่งด้านการศึกษาอย่างยั่งยืนต่อไป
***การลงทุนเพื่อพี่น้องมุสลิม***
ดร.พิชิต เล่าว่า ทางบลจ.เอ็มเอฟซี กำลังศึกษาข้อมูลการลงทุนอิสลามิกบอนด์ หรือ ซูคุก (Sukuk) ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่ถือว่ามีดอกเบี้ย โดยการลงทุนในอิสลามมิกบอนด์นั้นจะคล้ายกับการลงทุนในตราสารหนี้ ในขณะที่ผลตอบเเทนนั้นจะใกล้เคียงกับตราสารหนี้ ซึ่งการลงทุนในตราสารหนี้นั้นจะผิดหลักศาสนาในเเง่การลงทุนเกี่ยวกับการให้ดอกเบี้ย
ขณะเดียวกันตอนนี้ทางเราได้รับการติดต่อจากตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทยให้ไปนำเสนอข้อมูลหรือโรด์โชว์นักลงทุนแถบตะวันออกกลางเพื่อดึงนักลงทุนเหล่านั้นเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยทางตลาดหลักทรัพย์เองก็มีการจัดตั้ง Shariah Index หรือ ดัชนีชารีอะห์ไตรมาส 2 นี้ คาดว่าจะไปโรดโชว์ได้ประมาณเดือนพฤษาภาคม หรือ เดือนมิถุนายน นี้ โดยการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯเปิดให้มีดัชนีชารีอะห์นั้น เป็นการเพิ่มช่องทางการลงทุนเเละทางเลือกให้กับนักลงทุนทั้งผู้ที่เป็นมุสลิม เเละผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ยังสามารถดึงเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนเเถบตะวันออกกลางได้อีกด้วย
**ดร. พิชิต อัคราทิตย์*** กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เล่าที่มาของกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก ฟันด์ ว่า กองทุนดังกล่าว เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับพี่น้องชาวมุสลิม และนักลงทุนทั่วไปที่ต้องการลงทุนในตราสารทุน ภายใต้หลักเกณฑ์ของศาสนาอิสลาม กองทุนเปิด MIF มีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งผ่านเกณฑ์การคัดเลือกตามหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นหุ้นที่อยู่ใน MFC Islamic Index และอาจลงทุนในบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีแนวโน้มในการเจริญเติบโตสูง รวมทั้งในตราสารหนี้ซึ่งผ่านหลักเกณฑ์การคัดเลือกตามหลักศาสนาอิสลาม โดยหลักทรัพย์ที่กองทุนจะลงทุนได้ผ่านการหารือในหลักการลงทุนตามหลักศาสนาอิสลามกับคณะกรรมการศาสนา (Shariah Committee) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้การตั้งกองทุนดังกล่าวยังต้องการดึงเงินลงทุนจากประเทศในเเถบตะวันออกกลาง ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม อีกด้วย
**โดยกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก ฟันด์ ก็เป็นอีก 1 กองทุนที่มีกรอบบริหารการลงทุนภายใต้การดูเเลจากคณะกรรมการกองทุนเเลคณะกรรมการศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนให้กับชาวมุสลิม โดยค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนประมาณ 0.25% จาก 1.2% คิดเป็น 20% ของเงินค่าธรรมเนียม หรือเรียกว่าเงินซะกาต ทางกองทุนจะต้องนำเงินดังกล่าวไปบริจาคเป็นสาธารณกุศล ซึ่งตั้งเเต่จัดตั้งกองทุนขึ้นมาเเล้วทางบลจ.ได้บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนทางการศึกษาเเละช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆเเล้วทั้งสิ้น 2,905,000 บาท*** นอกจากนี้บลจ.เอ็มเอฟซี ยังมีกองทุนอสิลามอีก 1 กองทุนคือ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก หุ้นระยะยาว
นอกจากนี้บลจ.เอ็มเอฟซี มีความตั้งใจที่จะมอบกำไรคืนสู่สังคม และมุ่งเน้นที่จะพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาแก่เยาวชนไทย เพื่อเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ โดยเมื่อต้นปี 2551 ที่ผ่านมา บริษัทฯ จัดสรรเงินบริจาคซะกาตจากค่าธรรมเนียมการจัดการลงทุนกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก ฟันด์จำนวนหนึ่ง ซึ่งเงินจัดสรรงวดแรกประมาณ 400,000 บาท มอบเป็นทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียน เรียนดีแต่ด้อยโอกาสใน 3 โครงการใหญ่ทั่วประเทศ ได้แก่ โครงการกองทุนเพื่อการศึกษาสำหรับนักศึกษาเรียนดีและนักศึกษายากจน โครงการกองทุนส่งเสริมการศึกษาเพื่อเยาวชนมุสลิม และโครงการสนับสนุนมูลนิธิช่วยเหลือสังคม และเงินบริจาคซะกาตส่วนที่เหลือ คณะกรรมการจัดการกองทุนและคณะกรรมการศาสนามีความตั้งใจที่จะพัฒนาห้องสมุดให้แก่โรงเรียนในถิ่นธุรกันดาร โดยได้คัดเลือก “โรงเรียนบ้านท่าฉาง จ.ระนอง” เป็นโรงเรียนนำร่องสานต่อกิจกรรมเพื่อสังคม สร้างต้นแบบของกองทุนโดยการจัดสรรส่วนหนึ่งของค่าธรรมเนียมการจัดการลงทุนแบ่งปันสู่ประโยชน์ของสังคมต่อไป
ดร.พิชิต มองว่า การสร้างห้องสมุด ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์การศึกษาให้แก่โรงเรียนบ้านท่าฉางนั้น เราได้คำนึงถึงความสำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งด้านการศึกษาให้แก่อนาคตของชาติ ซึ่งในปัจจุบันยังมีความขาดแคลนทางด้านแหล่งความรู้อยู่มาก ดังนั้นห้องสมุดแห่งนี้จะเป็นศูนย์รวมความรู้ให้แก่นักเรียน และชุมชนใกล้เคียงได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักในการคัดเลือกพัฒนาห้องสมุดที่โรงเรียนแห่งนี้ ซึ่งเป็นชุมชนมุสลิมทั้งหมด เนื่องจากจากการสำรวจสภาพเดิมของห้องสมุด ปรากฏพบสภาพที่ทรุดโทรมเป็นอย่างมาก อันเกิดจากอายุการใช้งานที่มากกว่า40 ปี ขาดแคลนโต๊ะเก้าอี้ คอมพิวเตอร์ และชั้นหนังสือ หลังคารั่วและหน้าต่างไม่แข็งแรง นอกจากกลุ่มนักเรียนที่จะเข้ามาใช้บริการห้องสมุดดังกล่าวแล้ว ชุมชนมุสลิมบ้านท่าฉางยังสามารถมาใช้บริการห้องสมุดดังกล่าวด้วยเช่นกัน โดยเชื่อมั่นว่า ห้องสมุดแห่งใหม่นี้จะเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาที่มีส่วนพัฒนาองค์ความรู้ของชุมชนให้มีความแข็งแกร่งต่อไปอีกด้วย
ในส่วน การพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนบ้านท่าฉางของกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก ฟันด์ ประกอบด้วยการพัฒนาห้องสมุด ครุภัณฑ์ และสื่อความรู้ต่างๆ รวมทั้งการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องรวมมูลค่าประมาณ 900,000 บาท ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ MFC สร้างสรรค์มันสมองไทยที่มีเจตนารมณ์เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพความรู้ของเยาวชนไทยให้ยั่งยืน ทั้งนี้ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก ฟันด์ ได้บริจาคเงินช่วยเหลือสังคมไปแล้วเกือบ 3 ล้านบาทในปี 2548-2551
นอกจากนี้ เอ็มเอฟซียังมีโครงการ MFC Talent Award ที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องถึงรุ่นที่ 5 โดยมุ่งสร้างเยาวชนระดับอุดมศึกษาให้มีคุณภาพพร้อมก้าวสู่วิชาชีพด้านการเงิน ซึ่งมีเยาวชนผ่านโครงการไปแล้ว 200 ราย บริษัทมอบเงินรางวัลและการศึกษาดูงานบริษัทชั้นนำในต่างประเทศแก่ผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศของโครงการไปแล้วเกือบ 3 ล้านบาทเช่นกัน รวมทั้งการสนับสนุนโครงการพัฒนาการวิจัยระดับสูงเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในโครงการ “ศาสตรเมธาจารย์บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)” เป็นครั้งแรกในประเทศไทยให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกด้วย
ทางด้าน**โต๊ะอิหม่ามมะเล็บ หมาดหลี ประจำมัสยิด อัลฟาอีซีนท่าฉาง** ในฐานะตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนบ้านท่าฉาง บอกว่า หลังจากที่ บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เข้าพัฒนาห้องสมุด โรงเรียนบ้านท่าฉาง จะทำให้ห้องสมุดดังกล่าวมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากตัวอาคารที่มีความมั่นคงแข็งแรงขึ้นแล้ว ยังได้รับบริจาคโต๊ะเก้าอี้ ชั้นหนังสือ และหนังสือหลากหลายประเภท รวมทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งในการค้นคว้าหาความรู้ของเด็กๆ เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เชื่อว่านักเรียน และประชาชนในชุมชนจะสามารถใช้ประโยชน์จากห้องสมุดแห่งนี้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยพัฒนาความแข็งแกร่งด้านการศึกษาอย่างยั่งยืนต่อไป
***การลงทุนเพื่อพี่น้องมุสลิม***
ดร.พิชิต เล่าว่า ทางบลจ.เอ็มเอฟซี กำลังศึกษาข้อมูลการลงทุนอิสลามิกบอนด์ หรือ ซูคุก (Sukuk) ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่ถือว่ามีดอกเบี้ย โดยการลงทุนในอิสลามมิกบอนด์นั้นจะคล้ายกับการลงทุนในตราสารหนี้ ในขณะที่ผลตอบเเทนนั้นจะใกล้เคียงกับตราสารหนี้ ซึ่งการลงทุนในตราสารหนี้นั้นจะผิดหลักศาสนาในเเง่การลงทุนเกี่ยวกับการให้ดอกเบี้ย
ขณะเดียวกันตอนนี้ทางเราได้รับการติดต่อจากตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทยให้ไปนำเสนอข้อมูลหรือโรด์โชว์นักลงทุนแถบตะวันออกกลางเพื่อดึงนักลงทุนเหล่านั้นเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยทางตลาดหลักทรัพย์เองก็มีการจัดตั้ง Shariah Index หรือ ดัชนีชารีอะห์ไตรมาส 2 นี้ คาดว่าจะไปโรดโชว์ได้ประมาณเดือนพฤษาภาคม หรือ เดือนมิถุนายน นี้ โดยการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯเปิดให้มีดัชนีชารีอะห์นั้น เป็นการเพิ่มช่องทางการลงทุนเเละทางเลือกให้กับนักลงทุนทั้งผู้ที่เป็นมุสลิม เเละผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ยังสามารถดึงเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนเเถบตะวันออกกลางได้อีกด้วย