บลจ. บีที พอใจยอดจองกองทุนเกาหลีใต้ ปิดขายไอพีโอเป็นไปตามเป้า โดย 2 กองทุน ระดมทุนได้กว่า 1,400 ล้านบาท เผยหลังสงกรานต์ เตรียมเข็นกองใหม่ขายอีก 2 กอง ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
นางสาวผุสดี นาคภูมิ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บีที จำกัด เปิดเผยว่า ภายหลังจากบริษัทได้ไอพีโอกองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 6/6 (BT FIF Korea Fixed Incom 6/6 Fund หรือ Bt-FIF-KFIX 6/6) และ กองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 9/5 (BT FIF Korea Fixed Incom 9/5Fund หรือ Bt-FIF-KFIX 9/5) ไปเมื่อวันที่ 12 - 23 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากนักลงทุนค่อนข้างมาก โดยกองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 6/6 ที่คาดการณ์ผลตอบแทนอยู่ที่ 3.8% ต่อปี สามารถระดมทุนได้กว่า 514 ล้านบาท ส่วนกองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 9/5 สามารถระดมทุนได้กว่า 911 ล้านบาท โดยกองทุนให้ผลตอบแทนประมาณการอยู่ที่ 4.3% ต่อปี
โดยทั้ง 2 กองทุน ถือว่าประสบความสำเร็จตามที่บริษัทได้ตั้งเป้าเอาไว้ เนื่องจากกองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 6/6 บริษัทตั้งเป้าไว้ประมาณ 500 - 800 ล้านบาท ส่วนกองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 9/5 บริษัทตั้งเป้าไว้ประมาณ 700 - 1,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่ที่เข้ามาลงทุน จะเป็นลูกค้าของธนาคารไทยธนาคาร (แบงก์แม่) ที่เป็นลูกค้ากลุ่มธนบดี รวมถึงนักลงทุนของบลจ. บีทีเองด้วย นอกจากนี้ นักลงทุนรายใหม่ๆ เองก็ให้การตอบรับจากนักลงทุนด้วยเช่นกัน
"ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยมีการปรับลดลง บริษัทจึงคิดค้นหาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุนนั้นเอง ซึ่งกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้นี้ ถือว่าให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุน อีกทั้งบริษัทยังได้ทำการปิดความเสี่ยงไว้เรียบร้อยแล้วด้วย จึงทำให้สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องของความเสี่ยงได้" นางสาวผุสดี กล่าว
นางสาวผุสดี กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาบริษัทได้ออกกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้รวมทั้งสิ้น 5 กองทุน ซึ่งทุก ๆ กองทุนสามารถทำยอดได้ตามเป้าที่ทางบริษัทได้วางไว้ เนื่องจากว่าเป็นช่วงที่นักลงทุนกำลังหาช่องทางเพื่อกระจายการลงทุนใหม่ ๆ ให้กับตัวเองนั่นเอง
ขณะเดียวกัน ในช่วงนี้บริษัทกำลังทำการสำรวจกองทุนประเภทต่าง ๆ อยู่ว่าในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังผันผวนมีความไม่นิ่งเช่นนี้ การลงทุนอะไรจะให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุน ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดกองทุนใหม่เพิ่มได้อีกประมาณหลังเดือนเมษายนนี้ โดยบริษัทอาจจะเปิดกองทุนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 - 2 กองทุน ซึ่งอาจจะเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับกองทุนกองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 6/6 และ กองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 9/5 มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งสถาบันการเงินหรือบริษัทต่างประเทศเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกันที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ โดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก หรือเงินฝาก หรือตราสารหนี้ในประเทศที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน หรือการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน นอกจากนี้กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงตามจังหวะที่เห็นว่าเหมาะสม ทั้งนี้ กองทุนจะไม่ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง
นางสาวผุสดี นาคภูมิ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บีที จำกัด เปิดเผยว่า ภายหลังจากบริษัทได้ไอพีโอกองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 6/6 (BT FIF Korea Fixed Incom 6/6 Fund หรือ Bt-FIF-KFIX 6/6) และ กองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 9/5 (BT FIF Korea Fixed Incom 9/5Fund หรือ Bt-FIF-KFIX 9/5) ไปเมื่อวันที่ 12 - 23 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากนักลงทุนค่อนข้างมาก โดยกองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 6/6 ที่คาดการณ์ผลตอบแทนอยู่ที่ 3.8% ต่อปี สามารถระดมทุนได้กว่า 514 ล้านบาท ส่วนกองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 9/5 สามารถระดมทุนได้กว่า 911 ล้านบาท โดยกองทุนให้ผลตอบแทนประมาณการอยู่ที่ 4.3% ต่อปี
โดยทั้ง 2 กองทุน ถือว่าประสบความสำเร็จตามที่บริษัทได้ตั้งเป้าเอาไว้ เนื่องจากกองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 6/6 บริษัทตั้งเป้าไว้ประมาณ 500 - 800 ล้านบาท ส่วนกองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 9/5 บริษัทตั้งเป้าไว้ประมาณ 700 - 1,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่ที่เข้ามาลงทุน จะเป็นลูกค้าของธนาคารไทยธนาคาร (แบงก์แม่) ที่เป็นลูกค้ากลุ่มธนบดี รวมถึงนักลงทุนของบลจ. บีทีเองด้วย นอกจากนี้ นักลงทุนรายใหม่ๆ เองก็ให้การตอบรับจากนักลงทุนด้วยเช่นกัน
"ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยมีการปรับลดลง บริษัทจึงคิดค้นหาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุนนั้นเอง ซึ่งกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้นี้ ถือว่าให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุน อีกทั้งบริษัทยังได้ทำการปิดความเสี่ยงไว้เรียบร้อยแล้วด้วย จึงทำให้สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องของความเสี่ยงได้" นางสาวผุสดี กล่าว
นางสาวผุสดี กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาบริษัทได้ออกกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้รวมทั้งสิ้น 5 กองทุน ซึ่งทุก ๆ กองทุนสามารถทำยอดได้ตามเป้าที่ทางบริษัทได้วางไว้ เนื่องจากว่าเป็นช่วงที่นักลงทุนกำลังหาช่องทางเพื่อกระจายการลงทุนใหม่ ๆ ให้กับตัวเองนั่นเอง
ขณะเดียวกัน ในช่วงนี้บริษัทกำลังทำการสำรวจกองทุนประเภทต่าง ๆ อยู่ว่าในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังผันผวนมีความไม่นิ่งเช่นนี้ การลงทุนอะไรจะให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุน ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดกองทุนใหม่เพิ่มได้อีกประมาณหลังเดือนเมษายนนี้ โดยบริษัทอาจจะเปิดกองทุนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 - 2 กองทุน ซึ่งอาจจะเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับกองทุนกองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 6/6 และ กองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 9/5 มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งสถาบันการเงินหรือบริษัทต่างประเทศเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกันที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ โดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก หรือเงินฝาก หรือตราสารหนี้ในประเทศที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน หรือการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน นอกจากนี้กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงตามจังหวะที่เห็นว่าเหมาะสม ทั้งนี้ กองทุนจะไม่ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง