การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของคนไทยได้เร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะตั้งเเต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2551 เป็นต้นมา ภายหลังจากที่ทางการได้เพิ่มวงเงินเเละช่องทางการลงทุนมากขึ้น รวมทั้งปัจจัย Push เเละ Pull Factors อื่นๆซึ่งส่งผลให้นีกลงทุนออกไปลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศมากขึ้น อย่างไรก็ตาม วิกฤติการณ์การเงินโลก (Globall financial crisis)ที่เกิดขึ้น ได้กระทบต่อเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของนักลงทุน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การลงทุนในปัจจุบันผ่านทางช่องทางการลงทุนต่างๆเเละประเมินผลกระทบของวิกฤติการณ์การเงินโลกที่มีต่อการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของนักลงทุนไทย
เงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศมาจาก 2 เเห่งหลักคือ 1.เงินลงทุนของระบบธนาคารพาณิชย์ (ธพ.)โดยมีเกณฑ์ของธปท.ในการกำกับดูเเล เช่นการดำรงฐานะเงินตราต่างประเทศ เเละธพ.ยังมีเกณฑ์ภายในของตนเองเพื่อดูเเละความเสี่ยงในการลงทุนและ 2.เงินลงทุนของนักลงทุนสถาบัน7 รายเเละในปี 2551 ทางการได้เพิ่มเติมช่องทางการลงทุน โดยอนุญาตให้กองทุนส่วนบุคคลรวมทั้งนักลงทุนรายย่อยที่ลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์สามารถลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ ซึ่งจะทำให้นักลงทุนมีอำนาจตัดสินใจเเละมีความคล่องตัวในการลงทุนมากขึ้น
ปัจจุบันการพิจาราณาวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศมีความยืดหยุ่นเเละคล่องตัวมากขึ้น สำหรับประเภทหลักทรัพย์ที่สามารถลงทุนได้อยู่ภายใต้กรอบการลงทุนตามดุลพินิจของหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูเเลนักลงทุนสถาบันนั้นๆโดยตรง
ภาวะการลงทุนในช่วงที่ผ่านมาเเละผลกระทบจากวิกฤติการเงินโลก
การลงทุนของระบบ ธพ. ส่วนใหญ่ทำเพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศ โดยยอดคงค้างในหลักทรัพย์ของระบบ ธพ. มีไม่มาก เเละ ธพ.เองได้มีการปรับพอร์ตโฟลิโอ มาอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีคุณภาพสูง เเละขายตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะ CDO ดังนั้นในภาพรวม จะเห็นว่าการลงทุนของ ธพ.ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤติการเงินในครั้งนี้อย่างมีนัยสำคัญ
การลงทุนผ่านนักลงทุนสถาบัน การลงทุนส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อเเสวงหาผลตอบเเทนที่สูงกว่าการอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศ โดยเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ทำให้มีการลงทุนในตราสารหนี้เป็นจำนวนมาก คิดเป็นสัดส่วน 82% ของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของนักลงทุนสถาบันทั้งหมด โดยเฉพาะการลงทุนในพันธบัตรประเทศเกาหลี ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 75% ของเงินลงทุนในตราสารหนี้สุทธิทั้งหมด
การลงทุนในตราสารหนี้เหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มี credit Rating ไม่ต่ำกว่า A- เเละมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเเลกเปลี่ยนเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นภาพรวมจึงไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินมากนัก เเต่เงินลงทุนที่เหลืออีกประมาณ 18% ซึ่งเป็นการลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามเงินลงทุนในส่วนนี้ส่วนหนึ่งเป็นการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งเน้นลงทุนระยะยาว จึงยังเป็นการขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์เป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ในส่วนของประเภทหลักทรัพย์และประเทศที่นักลงทุนไทยออกไปลงทุน ในส่วนของประเภทหลักทรัพย์นั้น การลงทุนส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศ โดยเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ทำให้การลงทุนส่วนใหญ่เป็น ตราสารหนี้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 82 ของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศสุทธิและเหลือ ประมาณร้อยละ 18 เป็นการลงทุนในตราสารทุน
ในขณะที่ประเทศที่นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ จากข้อมูลการลงทุนในช่วงปี 255-2551 พบว่า ในส่วนของ ตราสารหนี้เป็นการลงทุนในประเทศเกาหลีใต้ในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 75 ของเงินลงทุนในตรสารหนี้สุทธิ (มูลค่าการลงทุนสุทธิในช่วงดังกล่าวมีประมาณ 7.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) รองมาคือสหรัฐฯร้อยละ 19 ซึ่งการลงทุนในเกาหลีใต้ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและนัฐวิสาหกิจของเกาหลีใต้ อย่างไรก็ดี มีบางกองทุนที่ลงทุนใน Structured note ที่อ้างอิงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเกาหลีใต้ โดยผู้ออกตราสารเป็นสถาบันการเงินต่างประเทศนักลงทุนสนใจเข้าไปลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้เป็นจำนวนมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากผลตอบแทนจาการลงทุน(Government Bond Yields)สูงกว่าประเทศอื่นๆโดยเปรียบเทียบ และสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศ นอกจากนี้ยังได้รับผลตอบแทนส่วนเกินจากการทำธุรกรรม Cross currency swap (CCS) ด้วย
สำหรับ การลงทุนในตราสารทุน อันดับหนึ่งคือ ฮ่องกงคิดเป็นประมาณร้อยละ 79 ของเงินลงทุนในตราสารทุนสุทธิทั้งหมด รองมาคือสหรัฐฯร้อยละ 46 และสิงคโปร์ร้อยละ 14 สำหรับการลงทุนในประเทศที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินดังเช่น ฮ่องกง ส่วนใหญ่เป็นทางผ่านที่เข้าไปลงทุนในหลักทรัพย์ของประเทศอื่นๆโดยเฉพาะจีน
ส่วนผลกระทบจากวิกฤติการเงินโลก...เงินลงทุนของภาคธนาคารพาณิชย์ ในช่องทางนี้ผลกระทบมีค่อนข้างน้อย เนื่องจากยอดการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศมีไม่มาก โดยตัวเลขการลงทุนรวม ณ สิ้นเดือนตุลาคม2551 มีทั้งสิ้น 84,916 ล้านบาท (ประมาณ 2.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) คิดเป็นร้อยละ1.003 ของสินทรัพย์รวม และส่วนใหญ่ลงทุนในตราสารที่ค่อนข้างมีความปลอดภัยและมีสภาพคล่องสูง
ในขณะที่เงินลงทุนของนักลงทุนสถาบัน ในส่วนตราสารทุน ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก โดยผลการดำเนินงานของกองทุนFIFที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนNAVในปี 2551 ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะไตรมาสที่ 4 ที่ลดลงประมาณร้อยละ22 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับช่วงตั้งแต่เปิดกองทุน ซึ่งสอดคล้องกับการปรับลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก ที่ราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักต่างๆในช่วงปลายปี 2551 ปรับตัวลดลงเฉลี่ยประมาณร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับช่วงตินปี
ด้าน เงินลงทุนในตราสารหนี้ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 82 ของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศสุทธิทั้งหมด ได้รับผลกระทบบ้างจากวิกฤตการเงินโลก โดย NAV ปรับลดลงในไตรมาสที่ 4 ประมาณร้อยละ 0.24 จากไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม NAV ที่ปรับลดยังน้อยกว่าการปรับลดของกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุน
สำหรับ เงินที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจเกาหลีใต้ ส่วนใหญ่ได้ปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนกับธนาคารพาณิชย์ในไทยและเกาหลีใต้ ทำให้ความเสี่ยงหลักของการลงทุน อยู่ที่ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของรัฐบาลเกาหลี (Credit Risk) ความเสี่ยงของคู่ค้า(Counter Party Risk) ที่ทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย และความเสี่ยงจากRegulation Risk หากทางการเกาหลีใต้จำกัดหรือห้ามนักลงทุนต่างชาตินำเงินลงทุนออกนอกประเทศ อย่างไรก็ตาม หากเมื่อพิจารณาอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศเกาหลีใต้ปัจจุบันอยู่ที่AA- โดย Fitch Rating International ซึ่งสูงกว่าอันดับความน่าเชื่อถือของไทย (Sovereign credit rating) ที่ BBB+ และความเสี่ยงของระบบสถาบันการเงินปัจจุบันยังไม่มีการรายงานในเรื่องนี้ นอกจากนี้ทางการเกาหลีใต้ยังไม่เคยมีการดำเนินมาตรการในการป้องกันนักลงทุนต่างชาตินำเงินลงทุนออกนอกประเทศและเกาหลีใต้เองก็มีนโยบายการเปิดเสรีเงินทุนที่ค่อนข้างชัดเจน ทำให้ความเสี่ยงด้านCredit Risk Counter Party Risk และRegulation Risk ไม่น่าจะมีมากนักในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี การที่เกาหลีใต้เป็นแหล่งลงทุนใหญ่สุดของนักลงทุนไทยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 67 ของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศสุทธิ ทำให้มีความเสี่ยงเรื่อง Concentration risk ค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากกระจุกตัวของการเลือกลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่งมากจนเกินไป จึงทำให้มีไม่มีการกระจายการลงทุนที่เหมาะสมนักลงทุนและทางการควรมีการติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
การลงทุนในระยะต่อไปของไทย
สำหรับการลงทุนในระยะต่อไปของไทยนั้น ในระยะสั้น ปัจจัยเสี่ยงของระบบเงินโลก จะทำให้นักลงทุนมีความระมัดระวังค่อนข้างมาก โดยจะหันมาลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีคุณภาพสูงเเละความเสี่ยงต่ำมากขึ้น ตลอดจนผลกระทบจากวิกฤติการเงินได้ส่งผลให้สินทรัพย์ของนักลงทุนไทยมีมูลค่าลดลง ดังนั้นเงินที่จะออกไปลงทุนยังต่างประทศปรับลดลงไปด้วย
อย่างไรก็ตามในระยะยาว เชื่อว่าการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศจะยังมีเเนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากหากพิจาณาข้อมูลเชิงโครงสร้างในปัจจุบัน จะพบว่า เมื่อเที่ยบกับประเทศอื่นที่มีระดับพัฒนาใกล้เคียงกับไทย การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของนักลงทุนไทยมีสัดส่วนค่อนข้างต่ำ เเละน่าจะยังต่ำกว่าระดับที่เหมาะสมในการได้ประโยชน์สุทธิสูงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านรูปเเบบของกระจายความเสี่ยงเเละการเพิ่มผลตอบเเทนในระยะยาว นอกจากนั้นการเพิ่มขึ้นของการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของส่วนเอกชนในระดับหนึ่งที่เหมาะสมยังจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงเเละลดความเสี่ยงในด้านเศรษฐกิจต่างประเทศ ทั้งในส่วนของการทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีความสมดุลขึ้น เเละลดความไม่สมดุลระหว่างสินทรัพย์เเละหนี้สินของประเทศ
ภายใต้สถานการณ์วิกฤติการเงินโลกปัจจุบัน การผ่อนคลายมาตรการเงินทุนเคลื่อนย้ายขาออกมีความจำเป็นต้องทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยเริ่ม จากนักลงทุนที่มีความพร้อมเเละเงินทุนประเภทที่มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำก่อน รวมทั้ง ต้องเตรียมความพร้อมในเชิงโครงสร้างหลายๆด้านอาทิ
การส่งเสริมให้มีการพัฒนาความสามารถของนักลงทุนสถาบัน การให้ความรู้ความเข้าใจด้านการเงินกับนักลงทุนรายย่อย เเละผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบายเเละกำกัลเเนวทางการลงทุนของนักลงทุนสถาบันให้มากขึ้น การมีระบบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพในการติดตามประเมินสถานการณ์ ตลอดจนเเผนงานเพื่อรองรับเหตุการณิฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น เเละการมีระบบประสานงานกันระหว่างองค์กรทั้งภาครัฐเเละภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องควรมีมากขึ้น
ทั้งนี้จะช่วยให้เเนวนโยบายเเละการดำเนินงานมีความสอดคล้องเป็นเอกภาพ เเละมีความบูรณาการ ซึ่งทั้งหมดจะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพของนโยบายเเละเพื่อให้เศรษฐกิจไทยได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากกระเเสโลกาภิวิฒน์ด้านการเงินทุนขณะเดียวกันก็มีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย