ความรุนแรงของวิกฤตสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นและลามไปทั่วทั้งโลก จนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจของหลายประเทศไปตามๆกัน...บางประเทศ ต้องรับความรุนแรงจากวิกฤตครั้งนี้อย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน...บางประเทศในยุโรปตะวันออกถึงกับต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( International Monetary Fund:IMF) เลยทีเดียว
ขณะที่ประเทศต่างๆทั่วโลก ก็พากันออกมาตรการทางเศรษฐกิจออกมาเพื่อรักษาสภาพเศรษฐกิจของประเทศไว้ ไม่ว่าจะเป็นการอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล อย่างในสหรัฐฯ และยุโรป ที่เข้าไปอุ้มสถาบันการเงินทั้งหลายที่ประสบปัญหา รวมไปถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการจ้างงาน ซึ่งเป็นการทำให้อัตรการว่างงานของประชาชนในประเทศไม่เพิ่มมากขึ้น
มองถึงผลกระทบแล้ว หากมองต่อไปถึงแง่ของการลงทุน...ในช่วงที่เกิดวิกฤตเช่นนี้ ความมั่นใจในการลงทุนของนักลงทุนส่วนใหญ่ หายไปจำนวนมาก เพราะเกิดความไม่มั่นใจจากบรรยากาศการลงทุนที่ได้รับแต่ข่าวร้ายในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในบ้านเรา ส่วนใหญ่พากันเทขายหุ้นทิ้งเพื่อพักเงินลงทุนมาไว้ที่ตราสารหนี้ หรือพันธบัตรรัฐบาล เพราะมีความปลอดภัยกว่า
แต่ถึงกระนั้น ก็ยังไม่ใช่ตัวเลือกในการลงทุนที่ดีนัก เพราะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้น ดำเนินการในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการรถประจำทางฟรี การเพิ่มเงินจำนวน 2,000บาทให้แก่ผู้มีเงินเดือนตํ่ากว่า 15,000 บาท และมาตรการที่ทั่วโลกทำกันอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาคือ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าว...ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายและผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงไปด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนในตราสารหนี้ในหลายประเทศ ดูเหมือนยังมีความน่าลงทุนอยู่ เพราะในหลายประเทศโดยเฉพาะบรรดาประเทศเกิดใหม่ อย่าง บราซิล เม็กซิโก เป็นต้น โดยประเทศเหล่านี้มีอัตราการติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง และมีนักลงทุนทั้วโลกให้ความสนใจเข้าไปลงทุนอย่างมาก แต่ในยามที่เศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว การเข้าไปลงทุนก็ยังถือว่ามีความเสี่ยงอยู่โดยเฉพาะการลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งในเรื่องนี้มีมุมมองที่น่าสนใจจากผู้บริหารกองทุนรวมมาให้ฟังกัน
ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัดบอกว่า การลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศยังมีความน่าลงทุนอยู่แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกในขณะนี้จะอยู่ในขาลงก็ตาม แต่อัตราดอกเบี้ยของบางประเทศนั้นยังอยู่ในระดับสูง เช่น บราซิล ที่มีอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 13% รวมถึงอีกหลายประเทศอย่าง สวีเดน เม็กซิโก นอร์เวย์ เป็นต้น
ขณะเดียวกัน กองทุน เทมเพิลตัน โกลบอลบอนด์ ฟันด์ (TEMPLETON GLOBAL BOND FUND) ซึ่งเป็นกองทุนที่ทางบริษัทเข้าไปลงทุนนั้น ได้เน้นลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนดี และนอกเหนือจากผลตอบแทนที่ได้รับจากอัตราดอกเบี้ยแล้ว กองทุน เทมเพิลตัน ยังได้ทำการเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอีกทีหนึ่งทำให้กองทุนได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นอีก
"สถานการณ์ในขณะนี้ โดยเฉพาะการที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูงทำให้นักลงทุนจึงเกิดความกลัว ดังนั้น การลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีอัตราผลตอบแทนสูงจึงมีความน่าลงทุน แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต้องดูจังหวะของการลงทุนระหว่างหุ้นกับตราสารหนี้ให้ดี ซึ่งเมื่อสถานกาณ์ของการลงทุนในหุ้นเริ่มดีขึ้น นักลงทุนสามารถโยกเงินไปลงทุนในหุ้นต่อจากตราสารหนี้ได้ทันที" ตระกูลจิตร กล่าว
จากมุมมองข้างต้นนี้ ถือเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่น่าสนใจสำหรับบรรดานักลงทุนทั้งหลาย ที่กำลังมองหาการลงทุนที่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีและสามารถยอมรับความเสี่ยงได้ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็มีมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญในด้านของการลงทุนที่มีความเห็นและคำแนะนำสำหรับนักลงทุนเช่นกัน
ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและการลงทุน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บอกว่า สำหรับประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงนั้น ต้องดูว่าประเทศเหล่านั้น ยังมีปัจจัยอะไรที่ยังทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงอยู่ ซึ่งอาจจะมีปัจจัยที่สำคัญอยู่ เช่น ประเทศนั้นยังมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงอยู่ ทำให้ยังไม่สามารถที่จะลดดอกเบี้ยได้ แต่ในบางประเทศที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงนั้น ยังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ใช้ได้ เช่น อินเดีย จีน รวมไปถึงประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง เป็นต้น
ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง เช่น ประเทศบราซิลกับเม็กซิโก นั้น โดยรวมถือว่าเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตด้านพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงมาก โดยประเทศบราซิลนั้นเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรจำนวนมาก รวมถึงมีเรื่องของการท่องเที่ยวด้วย ส่วนประเทศเม็กซิโกนั้นมีการพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯเป็นหลัก ซึ่งเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น เม็กซิโกจึงได้รับผลกระทบจากเรื่องของการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ขณะที่บราซิลนั้นราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลงทำให้การส่งออกได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ นอกจากอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนแล้ว ผลตอบแทนที่ได้รับอีกส่วนก็คือ **ผลตอบแทนในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยน** ซึ่งในเรื่องนี้
ธนวรรธน์ บอกอีกว่า อัตราแลกเปลี่ยนนั้น ยังมีความผันผวนจากค่าเงินในแต่ละสกุลอยู่ ซึ่งเป็นผลอันเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ดังนั้นเรื่องนี้ นักลงทุนทั้งหลายต้องระมัดระวัง เพราะวิกฤตเศรษฐกิจยังไม่คลี่คลาย รวมถึงบรรยากาศการลงทุนยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ และคาดว่าวิกฤตเศรษฐกิจนี้จะใช้เวลายาวไปจนถึงปี 2523 ก็เป็นได้ เพราะขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณอันใดที่จะบอกได้อย่างชัดเจนว่าเศรษฐกิจโลกจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้
** "สถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ หากจะลงทุนในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือตราสารหนี้ต้องระมัดระวัง เพราะยังมีความผันผวนอยู่มากและยังคาดเดาสถานการณ์ล่วงหน้าได้ยาก"**
ทั้งหมดทั้งมวลที่นำเสนอมา...เป็นมุมมองที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนทั้งหลาย ที่ต้องระมัดระวังก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน เพราะอย่างที่ทราบกันการลงทุนยังมีความเสี่ยงเสมอ ผลตอบแทนที่สูงย่อมมาพร้อมๆกับความเสี่ยงที่มีมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ขณะที่ประเทศต่างๆทั่วโลก ก็พากันออกมาตรการทางเศรษฐกิจออกมาเพื่อรักษาสภาพเศรษฐกิจของประเทศไว้ ไม่ว่าจะเป็นการอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล อย่างในสหรัฐฯ และยุโรป ที่เข้าไปอุ้มสถาบันการเงินทั้งหลายที่ประสบปัญหา รวมไปถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการจ้างงาน ซึ่งเป็นการทำให้อัตรการว่างงานของประชาชนในประเทศไม่เพิ่มมากขึ้น
มองถึงผลกระทบแล้ว หากมองต่อไปถึงแง่ของการลงทุน...ในช่วงที่เกิดวิกฤตเช่นนี้ ความมั่นใจในการลงทุนของนักลงทุนส่วนใหญ่ หายไปจำนวนมาก เพราะเกิดความไม่มั่นใจจากบรรยากาศการลงทุนที่ได้รับแต่ข่าวร้ายในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในบ้านเรา ส่วนใหญ่พากันเทขายหุ้นทิ้งเพื่อพักเงินลงทุนมาไว้ที่ตราสารหนี้ หรือพันธบัตรรัฐบาล เพราะมีความปลอดภัยกว่า
แต่ถึงกระนั้น ก็ยังไม่ใช่ตัวเลือกในการลงทุนที่ดีนัก เพราะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้น ดำเนินการในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการรถประจำทางฟรี การเพิ่มเงินจำนวน 2,000บาทให้แก่ผู้มีเงินเดือนตํ่ากว่า 15,000 บาท และมาตรการที่ทั่วโลกทำกันอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาคือ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าว...ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายและผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงไปด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนในตราสารหนี้ในหลายประเทศ ดูเหมือนยังมีความน่าลงทุนอยู่ เพราะในหลายประเทศโดยเฉพาะบรรดาประเทศเกิดใหม่ อย่าง บราซิล เม็กซิโก เป็นต้น โดยประเทศเหล่านี้มีอัตราการติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง และมีนักลงทุนทั้วโลกให้ความสนใจเข้าไปลงทุนอย่างมาก แต่ในยามที่เศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว การเข้าไปลงทุนก็ยังถือว่ามีความเสี่ยงอยู่โดยเฉพาะการลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งในเรื่องนี้มีมุมมองที่น่าสนใจจากผู้บริหารกองทุนรวมมาให้ฟังกัน
ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัดบอกว่า การลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศยังมีความน่าลงทุนอยู่แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกในขณะนี้จะอยู่ในขาลงก็ตาม แต่อัตราดอกเบี้ยของบางประเทศนั้นยังอยู่ในระดับสูง เช่น บราซิล ที่มีอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 13% รวมถึงอีกหลายประเทศอย่าง สวีเดน เม็กซิโก นอร์เวย์ เป็นต้น
ขณะเดียวกัน กองทุน เทมเพิลตัน โกลบอลบอนด์ ฟันด์ (TEMPLETON GLOBAL BOND FUND) ซึ่งเป็นกองทุนที่ทางบริษัทเข้าไปลงทุนนั้น ได้เน้นลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนดี และนอกเหนือจากผลตอบแทนที่ได้รับจากอัตราดอกเบี้ยแล้ว กองทุน เทมเพิลตัน ยังได้ทำการเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอีกทีหนึ่งทำให้กองทุนได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นอีก
"สถานการณ์ในขณะนี้ โดยเฉพาะการที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูงทำให้นักลงทุนจึงเกิดความกลัว ดังนั้น การลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีอัตราผลตอบแทนสูงจึงมีความน่าลงทุน แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต้องดูจังหวะของการลงทุนระหว่างหุ้นกับตราสารหนี้ให้ดี ซึ่งเมื่อสถานกาณ์ของการลงทุนในหุ้นเริ่มดีขึ้น นักลงทุนสามารถโยกเงินไปลงทุนในหุ้นต่อจากตราสารหนี้ได้ทันที" ตระกูลจิตร กล่าว
จากมุมมองข้างต้นนี้ ถือเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่น่าสนใจสำหรับบรรดานักลงทุนทั้งหลาย ที่กำลังมองหาการลงทุนที่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีและสามารถยอมรับความเสี่ยงได้ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็มีมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญในด้านของการลงทุนที่มีความเห็นและคำแนะนำสำหรับนักลงทุนเช่นกัน
ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและการลงทุน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บอกว่า สำหรับประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงนั้น ต้องดูว่าประเทศเหล่านั้น ยังมีปัจจัยอะไรที่ยังทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงอยู่ ซึ่งอาจจะมีปัจจัยที่สำคัญอยู่ เช่น ประเทศนั้นยังมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงอยู่ ทำให้ยังไม่สามารถที่จะลดดอกเบี้ยได้ แต่ในบางประเทศที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงนั้น ยังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ใช้ได้ เช่น อินเดีย จีน รวมไปถึงประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง เป็นต้น
ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง เช่น ประเทศบราซิลกับเม็กซิโก นั้น โดยรวมถือว่าเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตด้านพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงมาก โดยประเทศบราซิลนั้นเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรจำนวนมาก รวมถึงมีเรื่องของการท่องเที่ยวด้วย ส่วนประเทศเม็กซิโกนั้นมีการพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯเป็นหลัก ซึ่งเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น เม็กซิโกจึงได้รับผลกระทบจากเรื่องของการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ขณะที่บราซิลนั้นราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลงทำให้การส่งออกได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ นอกจากอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนแล้ว ผลตอบแทนที่ได้รับอีกส่วนก็คือ **ผลตอบแทนในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยน** ซึ่งในเรื่องนี้
ธนวรรธน์ บอกอีกว่า อัตราแลกเปลี่ยนนั้น ยังมีความผันผวนจากค่าเงินในแต่ละสกุลอยู่ ซึ่งเป็นผลอันเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ดังนั้นเรื่องนี้ นักลงทุนทั้งหลายต้องระมัดระวัง เพราะวิกฤตเศรษฐกิจยังไม่คลี่คลาย รวมถึงบรรยากาศการลงทุนยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ และคาดว่าวิกฤตเศรษฐกิจนี้จะใช้เวลายาวไปจนถึงปี 2523 ก็เป็นได้ เพราะขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณอันใดที่จะบอกได้อย่างชัดเจนว่าเศรษฐกิจโลกจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้
** "สถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ หากจะลงทุนในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือตราสารหนี้ต้องระมัดระวัง เพราะยังมีความผันผวนอยู่มากและยังคาดเดาสถานการณ์ล่วงหน้าได้ยาก"**
ทั้งหมดทั้งมวลที่นำเสนอมา...เป็นมุมมองที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนทั้งหลาย ที่ต้องระมัดระวังก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน เพราะอย่างที่ทราบกันการลงทุนยังมีความเสี่ยงเสมอ ผลตอบแทนที่สูงย่อมมาพร้อมๆกับความเสี่ยงที่มีมากขึ้นด้วยเช่นกัน