บลจ.กรุงไทย ปรับเพิ่มผลตอบเเทน "กรุงไทยตราสารต่างประเทศ 6 เดือน 22 " จาก 3.20 % เป็น 3.80% หลังรัรฐบาลเกาหลีใต้ คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2% รวมถึงค่าเงินบาท ยังมีเเนวโน้มอ่อนลง
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับอัตราผลตอบแทนของกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารต่างประเทศ 6 เดือน 22 (KTFIF6M22) จาก 3.20% ต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 3.80% ต่อปี เนื่องจากรัฐบาลเกาหลีใต้ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2% ต่อปี ซึ่งไม่เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะมีการปรับลดลง 0.25% - 0.50%ต่อปี นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Libor) ยังอยู่ในแนวโน้มที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารต่างประเทศ เมื่อแปลงกับเป็นสกุลบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น
สำหรับกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารต่างประเทศ 6 เดือน 22 มีอายุโครงการ 6 เดือน มูลค่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในระหว่างการเปิดจำหน่าย ถึงวันที่ 17 มีนาคม 2552 เป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในตราสารการเงินในประเทศเกาหลีใต้ ประเภท Euro Commercial Paper (ECP) /Euro Medium Term Note (EMTN) ที่ออกโดยสถาบันการเงินภาครัฐของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นตราสารที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นในอันดับสูงสุด คือ A1 โดย S&P และ F1 โดย Fitch โดยกองทุนจะลงทุนใน Export - Import Bank of Korea , Industral Bank of Korea ในสัดส่วนสถาบันการเงินละ 35% และ Korea Development Bank 30% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่งผลให้กองทุนได้รับผลตอบแทนประมาณการที่ 3.80%ต่อปี จึง เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่า การลงทุนตราสารหนี้ในประเทศ ที่มีระดับความเสี่ยงใกล้เคียงกัน และ เงินลงทุนจะมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน
ขณะที่ฝ่ายวิจัยบลจ.กรุงไทย มองว่า ตัวเลขเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในสัปดาห์ที่ผ่านมายังสะท้อนความอ่อนเเอของเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นไปตามเเนวโน้มเศรษฐกิจโลก การส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ ลดลง 17.1%YoY มาอยู่ที่ 25,848 ล้านดอลล์สหรัฐฯ เเต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ส่งออกได้ 21,368 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 24,724 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯหดตัวลง 30.9%YoY เเต่เพิ่มขึ้นจาก 22,533 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนก่อน โดยรวมเเล้วดุลการค้าในเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวดีขึ้นมาเกินดุล 3,295 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯดีกว่าการขาดดุล 3,356 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนมกราคม ในด้านการผลิต เกาหลีใต้ยังคงมีการผลิตในระดับต่ำ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนธันวาคมที่ลดลง 18.6%YoY เนื่องจากอุปสงค์ของโลกที่อ่อนเเอทำให้ผู้ผลิตปรับลดกำลังผลิต ส่วนดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจยังมีเเนวโน้มลดลง โดยดัชนีในเดือนมกราคมอยู่ที่ 11.01 ลดลง 0.3%MoM หรือลดลง 4.5%YoY อัตราเงินเฟ้ดในเดือนกุมภาพันธ์ ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย มาจากราคาอาหารเสื้อผ้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) อยูที่ 4.1% เพิ่มขึ้นจาก3.75% ในเดือนก่อน
สำหรับเครื่องชี้เสถียรภาพของเศรษฐกิจนั้น ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศปรับลดลงเป็นครั้งเเรกในรอบ 3 เดือนโดย ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ทุนสำรองอยู่ที่ 201.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯลดลงจาก 201.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนก่อน เนื่องจากการเเข็งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ค่าเงินเยนเเละยูโรที่ถือไว้อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตามกองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศยังมากกว่าระดับ 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯซึ่งเป็นระดับที่มีความสำคัญทางจิตวิทยา
โดยธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) ได้จัดการเงินกู้ระยะ 84 วัน วงเงิน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯให้กับธนาคารภายในประเทสโดยใช้วงเงินสินเชื่อของ Fedเเละในการประมูลมีธนาคาร 14 เเห่งยื่นเงินกู้ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.3160% ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยที่ 1.4398% ที่กำหนดไว้ในการประมูลในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ทั้งนี้ BOK ได้ใช้เงินเเล้วทั้งสิ้น 2.035 หมื่อนล้านดอลลาร์สหรัฐฯจาก Swap line 3หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ทำกับ FED ขณะที่ได้รับเงินคืน 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากธนาคารภายในประเทศโดย Swap line ดังกล่าวจะยังคงมีอยู่ต่อไปจนถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2552 ซึ่งเป็นเเนวทางสำคัญที่ BOK ใช้เพื่อจัดการกับปัญหาการขาดเเคลนดอลลาร์ในประเทศ ซึ่งนอกจากSwap line กับ FED เเล้ว BOK ยังมี Swap line กับญี่ปุ่น เเละ จีน รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 4.8 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับอัตราผลตอบแทนของกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารต่างประเทศ 6 เดือน 22 (KTFIF6M22) จาก 3.20% ต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 3.80% ต่อปี เนื่องจากรัฐบาลเกาหลีใต้ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2% ต่อปี ซึ่งไม่เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะมีการปรับลดลง 0.25% - 0.50%ต่อปี นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Libor) ยังอยู่ในแนวโน้มที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารต่างประเทศ เมื่อแปลงกับเป็นสกุลบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น
สำหรับกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารต่างประเทศ 6 เดือน 22 มีอายุโครงการ 6 เดือน มูลค่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในระหว่างการเปิดจำหน่าย ถึงวันที่ 17 มีนาคม 2552 เป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในตราสารการเงินในประเทศเกาหลีใต้ ประเภท Euro Commercial Paper (ECP) /Euro Medium Term Note (EMTN) ที่ออกโดยสถาบันการเงินภาครัฐของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นตราสารที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นในอันดับสูงสุด คือ A1 โดย S&P และ F1 โดย Fitch โดยกองทุนจะลงทุนใน Export - Import Bank of Korea , Industral Bank of Korea ในสัดส่วนสถาบันการเงินละ 35% และ Korea Development Bank 30% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่งผลให้กองทุนได้รับผลตอบแทนประมาณการที่ 3.80%ต่อปี จึง เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่า การลงทุนตราสารหนี้ในประเทศ ที่มีระดับความเสี่ยงใกล้เคียงกัน และ เงินลงทุนจะมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน
ขณะที่ฝ่ายวิจัยบลจ.กรุงไทย มองว่า ตัวเลขเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในสัปดาห์ที่ผ่านมายังสะท้อนความอ่อนเเอของเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นไปตามเเนวโน้มเศรษฐกิจโลก การส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ ลดลง 17.1%YoY มาอยู่ที่ 25,848 ล้านดอลล์สหรัฐฯ เเต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ส่งออกได้ 21,368 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 24,724 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯหดตัวลง 30.9%YoY เเต่เพิ่มขึ้นจาก 22,533 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนก่อน โดยรวมเเล้วดุลการค้าในเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวดีขึ้นมาเกินดุล 3,295 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯดีกว่าการขาดดุล 3,356 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนมกราคม ในด้านการผลิต เกาหลีใต้ยังคงมีการผลิตในระดับต่ำ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนธันวาคมที่ลดลง 18.6%YoY เนื่องจากอุปสงค์ของโลกที่อ่อนเเอทำให้ผู้ผลิตปรับลดกำลังผลิต ส่วนดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจยังมีเเนวโน้มลดลง โดยดัชนีในเดือนมกราคมอยู่ที่ 11.01 ลดลง 0.3%MoM หรือลดลง 4.5%YoY อัตราเงินเฟ้ดในเดือนกุมภาพันธ์ ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย มาจากราคาอาหารเสื้อผ้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) อยูที่ 4.1% เพิ่มขึ้นจาก3.75% ในเดือนก่อน
สำหรับเครื่องชี้เสถียรภาพของเศรษฐกิจนั้น ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศปรับลดลงเป็นครั้งเเรกในรอบ 3 เดือนโดย ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ทุนสำรองอยู่ที่ 201.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯลดลงจาก 201.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนก่อน เนื่องจากการเเข็งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ค่าเงินเยนเเละยูโรที่ถือไว้อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตามกองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศยังมากกว่าระดับ 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯซึ่งเป็นระดับที่มีความสำคัญทางจิตวิทยา
โดยธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) ได้จัดการเงินกู้ระยะ 84 วัน วงเงิน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯให้กับธนาคารภายในประเทสโดยใช้วงเงินสินเชื่อของ Fedเเละในการประมูลมีธนาคาร 14 เเห่งยื่นเงินกู้ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.3160% ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยที่ 1.4398% ที่กำหนดไว้ในการประมูลในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ทั้งนี้ BOK ได้ใช้เงินเเล้วทั้งสิ้น 2.035 หมื่อนล้านดอลลาร์สหรัฐฯจาก Swap line 3หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ทำกับ FED ขณะที่ได้รับเงินคืน 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากธนาคารภายในประเทศโดย Swap line ดังกล่าวจะยังคงมีอยู่ต่อไปจนถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2552 ซึ่งเป็นเเนวทางสำคัญที่ BOK ใช้เพื่อจัดการกับปัญหาการขาดเเคลนดอลลาร์ในประเทศ ซึ่งนอกจากSwap line กับ FED เเล้ว BOK ยังมี Swap line กับญี่ปุ่น เเละ จีน รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 4.8 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ