ฝ่ายวิจัยบลจ.กรุงไทยมอง เกาหลีใต้อาจต้องเทขายดอลลาร์มากขึ้น เพื่อสกัดค่าเงินวอนร่วงลงอย่างหนัก หลังจากนักลงทุนต่างชาติเทขาย ขณะเดียวกันธนาคารกลางเกาหลีใต้ระบุตัวเลขกองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือนก.พ.ลดลงเหตุดอลลาร์แข็งค่าขึ้น
รายงานข่าวจากฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด มองว่า ตัวเลขเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยดัชนีความเชื่อมั่นบริโภคในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 85.0 เพิ่มขึ้นจาก 84.0 ในเดือนมกราคม และ 81 ในเดือนธันวาคม เนื่องจาก ธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำที่ 2% เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 และภาครัฐใช้เงินจำนวน 51 ล้านล้านวอน หรือประมาณ 37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการผลิตเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 50 จาก 49 ในเดือนกุมภาพันธ์ และ 44 ในเดือนมกราคม ส่วนดัชนีในเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ไม่ใช่การผลิตอยู่ที่ 61 เพิ่มขึ้นจาก 59 และ 55 ในเดือนกุมภาพันธ์ และมกราคม ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามเนื่องจากดัชนีหมดนี้ยังต่ำกว่า 100 จึงอาจถือเป็นการเร็วเกินไปที่จะสรุปความเชื่อมั่นได้กลับมาในระดับปรกติแล้ว แม้ว่าความเชื่อมั่นจะปรับตัวดีขึ้น แต่ตัวเลขด้านการค้าระหว่าประเทศส่งสัญญาณไม่ดีนัก โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมกราคม ขาดดุลครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยขาดดุลอยู่ที่ 1,361.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากเดือนธันวาคม ซึ่งเกินดุลอยู่ที่ 860.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯสำหรับดุลการค้าในเดือนมกราคม ขาดดุลมากในรอบ 4 เดือนอยู่ที่ 1,462 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากส่งออกที่ลดลงมากกว่านำเข้าโดยส่งออก(ไม่รวมทางเรือ) -33.8%YoY ลดลงมากกว่าเดือนธันวาคม อยู่ที่ -17.9%YoY ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดุลการค้าเกาหลีใต้จะปรับตัวดีขึ้นหรืออาจเกินดุลได้ในไตรมาส 2 ตามการนำเข้าที่ปรับตัวลดลงมาก
สำหรับการอ่อนค่าเงินวอนเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่านักลงทุนมีความวิตกเกี่ยวกับการขาดแคลนดอลลาร์สหรัฐฯในเกาหลีใต้ โดย ค่าเงินวอนอ่อนค่าลง 0.87% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากตลาดหุ้นเกาหลีใต้ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 เดือน จากความวิตกว่าธนาคารหลายแห่งของเกาหลีใต้อาจเผชิญกับปัญหาการเข้าถึงตลาดทุนในต่างประเทศ เพื่อ Refinance หนี้ต่างประเทศที่ครบกำหนดชำระ ความกังวลต่อปัญหาการไหลออกของเงินทุน รวมทั้งความอ่อนแอของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ยังกดดันค่าเงินวอน นอกจากนี้ นักลงทุยังวิตกเกี่ยวกับการขาดแคลนดอลลาร์สหรัฐฯในเกาหลีใต้ท่ามกลางความไม่ต้องการถือสินทรัพย์เสี่ยง
ขณะเดียวกันแม้ว่าทางเกาหลีใต้ได้เปิดเผยมาตรการที่มีวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นการลงทุนของต่างชาติในหุ้นกู้ภาคสาธารณะภายในประเทศ เพื่อขจัดความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนดอลลาร์สหรัฐฯและนาย คิม อิคจู ผู้อำนวยการสำนักงานการเงินระหว่างประเทศของกระทรวงการคลังเกาหลีใต้กล่าวว่า เกาหลีใต้จะดำเนินการอย่างเต็มที่ในการสร้างเสถียรภาพแก่ตลาดสกุลเงินภายในประเทศซึ่งบ่งชี้ว่ารัฐบาลอาจจะเทขายดอลลาร์สหรัฐฯมากขึ้นหากจำเป็น เพื่อสกัดการร่วงลงของวอน หลังจากที่เทรดเดอร์รายงานถึงการเทรกแซงโดยการขายดอลลาร์สหรัฐฯของทางการเกาหลีใต้เพื่อที่จะหนุนวอน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ หรือ บีโอเค เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้อยู่ที่ระดับ 201,540 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือราว 7.05 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงอีก 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ราว 7,000 ล้านบาท เนื่องจากการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี กองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ยังมากกว่าระดับ 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯราว 7 ล้านล้านบาท เป็นระดับที่มีความสำคัญทางจิตวิทยา
โดยแถลงการณ์ของบีโอเค รายงานอีกว่า เมื่อปีที่แล้วกองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ลดลงติดต่อกันถึง 8 เดือน ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเกาหลีใต้และบีโอเคต่างยืนยันว่าเกาหลีใต้จะไม่เผชิญวิกฤติการเงินในเดือนมีนาคมนี้ เพราะสถาบันการเงินต่างๆ ในประเทศไม่มีปัญหากดดันเรื่องสภาพคล่องอีกทั้งเกาหลีใต้ยังมีกองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมากเป็นอันดับที่ 6 ของโลกรองจากจีน ญี่ปุ่น รัสเซีย ไต้หวัน อินเดีย ณ สิ้นเดือนมกราคม ปีนี้ด้วย
นอกจากนี้สำนักงานสิถิติแห่งชาติ หรือ เอ็นเอสโอ เปิดเผยขัอมูลการส่งออกในเดือนมกราคมที่ผ่านมาอีกว่า ยอดการส่งออกในเดือนมกราคมลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่มีการรวบรวมขัอมูล โดยข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการลดการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และรถยนต์อีกด้วย
รายงานข่าวจากฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด มองว่า ตัวเลขเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยดัชนีความเชื่อมั่นบริโภคในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 85.0 เพิ่มขึ้นจาก 84.0 ในเดือนมกราคม และ 81 ในเดือนธันวาคม เนื่องจาก ธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำที่ 2% เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 และภาครัฐใช้เงินจำนวน 51 ล้านล้านวอน หรือประมาณ 37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการผลิตเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 50 จาก 49 ในเดือนกุมภาพันธ์ และ 44 ในเดือนมกราคม ส่วนดัชนีในเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ไม่ใช่การผลิตอยู่ที่ 61 เพิ่มขึ้นจาก 59 และ 55 ในเดือนกุมภาพันธ์ และมกราคม ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามเนื่องจากดัชนีหมดนี้ยังต่ำกว่า 100 จึงอาจถือเป็นการเร็วเกินไปที่จะสรุปความเชื่อมั่นได้กลับมาในระดับปรกติแล้ว แม้ว่าความเชื่อมั่นจะปรับตัวดีขึ้น แต่ตัวเลขด้านการค้าระหว่าประเทศส่งสัญญาณไม่ดีนัก โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนมกราคม ขาดดุลครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยขาดดุลอยู่ที่ 1,361.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากเดือนธันวาคม ซึ่งเกินดุลอยู่ที่ 860.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯสำหรับดุลการค้าในเดือนมกราคม ขาดดุลมากในรอบ 4 เดือนอยู่ที่ 1,462 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากส่งออกที่ลดลงมากกว่านำเข้าโดยส่งออก(ไม่รวมทางเรือ) -33.8%YoY ลดลงมากกว่าเดือนธันวาคม อยู่ที่ -17.9%YoY ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดุลการค้าเกาหลีใต้จะปรับตัวดีขึ้นหรืออาจเกินดุลได้ในไตรมาส 2 ตามการนำเข้าที่ปรับตัวลดลงมาก
สำหรับการอ่อนค่าเงินวอนเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่านักลงทุนมีความวิตกเกี่ยวกับการขาดแคลนดอลลาร์สหรัฐฯในเกาหลีใต้ โดย ค่าเงินวอนอ่อนค่าลง 0.87% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากตลาดหุ้นเกาหลีใต้ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 เดือน จากความวิตกว่าธนาคารหลายแห่งของเกาหลีใต้อาจเผชิญกับปัญหาการเข้าถึงตลาดทุนในต่างประเทศ เพื่อ Refinance หนี้ต่างประเทศที่ครบกำหนดชำระ ความกังวลต่อปัญหาการไหลออกของเงินทุน รวมทั้งความอ่อนแอของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ยังกดดันค่าเงินวอน นอกจากนี้ นักลงทุยังวิตกเกี่ยวกับการขาดแคลนดอลลาร์สหรัฐฯในเกาหลีใต้ท่ามกลางความไม่ต้องการถือสินทรัพย์เสี่ยง
ขณะเดียวกันแม้ว่าทางเกาหลีใต้ได้เปิดเผยมาตรการที่มีวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นการลงทุนของต่างชาติในหุ้นกู้ภาคสาธารณะภายในประเทศ เพื่อขจัดความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนดอลลาร์สหรัฐฯและนาย คิม อิคจู ผู้อำนวยการสำนักงานการเงินระหว่างประเทศของกระทรวงการคลังเกาหลีใต้กล่าวว่า เกาหลีใต้จะดำเนินการอย่างเต็มที่ในการสร้างเสถียรภาพแก่ตลาดสกุลเงินภายในประเทศซึ่งบ่งชี้ว่ารัฐบาลอาจจะเทขายดอลลาร์สหรัฐฯมากขึ้นหากจำเป็น เพื่อสกัดการร่วงลงของวอน หลังจากที่เทรดเดอร์รายงานถึงการเทรกแซงโดยการขายดอลลาร์สหรัฐฯของทางการเกาหลีใต้เพื่อที่จะหนุนวอน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ หรือ บีโอเค เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้อยู่ที่ระดับ 201,540 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือราว 7.05 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงอีก 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ราว 7,000 ล้านบาท เนื่องจากการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี กองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ยังมากกว่าระดับ 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯราว 7 ล้านล้านบาท เป็นระดับที่มีความสำคัญทางจิตวิทยา
โดยแถลงการณ์ของบีโอเค รายงานอีกว่า เมื่อปีที่แล้วกองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ลดลงติดต่อกันถึง 8 เดือน ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเกาหลีใต้และบีโอเคต่างยืนยันว่าเกาหลีใต้จะไม่เผชิญวิกฤติการเงินในเดือนมีนาคมนี้ เพราะสถาบันการเงินต่างๆ ในประเทศไม่มีปัญหากดดันเรื่องสภาพคล่องอีกทั้งเกาหลีใต้ยังมีกองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมากเป็นอันดับที่ 6 ของโลกรองจากจีน ญี่ปุ่น รัสเซีย ไต้หวัน อินเดีย ณ สิ้นเดือนมกราคม ปีนี้ด้วย
นอกจากนี้สำนักงานสิถิติแห่งชาติ หรือ เอ็นเอสโอ เปิดเผยขัอมูลการส่งออกในเดือนมกราคมที่ผ่านมาอีกว่า ยอดการส่งออกในเดือนมกราคมลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่มีการรวบรวมขัอมูล โดยข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการลดการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และรถยนต์อีกด้วย