บลจ. บีที ส่ง 3 กองทุนบอนด์เกาหลีลุยตลาด เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ ตั้งแต่อายุ 3 เดือน 6 เดือนและ 9 เดือน ชูผลตอบแทนเด่นสูงสุด 4% ชูทางเลือกลงทุน หลังแบงก์ปรับลดดอกเบี้ยเงินฝาก
นายอนุสรณ์ บูรณกานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บีที จำกัด เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งต่างปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง ส่งผลให้นักลงทุนต่างหาช่องทางใหม่ ๆ เพื่อทดแทน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่ารวมถึงต้องมีความเสี่ยงไม่สูงมากนัก ทำให้การลงทุนในประเทศเกาหลีใต้ในขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมของนักลงทุนไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากว่าให้ผลตอแทนที่ดี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของประเทศดังกล่าวสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันนักลงทุนกำลังเป็นที่นิยมเข้าไปลงทุนเป็นจำนวนมาก
โดยในช่วงเดือนมีนาคม 2552 นี้บริษัทเตรียมออกกองทุนเกาหลีเพิ่มขึ้นอีก 1 กองทุน โดยมีอายุโครงการ 6 เดือน และมีมูลค่าโครงการประมาณ 800 – 1,000 ล้านบาท ซึ่งให้ผลตอบแทนประมาณการอยู่ที่ 3% กว่า โดยจะเริ่มทำการเปิดขาย 12 – 23 กุมภาพันธ์ 2552 นี้
ล่าสุดบริษัทเปิดขายเกาหลีเพิ่มขึ้นอีก 2 กองทุน ประกอบด้วย 1. กองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 3/2 ซึ่งมีอายุโครงการอยู่ที่ 3 เดือน และให้ผลตอบแทนประมาณการอยู่ที่ 2% กว่า ๆ เกือบ 3% 2. กองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 9/4 มีอายุโครงการ 9 เดือน ให้ผลตอบแทนประมารการณ์อยู่ที่ 4% กว่า โดยทั้ง 2 กองทุนมีมูลค่าโครงการละ 1,400 ล้านบาท ซึ่งเริ่มเปิดขายแล้วตั้งแต่วันนี้ - 9 มีนาคม 2552 นี้
โดยทั้ง 2 กองทุนมีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งสถาบันการเงินหรือบริษัทต่างประเทศเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกันที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ โดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก หรือเงินฝาก หรือตราสารหนี้ในประเทศที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน หรือการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน นอกจากนี้กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงตามจังหวะที่เห็นว่าเหมาะสม ทั้งนี้ กองทุนจะไม่ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ทั้ง 2 กองทุนดังกล่าวคาดว่าจะสามารถระดมทุนได้กว่า 800 – 1,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่แล้วน่าจะได้จากนักลงทุนสถาบัน รวมถึงลูกค้าของธนาคารไทยธนาคาร (แบงก์แม่) ที่เป็นลูกค้ากลุ่มธนบดีเป็นหลัก เพราะเนื่องจากทั้ง 2 กองทุนได้ทำการขายประชาสัมพันธ์ผ่านทางแบงก์แม่เป็นหลัก
“หลังจากที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยต่ำมาก ทำให้ความน่าสนใจหดหายไป ดังนั้นนักลงทุนหลายรายกำลังมองหาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ซึ่งการเข้ามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้นอกจากจะให้ผลตอบแทนทีดีแล้ว ในเรื่องของความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนของผลตอบแทนเองทำสวอปไว้ด้วย” นายอนุสรณ์ กล่าว
ขณะเดียวกันในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดขายกองทุนกองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 6/5 (BT FIF Korea Fixed Income 6/5 Fund หรือ BT-FIF-KFIX 6/5) ซึ่งถือว่าเป็นกองทุนรวมต่างประเทศที่บริษัทเปิดขายเป็นกองทุนแรกของปีนี้
นายอนุสรณ์ บูรณกานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บีที จำกัด เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งต่างปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง ส่งผลให้นักลงทุนต่างหาช่องทางใหม่ ๆ เพื่อทดแทน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่ารวมถึงต้องมีความเสี่ยงไม่สูงมากนัก ทำให้การลงทุนในประเทศเกาหลีใต้ในขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมของนักลงทุนไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากว่าให้ผลตอแทนที่ดี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของประเทศดังกล่าวสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันนักลงทุนกำลังเป็นที่นิยมเข้าไปลงทุนเป็นจำนวนมาก
โดยในช่วงเดือนมีนาคม 2552 นี้บริษัทเตรียมออกกองทุนเกาหลีเพิ่มขึ้นอีก 1 กองทุน โดยมีอายุโครงการ 6 เดือน และมีมูลค่าโครงการประมาณ 800 – 1,000 ล้านบาท ซึ่งให้ผลตอบแทนประมาณการอยู่ที่ 3% กว่า โดยจะเริ่มทำการเปิดขาย 12 – 23 กุมภาพันธ์ 2552 นี้
ล่าสุดบริษัทเปิดขายเกาหลีเพิ่มขึ้นอีก 2 กองทุน ประกอบด้วย 1. กองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 3/2 ซึ่งมีอายุโครงการอยู่ที่ 3 เดือน และให้ผลตอบแทนประมาณการอยู่ที่ 2% กว่า ๆ เกือบ 3% 2. กองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 9/4 มีอายุโครงการ 9 เดือน ให้ผลตอบแทนประมารการณ์อยู่ที่ 4% กว่า โดยทั้ง 2 กองทุนมีมูลค่าโครงการละ 1,400 ล้านบาท ซึ่งเริ่มเปิดขายแล้วตั้งแต่วันนี้ - 9 มีนาคม 2552 นี้
โดยทั้ง 2 กองทุนมีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งสถาบันการเงินหรือบริษัทต่างประเทศเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง ผู้ค้ำประกันที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ โดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก หรือเงินฝาก หรือตราสารหนี้ในประเทศที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน หรือการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน นอกจากนี้กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงตามจังหวะที่เห็นว่าเหมาะสม ทั้งนี้ กองทุนจะไม่ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ทั้ง 2 กองทุนดังกล่าวคาดว่าจะสามารถระดมทุนได้กว่า 800 – 1,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่แล้วน่าจะได้จากนักลงทุนสถาบัน รวมถึงลูกค้าของธนาคารไทยธนาคาร (แบงก์แม่) ที่เป็นลูกค้ากลุ่มธนบดีเป็นหลัก เพราะเนื่องจากทั้ง 2 กองทุนได้ทำการขายประชาสัมพันธ์ผ่านทางแบงก์แม่เป็นหลัก
“หลังจากที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยต่ำมาก ทำให้ความน่าสนใจหดหายไป ดังนั้นนักลงทุนหลายรายกำลังมองหาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ซึ่งการเข้ามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้นอกจากจะให้ผลตอบแทนทีดีแล้ว ในเรื่องของความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนของผลตอบแทนเองทำสวอปไว้ด้วย” นายอนุสรณ์ กล่าว
ขณะเดียวกันในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดขายกองทุนกองทุนเปิดบีที FIF เกาหลี ตราสารหนี้ 6/5 (BT FIF Korea Fixed Income 6/5 Fund หรือ BT-FIF-KFIX 6/5) ซึ่งถือว่าเป็นกองทุนรวมต่างประเทศที่บริษัทเปิดขายเป็นกองทุนแรกของปีนี้