จากปัญหา sub prime ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ของสหรัฐฯ ในเดือน ส.ค. 2550 ซึ่งได้ลุกลามไปสู่การล่มสลายของภาคสถาบันการเงินในช่วง Q3/51 ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงดัชนีตลาดหุ้นไทยในปี 2551 ปรับลดลงจากจุดสูงสุดถึง 55% ในขณะที่ผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าวเริ่มส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง และเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น นับแต่ Q4/51 หลังจากรายงานตัวเลขการส่งออกของประเทศในกลุ่มเอเชียชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วนับแต่ เดือน ต.ค. 2551จากคำสั่งซื้อที่ลดลงตามอุปสงค์สิ้นค้าที่ชะลอตัว จากตลาดหลัก คือ สหรัฐฯ และ ยุโรป และส่งผลกระทบไปสู่อัตรากำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง และปัญหาการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวได้สะท้อนไปสู่ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างไรก็ดี นอกจากการชะลอตัวของกำไรสุทธิซึ่งนักลงทุนโดยส่วนใหญ่ให้ความสนใจแล้ว สิ่งที่ SCRI ให้ความสนใจมากขึ้นคือปัญหาสภาพคล่อง และ ความสามารถในการชำระหนี้ โดยเฉพาะบริษัทที่มีหนี้ในระดับที่สูง ในขณะที่รายไดป้ รับตัวลดลงอาจจะประสบปัญหาการผิดนัดชำระดอกเบี้ยหรือหนี้สินระยะสั้น
**ผลประกอบการปี 2551 ต่ำสุดในรอบ 4 ปี**
ผลประกอบการดำเนินงานบริษัทจดทะเบียนใน Q4/51 ผลขาดทุนรายไตรมาส หลังจากภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างรวดเร็ว จากทั้งปัญหาการเมืองในประเทศ และ ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบที่เคลื่อนไหวผันผวนตลอดทั้งปีในกรอบ 32-148 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อผู้ประกอบการจำเป็นต้องตัดขาดทุนสต็อกสินค้าในกลุ่ม เหล็ก, โรงกลั่น, เกษตร, และ กลุ่มปิโตรเคมี
กำไรสุทธิปี 2551 ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด ลดลง 23% yoy ต่ำสุดในรอบ 4 ปี : การปรับลดลงของกำไรสุทธิมากสุดมากจาก กลุ่มวัสดุก่อสร้าง (-58%), กลุ่มพลังงาน (-55%), กลุ่มปิโตรเคมี (-32%) และ กลุ่มวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร (-26%) ทั้งนี้บริษัทในกลุ่มเหล่านี้ โดยส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่มีกำไรในช่วง9M/51 แต่กลับได้รับผลจากการขาดทุนสต็อกสินค้าใน Q4/51 อย่างมหาศาลทำให้ดึงผลประกอบการงวดปีมาเป็นขาดทุน สำหรับกลุ่มที่มีการเติบโตกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน คือ กลุ่มอาหาร (+19%) และ กลุ่มเกษตร(+18%) เนื่องจากได้รับประโยชน์จากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในช่วง Q2/51 – Q3/51 ในขณะที่มีต้นทุนสินค้าที่ต่ำ ส่วน กลุ่มพาณิชย์ กำไรสุทธิเติบโตขึ้นจากการขยายสาขาเพิ่มขึ้น ผนวกกับ Same Store Salesgrowth สูงขึ้นตามกำลังซื้อของผู้บริโภคหลักหลังจากเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นในช่วง 1H/51
**ตลาดหุ้นกำไรเพิ่มขึ้น 5% yoy แต่ปันผลลดลง 21% yoy**
กำไรสุทธิปี 2552 ของ SCRI Universe คาดขยายตัว 5.3% yoy หากพิจารณาจากการประมาณการบริษัทภายใต้ SCRI Universe พบว่าในปี 2552 กำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้น 5.3% yoy (เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งที่แล้วที่คาดไว้ 1% yoy) แต่จะเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากฐานคำนวณที่ต่ำ โดย SCRI คาดว่า กลุ่มพลังงาน จะเป็นกลุ่มที่มีการฟื้นตัวของกำไรสุทธิสูงที่สุด 25% yoy เนื่องจากผลกระทบที่ลดลงจากการขาดทุนจากสินค้าคงเหลือจำนวนมากในปี 2551 ในขณะที่ กลุ่มยานยนต์ จะเป็นกลุ่มที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิลดลงมากที่สุด 48% yoy ซึ่งเป็นผลกระทบจากการพึ่งพาตลาดส่งออกอย่างมาก ทั้งนี้ **การประมาณการอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิปี2552 ของ SCRI ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของผลสำรวจความคิดเห็นของบริษัทหลักทรัพย์ โดยข้อมูลจาก สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ณ วันที่ 17 มี.ค. 2552 อย่างไรก็ดี การเติบโตของกำไรสุทธิในปี 2552 ยังมีส่วนของรายการพิเศษเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ กลุ่มพลังงาน โดยหากไม่รวมรายการดังกล่าวกำไรจากการดำเนินธุรกิจหลักจะเติบโต 13% yoy **ทำให้ อัตราการเติบโตของกำไรจากธุรกิจปกติของ SCRI Universe คาดว่าจะขยายตัว 1.09% yoy
โดยคาดว่ามูลค่าของเงินปันผลปี 2552 ลดลง 21% yoy ถึงแม้ว่ากำไรจากธุรกิจจะไม่หดตัวลงเนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ ความสามารถในการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนจะถดถอย เนื่องจากต้องรักษาสภาพคล่องไว้ในช่วงที่การหาเงินกู้ในระบบทำได้ค่อนข้างยาก ดังนั้น SCRI จึงได้ปรับประมาณการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่ศึกษาลงเท่ากับนโยบายการจ่ายเงินปันเพื่อสะท้อนความเป็นไปได้มากที่สุด โดยคาดว่ามูลค่าของเงินปันผลของบริษัทที่ศึกษาจะลดลงถึง 21% yoy อีกทั้ง**เมื่อพิจารณาในแง่ของอัตราผลตอบแทนหรือ Dividend Yield โดยประเมินที่ SET Index ณ ระดับปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 420 – 430 จุด พบว่า จะมี DividendYield อยู่ที่ระดับ 4.9% โดย กลุ่มพลังงาน จะเป็นกลุ่มที่มีกำไรสุทธิขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด จากการที่คาดว่าจะการขาดทุนจากสต็อกน้ำมันดิบจะลดลง อย่างไรก็ดี กลุ่มปิโตรเคมี และ กลุ่มยานยนต์ จะยังเป็นกลุ่มที่นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากกำไรสุทธิยังมีแนวโน้มที่ชะลอตัวลง**
กลุ่มพลังงานมีอัตราเติบโตกำไรสุทธิมากที่สุด 25% yoy จากการธุรกิจโรงกลั่นฟื้นกลับมามีกำไร โดยพิจารณาเฉพาะธุรกิจในกลุ่มโรงกลั่นพบว่าจะพลิกกลับมามีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 291% yoy หลังจากในช่วงQ4/51 ได้รับผลกระทบอย่างมากจากความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ ในขณะที่กลุ่มถ่านหินยังคงมีแนวโน้มเติบโตจากปริมาณการผลิตที่เพิ่ม และสามารถคงราคาขายและอัตรากำไรขั้นต้น โดยกลุ่มน้ำมันต้นน้ำและไฟฟ้ากลับมีแนวโน้มกำไรสุทธิลดลง จากราคาผลิตภัณฑ์ที่ลดลง และ จากอัตราค่าไฟฟ้าตามสัญญาที่ลดลงตามลำดับ สำหรับหุ้นในกลุ่มพลังงาน SCRI เลือก BANPU และ BCP-DR1 เป็น Top picks
**วิเคราะห์งบดุล สะท้อนความแข็งแกร่งทางการเงิน* *
การประเมินแต่ความสามารถในการทำกำไรหรือกำไรสุทธิของบริษัทไม่เพียงพอในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ดังนั้น SCRI ได้ให้น้ำหนักต่อการประเมินผลประกอบการของบริษัทในส่วนของงบดุล (Balance Sheet)มากขึ้น เนื่องจากจะเป็นตัวสะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัท โดยสิ่งที่ได้ทำการพิจารณาคือ
**สภาพคล่อง (liquidity) หรือ ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น (short term solvency)** โดยจะนำอัตราส่วนสินทรัพย์คล่องตัว (Quick Ratio) มาประกอบการพิจารณา ซึ่งจะบ่งบอกถึงระดับความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นในแต่ละบริษัท โดยค่าที่คำนวณได้ควรมีค่ามากกว่า 1 เท่า หรือสามารถอธิบายได้ว่าบริษัทมีความสามารถที่จะจ่ายหนี้ระยะสั้นได้
**ภาระหนี้สิน (leverage) และ ความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายทางการเงิน (coverage)**สำหรับภาระหนี้สิน จะนำอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to equity ratio) ประกอบการพิจารณา โดยเป็นการวัดกิจการมีภาระหนี้สินสูงเพียงใด ถ้าอัตราส่วนดังกล่าวมีค่าสูง (ในที่นี้จะพิจารณาเมื่อมีค่ามากกว่า2 เท่า) จะสะท้อนถึงการลงทุนของบริษัทจะมาจากการกู้เงินเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากบริษัทจำเป็นต้องกู้เงินเพิ่มในอนาคตเพื่อดำเนินธุรกิจย่อมมีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถขอวงเงินกู้เพิ่มได้ นอกจากนี้สำหรับการประเมิน ความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายทางการเงินได้นำ อัตราส่วน Debt Service Ratio เข้ามาพิจารณา เนื่องจากเป็นอัตราส่วนที่คำนึงถึงกำไรจากการดำเนินงานธุรกิจปกติ จะสามารถจ่ายดอกเบี้ย และเงินต้นซึ่งจะครบกำหนดภายในปีนั้นๆ ได้หรือไม่ ซึ่งค่าที่จะพิจารณาเมื่ออัตราส่วนมีค่าน้อยกว่า 1 เท่า ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยผลของการศึกษาบริษัททั้งหมดจำนวนกว่า 400 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์
**การเข้าถึงแหล่งเงินทุนใหม่ยากขึ้นทำให้ธุรกิจประสบปัญหา**
จากการพิจารณาความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องนับแต่ปี 2549 ในขณะที่มีอัตราส่วนหนีสินต่อทุน (Debt / Equity) ที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในปี 2551 สู่ระดับ 3 เท่า คาดว่าจะนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะทำให้หลายบริษัทประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ในขณะที่การเข้าถึงแหล่งเงินทุนใหม่จะเป็นไปได้ยากขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่อยู่ในช่วงของวัฏจักรเศรษฐกิจขาลง ซึ่งจะเป็นแรงกดดันให้ผู้ประกอบการหลายรายอาจจะพิจารณาการขายธุรกิจบางส่วน หรือ หากธุรกิจมีความน่าสนใจอาจจะมีการควบรวมกิจการมากขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของธุรกิจที่ต้องการใช้ใบอนุญาตในการดำเนินงาน หรือมีข้อจำกัดในส่วนของกฎหมาย สำหรับแนวทางที่บริษัทสามารถหาแหล่งเงินลงทุนใหม่ตามที่ SCRI คาดการณ์คือ
**ขอวงเงินกู้เพิ่มจากธนาคารธนาคารพาณิชย์** คาดว่าจะเป็นไปได้ยากหากเดิมบริษัทมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนที่สูงกว่าระดับ 2.0 เท่า ซึ่งหมายถึงมีภาระหนี้อยู่แล้วในระดับที่สูง อีกทั้งการพิจารณาการปล่อยของธนาคารพาณิชย์นับแต่ต้นปี 2552 พบว่ามีความเข้มงวดมากขึ้น โดยในรายงานสินเชื่อรวมของกลุ่ม
ธนาคารพาณิชย์ 10 แห่ง ในเดือน ม.ค. พบว่า ตัวเลขสินเชื่อปรับลด 1.5% mom ซึ่งถือว่าเป็นการลดลงครั้งแรกนับจากปี 2551 เป็นการสะท้อนได้ว่าธนาคารพาณิชย์มีการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวัง
**ออกตราสารหนี้ หรือ หุ้นกู้**ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยในระดับที่ต่ำเป็นช่องทางเลือกที่ดีในการพิจารณาเป็นแหล่งระดมทุน แต่อย่างไรก็ดี หากบริษัทมีงบการเงินที่ไม่แข็งแกร่ง และ มีความเสี่ยงในธุรกิจสูง ย่อมมีต้นทุนทางการเงินสูง ในขณะที่มีความเสี่ยงที่การถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของ บริษัทจัดอันดับเครดิต ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น
**เพิ่มทุน หรือ การออก warrant ** เป็นอีกช่องทางที่บริษัทสามารถทำได้ โดยมีข้อเสียคือจะกระทบต่อผู้ถือหุ้นเดิม (Dilution effect) อย่างไรก็ดี เชื่อว่าจะประสบปัญหาการเพิ่มทุน หากนักลงทุนไม่มีความเชื่อมั่นกับธุรกิจ ดังจะเห็นได้จากหลายบริษัทที่ไม่สามารถเพิ่มทุนได้สำเร็จ
**ขายกิจการ หรือ การเข้าควบรวมกิจการ** เชื่อว่าจะมีมีความเป็นไปได้มากโดยเฉพาะกับธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้ใบอนุญาต (License) หรือ มีข้อกำกับทางกฎหมาย อาทิ กลุ่มหลักทรัพย์ สื่อสาร และธนาคาร โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาหุ้นในบริษัทเหล่านี้ปรับตัวลดลงต่ำกว่าราคาสินทรัพย์ของบริษัท และมีสัญญาณที่ในบางบริษัทที่มีการแก้ไขข้อบังคับของบริษัทโดยให้ยกเลิกข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการให้บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นเกิน 49% (INOX)
ที่มา:ศูนย์วิจัยนครหลวงไทย
**ผลประกอบการปี 2551 ต่ำสุดในรอบ 4 ปี**
ผลประกอบการดำเนินงานบริษัทจดทะเบียนใน Q4/51 ผลขาดทุนรายไตรมาส หลังจากภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างรวดเร็ว จากทั้งปัญหาการเมืองในประเทศ และ ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบที่เคลื่อนไหวผันผวนตลอดทั้งปีในกรอบ 32-148 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อผู้ประกอบการจำเป็นต้องตัดขาดทุนสต็อกสินค้าในกลุ่ม เหล็ก, โรงกลั่น, เกษตร, และ กลุ่มปิโตรเคมี
กำไรสุทธิปี 2551 ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด ลดลง 23% yoy ต่ำสุดในรอบ 4 ปี : การปรับลดลงของกำไรสุทธิมากสุดมากจาก กลุ่มวัสดุก่อสร้าง (-58%), กลุ่มพลังงาน (-55%), กลุ่มปิโตรเคมี (-32%) และ กลุ่มวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร (-26%) ทั้งนี้บริษัทในกลุ่มเหล่านี้ โดยส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่มีกำไรในช่วง9M/51 แต่กลับได้รับผลจากการขาดทุนสต็อกสินค้าใน Q4/51 อย่างมหาศาลทำให้ดึงผลประกอบการงวดปีมาเป็นขาดทุน สำหรับกลุ่มที่มีการเติบโตกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน คือ กลุ่มอาหาร (+19%) และ กลุ่มเกษตร(+18%) เนื่องจากได้รับประโยชน์จากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในช่วง Q2/51 – Q3/51 ในขณะที่มีต้นทุนสินค้าที่ต่ำ ส่วน กลุ่มพาณิชย์ กำไรสุทธิเติบโตขึ้นจากการขยายสาขาเพิ่มขึ้น ผนวกกับ Same Store Salesgrowth สูงขึ้นตามกำลังซื้อของผู้บริโภคหลักหลังจากเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นในช่วง 1H/51
**ตลาดหุ้นกำไรเพิ่มขึ้น 5% yoy แต่ปันผลลดลง 21% yoy**
กำไรสุทธิปี 2552 ของ SCRI Universe คาดขยายตัว 5.3% yoy หากพิจารณาจากการประมาณการบริษัทภายใต้ SCRI Universe พบว่าในปี 2552 กำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้น 5.3% yoy (เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งที่แล้วที่คาดไว้ 1% yoy) แต่จะเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากฐานคำนวณที่ต่ำ โดย SCRI คาดว่า กลุ่มพลังงาน จะเป็นกลุ่มที่มีการฟื้นตัวของกำไรสุทธิสูงที่สุด 25% yoy เนื่องจากผลกระทบที่ลดลงจากการขาดทุนจากสินค้าคงเหลือจำนวนมากในปี 2551 ในขณะที่ กลุ่มยานยนต์ จะเป็นกลุ่มที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิลดลงมากที่สุด 48% yoy ซึ่งเป็นผลกระทบจากการพึ่งพาตลาดส่งออกอย่างมาก ทั้งนี้ **การประมาณการอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิปี2552 ของ SCRI ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของผลสำรวจความคิดเห็นของบริษัทหลักทรัพย์ โดยข้อมูลจาก สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ณ วันที่ 17 มี.ค. 2552 อย่างไรก็ดี การเติบโตของกำไรสุทธิในปี 2552 ยังมีส่วนของรายการพิเศษเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ กลุ่มพลังงาน โดยหากไม่รวมรายการดังกล่าวกำไรจากการดำเนินธุรกิจหลักจะเติบโต 13% yoy **ทำให้ อัตราการเติบโตของกำไรจากธุรกิจปกติของ SCRI Universe คาดว่าจะขยายตัว 1.09% yoy
โดยคาดว่ามูลค่าของเงินปันผลปี 2552 ลดลง 21% yoy ถึงแม้ว่ากำไรจากธุรกิจจะไม่หดตัวลงเนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ ความสามารถในการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนจะถดถอย เนื่องจากต้องรักษาสภาพคล่องไว้ในช่วงที่การหาเงินกู้ในระบบทำได้ค่อนข้างยาก ดังนั้น SCRI จึงได้ปรับประมาณการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่ศึกษาลงเท่ากับนโยบายการจ่ายเงินปันเพื่อสะท้อนความเป็นไปได้มากที่สุด โดยคาดว่ามูลค่าของเงินปันผลของบริษัทที่ศึกษาจะลดลงถึง 21% yoy อีกทั้ง**เมื่อพิจารณาในแง่ของอัตราผลตอบแทนหรือ Dividend Yield โดยประเมินที่ SET Index ณ ระดับปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 420 – 430 จุด พบว่า จะมี DividendYield อยู่ที่ระดับ 4.9% โดย กลุ่มพลังงาน จะเป็นกลุ่มที่มีกำไรสุทธิขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด จากการที่คาดว่าจะการขาดทุนจากสต็อกน้ำมันดิบจะลดลง อย่างไรก็ดี กลุ่มปิโตรเคมี และ กลุ่มยานยนต์ จะยังเป็นกลุ่มที่นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากกำไรสุทธิยังมีแนวโน้มที่ชะลอตัวลง**
กลุ่มพลังงานมีอัตราเติบโตกำไรสุทธิมากที่สุด 25% yoy จากการธุรกิจโรงกลั่นฟื้นกลับมามีกำไร โดยพิจารณาเฉพาะธุรกิจในกลุ่มโรงกลั่นพบว่าจะพลิกกลับมามีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 291% yoy หลังจากในช่วงQ4/51 ได้รับผลกระทบอย่างมากจากความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ ในขณะที่กลุ่มถ่านหินยังคงมีแนวโน้มเติบโตจากปริมาณการผลิตที่เพิ่ม และสามารถคงราคาขายและอัตรากำไรขั้นต้น โดยกลุ่มน้ำมันต้นน้ำและไฟฟ้ากลับมีแนวโน้มกำไรสุทธิลดลง จากราคาผลิตภัณฑ์ที่ลดลง และ จากอัตราค่าไฟฟ้าตามสัญญาที่ลดลงตามลำดับ สำหรับหุ้นในกลุ่มพลังงาน SCRI เลือก BANPU และ BCP-DR1 เป็น Top picks
**วิเคราะห์งบดุล สะท้อนความแข็งแกร่งทางการเงิน* *
การประเมินแต่ความสามารถในการทำกำไรหรือกำไรสุทธิของบริษัทไม่เพียงพอในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ดังนั้น SCRI ได้ให้น้ำหนักต่อการประเมินผลประกอบการของบริษัทในส่วนของงบดุล (Balance Sheet)มากขึ้น เนื่องจากจะเป็นตัวสะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัท โดยสิ่งที่ได้ทำการพิจารณาคือ
**สภาพคล่อง (liquidity) หรือ ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น (short term solvency)** โดยจะนำอัตราส่วนสินทรัพย์คล่องตัว (Quick Ratio) มาประกอบการพิจารณา ซึ่งจะบ่งบอกถึงระดับความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นในแต่ละบริษัท โดยค่าที่คำนวณได้ควรมีค่ามากกว่า 1 เท่า หรือสามารถอธิบายได้ว่าบริษัทมีความสามารถที่จะจ่ายหนี้ระยะสั้นได้
**ภาระหนี้สิน (leverage) และ ความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายทางการเงิน (coverage)**สำหรับภาระหนี้สิน จะนำอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to equity ratio) ประกอบการพิจารณา โดยเป็นการวัดกิจการมีภาระหนี้สินสูงเพียงใด ถ้าอัตราส่วนดังกล่าวมีค่าสูง (ในที่นี้จะพิจารณาเมื่อมีค่ามากกว่า2 เท่า) จะสะท้อนถึงการลงทุนของบริษัทจะมาจากการกู้เงินเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากบริษัทจำเป็นต้องกู้เงินเพิ่มในอนาคตเพื่อดำเนินธุรกิจย่อมมีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถขอวงเงินกู้เพิ่มได้ นอกจากนี้สำหรับการประเมิน ความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายทางการเงินได้นำ อัตราส่วน Debt Service Ratio เข้ามาพิจารณา เนื่องจากเป็นอัตราส่วนที่คำนึงถึงกำไรจากการดำเนินงานธุรกิจปกติ จะสามารถจ่ายดอกเบี้ย และเงินต้นซึ่งจะครบกำหนดภายในปีนั้นๆ ได้หรือไม่ ซึ่งค่าที่จะพิจารณาเมื่ออัตราส่วนมีค่าน้อยกว่า 1 เท่า ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยผลของการศึกษาบริษัททั้งหมดจำนวนกว่า 400 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์
**การเข้าถึงแหล่งเงินทุนใหม่ยากขึ้นทำให้ธุรกิจประสบปัญหา**
จากการพิจารณาความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องนับแต่ปี 2549 ในขณะที่มีอัตราส่วนหนีสินต่อทุน (Debt / Equity) ที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในปี 2551 สู่ระดับ 3 เท่า คาดว่าจะนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะทำให้หลายบริษัทประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ในขณะที่การเข้าถึงแหล่งเงินทุนใหม่จะเป็นไปได้ยากขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่อยู่ในช่วงของวัฏจักรเศรษฐกิจขาลง ซึ่งจะเป็นแรงกดดันให้ผู้ประกอบการหลายรายอาจจะพิจารณาการขายธุรกิจบางส่วน หรือ หากธุรกิจมีความน่าสนใจอาจจะมีการควบรวมกิจการมากขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของธุรกิจที่ต้องการใช้ใบอนุญาตในการดำเนินงาน หรือมีข้อจำกัดในส่วนของกฎหมาย สำหรับแนวทางที่บริษัทสามารถหาแหล่งเงินลงทุนใหม่ตามที่ SCRI คาดการณ์คือ
**ขอวงเงินกู้เพิ่มจากธนาคารธนาคารพาณิชย์** คาดว่าจะเป็นไปได้ยากหากเดิมบริษัทมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนที่สูงกว่าระดับ 2.0 เท่า ซึ่งหมายถึงมีภาระหนี้อยู่แล้วในระดับที่สูง อีกทั้งการพิจารณาการปล่อยของธนาคารพาณิชย์นับแต่ต้นปี 2552 พบว่ามีความเข้มงวดมากขึ้น โดยในรายงานสินเชื่อรวมของกลุ่ม
ธนาคารพาณิชย์ 10 แห่ง ในเดือน ม.ค. พบว่า ตัวเลขสินเชื่อปรับลด 1.5% mom ซึ่งถือว่าเป็นการลดลงครั้งแรกนับจากปี 2551 เป็นการสะท้อนได้ว่าธนาคารพาณิชย์มีการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวัง
**ออกตราสารหนี้ หรือ หุ้นกู้**ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยในระดับที่ต่ำเป็นช่องทางเลือกที่ดีในการพิจารณาเป็นแหล่งระดมทุน แต่อย่างไรก็ดี หากบริษัทมีงบการเงินที่ไม่แข็งแกร่ง และ มีความเสี่ยงในธุรกิจสูง ย่อมมีต้นทุนทางการเงินสูง ในขณะที่มีความเสี่ยงที่การถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของ บริษัทจัดอันดับเครดิต ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น
**เพิ่มทุน หรือ การออก warrant ** เป็นอีกช่องทางที่บริษัทสามารถทำได้ โดยมีข้อเสียคือจะกระทบต่อผู้ถือหุ้นเดิม (Dilution effect) อย่างไรก็ดี เชื่อว่าจะประสบปัญหาการเพิ่มทุน หากนักลงทุนไม่มีความเชื่อมั่นกับธุรกิจ ดังจะเห็นได้จากหลายบริษัทที่ไม่สามารถเพิ่มทุนได้สำเร็จ
**ขายกิจการ หรือ การเข้าควบรวมกิจการ** เชื่อว่าจะมีมีความเป็นไปได้มากโดยเฉพาะกับธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้ใบอนุญาต (License) หรือ มีข้อกำกับทางกฎหมาย อาทิ กลุ่มหลักทรัพย์ สื่อสาร และธนาคาร โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาหุ้นในบริษัทเหล่านี้ปรับตัวลดลงต่ำกว่าราคาสินทรัพย์ของบริษัท และมีสัญญาณที่ในบางบริษัทที่มีการแก้ไขข้อบังคับของบริษัทโดยให้ยกเลิกข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการให้บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นเกิน 49% (INOX)
ที่มา:ศูนย์วิจัยนครหลวงไทย