ASTVผู้จัดการรายวัน - บลจ.ธนชาต เพิ่มความคล่องตัวให้แก่กองทุนภายใต้การบริหาร ล่าสุดจับ 1 0กองทุนในมือปลดล็อกเม็ดเงินลงทุนให้สามารถดำเนินงานต่อได้แม้มียอดเงินไม่ถึง 50 ล้านบาท ชี้เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่ลูกค้าที่ชื่นชอบ แม้ไซด์อาจเล็ก และถือเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน
นางสาวทิพวัลย์ เอี่ยมโอภาส ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้แก้ไขรายละเอียดโครงการกองทุนรวมภายใต้การจัดการเพื่อให้สอดคล้องตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ สข/น. 32/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 10)
โดยบริษัท ได้ยกเลิกเหตุของการเลิกกองทุนรวมเมื่อกองทุนมีมูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดโดยคำนวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 50 ล้านบาท เป็นเวลา 5 วันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนติดต่อกัน หรือ 30 ล้านบาทในวัน ทำการใด และกำหนดเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการในกรณีที่กองทุนรวมมีมูลค่าลดลงน้อยกว่า 50 ล้านบาท โดยจะคำนวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน เพื่อให้สอดคล้องตามประการศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่อ้างถึงด้วย
ทั้งนี้รายชื่อกองทุนที่แก้ไขซึ่งการแก้ไขรายละเอียดโครงการกองทุนดังกล่าวได้มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 21 มกราคมโดยกองทุนที่บริษัทจะทำการแก้ไขมีด้วยกัน 10 กองทุน ประกอบด้วย 1. กองทุนเปิดธีรสมบัติ (TSB) โดยกองทุนดังกล่าวไม่ต้องแก้ไขในข้อที่ 2 ที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว 2. กองทุนเปิดธนชาตพันธบัตรรัฐคุ้มครองเงินต้น 3 (TGOV3) กองทุนนี้ได้แก้ไขรายละเอียดตามข้อ 1. ไปเรียบร้อย
3. กองทุนเปิดธนชาตพันธบัตรรัฐคุ้มครองเงินต้น 3M/1 (TGOV3M1) 4. กองทุนเปิดธนชาตพันธบัตรรัฐคุ้มครองเงินต้น 3M/2 (TGOV3M2) 5. กองทุนเปิดธนชาตพันธบัตรรัฐคุ้มครองเงินต้น ๑ (TGOV1) 6. กองทุนเปิดธนชาตพันธบัตรรัฐคุ้มครองเงินต้น ๒ (TGOV2) 7. กองทุนเปิดธนชาตพันธบัตรรัฐคุ้มครองเงินต้น ๕ (TGOV5) 8. กองทุนเปิดธนชาตพันธบัตรรัฐคุ้มครองเงินต้น ๖ (TGOV6) 9. กองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้ 3 เดือน#2 (TFIX-3M#2) และ 10. กองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้ 3 เดือน#3 (TFIX-3M#3) โดยกองทุนที่ 3 - 10 นี้ ได้ทำการแก้ไขตามข้อที่ 1และข้อที่ 2 แล้ว
นางสาวทิพวัลย์ กล่าวว่า จากการที่กฎก.ล.ต.เดิมนั้นเมื่อกองทุนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ 30 ล้านบาท ทางก.ล.ต. นั้นให้กองทุนต้องทำการปิดกองทุนไปเลย แต่หลังจากที่ก.ล.ต.ได้มีการผ่อนคลายกับกองทุนที่มีมูลค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท โดยให้บริษัทเป็นผู้พิจารณาในกองทุนที่ต่ำกว่า 50 ล้านบาทเองว่าจะบริหารต่อไปหรือจะปิดโครงการลง ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีแก่นักลงทุนด้วย เพราะเมื่อกองทุนนั้นให้ผลตอบแทนที่ต่ำและกับมาให้ผลตอบแทนที่สูงในตอนหลังนักลงทุนก็ยังสามารถกลับเข้ามาลงทุนได้ ซึ่งในส่วนของบลจ.ธนชาต มีกองทุนที่ได้รับการอนุมัติจากก.ล.ต.แล้วจำนวน 25 โครงการ
ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้มีบ้างบลจ.ได้ทำการปลดล็อกกองทุนไปบ้างแล้ว อาทิ บลจ.วรรณ ได้ดำเนินการแก้ไข หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนมาดำเนินการกับกองทุนของบริษัทเช่น โดยได้แก่ กองทุนเปิดวรรณเอเอ็มซีเล็คทีฟหุ้นระยะยาว (1S-LTF) กองทุนเปิดวรรณเอเอ็มซีเล็คทีฟโกรทหุ้นระยะยาว (1SG-LTF) และกองทุนเปิดวรรณเอเอ็มสมาร์ทหุ้นระยะยาว (1SMART-LTF) รวมทั้งกองทุนเปิดเอกทวีคูณ (ONE-G)
เช่นเดียวกับ บลจ.นครหลวงไทย จำกัดได้แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนเปิดแมกซ์ตราสารหนี้ 3 (MAX FIX IN3) ข้อ 29ใน การเลิกโครงการจัดการกองทุนรวม และ ข้อ 30. การดำเนินการเมื่อเลิกโครงการ โดยสาระสำคัญของการแก้ไขโครงการฯ คือ การยกเลิกการกำหนดขนาดของกองทุนขั้นต่ำ 50 ล้านบาท เพื่อให้เป็นไปตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สข/น. 32/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน โดย มีผลใช้บังคับตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา
นางสาวทิพวัลย์ เอี่ยมโอภาส ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้แก้ไขรายละเอียดโครงการกองทุนรวมภายใต้การจัดการเพื่อให้สอดคล้องตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ สข/น. 32/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน (ฉบับที่ 10)
โดยบริษัท ได้ยกเลิกเหตุของการเลิกกองทุนรวมเมื่อกองทุนมีมูลค่าหน่วยลงทุนที่ขายได้แล้วทั้งหมดโดยคำนวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนลดลงเหลือน้อยกว่า 50 ล้านบาท เป็นเวลา 5 วันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนติดต่อกัน หรือ 30 ล้านบาทในวัน ทำการใด และกำหนดเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการในกรณีที่กองทุนรวมมีมูลค่าลดลงน้อยกว่า 50 ล้านบาท โดยจะคำนวณตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน เพื่อให้สอดคล้องตามประการศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่อ้างถึงด้วย
ทั้งนี้รายชื่อกองทุนที่แก้ไขซึ่งการแก้ไขรายละเอียดโครงการกองทุนดังกล่าวได้มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 21 มกราคมโดยกองทุนที่บริษัทจะทำการแก้ไขมีด้วยกัน 10 กองทุน ประกอบด้วย 1. กองทุนเปิดธีรสมบัติ (TSB) โดยกองทุนดังกล่าวไม่ต้องแก้ไขในข้อที่ 2 ที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว 2. กองทุนเปิดธนชาตพันธบัตรรัฐคุ้มครองเงินต้น 3 (TGOV3) กองทุนนี้ได้แก้ไขรายละเอียดตามข้อ 1. ไปเรียบร้อย
3. กองทุนเปิดธนชาตพันธบัตรรัฐคุ้มครองเงินต้น 3M/1 (TGOV3M1) 4. กองทุนเปิดธนชาตพันธบัตรรัฐคุ้มครองเงินต้น 3M/2 (TGOV3M2) 5. กองทุนเปิดธนชาตพันธบัตรรัฐคุ้มครองเงินต้น ๑ (TGOV1) 6. กองทุนเปิดธนชาตพันธบัตรรัฐคุ้มครองเงินต้น ๒ (TGOV2) 7. กองทุนเปิดธนชาตพันธบัตรรัฐคุ้มครองเงินต้น ๕ (TGOV5) 8. กองทุนเปิดธนชาตพันธบัตรรัฐคุ้มครองเงินต้น ๖ (TGOV6) 9. กองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้ 3 เดือน#2 (TFIX-3M#2) และ 10. กองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้ 3 เดือน#3 (TFIX-3M#3) โดยกองทุนที่ 3 - 10 นี้ ได้ทำการแก้ไขตามข้อที่ 1และข้อที่ 2 แล้ว
นางสาวทิพวัลย์ กล่าวว่า จากการที่กฎก.ล.ต.เดิมนั้นเมื่อกองทุนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ 30 ล้านบาท ทางก.ล.ต. นั้นให้กองทุนต้องทำการปิดกองทุนไปเลย แต่หลังจากที่ก.ล.ต.ได้มีการผ่อนคลายกับกองทุนที่มีมูลค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท โดยให้บริษัทเป็นผู้พิจารณาในกองทุนที่ต่ำกว่า 50 ล้านบาทเองว่าจะบริหารต่อไปหรือจะปิดโครงการลง ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีแก่นักลงทุนด้วย เพราะเมื่อกองทุนนั้นให้ผลตอบแทนที่ต่ำและกับมาให้ผลตอบแทนที่สูงในตอนหลังนักลงทุนก็ยังสามารถกลับเข้ามาลงทุนได้ ซึ่งในส่วนของบลจ.ธนชาต มีกองทุนที่ได้รับการอนุมัติจากก.ล.ต.แล้วจำนวน 25 โครงการ
ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้มีบ้างบลจ.ได้ทำการปลดล็อกกองทุนไปบ้างแล้ว อาทิ บลจ.วรรณ ได้ดำเนินการแก้ไข หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนมาดำเนินการกับกองทุนของบริษัทเช่น โดยได้แก่ กองทุนเปิดวรรณเอเอ็มซีเล็คทีฟหุ้นระยะยาว (1S-LTF) กองทุนเปิดวรรณเอเอ็มซีเล็คทีฟโกรทหุ้นระยะยาว (1SG-LTF) และกองทุนเปิดวรรณเอเอ็มสมาร์ทหุ้นระยะยาว (1SMART-LTF) รวมทั้งกองทุนเปิดเอกทวีคูณ (ONE-G)
เช่นเดียวกับ บลจ.นครหลวงไทย จำกัดได้แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนเปิดแมกซ์ตราสารหนี้ 3 (MAX FIX IN3) ข้อ 29ใน การเลิกโครงการจัดการกองทุนรวม และ ข้อ 30. การดำเนินการเมื่อเลิกโครงการ โดยสาระสำคัญของการแก้ไขโครงการฯ คือ การยกเลิกการกำหนดขนาดของกองทุนขั้นต่ำ 50 ล้านบาท เพื่อให้เป็นไปตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สข/น. 32/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุน โดย มีผลใช้บังคับตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา