บลจ. บัวหลวง คลอด "บัวหลวงธนสิน1/09" เน้นลงทุนในตราสารหนี้ ทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นกองแรก ชูผลตอบแทนประมาณการ 1.1%ต่อปี เสนอขายช่วง IPO แล้ววันนี้ ถึง 3 เมษายน นี้ หวังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้นักลงทุนช่วงดอกเบี้ยลด
นายวศิน วัฒนวรกิจกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ในระหว่างการเปิดขายกองทุนรวมบัวหลวงธนสิน 1/09 หรือ Bualuang Thanasin 1/09 (BSIN1/09) อายุประมาณ 4 - 6 เดือน ขนาดโครงการ 5,000 ล้านบาท ซึ่งกองทุนได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนแล้วเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา และเริ่มไอพีโอแล้วตั้งแต่วันนี้ – 3 เมษายน 2552 โดยผลตอบแทนที่ได้รับอยู่ที่ประมาณการ 1.1% ต่อปี
ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าว เหมาะสมกับเงินลงทุนส่วนที่ต้องการความมั่นคงสูง และความเสี่ยงต่ำ โดยไม่ต้องไปลงทุนในหุ้น และเงินส่วนนี้จะต้องอยู่ในกองทุนเป็นระยะเวลาเท่ากับอายุกองทุน โดยลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท ที่ราคาเสนอขาย 10 บาทต่อหน่วยลงทุน
“กองทุนดังกล่าวถือเป็นกองทุนแรกในปีนี้ของบริษัท ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชน และถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้แก่นักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าการนำเงินไปฝากที่ธนาคาร ที่ ณ ขณะนี้ให้ผลตอบแทนอยู่ค่อนข้างต่ำ” นายวศินกล่าว
โดยกองทุนจะนำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน และหรือลงทุนในตราสารหนี้สถาบันการเงิน เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ ตราสารหนี้ที่ออก รับรอง รับอาวัล ค้ำประกันโดยธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และหรือตราสารหนี้ภาคเอกชน ที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ( Credit Rating ) ตั้งแต่ A- ขึ้นไป ซึ่งเป็นตราสารหนี้ที่มีความมั่นคง และเป็นตราสารที่มีคุณภาพ และให้ผลตอบแทนที่ดี
ส่วนที่เหลือลงทุนในเงินฝาก และหรือการทำธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาที่จะขายคืนตราสารแห่งหนี้กับสถาบันการเงิน และหรือในหลักทรัพย์และหรือทรัพย์สินอื่นที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดให้ลงทุนได้ นอกจากนี้กองทุนอาจจะเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านราคาตราสาร หรืออัตราดอกเบี้ย เท่านั้น กองทุนอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีลักษณะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) โดยเป็นไป ตามหลักเกณฑ์หรือได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
นายวศิน กล่าวว่า สำหรับค่าเฉลี่ยที่ใช้เปรียบเทียบผลตอบแทนของกองทุนนั้น จะเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอัตราผลตอบแทนของการลงทุนในพันธบัตรที่มีอายุคงที่ Zero rate return (ZRR) อายุ 6 เดือน ในสัดส่วนร้อยละ 50 และ อัตราผลตอบแทนของการลงทุนในพันธบัตรที่มีอายุคงที่ Zero rate return (ZRR) อายุ 6 เดือน บวกด้วยส่วนต่างของตราสารหนี้ภาคเอกชนเทียบกับพันธบัตร (Spread) อันดับเครดิต A- เป็นเกณฑ์มาตรฐาน ที่ประกาศโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ในสัดส่วนร้อยละ 50 ณ วันที่จัดตั้งกองทุน
นายวศินกล่าวว่า ส่วนกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 5/09 (B5/09) ที่ได้เปิดขายไปเมื่อวันที่ 10 – 17 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา ถือว่าได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี เนื่องจากว่านักลงทุนกำลังหาช่องทางใหม่ ๆ ให้กับตัวเองในการกระจายการลงทุนที่ได้ผลกำไรมากกว่าการนำเงินไปฝากยังธนาคารที่ขณะนี้ให้อัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงมากนัก โดยกองทุนดังกล่าวมีอายุประมาณ 4 - 6 เดือน
นายวศิน วัฒนวรกิจกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ในระหว่างการเปิดขายกองทุนรวมบัวหลวงธนสิน 1/09 หรือ Bualuang Thanasin 1/09 (BSIN1/09) อายุประมาณ 4 - 6 เดือน ขนาดโครงการ 5,000 ล้านบาท ซึ่งกองทุนได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนแล้วเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา และเริ่มไอพีโอแล้วตั้งแต่วันนี้ – 3 เมษายน 2552 โดยผลตอบแทนที่ได้รับอยู่ที่ประมาณการ 1.1% ต่อปี
ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าว เหมาะสมกับเงินลงทุนส่วนที่ต้องการความมั่นคงสูง และความเสี่ยงต่ำ โดยไม่ต้องไปลงทุนในหุ้น และเงินส่วนนี้จะต้องอยู่ในกองทุนเป็นระยะเวลาเท่ากับอายุกองทุน โดยลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท ที่ราคาเสนอขาย 10 บาทต่อหน่วยลงทุน
“กองทุนดังกล่าวถือเป็นกองทุนแรกในปีนี้ของบริษัท ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชน และถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้แก่นักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าการนำเงินไปฝากที่ธนาคาร ที่ ณ ขณะนี้ให้ผลตอบแทนอยู่ค่อนข้างต่ำ” นายวศินกล่าว
โดยกองทุนจะนำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน และหรือลงทุนในตราสารหนี้สถาบันการเงิน เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ ตราสารหนี้ที่ออก รับรอง รับอาวัล ค้ำประกันโดยธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และหรือตราสารหนี้ภาคเอกชน ที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ( Credit Rating ) ตั้งแต่ A- ขึ้นไป ซึ่งเป็นตราสารหนี้ที่มีความมั่นคง และเป็นตราสารที่มีคุณภาพ และให้ผลตอบแทนที่ดี
ส่วนที่เหลือลงทุนในเงินฝาก และหรือการทำธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาที่จะขายคืนตราสารแห่งหนี้กับสถาบันการเงิน และหรือในหลักทรัพย์และหรือทรัพย์สินอื่นที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดให้ลงทุนได้ นอกจากนี้กองทุนอาจจะเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านราคาตราสาร หรืออัตราดอกเบี้ย เท่านั้น กองทุนอาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีลักษณะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) โดยเป็นไป ตามหลักเกณฑ์หรือได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
นายวศิน กล่าวว่า สำหรับค่าเฉลี่ยที่ใช้เปรียบเทียบผลตอบแทนของกองทุนนั้น จะเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอัตราผลตอบแทนของการลงทุนในพันธบัตรที่มีอายุคงที่ Zero rate return (ZRR) อายุ 6 เดือน ในสัดส่วนร้อยละ 50 และ อัตราผลตอบแทนของการลงทุนในพันธบัตรที่มีอายุคงที่ Zero rate return (ZRR) อายุ 6 เดือน บวกด้วยส่วนต่างของตราสารหนี้ภาคเอกชนเทียบกับพันธบัตร (Spread) อันดับเครดิต A- เป็นเกณฑ์มาตรฐาน ที่ประกาศโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ในสัดส่วนร้อยละ 50 ณ วันที่จัดตั้งกองทุน
นายวศินกล่าวว่า ส่วนกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 5/09 (B5/09) ที่ได้เปิดขายไปเมื่อวันที่ 10 – 17 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา ถือว่าได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี เนื่องจากว่านักลงทุนกำลังหาช่องทางใหม่ ๆ ให้กับตัวเองในการกระจายการลงทุนที่ได้ผลกำไรมากกว่าการนำเงินไปฝากยังธนาคารที่ขณะนี้ให้อัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงมากนัก โดยกองทุนดังกล่าวมีอายุประมาณ 4 - 6 เดือน