บลจ.แอสเซท พลัส คลอดกองทุนเปิด "แอสเซทพลัสแอ็คทีฟตราสารหนี้ 6" เน้นลงทุนในตราสารหนี้เอกชนคุณภาพ อายุสั้นๆ ประมาณ 6 เดือน ชูผลตอบแทน 2.65% เปิดเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-19 มีนาคมนี้ รับแนวโน้มดอกเบี้ย ส่งสัญญาณปรับลงต่อ
นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด เปิดเผยว่า ในเดือนมีนาคมนี้ จะมีกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลประเทศเกาหลีใต้ ทยอยครบอายุการลงทุน ได้แก่ กองทุนเปิดเอฟไอเอฟตราสารหนี้ 12M9 (FIF-FIXED12M9) และกองทุนแอสเซทพลัสพรีเมี่ยม 6M2 (ASP-P6M2) โดยทั้ง 2 กองทุน มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมแล้วประมาณ 1,700 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบรรยากาศการลงทุนในต่างประเทศช่วงนี้ ยังค่อนข้างผันผวน จากผลกระทบวิกฤตการณ์สถาบันการเงินที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ายังคงรับรู้ไม่หมด ดังนั้น บริษัท จึงยังคงชะลอการลงทุนในต่างประเทศ และผู้ลงทุนส่วนใหญ่ก็ยังมีความกังวลในเรื่องความเสี่ยงด้านฐานะการเงินของสถาบันการเงินในการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Counter party risk) จึงต้องการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนี้ที่ตราสารหนี้เอกชนคุณภาพดี จากบริษัทผู้ออกตราสารหนี้เอกชนที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง ซึ่งเริ่มมีการออกตราสารหนี้เพื่อระดมทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งตั๋วแลกเงินระยะสั้นๆ และหุ้นกู้ ดังนั้น บริษัทฯ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศแทน โดยในส่วนการลงทุนในต่างประเทศ หากมีจังหวะเหมาะสมก็อาจกลับมาลงทุนได้ในอนาคต
โดยระหว่างวันที่ 12-19 มีนาคม 2552 บริษัทจะเปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรกของกองทุนเปิดแอสเซทพลัสแอ็คทีฟตราสารหนี้ 6 (ASP-ACFIXED6) โดยคาดการณ์ผลตอบแทนอยู่ที่ 2.65% ต่อปี จากการลงทุนในตั๋วแลกเงินอายุประมาณ 6 เดือน ที่ผู้ออกได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ A- ขึ้นไป เช่น บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR) บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์ (QH) บมจ. โรงแรมเซ็นทรัล พลาซา (CENTEL) และบมจ. บัตรกรุงไทย (KTC) เพื่อรองรับความต้องการลงทุนของลูกค้าที่มีเม็ดเงินลงทุน จากการครบกำหนดอายุของกองทุนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้
สำหรับภาวะตลาดตราสารหนี้ นางสาวจารุลักษณ์ กล่าวว่า โดยรวมในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ค่อนข้างเบาบาง โดยอัตราผลตอบแทนของตราสารระยะสั้น ไม่เกิน 3 ปี ปรับลดลง ส่วนตราสารหนี้ระยะยาวปรับสูงขึ้นอย่างมาก จากการที่นักลงทุนชะลอการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว และมีการเทขายตราสารหนี้ระยะยาวออกมาค่อนข้างมาก เนื่องจากนักลงทุนยังเกรงกลัวต่อ Supply ของตราสารหนี้ระยะยาวที่จะออกเพิ่มในไตรมาสหน้า
ขณะเดียวกัน สัปดาห์นี้ มองว่า อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นยังคงปรับลดลงอีก จากความต้องการซื้อของนักลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวน่าจะทรงตัวหรืออาจจะปรับลดลงได้บ้าง เนื่องจากตลาด Interest Rate swap (IRS) ปรับลดลง หลังจากที่สัปดาห์ก่อนปรับตัวสูงขึ้น
ส่วนแนวโน้มดอกเบี้ยนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะยังคงใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยตึงตัวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศต่อไป ซึ่งจากการประกาศตัวเลขดัชนีผู้บริโภค (CPI) ของกระทรวงพาณิชย์ ใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ โดยลดลงจากเดือน ก.พ.ปี 51 คิดเป็น 0.1% และเพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค. ปี 52 คิดเป็น 1.0% ซึ่งไม่น่าจะเป็นปัจจัยให้มีการเปลี่ยนแปลงการคาดการณ์ทิศทางดอกเบี้ยของนักวิเคราะห์ต่างๆ นอกจากนี้ ธปท. ยังได้ออกมาเผยว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้เป็นบวกได้ยาก และในส่วนของนโยบายการเงินยังมีช่องว่างที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงได้อีก เป็นการเสริมความเชื่อของนักลงทุนว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงเป็นขาลงอยู่
นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด เปิดเผยว่า ในเดือนมีนาคมนี้ จะมีกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลประเทศเกาหลีใต้ ทยอยครบอายุการลงทุน ได้แก่ กองทุนเปิดเอฟไอเอฟตราสารหนี้ 12M9 (FIF-FIXED12M9) และกองทุนแอสเซทพลัสพรีเมี่ยม 6M2 (ASP-P6M2) โดยทั้ง 2 กองทุน มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมแล้วประมาณ 1,700 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบรรยากาศการลงทุนในต่างประเทศช่วงนี้ ยังค่อนข้างผันผวน จากผลกระทบวิกฤตการณ์สถาบันการเงินที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ายังคงรับรู้ไม่หมด ดังนั้น บริษัท จึงยังคงชะลอการลงทุนในต่างประเทศ และผู้ลงทุนส่วนใหญ่ก็ยังมีความกังวลในเรื่องความเสี่ยงด้านฐานะการเงินของสถาบันการเงินในการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Counter party risk) จึงต้องการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนี้ที่ตราสารหนี้เอกชนคุณภาพดี จากบริษัทผู้ออกตราสารหนี้เอกชนที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง ซึ่งเริ่มมีการออกตราสารหนี้เพื่อระดมทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งตั๋วแลกเงินระยะสั้นๆ และหุ้นกู้ ดังนั้น บริษัทฯ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศแทน โดยในส่วนการลงทุนในต่างประเทศ หากมีจังหวะเหมาะสมก็อาจกลับมาลงทุนได้ในอนาคต
โดยระหว่างวันที่ 12-19 มีนาคม 2552 บริษัทจะเปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรกของกองทุนเปิดแอสเซทพลัสแอ็คทีฟตราสารหนี้ 6 (ASP-ACFIXED6) โดยคาดการณ์ผลตอบแทนอยู่ที่ 2.65% ต่อปี จากการลงทุนในตั๋วแลกเงินอายุประมาณ 6 เดือน ที่ผู้ออกได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ A- ขึ้นไป เช่น บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR) บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์ (QH) บมจ. โรงแรมเซ็นทรัล พลาซา (CENTEL) และบมจ. บัตรกรุงไทย (KTC) เพื่อรองรับความต้องการลงทุนของลูกค้าที่มีเม็ดเงินลงทุน จากการครบกำหนดอายุของกองทุนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้
สำหรับภาวะตลาดตราสารหนี้ นางสาวจารุลักษณ์ กล่าวว่า โดยรวมในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ค่อนข้างเบาบาง โดยอัตราผลตอบแทนของตราสารระยะสั้น ไม่เกิน 3 ปี ปรับลดลง ส่วนตราสารหนี้ระยะยาวปรับสูงขึ้นอย่างมาก จากการที่นักลงทุนชะลอการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว และมีการเทขายตราสารหนี้ระยะยาวออกมาค่อนข้างมาก เนื่องจากนักลงทุนยังเกรงกลัวต่อ Supply ของตราสารหนี้ระยะยาวที่จะออกเพิ่มในไตรมาสหน้า
ขณะเดียวกัน สัปดาห์นี้ มองว่า อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นยังคงปรับลดลงอีก จากความต้องการซื้อของนักลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวน่าจะทรงตัวหรืออาจจะปรับลดลงได้บ้าง เนื่องจากตลาด Interest Rate swap (IRS) ปรับลดลง หลังจากที่สัปดาห์ก่อนปรับตัวสูงขึ้น
ส่วนแนวโน้มดอกเบี้ยนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะยังคงใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยตึงตัวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศต่อไป ซึ่งจากการประกาศตัวเลขดัชนีผู้บริโภค (CPI) ของกระทรวงพาณิชย์ ใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ โดยลดลงจากเดือน ก.พ.ปี 51 คิดเป็น 0.1% และเพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค. ปี 52 คิดเป็น 1.0% ซึ่งไม่น่าจะเป็นปัจจัยให้มีการเปลี่ยนแปลงการคาดการณ์ทิศทางดอกเบี้ยของนักวิเคราะห์ต่างๆ นอกจากนี้ ธปท. ยังได้ออกมาเผยว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้เป็นบวกได้ยาก และในส่วนของนโยบายการเงินยังมีช่องว่างที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงได้อีก เป็นการเสริมความเชื่อของนักลงทุนว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงเป็นขาลงอยู่