คำถาม - อยากลงทุนกองทุน RMF นะครับ เเต่อยากรู้ว่าถ้ายกเลิกก่อนกำหนดจะมีผลอย่างไรหรือป่าวครับ- gogo
คำตอบ - ต้องพิจารณาก่อนว่าการซื้อกองทุน RMF นั้นเป็นการซื้อตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กรมสรรพากรกำหนดไว้เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้หรือไม่ คือ การซื้อเป็นการซื้อในส่วนของบุคคลธรรมดาที่ไม่ใช่คณะบุคคลหรือไม่ ถ้าเป็นการซื้อในส่วนของบุคคลธรรมดาก็ต้องมาดูต่อว่ามีเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วมีการนำเงินได้ไปยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี (ภ.ง.ด. 90 หรือ 91) หรือไม่
โดยถ้าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 ที่นำไปยืนแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วมีการซื้อตามจำนวนที่อนุญาตให้นำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนเงินได้ตามมาตรา 40 นั้นหรือไม่ คือ ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ทั้งหมดนั้นหรือ 5,000 บาทแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ขั้นสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ทั้งหมดนั้นแต่เมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการในแต่ละปีแล้วต้องไม่เกินว่า 300,000 บาท ด้วย
หากเงินที่ซื้อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กรมสรรพารกำหนดและได้เป็นการลงทุนที่มีขึ้นทั้งหมดก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2551 การขายคืนหน่วยลงทุนในกองทุนรวม RMF ที่มีการซื้อสะสมไม่น้อยกว่า 5 ปีและมีระยะเวลาในการถือครองนับแบบวันชนวันตั้งแต่วันแรกที่ลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี ผู้ลงทุนก็จะได้รับยกเว้นภาษีกำไรที่เกิดจากการลงทุนและไม่ต้องคืนสิทธิลดหย่อนภาษี
ซึ่งหากตามกรณีที่ถามมาคือไม่เคยใช้สิทธิในการนำไปลดหย่อนก็เท่ากับว่าจะมีแต่เพียงภาษีกำไรที่เกิดจากการลงทุนที่ได้ประโยชน์ แต่หากการขายคืนหน่วยลงทุนในกองทุนรวม RMF ที่มีการซื้อสะสมน้อยกว่า 5 ปีหรือมีระยะเวลาในการถือครองหน่วยลงทุนน้อยกว่า 5 ปีนับแบบวันชนวัน ผู้ลงทุนก็จะต้องคืนสิทธิลดหย่อนภาษีที่เคยได้รับจากเงินลงทุนทั้งหมดย้อนหลัง 5 ปีคืนให้กับกรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ขายคืนนั้น รวมทั้งจะต้องนำเงินกำไรที่ได้จากการลงทุน (ถ้ามี) ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้ประจำปีในปีที่ขายคืนนั้นด้วย
ทั้งนี้หากตามกรณีที่ถามมาคือไม่เคยใช้สิทธิในการนำไปลดหย่อนก็เท่ากับว่าจะมีเพียงแต่การที่จะต้องนำกำไรที่ได้จากการลงทุน (ถ้ามี) ไปรวมเป็นเงินได้ประจำปีที่ขายเพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคธรรมดาครับ ส่วนหากเป็นกรณีเงื่อนไขอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามที่กล่าวทั้งหมดหรือเป็นบางส่วนแต่ไม่ทั้งหมด เช่น การซื้ออาจจะเกินกว่าจำนวนสิทธิที่กรมสรรพากรให้อย่างนี้เป็นต้น เงินลงทุนใน
กองทุนรวม RMF เหล่านั้นไม่ว่าผู้ลงทุนจะมีการลงทุนมาแล้วเกิน 5 ปีนับแบบวันชนวันแล้วก็ตามก็ไม่ได้ทำให้ภาระภาษีเงินกำไรที่ได้จากการลงทุนในกองทุนรวม RMF หมดไป คือ จะต้องนำเงินกำไรที่ได้จากการลงทุนในกองทุนรวม RMF (ถ้ามี) ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้ประจำปีเพื่อเสียภาษีตามลักษณะและฐานภาษีของผู้ลงทุนนั้นๆ ต่อไปครับ คือ หากเป็นนิติบุคคลก็เสียภาษีนิติบุคคล หากเป็นคณะบุคคลก็เสียภาษีตามฐานภาษีของคณะบุคคล หากเป็นบุคคลธรรมดาก็เสียภาษีตามฐานภาษีของบุคคลธรรมดานั่นเอง
สำหรับท่านผู้อ่านท่านใดที่มีข้อสงสัยเรื่องกองทุนรวม สามารถส่งคำถามมาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์ข้อความไว้ที่หน้า กองทุนรวม www.manager.co.th
คำตอบ - ต้องพิจารณาก่อนว่าการซื้อกองทุน RMF นั้นเป็นการซื้อตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กรมสรรพากรกำหนดไว้เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้หรือไม่ คือ การซื้อเป็นการซื้อในส่วนของบุคคลธรรมดาที่ไม่ใช่คณะบุคคลหรือไม่ ถ้าเป็นการซื้อในส่วนของบุคคลธรรมดาก็ต้องมาดูต่อว่ามีเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วมีการนำเงินได้ไปยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี (ภ.ง.ด. 90 หรือ 91) หรือไม่
โดยถ้าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 ที่นำไปยืนแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วมีการซื้อตามจำนวนที่อนุญาตให้นำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนเงินได้ตามมาตรา 40 นั้นหรือไม่ คือ ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ทั้งหมดนั้นหรือ 5,000 บาทแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ขั้นสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ทั้งหมดนั้นแต่เมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการในแต่ละปีแล้วต้องไม่เกินว่า 300,000 บาท ด้วย
หากเงินที่ซื้อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กรมสรรพารกำหนดและได้เป็นการลงทุนที่มีขึ้นทั้งหมดก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2551 การขายคืนหน่วยลงทุนในกองทุนรวม RMF ที่มีการซื้อสะสมไม่น้อยกว่า 5 ปีและมีระยะเวลาในการถือครองนับแบบวันชนวันตั้งแต่วันแรกที่ลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี ผู้ลงทุนก็จะได้รับยกเว้นภาษีกำไรที่เกิดจากการลงทุนและไม่ต้องคืนสิทธิลดหย่อนภาษี
ซึ่งหากตามกรณีที่ถามมาคือไม่เคยใช้สิทธิในการนำไปลดหย่อนก็เท่ากับว่าจะมีแต่เพียงภาษีกำไรที่เกิดจากการลงทุนที่ได้ประโยชน์ แต่หากการขายคืนหน่วยลงทุนในกองทุนรวม RMF ที่มีการซื้อสะสมน้อยกว่า 5 ปีหรือมีระยะเวลาในการถือครองหน่วยลงทุนน้อยกว่า 5 ปีนับแบบวันชนวัน ผู้ลงทุนก็จะต้องคืนสิทธิลดหย่อนภาษีที่เคยได้รับจากเงินลงทุนทั้งหมดย้อนหลัง 5 ปีคืนให้กับกรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ขายคืนนั้น รวมทั้งจะต้องนำเงินกำไรที่ได้จากการลงทุน (ถ้ามี) ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้ประจำปีในปีที่ขายคืนนั้นด้วย
ทั้งนี้หากตามกรณีที่ถามมาคือไม่เคยใช้สิทธิในการนำไปลดหย่อนก็เท่ากับว่าจะมีเพียงแต่การที่จะต้องนำกำไรที่ได้จากการลงทุน (ถ้ามี) ไปรวมเป็นเงินได้ประจำปีที่ขายเพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคธรรมดาครับ ส่วนหากเป็นกรณีเงื่อนไขอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามที่กล่าวทั้งหมดหรือเป็นบางส่วนแต่ไม่ทั้งหมด เช่น การซื้ออาจจะเกินกว่าจำนวนสิทธิที่กรมสรรพากรให้อย่างนี้เป็นต้น เงินลงทุนใน
กองทุนรวม RMF เหล่านั้นไม่ว่าผู้ลงทุนจะมีการลงทุนมาแล้วเกิน 5 ปีนับแบบวันชนวันแล้วก็ตามก็ไม่ได้ทำให้ภาระภาษีเงินกำไรที่ได้จากการลงทุนในกองทุนรวม RMF หมดไป คือ จะต้องนำเงินกำไรที่ได้จากการลงทุนในกองทุนรวม RMF (ถ้ามี) ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้ประจำปีเพื่อเสียภาษีตามลักษณะและฐานภาษีของผู้ลงทุนนั้นๆ ต่อไปครับ คือ หากเป็นนิติบุคคลก็เสียภาษีนิติบุคคล หากเป็นคณะบุคคลก็เสียภาษีตามฐานภาษีของคณะบุคคล หากเป็นบุคคลธรรมดาก็เสียภาษีตามฐานภาษีของบุคคลธรรมดานั่นเอง
สำหรับท่านผู้อ่านท่านใดที่มีข้อสงสัยเรื่องกองทุนรวม สามารถส่งคำถามมาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์ข้อความไว้ที่หน้า กองทุนรวม www.manager.co.th