xs
xsm
sm
md
lg

Q&A corner : พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คำถาม - ได้ยินมาว่าเมื่อต้นปี มีการเเก้ไขเเละประกาศใช้พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปแล้ว เลยอยากรู้ว่าที่เเก้ไขไปมีอะไรบ้างค่ะ

ตอบ - สำหรับ พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เพิ่งปรับปรุงเเก้ไขไปนั้น ประกาศใช้ไปเมื่อวันที่ 27 มกราคม2551 ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกองทุนดังกล่าวก่อนดีกว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ PROVIDENT FUND ถือว่าเป็นกองทุนรวมชนิดหนึ่งที่อยู่ภายใต้การดูเเลของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)หรือสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดย นายจ้างเเละลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ และเลือกบลจ.-สถาบันทางการเงินเข้ามาดูและนำเงินของกองทุนไปลงทุนเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ เอาไว้เป็นเงินสำรองเมื่อเวลาลูกจ้างเกษียณหรือออกจากงาน ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยเหลือลูกจ้างไปอีกแบบหนึ่ง

สำหรับเงินที่ไหลเข้าสู่กองทุนประกอบด้วย 1.เงินสะสมจากลูกจ้าง คิดเป็น 2-15%ของเงินเดือน 2.เงินสมทบจากนายจ้าง ต้องเท่ากับหรือมากกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง เช่น นายพศวัต เลือกอัตราเงินที่เข้าสู่กองทุนที่ 5% โดยนายจ้างจะให้เงินสมทบนายพศวัตที่ 5% ก็ได้หรือจะให้มากถึง10% แต่ห้ามต่ำกว่า5%นั้นเอง

ทั้งนี้ประเภทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถแบ่งออเป็น 3 ประเภทดังนี้

1.กองทุนเดี่ยว (Single Fund) ซึ่งในการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พรบ.)กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฉบับที่ 3 พ.ศ2530ที่มีได้ผลบังคับตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2551นั้นได้เปลี่ยนชื่อกองทุนดังกล่าวว่า กองทุนนายจ้างเดียว ลักษณะของกองทุนคือ มีนายจ้างคนเดียว ทำให้มีอิสระกำหนดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อกองทุน นโยบายกองทุน ข้อบังคับของกองทุนและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของกองทุนทั้งหมด

2.กองทุนกลุ่ม (Group Fund) โดยการแก้ไขพ.ร.บใหม่ใช้ชื่อใหม่ว่า กองทุนหลายนายจ้าง ซึ่งกองทุนนี้มีหลายนายจ้างส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทในเครือ เช่นบริษัท ซีพี หรือบริษัทสหพันฒน์ ลักษณะอื่นก็จะเหมือนกับกองทุนนายจ้างเดียว

3.กองทุนร่วมทุน(Pooled Fund) การแก้ไขพ.ร.บ.ให้ชื่อว่ากองทุนหลายนายนานจ้างเช่นกัน ลักษณะของกองทุนก็มีความแตกต่างจากกองทั้ง 2 กองทุนคือ มีนายจ้างหลายรายร่วมกันจัดตั้งขึ้นมา 1 กองทุน ทำให้ไม่มีอิสระในการกำหนดหรือแก้ไข ชื่อกองทุน นโยบายการลงทุน ตลอดจนข้อบังคับส่วนการ ซึ่งนโยบายการลงทุนก็จะมีเพียงนโยบายเดียว ชื่อกองทุนและนโยบายจะถูกกำหนดโดย บลจ. ที่สำคัญนายจ้างต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามส่วนของเงินที่มีอยู่ในกองทุน

ขณะที่การลดหย่อนภาษีเงินได้นั้นหลักง่ายๆคือ เมื่อเราจ่ายเงินเข้ากองทุนเท่าไรเราก็จะได้รับการลดหย่อนภาษีเท่านั้นแต่ต้องไม่เกิน 300,000 บาทและต้องไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง

สำหรับประเด็นที่มีการแก้ไขใน พ.ร.บกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีดังนี้คือ

1.การรับโอนเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือ กบข. กรณีนี้เกิดขึ้นมาเพื่อรรองรับข้าราชการที่ลาอออกจากราชการและเข้าทำงานกับเอกชน แต่การโอนย้ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มายังกบข.ยังไม่สามารถทำได้

2.การจัดตั้งกองทุนที่มีหลายนโยบาย (Master Fund) เป็นกองทุนที่สมาชิกสมารถเลือกลงทุนเองได้เช่น บริษัท ค้ากุ้ง จำกัด มีกองทุนสำรองลี้ยงชีพที่หลายนโยบาย ซึ่งทางบลจ.ที่ดูแลกองทุนมีนโยบายในการนำเงินไปลงทุน ดังนี้ คือ ลงทุนในหุ้น ลงทุนในตราสารหนี้ และลงทุนในตลาดเงิน โดยนางสาววาสนา เลือกที่จะเสี่ยงน้อยเลยลงทุนใน หุ้น 20% ลงทุนในตราสารหนี้ 60%และลงทุนกับตลาดเงิน 20% .ในขณะเดียวกันนายจตุวัส เลือกที่จะเสี่ยงกับตลาดหุ้นที่ขึ้นๆลงๆจึงตัดสินใจลงทุนในหุ้น 50% ที่เหลือก็เฉลี่ยลงทุนอีก 2 ตัวเลือกที่บลจ.จัดมาให้ แน่นอนว่ากองทุนประเภทนี้ลูกจ้างจะได้รับผลตอบแทนที่ไม่เท่ากัน รวมถึงค่าธรรมเนียมของบลจ.ก็จะมากขึ้นตามความยุ่งยากในการดูแล

3.การขอรับเงินงวด เป็นการขอรับเงินเป็นงวดของผู้ที่เกษียณอายุงานไปแล้ว โดยต้องไม่มีการนำส่งเงินสะสมและเงินสมทบจากนายจ้างที่จ่ายให้เป็นรายคนเข้ากองทุน

4.การให้สมาชิกคงเงินไว้ในกองทุน เราสามารถคงเงินไว้ในกองทุนตามเงื่อนไขข้อบังคับของแต่ละกองทุนแต่ต้องไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน ทั้งนี้มีสิทธิที่จะได้รับดอกผลจากกการคงเงินอีกด้วย

5.การกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่สมาชิกจะได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบ (Vesting clause) ซึ่งข้อกำหนดทั้งหมดนี้ต้องไม่ตัดสิทธิของลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร

สำหรับท่านผู้อ่านท่านใดที่มีข้อสงสัยเรื่องกองทุนรวม สามารถส่งคำถามมาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์ข้อความไว้ที่หน้า กองทุนรวม www.manager.co.th ทางเรายินดีที่จะตอบคำถามและหาคำตอบดีๆจากบลจ.ต่างๆให้ครับ
กำลังโหลดความคิดเห็น