"โจทย์ของธุรกิจหลักรัพย์จะยากกว่าเหมือนเป็นการสร้างบ้านใหม่ขึ้น แต่Kassetตั้งมา15 ปีแล้ว จึงทำให้โจทย์เป็นคนละแบบกัน โดยหลักทรัพย์จะต้องทำให้คนรู้จัก ว่าสามารถให้บริการ กับลูกค้าได้ สามารถแข่งได้เท่าเทียมกับทีมอื่นถึงแม้เราจะเป็นทีมใหม่ก็ตาม ด้านKasset มองในด้านผลิตภัณฑ์กองทุนที่ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากกว่า"
จอมทัพใหม่บลจ.รวงข้าว "รพี สุจริตกุล"เราจะโต20%
เชื่อหรือไม่ว่าท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจ และการลงทุนที่ผันผวนในปัจจุบัน ยังมีบุคคลที่มั่นใจว่าภายใต้สถาการณ์เช่นนี้ คนไทยจะหันมาลงทุนผ่าน
กองทุนรวมมากขึ้นได้ หลังจากการเติบโตของอุตสหกรรมในปี2551 ติดลบไปถึง 2 เปอร์เซนต์ก็ตาม?...
**"รพี สุจริตกุล"กับการเปิดตัวในตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบลจ.รวงข้าว(บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย) ช่วงต้นเดือนที่ผ่าน
มาดูเหมือนมีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่าจะสามารถผลักดันให้สินทรัพย์รวม(AUM)ที่บริษัทดูแลอยู่กว่า 3.47 แสนล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 20% ในปี
นี้**
ก่อนมารับตำแหน่งที่บลจ.แห่งนี้ "รพี"เคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) กสิกรไทย ตั้งแต่ช่วงปี 2548 ซึ่งนับเป็น
บล.น้องใหม่ในขณะนั้นจนมีชื่อเสียง และได้รับรางวัลอย่างมากมายด้วยระยะเวลาเพียง 3 ปี
นอกจากนี้ ยังนับเป็นเฟืองตัวสำคัญของการพัฒนาตลาดทุนไทย ตั้งแต่ยุคก่อตั้ง คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ใน
ตำแหน่งที่แตกต่างกันซึ่งกินเวลากว่า 12 ปีของการทำงานในก.ล.ต.(พ.ศ.2535-2547) โดยเริ่มต้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ ผู้อำนวยการฝ่าย
กำกับตลาดทุน ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ช่วยเลขาธิการ จนถึงหน้าที่สุดท้ายในตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส
**2องค์กรเอกชนกับโจทย์ที่แตกต่าง**
หลังจากก้าวเขามาดำรงตำแหน่งในบลจ.แห่งนี้ ซึ่งนับเป็นองค์กรเอกชนแห่งที่ 2 ต่อจากการทำงานราชการมาอย่างยาวนาน "รพี"มองว่าการรับ
ตำแหน่งในครั้งนี้ถือเป็นเรื่องท้าทาย บนโจทย์ที่แตกต่างกัน
เขามองว่า **ความแตกต่างของบริษัทหลักทรัพย์กับบริษัทจัดการกองทุนนั้น จะอยู่ในส่วนของช่องทางการขายและสินค้าที่ขายให้นักลงทุน**
โดยช่องทางการขายของ**บริษัทหลัทรัพย์จะต้องพบปะกับลูกค้าโดยตรงมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นโบรกเกอร์ หรือฝั่งวาณิชธนกิจ แต่ในส่วนของ บลจ. หรือ
Kasset ส่วนใหญ่เป็นการขายผ่านสาขาธนาคารถึงกว่า 95%** ซึ่งนับเป็นช่องทางการจำหน่ายที่แตกต่างกันของทั้ง 2 องค์กร
ส่วนตัวสินค้าจะแตกต่างกันตรงที่ บลจ.จะสามารถสร้างสินค้าของตนเองได้ แต่สินค้าของ บล.นั้นไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ เป็นเพียงตัวกลางใน
การสั่งซื้อหรือขายหุ้นเท่านั้น
"ทุกคนมีสินค้าอย่างเดียวคือเป็นตัวกลางในการสั่งซื้อหรือขายหุ้น เพียงแต่ว่าใครให้บริการดีกว่าในด้านข้อมูล ว่าควรจะซื้อหรือขายสินค้าตัวไหน
เวลาใด แต่ในส่วน Kasset มันเหมือนเราเป็นผู้ผลิตที่สามารถออกสินค้าได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น การลงทุนในต่างประเทศ หรือกอง
คอมมอดิตี้ที่เป็นน้ำมัน หรือทองคำก็ได้"
นอกจากความแตกต่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เขาเล่าต่อว่า สิ่งที่สร้างความท้าทายให้เขาต่อจากนี้ จะอยู่บนพื้นฐานหรือโจทย์ที่แตกต่างกันของการ
บริหารงานในแต่ละแห่ง โดยอธิบายว่า...
"โจทย์ของธุรกิจหลักรัพย์จะยากกว่าเหมือนเป็นการสร้างบ้านใหม่ขึ้น และคนในทีมยังเป็นพนักงานใหม่หมดถึงจะต้องดึงคนที่เขาอยู่ที่อื่นมาทำ
งานกับเราบ้าง แต่Kassetตั้งมา15 ปีแล้ว จึงทำให้โจทย์เป็นคนละแบบกัน โดยหลักทรัพย์จะต้องวางแผนงานที่จะทำอย่างไรให้คนรู้จัก ว่าสามารถให้บริการ
กับลูกค้าได้ สามารถแข่งได้เท่าเทียมกับทีมอื่นถึงแม้เราจะเป็นทีมใหม่ก็ตาม แต่ด้านKasset เหมือนลูกค้ารู้จักอยู่แล้ว และมีบุคคลากรที่ค่อนข้างอยู่ตัวพอ
สมควร จึงต้องมองในด้านการตอบสนองกับลูกค้า เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์กองทุนที่ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากกว่า"
**สนองความต้องการของลูกค้า**
การบริหารงานในปี 2552 สิ่งที่"รพี"เน้นหนักจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ด้านประกอบด้วย การรักษาฐานลูกค้าเดิม การประสานงานกับแบงก์แม่(ธนาคาร
กสิกรไทย) และการรักษาผลการดำเนินงานให้ดีอยู่เสมอ
ในส่วนของผลการดำเนินงานเชื่อว่าทุกบลจ.ต้องพยายมแข่งขันให้ดีอยู่แล้ว เพราะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าของตนเอง แต่ความพยา
ยมของ”รพี”หลังจากนี้คือการสื่อสารภายในเครือธนาคารกสิกรไทยเพื่อให้สามารถออกผลิตภัณฑ์ที่ตรงความต้องการของนักลงทุนมากที่สุด
เขา บอกว่า **การที่จะออกผลิตภัณฑ์ที่สนองความต้องการของนักลงทุนจะต้องย้อนไปดูในเรื่องของการสื่อสารในองค์กร ซึ่งนับเป็นเรื่องสำคัญ
ภายหลังจากรับตำแหน่งนี้** เนื่องจากตัวแทนขายของบริษัทมีอยู่หลายสาขา โดยที่ผู้ผลิตจะต้องทำให้ผู้ขายเข้าใจตัวสินค้าก่อนที่จะนำไปเสนอขายแก่นักลง
ทุนได้ตรงตามความต้องการมากขึ้น
"กุญแจสำคัญคือการสื่อสาร เมื่อใดไม่เข้าใจกันมันจะยุ่งทันที โดยจะทำอย่างไรให้มีความเข้าใจตรงกัน และต้องสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจด้วย และนี่
เป็นความท้าทาย ไม่ใช่แค่การผลิตสินค้า ต้องเป็นสินค้าที่เข้าใจตรงกันว่าคุณสมบัติของสินค้ามีอะไรบ้าง และตรงกับความต้องการหรือไม่ และเมื่อรู้ว่าลูกค้า
ต้องการอะไรคนขายเองก็จะบอกได้ว่าลูกค้าชอบอะไร ผู้ผลิตก็ออกสินค้าได้ตรงมากขึ้น"
เครือกสิกรไทยภาพลักษณ์ใหญ่ขององค์กร
"รพี"มองว่า การสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรต่อจากนี้จะเป็นการเน้นย้ำถึงการเป็นบริษัทในเครือกสิกรไทย เพราะเชื่อว่าการที่ลูกค้า ซื้อสินค้าของบริษัท เนื่องจากเชื่อในการที่เราอยู่ในกลุ่มธนาคารกสิกรเป็นหลัก และเชื่อ ในสถาบันแห่งนี้ เชื่อในตัวแทนขาย เชื่อในสินค้าว่าเป็นของดีที่ไว้วางใจ จึงได้นำเงินออกจากเงินฝากมาลงทุนด้วย
"**ลูกค้าไม่ต้องการได้ความแตกต่างในแบรนด์ และจะไม่การมานั่งแยกกัน** แต่ลูกค้าต้องการซื้อของที่อยู่ในเครือธนาคารกสิกรไทย เพราะฉนั้นในแง่ความจำเป็นที่จะต้องแยกแบรนด์ออกมาไม่มี **กลับกันต้องบอกว่าเราอยู่ภายใต้เครือธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการมากกว่า**"
ถึงแม้จะไม่ต้องสร้างแบรนด์เหมือนบลจ.อื่น แต่เขาบอกว่า ยังมีภารกิจในส่วนนี้อยู่ โดยในปีนี้ความพยายมเพิ่มงบประมาณการตลาดผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ และวิทยุจะยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แต่จะเป็นการสร้างความรับรู้ในเรื่องของสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้นักลงทุนรับรู้ว่า สินค้าของบริษัทมีอะไรบ้าง รูปแบบอย่างไร
**เราจะโต20%**
“ถามถึงเป้าการเติบโต20% ต้องบอกว่าทุกคนมองอุตสาหกรรมกองทุนในปีนี้คงเหนื่อย ส่วนเป้านั้นคงยากมาก แต่ขอสู้ตาย”เป็นคำพูดของ”รพี”เมื่อถูกถามถึงการขยายตัวของขนาด AUM ที่บลจ.กสิกรไทยบริหารอยู่
ก่อนหน้านี้เขามองในแง่ดีถึงภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันว่ายังมีโอกาสที่คนไทยจะหันมาลงทุนผ่านกองทุนรวมเพิ่มมากขึ้นได้ โดยให้เหตุผลว่า...
**จากสถาการณ์ของเศรษฐกิจในปัจจุบันเชื่อว่า น่าจะเป็นโอกาสดีต่อการลงทุน โดยแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยขาลง จะส่งผลให้นักลงทุนหันมาสนใจการลงทุนในรูปแบบอื่นมากขึ้นได้** และเป็นโอกาสดีในการนำเสนอขายกองทุนตราสารหนี้ให้กับลูกค้า ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้น เองในปีที่ผ่านมาชะลอตัวลงอย่างมาก แต่ในปีนี้น่าจะฟื้นตัวขึ้นมาได้ โดยขณะนี้เริ่มมีสัญญาณดังกล่าวออกมาบ้างแล้ว
นอกจากนี้เชื่อว่าการที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจของตนเองเป็นแนวทางที่ดี ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจในช่วงสิ้นปี 2552 ปรับตัวดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม เขาให้ความเห็นอีกว่า การเติบโตของกองทุนรวม และการลงทุนในประเทศนั้น ความจริงแล้วควรจะเริ่มจากการให้ความรู้และการสร้างวินัยทางการเงินมากกว่า ซึ่งจะทำให้เงินออมไหลเข้ามาในส่วนของการลงทุนมากขึ้นได้
“เป้าหมายของคนไม่เคยเปลี่ยน เราจะไปเที่ยว เราจะซื้อรถ หรือเราจะซื้อบ้าน เราจะส่งลูกเรียน เราจะเกษียณ แต่ในฟังรายได้มากกว่าที่จะเปลี่ยน ตราบใดก็ตามในช่วงที่รายได้ลดจากการที่ฝากเงิน คนก็จะต้องดิ้น เพราะเป้าหมายรายจ่ายไม่เปลี่ยน ส่วนคนที่มีเงินเยอะแล้วพอใจในดอกเบี้ยที่ได้ก็จะมองแค่เป้าหมายของตน แต่เข้าไม่ได้มองว่าจะทำอย่างไรที่จะบริหารเงินได้สูงสุด ซึ่งถ้าทำให้คนไทยรับรู้การบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพและวินัยทางการเงิน เงินออมจะไหลมายังฝั่งของการลงทุนมากขึ้นได้”
บทสัมภาษณ์ข้างต้นเป็นเพียงตัวตนบางส่วนของจอมทัพที่ผ่านสนามรบมาอย่างโชคโชน และมากด้วยชั้นเชิงทางด้านการลงทุนที่กระโจนลงมาร่วมศึกอุตสาหกรรมกองทุนรวมในปีนี้ ซึ่งเชื่อว่าผลงานที่ผ่านมาของ"รพี สุจริตกุล"คงจะทำให้การแข่งของกองทุนรวมปีฉลูนี้น่าติดตามขึ้นมากทีเดียว เพราะเขาบอกว่าจะมาเอาแชมป์คืนจากบาง บลจ.?
จอมทัพใหม่บลจ.รวงข้าว "รพี สุจริตกุล"เราจะโต20%
เชื่อหรือไม่ว่าท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจ และการลงทุนที่ผันผวนในปัจจุบัน ยังมีบุคคลที่มั่นใจว่าภายใต้สถาการณ์เช่นนี้ คนไทยจะหันมาลงทุนผ่าน
กองทุนรวมมากขึ้นได้ หลังจากการเติบโตของอุตสหกรรมในปี2551 ติดลบไปถึง 2 เปอร์เซนต์ก็ตาม?...
**"รพี สุจริตกุล"กับการเปิดตัวในตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบลจ.รวงข้าว(บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย) ช่วงต้นเดือนที่ผ่าน
มาดูเหมือนมีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่าจะสามารถผลักดันให้สินทรัพย์รวม(AUM)ที่บริษัทดูแลอยู่กว่า 3.47 แสนล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 20% ในปี
นี้**
ก่อนมารับตำแหน่งที่บลจ.แห่งนี้ "รพี"เคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์(บล.) กสิกรไทย ตั้งแต่ช่วงปี 2548 ซึ่งนับเป็น
บล.น้องใหม่ในขณะนั้นจนมีชื่อเสียง และได้รับรางวัลอย่างมากมายด้วยระยะเวลาเพียง 3 ปี
นอกจากนี้ ยังนับเป็นเฟืองตัวสำคัญของการพัฒนาตลาดทุนไทย ตั้งแต่ยุคก่อตั้ง คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ใน
ตำแหน่งที่แตกต่างกันซึ่งกินเวลากว่า 12 ปีของการทำงานในก.ล.ต.(พ.ศ.2535-2547) โดยเริ่มต้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ ผู้อำนวยการฝ่าย
กำกับตลาดทุน ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ช่วยเลขาธิการ จนถึงหน้าที่สุดท้ายในตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส
**2องค์กรเอกชนกับโจทย์ที่แตกต่าง**
หลังจากก้าวเขามาดำรงตำแหน่งในบลจ.แห่งนี้ ซึ่งนับเป็นองค์กรเอกชนแห่งที่ 2 ต่อจากการทำงานราชการมาอย่างยาวนาน "รพี"มองว่าการรับ
ตำแหน่งในครั้งนี้ถือเป็นเรื่องท้าทาย บนโจทย์ที่แตกต่างกัน
เขามองว่า **ความแตกต่างของบริษัทหลักทรัพย์กับบริษัทจัดการกองทุนนั้น จะอยู่ในส่วนของช่องทางการขายและสินค้าที่ขายให้นักลงทุน**
โดยช่องทางการขายของ**บริษัทหลัทรัพย์จะต้องพบปะกับลูกค้าโดยตรงมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นโบรกเกอร์ หรือฝั่งวาณิชธนกิจ แต่ในส่วนของ บลจ. หรือ
Kasset ส่วนใหญ่เป็นการขายผ่านสาขาธนาคารถึงกว่า 95%** ซึ่งนับเป็นช่องทางการจำหน่ายที่แตกต่างกันของทั้ง 2 องค์กร
ส่วนตัวสินค้าจะแตกต่างกันตรงที่ บลจ.จะสามารถสร้างสินค้าของตนเองได้ แต่สินค้าของ บล.นั้นไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ เป็นเพียงตัวกลางใน
การสั่งซื้อหรือขายหุ้นเท่านั้น
"ทุกคนมีสินค้าอย่างเดียวคือเป็นตัวกลางในการสั่งซื้อหรือขายหุ้น เพียงแต่ว่าใครให้บริการดีกว่าในด้านข้อมูล ว่าควรจะซื้อหรือขายสินค้าตัวไหน
เวลาใด แต่ในส่วน Kasset มันเหมือนเราเป็นผู้ผลิตที่สามารถออกสินค้าได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น การลงทุนในต่างประเทศ หรือกอง
คอมมอดิตี้ที่เป็นน้ำมัน หรือทองคำก็ได้"
นอกจากความแตกต่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เขาเล่าต่อว่า สิ่งที่สร้างความท้าทายให้เขาต่อจากนี้ จะอยู่บนพื้นฐานหรือโจทย์ที่แตกต่างกันของการ
บริหารงานในแต่ละแห่ง โดยอธิบายว่า...
"โจทย์ของธุรกิจหลักรัพย์จะยากกว่าเหมือนเป็นการสร้างบ้านใหม่ขึ้น และคนในทีมยังเป็นพนักงานใหม่หมดถึงจะต้องดึงคนที่เขาอยู่ที่อื่นมาทำ
งานกับเราบ้าง แต่Kassetตั้งมา15 ปีแล้ว จึงทำให้โจทย์เป็นคนละแบบกัน โดยหลักทรัพย์จะต้องวางแผนงานที่จะทำอย่างไรให้คนรู้จัก ว่าสามารถให้บริการ
กับลูกค้าได้ สามารถแข่งได้เท่าเทียมกับทีมอื่นถึงแม้เราจะเป็นทีมใหม่ก็ตาม แต่ด้านKasset เหมือนลูกค้ารู้จักอยู่แล้ว และมีบุคคลากรที่ค่อนข้างอยู่ตัวพอ
สมควร จึงต้องมองในด้านการตอบสนองกับลูกค้า เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์กองทุนที่ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากกว่า"
**สนองความต้องการของลูกค้า**
การบริหารงานในปี 2552 สิ่งที่"รพี"เน้นหนักจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ด้านประกอบด้วย การรักษาฐานลูกค้าเดิม การประสานงานกับแบงก์แม่(ธนาคาร
กสิกรไทย) และการรักษาผลการดำเนินงานให้ดีอยู่เสมอ
ในส่วนของผลการดำเนินงานเชื่อว่าทุกบลจ.ต้องพยายมแข่งขันให้ดีอยู่แล้ว เพราะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าของตนเอง แต่ความพยา
ยมของ”รพี”หลังจากนี้คือการสื่อสารภายในเครือธนาคารกสิกรไทยเพื่อให้สามารถออกผลิตภัณฑ์ที่ตรงความต้องการของนักลงทุนมากที่สุด
เขา บอกว่า **การที่จะออกผลิตภัณฑ์ที่สนองความต้องการของนักลงทุนจะต้องย้อนไปดูในเรื่องของการสื่อสารในองค์กร ซึ่งนับเป็นเรื่องสำคัญ
ภายหลังจากรับตำแหน่งนี้** เนื่องจากตัวแทนขายของบริษัทมีอยู่หลายสาขา โดยที่ผู้ผลิตจะต้องทำให้ผู้ขายเข้าใจตัวสินค้าก่อนที่จะนำไปเสนอขายแก่นักลง
ทุนได้ตรงตามความต้องการมากขึ้น
"กุญแจสำคัญคือการสื่อสาร เมื่อใดไม่เข้าใจกันมันจะยุ่งทันที โดยจะทำอย่างไรให้มีความเข้าใจตรงกัน และต้องสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจด้วย และนี่
เป็นความท้าทาย ไม่ใช่แค่การผลิตสินค้า ต้องเป็นสินค้าที่เข้าใจตรงกันว่าคุณสมบัติของสินค้ามีอะไรบ้าง และตรงกับความต้องการหรือไม่ และเมื่อรู้ว่าลูกค้า
ต้องการอะไรคนขายเองก็จะบอกได้ว่าลูกค้าชอบอะไร ผู้ผลิตก็ออกสินค้าได้ตรงมากขึ้น"
เครือกสิกรไทยภาพลักษณ์ใหญ่ขององค์กร
"รพี"มองว่า การสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรต่อจากนี้จะเป็นการเน้นย้ำถึงการเป็นบริษัทในเครือกสิกรไทย เพราะเชื่อว่าการที่ลูกค้า ซื้อสินค้าของบริษัท เนื่องจากเชื่อในการที่เราอยู่ในกลุ่มธนาคารกสิกรเป็นหลัก และเชื่อ ในสถาบันแห่งนี้ เชื่อในตัวแทนขาย เชื่อในสินค้าว่าเป็นของดีที่ไว้วางใจ จึงได้นำเงินออกจากเงินฝากมาลงทุนด้วย
"**ลูกค้าไม่ต้องการได้ความแตกต่างในแบรนด์ และจะไม่การมานั่งแยกกัน** แต่ลูกค้าต้องการซื้อของที่อยู่ในเครือธนาคารกสิกรไทย เพราะฉนั้นในแง่ความจำเป็นที่จะต้องแยกแบรนด์ออกมาไม่มี **กลับกันต้องบอกว่าเราอยู่ภายใต้เครือธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการมากกว่า**"
ถึงแม้จะไม่ต้องสร้างแบรนด์เหมือนบลจ.อื่น แต่เขาบอกว่า ยังมีภารกิจในส่วนนี้อยู่ โดยในปีนี้ความพยายมเพิ่มงบประมาณการตลาดผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ และวิทยุจะยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แต่จะเป็นการสร้างความรับรู้ในเรื่องของสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้นักลงทุนรับรู้ว่า สินค้าของบริษัทมีอะไรบ้าง รูปแบบอย่างไร
**เราจะโต20%**
“ถามถึงเป้าการเติบโต20% ต้องบอกว่าทุกคนมองอุตสาหกรรมกองทุนในปีนี้คงเหนื่อย ส่วนเป้านั้นคงยากมาก แต่ขอสู้ตาย”เป็นคำพูดของ”รพี”เมื่อถูกถามถึงการขยายตัวของขนาด AUM ที่บลจ.กสิกรไทยบริหารอยู่
ก่อนหน้านี้เขามองในแง่ดีถึงภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันว่ายังมีโอกาสที่คนไทยจะหันมาลงทุนผ่านกองทุนรวมเพิ่มมากขึ้นได้ โดยให้เหตุผลว่า...
**จากสถาการณ์ของเศรษฐกิจในปัจจุบันเชื่อว่า น่าจะเป็นโอกาสดีต่อการลงทุน โดยแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยขาลง จะส่งผลให้นักลงทุนหันมาสนใจการลงทุนในรูปแบบอื่นมากขึ้นได้** และเป็นโอกาสดีในการนำเสนอขายกองทุนตราสารหนี้ให้กับลูกค้า ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้น เองในปีที่ผ่านมาชะลอตัวลงอย่างมาก แต่ในปีนี้น่าจะฟื้นตัวขึ้นมาได้ โดยขณะนี้เริ่มมีสัญญาณดังกล่าวออกมาบ้างแล้ว
นอกจากนี้เชื่อว่าการที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจของตนเองเป็นแนวทางที่ดี ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจในช่วงสิ้นปี 2552 ปรับตัวดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม เขาให้ความเห็นอีกว่า การเติบโตของกองทุนรวม และการลงทุนในประเทศนั้น ความจริงแล้วควรจะเริ่มจากการให้ความรู้และการสร้างวินัยทางการเงินมากกว่า ซึ่งจะทำให้เงินออมไหลเข้ามาในส่วนของการลงทุนมากขึ้นได้
“เป้าหมายของคนไม่เคยเปลี่ยน เราจะไปเที่ยว เราจะซื้อรถ หรือเราจะซื้อบ้าน เราจะส่งลูกเรียน เราจะเกษียณ แต่ในฟังรายได้มากกว่าที่จะเปลี่ยน ตราบใดก็ตามในช่วงที่รายได้ลดจากการที่ฝากเงิน คนก็จะต้องดิ้น เพราะเป้าหมายรายจ่ายไม่เปลี่ยน ส่วนคนที่มีเงินเยอะแล้วพอใจในดอกเบี้ยที่ได้ก็จะมองแค่เป้าหมายของตน แต่เข้าไม่ได้มองว่าจะทำอย่างไรที่จะบริหารเงินได้สูงสุด ซึ่งถ้าทำให้คนไทยรับรู้การบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพและวินัยทางการเงิน เงินออมจะไหลมายังฝั่งของการลงทุนมากขึ้นได้”
บทสัมภาษณ์ข้างต้นเป็นเพียงตัวตนบางส่วนของจอมทัพที่ผ่านสนามรบมาอย่างโชคโชน และมากด้วยชั้นเชิงทางด้านการลงทุนที่กระโจนลงมาร่วมศึกอุตสาหกรรมกองทุนรวมในปีนี้ ซึ่งเชื่อว่าผลงานที่ผ่านมาของ"รพี สุจริตกุล"คงจะทำให้การแข่งของกองทุนรวมปีฉลูนี้น่าติดตามขึ้นมากทีเดียว เพราะเขาบอกว่าจะมาเอาแชมป์คืนจากบาง บลจ.?