โดย นิตยา เขียวขำ
บลจ.บัวหลวง
เริ่มต้นปี 2552 ที่ไม่ค่อยสดใส ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจของประเทศซึ่งกำลังอยู่ในช่วงชะลอตัว ความหวั่นวิตกของผู้คนต่อสภาพเศรษฐกิจและรายได้ในอนาคต ส่งผลทำให้มีคนจำนวนมากลดการจับจ่ายใช้สอยลง และหันมาออมเงินกันมากขึ้น เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้กับตนเองเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นในอนาคต หรืออาจเป็นเป้าหมายอื่นๆ ในชีวิต เช่น มีเงินสำรองไว้ใช้ยามชราหรือหลังเกษียณอายุ สร้างอนาคตที่มั่นคงให้แก่ครอบครัวของตนเอง ซื้อทรัพย์สินขนาดใหญ่ที่มีราคาแพง สำหรับวางแผนศึกษาต่อ ลงทุนเปิดทำกิจการ และเผื่อเหตุฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ตกงาน เป็นต้น
การสร้างวินัยในกับตนเองในการออมเงิน เป็นสิ่งที่สำคัญคือต้องคำนึงไว้เสมอว่าการออมไม่ใช่สิ่งที่กระทำเมื่อมีเงินเหลือใช้ แต่เป็นการกันเงินส่วนหนึ่งของรายได้ออกมาออม ก่อนที่จะนำส่วนที่เหลือไปใช้จ่าย แต่ถ้าหากเลือกที่จะใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเพื่อหาความสุขให้แก่ตัวเองก่อนและไม่มีวินัยในการออม ก็ยากที่จะมีเงินออมไว้ใช้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งการสร้างวินัยในการออม มีหลากหลายวิธี ยกตัวอย่างเช่น
• เริ่มต้นการออมจากทีละน้อยๆ ก่อน แล้วจึงทยอยเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับที่เหมาะสมกับตนเอง โดยต้องฝึกฝนให้เป็นนิสัย
• คิดในเชิงบวก อย่าทำให้การออมกลายเป็นเรื่องที่น่าเบื่อหรือสร้างความทุกข์ให้แก่เรา
• ต้อง “ตั้งใจ” และลงมือทำจริงๆ ด้วยความมุ่งมั่น
ทางเลือกในการออมเงินก็มีความสำคัญ ที่จะทำให้เงินออมของเราสามารถไปถึงเป้าหมายได้ดังตั้งใจ ซึ่งการออมเงินสามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยแต่ละวิธีมีรายละเอียดอย่างไร และเหมาะสมกับเราเช่นไรนั้น สามารถพิจารณาได้ดังต่อไปนี้
1. การเก็บเงินไว้กับตนเอง
ในสมัยก่อน การเอาเงินใส่ตุ่ม ใส่ไห เก็บไว้ แล้วนำไปฝั่งดินในที่ซึ่งผู้อื่นไม่มีทางจะหาพบ และหากต้องการใช้เมื่อใดจึงค่อยมาขุดเอาออกไป แต่ในปัจจุบันการเก็บเงินในลักษณะนี้ อาจเลือกเก็บไว้กับตนเองที่บ้านในตู้เซฟหรือตู้นิรภัยแทนก็ได้ สำหรับวิธีนี้มีข้อดีคือ เมื่อใดที่เราต้องการเงิน ก็สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที เนื่องจากเงินอยู่ใกล้ตัว แต่ข้อเสียที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในเรื่องของ ความปลอดภัยจากการถูกลักขโมย การลืม การลดลงของมูลค่าเงิน ที่มีสาเหตุมาจากเงินเฟ้อ เงินที่ถูกเก็บไม่ได้ถูกนำมาใช้งานให้เกิดดอกผลงอกเงย ทำให้มีต้นทุนเสียโอกาส (Opportunity Cost) เกิดขึ้น
2. ฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์
เป็นทางเลือกในการออมเงินซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายเป็นอย่างมาก เพราะมีความมั่นคงและปลอดภัยสูง ฝาก ถอน ได้ง่าย ด้วยบริการที่รวดเร็วทันใจ แถมยังมีบริการเสริมต่างๆ อีกมากมาย เช่น การสอบถามยอด โอนเงิน ชำระค่าบริการ ต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือโทรศัพท์มือถือที่ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเปิดให้ใช้บริการแล้วในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม การฝากเงินดอกเบี้ยค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะการฝากแบบสะสมทรัพย์ ดังนั้นถ้าเป็นเงินออม อาจจะมีการแยกบัญชีไปเก็บไว้ในส่วนของการฝากประจำ จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า และเพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำเงินออมออกมาใช้จ่ายเสียก่อน
3. การประกันชีวิต
เป็นการออมเงินกับบริษัทประกันชีวิตซึ่งเป็นสถาบันการเงินประเภทหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อลดความเสี่ยงจากการสูญเสียทรัพย์สินหรือรายได้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันมีสาเหตุเนื่องมาจากการเจ็บป่วย ภัยอันตราย อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ซึ่งสังเกตได้ว่าการทำประกันชีวิตถือว่าเป็นการช่วยประกันความมั่นคงทางการเงินของเราในอนาคตได้
4. กองทุนประกันสังคม
เป็นกองทุนซึ่งรัฐบาลไทยเป็นผู้จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสริมสร้างสวัสดิการขึ้นพื้นฐาน และความมั่นคงในการดำรงชีวิตให้แก่ลูกจ้างที่มีรายได้ในประเทศ สำหรับหลักการที่สำคัญและรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนประกันสังคมสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์ : www.sso.go.th
5. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ ก.บ.ข.
เป็นเงินออมที่เก็บไว้ใช้จ่ายเมื่อยามเกษียณอายุ มีหลักการโดยทั่วไปคือ ก.บ.ข. ถือว่าเป็นการออมในภาคบังคับที่ข้าราชการทุกคนต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิก ส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลูกจ้างต้องกระทำด้วยความสมัครใจ ลูกจ้าง และนายจ้าง ต้องจ่ายเงินสะสม เงินสมทบ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ส่วนผลตอบแทนที่ได้รับขึ้นอยู่กับกองทุนที่นำเงินไปลงทุน และสิทธิประโยชน์ในการหักค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
6. ลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินต่างๆ โดยตรง
ถือเป็นการนำเงินออมไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีที่กว่า ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนใน อสังหาริมทรัพย์ (Property) ตราสารทุน (Equity Instruments) หรือตราสารหนี้ (Debt Instruments) ทั้งนี้สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการลงทุนควบคู่กันไปคือ อัตราผลตอบแทน และความเสี่ยง ซึ่งการลงทุนขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคลว่าสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด และเลือกการลงทุนดังกล่าวให้คลอดคล้องกับตนเองมากที่สุด
7. ลงทุนผ่านกองทุนรวม
เป็นวิธีการลงทุนที่ง่ายและสะดวก โดยเป็นการว่าจ้างผู้จัดการกองทุนทำงานให้ ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้หลากหลายตามนโยบายกองทุนแต่ละกอง เช่น กองทุนตราสารทุน กองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสม กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมเพื่อลดภาษี (กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF) กองทุนที่ลงทุนในทองคำ หรือกองทุนที่นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ผู้ลงทุนผ่านกองทุนรวมจะไม่ต้องใช้เงินจำนวนมากก็สามารถกระจายการลงทุนได้ และไม่เสียเวลาคอยติดตามความเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ต่างๆ ใกล้ชิดเหมือนลงทุนเอง
นอกจากการสร้างวินัยในการออม และรู้ทางเลือกในการออมเงินแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นสำคัญและเป็นศัตรูของการออมเงิน คือ อัตราเงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง การที่ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องส่งผลให้อำนาจซื้อและมูลค่าของเงินออมลดลง ยิ่งอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นมากเท่าไร มูลค่าของเงินออมก็ลดลงมากขึ้นเท่านั้น ถือว่าเป็นอุปสรรคที่ไม่สามารถขจัดออกไปได้ เพราะเกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจ แต่เราสามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้ด้วยการหาแหล่งเงินออมที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อนั่นเอง
บลจ.บัวหลวง
เริ่มต้นปี 2552 ที่ไม่ค่อยสดใส ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจของประเทศซึ่งกำลังอยู่ในช่วงชะลอตัว ความหวั่นวิตกของผู้คนต่อสภาพเศรษฐกิจและรายได้ในอนาคต ส่งผลทำให้มีคนจำนวนมากลดการจับจ่ายใช้สอยลง และหันมาออมเงินกันมากขึ้น เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้กับตนเองเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นในอนาคต หรืออาจเป็นเป้าหมายอื่นๆ ในชีวิต เช่น มีเงินสำรองไว้ใช้ยามชราหรือหลังเกษียณอายุ สร้างอนาคตที่มั่นคงให้แก่ครอบครัวของตนเอง ซื้อทรัพย์สินขนาดใหญ่ที่มีราคาแพง สำหรับวางแผนศึกษาต่อ ลงทุนเปิดทำกิจการ และเผื่อเหตุฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ตกงาน เป็นต้น
การสร้างวินัยในกับตนเองในการออมเงิน เป็นสิ่งที่สำคัญคือต้องคำนึงไว้เสมอว่าการออมไม่ใช่สิ่งที่กระทำเมื่อมีเงินเหลือใช้ แต่เป็นการกันเงินส่วนหนึ่งของรายได้ออกมาออม ก่อนที่จะนำส่วนที่เหลือไปใช้จ่าย แต่ถ้าหากเลือกที่จะใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเพื่อหาความสุขให้แก่ตัวเองก่อนและไม่มีวินัยในการออม ก็ยากที่จะมีเงินออมไว้ใช้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งการสร้างวินัยในการออม มีหลากหลายวิธี ยกตัวอย่างเช่น
• เริ่มต้นการออมจากทีละน้อยๆ ก่อน แล้วจึงทยอยเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับที่เหมาะสมกับตนเอง โดยต้องฝึกฝนให้เป็นนิสัย
• คิดในเชิงบวก อย่าทำให้การออมกลายเป็นเรื่องที่น่าเบื่อหรือสร้างความทุกข์ให้แก่เรา
• ต้อง “ตั้งใจ” และลงมือทำจริงๆ ด้วยความมุ่งมั่น
ทางเลือกในการออมเงินก็มีความสำคัญ ที่จะทำให้เงินออมของเราสามารถไปถึงเป้าหมายได้ดังตั้งใจ ซึ่งการออมเงินสามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยแต่ละวิธีมีรายละเอียดอย่างไร และเหมาะสมกับเราเช่นไรนั้น สามารถพิจารณาได้ดังต่อไปนี้
1. การเก็บเงินไว้กับตนเอง
ในสมัยก่อน การเอาเงินใส่ตุ่ม ใส่ไห เก็บไว้ แล้วนำไปฝั่งดินในที่ซึ่งผู้อื่นไม่มีทางจะหาพบ และหากต้องการใช้เมื่อใดจึงค่อยมาขุดเอาออกไป แต่ในปัจจุบันการเก็บเงินในลักษณะนี้ อาจเลือกเก็บไว้กับตนเองที่บ้านในตู้เซฟหรือตู้นิรภัยแทนก็ได้ สำหรับวิธีนี้มีข้อดีคือ เมื่อใดที่เราต้องการเงิน ก็สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที เนื่องจากเงินอยู่ใกล้ตัว แต่ข้อเสียที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในเรื่องของ ความปลอดภัยจากการถูกลักขโมย การลืม การลดลงของมูลค่าเงิน ที่มีสาเหตุมาจากเงินเฟ้อ เงินที่ถูกเก็บไม่ได้ถูกนำมาใช้งานให้เกิดดอกผลงอกเงย ทำให้มีต้นทุนเสียโอกาส (Opportunity Cost) เกิดขึ้น
2. ฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์
เป็นทางเลือกในการออมเงินซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายเป็นอย่างมาก เพราะมีความมั่นคงและปลอดภัยสูง ฝาก ถอน ได้ง่าย ด้วยบริการที่รวดเร็วทันใจ แถมยังมีบริการเสริมต่างๆ อีกมากมาย เช่น การสอบถามยอด โอนเงิน ชำระค่าบริการ ต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือโทรศัพท์มือถือที่ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเปิดให้ใช้บริการแล้วในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม การฝากเงินดอกเบี้ยค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะการฝากแบบสะสมทรัพย์ ดังนั้นถ้าเป็นเงินออม อาจจะมีการแยกบัญชีไปเก็บไว้ในส่วนของการฝากประจำ จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า และเพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำเงินออมออกมาใช้จ่ายเสียก่อน
3. การประกันชีวิต
เป็นการออมเงินกับบริษัทประกันชีวิตซึ่งเป็นสถาบันการเงินประเภทหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อลดความเสี่ยงจากการสูญเสียทรัพย์สินหรือรายได้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันมีสาเหตุเนื่องมาจากการเจ็บป่วย ภัยอันตราย อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ซึ่งสังเกตได้ว่าการทำประกันชีวิตถือว่าเป็นการช่วยประกันความมั่นคงทางการเงินของเราในอนาคตได้
4. กองทุนประกันสังคม
เป็นกองทุนซึ่งรัฐบาลไทยเป็นผู้จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสริมสร้างสวัสดิการขึ้นพื้นฐาน และความมั่นคงในการดำรงชีวิตให้แก่ลูกจ้างที่มีรายได้ในประเทศ สำหรับหลักการที่สำคัญและรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนประกันสังคมสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์ : www.sso.go.th
5. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ ก.บ.ข.
เป็นเงินออมที่เก็บไว้ใช้จ่ายเมื่อยามเกษียณอายุ มีหลักการโดยทั่วไปคือ ก.บ.ข. ถือว่าเป็นการออมในภาคบังคับที่ข้าราชการทุกคนต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิก ส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลูกจ้างต้องกระทำด้วยความสมัครใจ ลูกจ้าง และนายจ้าง ต้องจ่ายเงินสะสม เงินสมทบ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ส่วนผลตอบแทนที่ได้รับขึ้นอยู่กับกองทุนที่นำเงินไปลงทุน และสิทธิประโยชน์ในการหักค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
6. ลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินต่างๆ โดยตรง
ถือเป็นการนำเงินออมไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีที่กว่า ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนใน อสังหาริมทรัพย์ (Property) ตราสารทุน (Equity Instruments) หรือตราสารหนี้ (Debt Instruments) ทั้งนี้สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการลงทุนควบคู่กันไปคือ อัตราผลตอบแทน และความเสี่ยง ซึ่งการลงทุนขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคลว่าสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด และเลือกการลงทุนดังกล่าวให้คลอดคล้องกับตนเองมากที่สุด
7. ลงทุนผ่านกองทุนรวม
เป็นวิธีการลงทุนที่ง่ายและสะดวก โดยเป็นการว่าจ้างผู้จัดการกองทุนทำงานให้ ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้หลากหลายตามนโยบายกองทุนแต่ละกอง เช่น กองทุนตราสารทุน กองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสม กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมเพื่อลดภาษี (กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF) กองทุนที่ลงทุนในทองคำ หรือกองทุนที่นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ผู้ลงทุนผ่านกองทุนรวมจะไม่ต้องใช้เงินจำนวนมากก็สามารถกระจายการลงทุนได้ และไม่เสียเวลาคอยติดตามความเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ต่างๆ ใกล้ชิดเหมือนลงทุนเอง
นอกจากการสร้างวินัยในการออม และรู้ทางเลือกในการออมเงินแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นสำคัญและเป็นศัตรูของการออมเงิน คือ อัตราเงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง การที่ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องส่งผลให้อำนาจซื้อและมูลค่าของเงินออมลดลง ยิ่งอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นมากเท่าไร มูลค่าของเงินออมก็ลดลงมากขึ้นเท่านั้น ถือว่าเป็นอุปสรรคที่ไม่สามารถขจัดออกไปได้ เพราะเกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจ แต่เราสามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้ด้วยการหาแหล่งเงินออมที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อนั่นเอง