ASTVผู้จัดการรายวัน-เลขาฯ สปส.เผยแบงก์พาณิชย์ 11 แห่งสนร่วมโครงการปล่อยกู้รายย่อย สัปดาห์หน้าเตรียมเดินเครื่องใส่เงิน 1 พันล้านผ่านเอสเอ็มอีแบงก์ ขณะเดียวกันเตรียมติดตามผลลัพธ์อย่างใกล้ชิด หวังใช้เป็นข้อมูลปรับปรุงการให้ความช่วยเหลือในอนาคต คาดการขยายเวลาประกันว่างงานเป็น 8 เดือนรู้ผลภายใน 1 เดือน หลังครม.พิจารณาแล้วเสร็จ
นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) เปิดเผยว่า การประชุมหารือกับธนาคารพาณิชย์วานนี้(15 ม.ค.51) เป็นการพูดคุยและอธิบายรายละเอียดการนำเงินของกองทุนประกันสังคมไปฝากเพื่อปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการรายย่อย โดยเบื้องต้นทางธนาคารพาณิชย์เข้าใจถึงเงื่อนไขต่างๆ แล้ว และมีท่าที่สนใจเข้าร่วมโครงการเช่นกัน
“มีธนาคารพาณิชย์กว่า 11 แห่ง เข้ามาคุยกับเราในเรื่องของกระบวนการและรายละเอียดต่างๆ ซึ่งเบื้องต้นยังไม่มีใครสงสัยอะไรเพิ่มเติม แต่ก็ยังไม่มีการตกลงอะไรกัน โดยด้วยท่าทีที่ออกมาเชื่อว่าแบงก์ที่มาคุยกับเราค่อนข้างสนใจให้ความร่วมมือในโครงการนี้”นายปั้นกล่าว
สำหรับวงเงิน 1 หมื่นล้านบาทที่มีการอนุมัติให้ความช่วยเหลือลูกจ้างและผู้ประกอบการในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวนั้น จะแบ่งเป็น 1. ให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนจำนวน 4 พันล้านบาท และ2.ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการจำนวน 6 พันล้านบาท อย่างไรก็ตามหากในอนาคตมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มวงเงินนอกเหนือจากที่อนุมัติเบื้องต้น 1 หมื่นล้านบาทแล้ว ทางคณะกรรมการฯคงจะต้องมีการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ จำนวนเงินที่ได้เริ่มดำเนินการให้ความช่วยเหลือไปแล้วจะอยู่ที่ 300 ล้าบาท ซึ่งเป็นการนำเงินไปฝากให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เป็นผู้ดูแลปล่อยกู้เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ และในสัปดาห์หน้าจะมีการนำไปฝากให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอ็สเอ็มอี) เป็นผู้ดูแลปล่อยกู้อีกจำนวน 1 พันล้านบาท โดยในสัปดาห์คาดว่าวงเงินในส่วนที่จะนำไปช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดย่อมจะอยู่ที่ 1,300 ล้านบาท
นายปั้น กล่าวอีกว่า ความคืบหน้าของโครงการช่วยเหลือลูกจ้างและผู้ประกอบการจะมีการรายงานให้ทราบทุกเดือน ซึ่งการเซ็นMOU กับ ธ.ก.ส.เป็นเพียงการเริ่มต้นที่จะต้องมีการติดตามผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อรวบรวมข้อมูลของผู้ขอรับการช่วยเหลือ และความเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการในอนาคต
ส่วนมาตรการที่นำออกมาใช้ ไม่อยากให้มองเป็นเพียงแค่แนวทางการช่วยเหลือ หรือจะต้องออกมาตรการอย่างเดียว แต่ต้องให้ความสนใจว่ามีผลลัพธ์อย่างไรออกมาด้วย โดยหลังจากนี้เมื่อทราบผลลัพธ์แล้วก็อาจมีการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรเข้าไปในระหว่างปฏิบัติการได้เช่นกัน
“ต้องติดตามดูว่าเขาได้ประโยชน์อะไรบ้าง ผู้ประกอบการสามารถรักษางานและแรงงานไว้ได้หรือเปล่า และกองทุนจะมีความมั่นคงไหมจะที่มีแรงงานอยู่ ซึ่งมันมีหลายอย่างและตอนนี้อยู่ในขั้นปฎิบัติการและเมื่อวัดออกมาแล้ว ระหว่างนั้นอาจมีการปรับ หรือปรุงอีกก็ได้”นายปั้นกล่าว
นายปั้น กล่าวอีกว่า ในส่วนของการขยายเวลาประกันการว่างงานจากเดิม 6 เดือนเป็น 8 เดือนนั้น ทางคณะกรรมการสปส.จะมีการประชุมในวันจันทร์ที่ 19 มกราคมนี้ ซึ่งไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากนี้มากนัก โดยหากเป็นนโยบายของทางกระทรวงแรงงาน ทางคณะกรรมการฯ จะรับทราบตามแนวทางเดิม
ทั้งนี้ เชื่อว่าภายใน 1 เดือนหลังจากนี้น่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น โดยจะต้องมีการนำเรื่องเข้าในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง ส่วนจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่คงจะขึ้นอยู่กับมติของคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณา แต่ในระดับกระทรวงคงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากนี้อีก
นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) เปิดเผยว่า การประชุมหารือกับธนาคารพาณิชย์วานนี้(15 ม.ค.51) เป็นการพูดคุยและอธิบายรายละเอียดการนำเงินของกองทุนประกันสังคมไปฝากเพื่อปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการรายย่อย โดยเบื้องต้นทางธนาคารพาณิชย์เข้าใจถึงเงื่อนไขต่างๆ แล้ว และมีท่าที่สนใจเข้าร่วมโครงการเช่นกัน
“มีธนาคารพาณิชย์กว่า 11 แห่ง เข้ามาคุยกับเราในเรื่องของกระบวนการและรายละเอียดต่างๆ ซึ่งเบื้องต้นยังไม่มีใครสงสัยอะไรเพิ่มเติม แต่ก็ยังไม่มีการตกลงอะไรกัน โดยด้วยท่าทีที่ออกมาเชื่อว่าแบงก์ที่มาคุยกับเราค่อนข้างสนใจให้ความร่วมมือในโครงการนี้”นายปั้นกล่าว
สำหรับวงเงิน 1 หมื่นล้านบาทที่มีการอนุมัติให้ความช่วยเหลือลูกจ้างและผู้ประกอบการในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวนั้น จะแบ่งเป็น 1. ให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนจำนวน 4 พันล้านบาท และ2.ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการจำนวน 6 พันล้านบาท อย่างไรก็ตามหากในอนาคตมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มวงเงินนอกเหนือจากที่อนุมัติเบื้องต้น 1 หมื่นล้านบาทแล้ว ทางคณะกรรมการฯคงจะต้องมีการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ จำนวนเงินที่ได้เริ่มดำเนินการให้ความช่วยเหลือไปแล้วจะอยู่ที่ 300 ล้าบาท ซึ่งเป็นการนำเงินไปฝากให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เป็นผู้ดูแลปล่อยกู้เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ และในสัปดาห์หน้าจะมีการนำไปฝากให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอ็สเอ็มอี) เป็นผู้ดูแลปล่อยกู้อีกจำนวน 1 พันล้านบาท โดยในสัปดาห์คาดว่าวงเงินในส่วนที่จะนำไปช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดย่อมจะอยู่ที่ 1,300 ล้านบาท
นายปั้น กล่าวอีกว่า ความคืบหน้าของโครงการช่วยเหลือลูกจ้างและผู้ประกอบการจะมีการรายงานให้ทราบทุกเดือน ซึ่งการเซ็นMOU กับ ธ.ก.ส.เป็นเพียงการเริ่มต้นที่จะต้องมีการติดตามผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อรวบรวมข้อมูลของผู้ขอรับการช่วยเหลือ และความเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการในอนาคต
ส่วนมาตรการที่นำออกมาใช้ ไม่อยากให้มองเป็นเพียงแค่แนวทางการช่วยเหลือ หรือจะต้องออกมาตรการอย่างเดียว แต่ต้องให้ความสนใจว่ามีผลลัพธ์อย่างไรออกมาด้วย โดยหลังจากนี้เมื่อทราบผลลัพธ์แล้วก็อาจมีการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรเข้าไปในระหว่างปฏิบัติการได้เช่นกัน
“ต้องติดตามดูว่าเขาได้ประโยชน์อะไรบ้าง ผู้ประกอบการสามารถรักษางานและแรงงานไว้ได้หรือเปล่า และกองทุนจะมีความมั่นคงไหมจะที่มีแรงงานอยู่ ซึ่งมันมีหลายอย่างและตอนนี้อยู่ในขั้นปฎิบัติการและเมื่อวัดออกมาแล้ว ระหว่างนั้นอาจมีการปรับ หรือปรุงอีกก็ได้”นายปั้นกล่าว
นายปั้น กล่าวอีกว่า ในส่วนของการขยายเวลาประกันการว่างงานจากเดิม 6 เดือนเป็น 8 เดือนนั้น ทางคณะกรรมการสปส.จะมีการประชุมในวันจันทร์ที่ 19 มกราคมนี้ ซึ่งไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากนี้มากนัก โดยหากเป็นนโยบายของทางกระทรวงแรงงาน ทางคณะกรรมการฯ จะรับทราบตามแนวทางเดิม
ทั้งนี้ เชื่อว่าภายใน 1 เดือนหลังจากนี้น่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น โดยจะต้องมีการนำเรื่องเข้าในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง ส่วนจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่คงจะขึ้นอยู่กับมติของคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณา แต่ในระดับกระทรวงคงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากนี้อีก