รายงานจากผู้จัดการกองทุนประจำเดือน มกราคม 2552
ตลาดตราสารหนี้
สถานการณ์ในเดือนธันวาคม 2551
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยแบบ Outright ต่อวันในเดือนธันวาคม 2551 ของตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 67.771 พันล้านบาทจาก 62.446 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นคิดเป็นร?อยละ 7.50และดัชนีหุ้นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยคิดเป็นอัตราผลตอบแทนร?อยละ1.72 ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 2.61 และมีอายุเฉลี่ยเท?ากับ 5.78 ป? ในขณะที่ดัชนีหุ?นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 4.09 และอายุเฉลี่ยเท?ากับ 2.94 ป? อัตราผลตอบแทนปรับลดลงเล็กน้อย โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นตั้งแต่ อายุ 1 - 6 เดือน ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.11 ถึง 1.19 พันธบัตรระยะสั้นอายุ 1-3 ปีปรับตัวลดลงร้อยละ 1.14 ถึง 1.20 พันธบัตรระยะกลางอายุ 4-10 ป?ปรับตัวลดลงในช่วงร้อยละ 1.07 ถึง 1.18 และพันธบัตรระยะยาวตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.08 ถึง 1.14
แนวโน้ม
สภาวะตลาดในเดือนมกราคม 2552 คาดว่าตลาดตราสารหนี้ไทย น่าจะมีความผันผวนค่อนข้างมาก ผลตอบแทนในตราสารหนี้ระยะสั้น น่าจะปรับตัวลงไปได้มากกว่าตราสารหนี้ระยะกลางและระยะยาว ตามทิศทางดอกเบี้ยภายในประเทศ นักลงทุนอาจจะมาสนใจลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าพันธบัตรรัฐบาลและเงินฝาก
กลยุทธ์ประจำเดือน
กลยุทธ์การลงทุนคือ ทะยอยลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น และกลาง
ตลาดตราสารทุน
ตัวเลขเศรษฐกิจ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ปรับตัวลดลงมากที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ปรับตัวลดลง 6.6% เทียบปีต่อปีในเดือน พฤศจิกายน 2551 จากที่ขยายตัว 2.8% เทียบปีต่อปีในเดือน ตุลาคม 2551 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับตัวลดลง 22.4% เทียบปีต่อปี ลดลงมากขึ้นจากที่ปรับตัวลดลง 6.3% เทียบปีต่อปีในเดือน ตุลาคม 2551 อย่างไรก็ดี ผลผลิตการเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.8% เทียบปีต่อปีในเดือน พฤศจิกายน 2551 จากที่หดตัวลง 2.3% เทียบปีต่อปีในเดือน ตุลาคม 2551
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พฤศจิกายน ลดลงสู่จุดต่ำสุดในรอบ 7 ปี
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจปรับตัวลดลงสู่ระดับ 67.1 ในเดือน พฤศจิกายน ต่ำที่สุดนับจากเดือน มกราคม 2545 ผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสืบเนื่องมาจากการส่งออกชะลอตัว การปิดสนามบิน ปัญหาทางตันทางการเมือง และตลาดแรงงานปรับตัวแย่ลง เราคาดว่าการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคจะชะลอตัวลงอีกในไตรมาส 4 ปี 2551 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (PCI) ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงเรียบร้อยแล้ว สู่ระดับ 2.8% เทียบปีต่อปีในเดือน ตุลาคม จากระดับ 5.9% ในเดือน กันยายน
เครื่องชี้ด้านอุปสงค์ปรับตัวลดลงต่อ
ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (PCI) ปรับตัวลดลง 1.6% เทียบปีต่อปีในเดือน พฤศจิกายน 2551 จากที่ขยายตัว 2.8% เทียบปีต่อปีในเดือน ตุลาคม 2551 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.2% เทียบปีต่อปีในเดือน พฤศจิกายน 2551 ลดลงจากที่ขยายตัว 2.2% เทียบปีต่อปีในเดือน ตุลาคม 2551
สรุปภาวะตลาด
ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่องหลังศาลมีคำวินิจฉัยตัดสินให้ยุบพรรคเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ทำให้นักลงทุนเกิดความหวังว่าความวุ่นวายทางการเมืองจะสิ้นสุดลง แม้หลายฝ่ายคาดการณ์ถึงคำตัดสินดังกล่าวไว้แล้ว แต่เหตุการณ์ที่กลุ่มพันธมิตรยอมสลายการชุมนุมออกจากสนามบินสุวรรณภูมิหลังจากเข้ายึดสนามบินเป็นเวลานานนับสัปดาห์ก็ช่วยคลายความตึงเครียดลงได้อย่างมาก ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์ (จากยอดต่ำที่ 387.32 จุดในวันที่ 2 ธันวาคม สู่ยอดสูงที่ 451.72 จุดในวันที่ 18 ธันวาคม) หลังจากกลุ่มพันธมิตรสลายการชุมนุม เนื่องจากบรรยากาศการลงทุนปรับตัวดีขึ้นเพราะพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาเป็นรัฐบาลและสหรัฐฯวางแผนให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตรถยนต์ 3 รายใหญ่ ทั้งนี้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สามารถทรงตัวอยู่ได้และปิดที่ 449.96 จุด ตอนสิ้นเดือน ธันวาคม เนื่องจากนักลงทุนกลับมาซื้อหุ้นขนาดใหญ่ก่อนสิ้นปีทั้งๆที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง
แนวโน้มตลาดเดือนมกราคม
January effect น่าจะมีไม่ได้ไกลสำหรับปี 2552 โดยตลาดมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นทดสอบระดับ 480 จุด เราคาดว่า บรรยากาศการลงทุนน่าจะดีขึ้นหลังจากพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯที่กำลังจะมีขึ้นและการอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจและตลาดเพิ่มเติม ดัชนีตลาดไม่น่าจะปรับตัวผ่าน 500 จุดไปได้ เนื่องจากจะมีกระแสข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเงินเข้ามากีดขวางการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังเดือนมกราคม อย่างไรก็ดี เรามองว่าตอนนี้เป็นโอกาสในการเข้าสะสมหุ้นขนาดใหญ่ เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนจะอยู่ที่การปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันหลังจากเกิดความวุ่นวายในตะวันออกกลางที่จะเป็นผลบวกกับหลักทรัพย์ในหมวดพลังงานของไทยกอปรสถานการณ์การเมืองในประเทศที่สงบขึ้น
กลยุทธ์ประจำเดือนมกราคม
ให้น้ำหนักการลงทุน มากกว่าตลาด ในหมวด ธนาคารขนาดใหญ่ สื่อสาร และพลังงาน ให้น้ำหนักการลงทุน เท่ากับตลาดในหมวด อสังหาริมทรัพย์ให้น้ำหนักการลงทุน น้อยกว่าตลาดในหมวด ปิโตรเคมี และวัสดุก่อสร้าง
ตลาดตราสารหนี้
สถานการณ์ในเดือนธันวาคม 2551
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยแบบ Outright ต่อวันในเดือนธันวาคม 2551 ของตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 67.771 พันล้านบาทจาก 62.446 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นคิดเป็นร?อยละ 7.50และดัชนีหุ้นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยคิดเป็นอัตราผลตอบแทนร?อยละ1.72 ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 2.61 และมีอายุเฉลี่ยเท?ากับ 5.78 ป? ในขณะที่ดัชนีหุ?นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 4.09 และอายุเฉลี่ยเท?ากับ 2.94 ป? อัตราผลตอบแทนปรับลดลงเล็กน้อย โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นตั้งแต่ อายุ 1 - 6 เดือน ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.11 ถึง 1.19 พันธบัตรระยะสั้นอายุ 1-3 ปีปรับตัวลดลงร้อยละ 1.14 ถึง 1.20 พันธบัตรระยะกลางอายุ 4-10 ป?ปรับตัวลดลงในช่วงร้อยละ 1.07 ถึง 1.18 และพันธบัตรระยะยาวตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.08 ถึง 1.14
แนวโน้ม
สภาวะตลาดในเดือนมกราคม 2552 คาดว่าตลาดตราสารหนี้ไทย น่าจะมีความผันผวนค่อนข้างมาก ผลตอบแทนในตราสารหนี้ระยะสั้น น่าจะปรับตัวลงไปได้มากกว่าตราสารหนี้ระยะกลางและระยะยาว ตามทิศทางดอกเบี้ยภายในประเทศ นักลงทุนอาจจะมาสนใจลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าพันธบัตรรัฐบาลและเงินฝาก
กลยุทธ์ประจำเดือน
กลยุทธ์การลงทุนคือ ทะยอยลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น และกลาง
ตลาดตราสารทุน
ตัวเลขเศรษฐกิจ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ปรับตัวลดลงมากที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ปรับตัวลดลง 6.6% เทียบปีต่อปีในเดือน พฤศจิกายน 2551 จากที่ขยายตัว 2.8% เทียบปีต่อปีในเดือน ตุลาคม 2551 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับตัวลดลง 22.4% เทียบปีต่อปี ลดลงมากขึ้นจากที่ปรับตัวลดลง 6.3% เทียบปีต่อปีในเดือน ตุลาคม 2551 อย่างไรก็ดี ผลผลิตการเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.8% เทียบปีต่อปีในเดือน พฤศจิกายน 2551 จากที่หดตัวลง 2.3% เทียบปีต่อปีในเดือน ตุลาคม 2551
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พฤศจิกายน ลดลงสู่จุดต่ำสุดในรอบ 7 ปี
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจปรับตัวลดลงสู่ระดับ 67.1 ในเดือน พฤศจิกายน ต่ำที่สุดนับจากเดือน มกราคม 2545 ผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสืบเนื่องมาจากการส่งออกชะลอตัว การปิดสนามบิน ปัญหาทางตันทางการเมือง และตลาดแรงงานปรับตัวแย่ลง เราคาดว่าการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคจะชะลอตัวลงอีกในไตรมาส 4 ปี 2551 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (PCI) ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงเรียบร้อยแล้ว สู่ระดับ 2.8% เทียบปีต่อปีในเดือน ตุลาคม จากระดับ 5.9% ในเดือน กันยายน
เครื่องชี้ด้านอุปสงค์ปรับตัวลดลงต่อ
ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (PCI) ปรับตัวลดลง 1.6% เทียบปีต่อปีในเดือน พฤศจิกายน 2551 จากที่ขยายตัว 2.8% เทียบปีต่อปีในเดือน ตุลาคม 2551 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.2% เทียบปีต่อปีในเดือน พฤศจิกายน 2551 ลดลงจากที่ขยายตัว 2.2% เทียบปีต่อปีในเดือน ตุลาคม 2551
สรุปภาวะตลาด
ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่องหลังศาลมีคำวินิจฉัยตัดสินให้ยุบพรรคเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ทำให้นักลงทุนเกิดความหวังว่าความวุ่นวายทางการเมืองจะสิ้นสุดลง แม้หลายฝ่ายคาดการณ์ถึงคำตัดสินดังกล่าวไว้แล้ว แต่เหตุการณ์ที่กลุ่มพันธมิตรยอมสลายการชุมนุมออกจากสนามบินสุวรรณภูมิหลังจากเข้ายึดสนามบินเป็นเวลานานนับสัปดาห์ก็ช่วยคลายความตึงเครียดลงได้อย่างมาก ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์ (จากยอดต่ำที่ 387.32 จุดในวันที่ 2 ธันวาคม สู่ยอดสูงที่ 451.72 จุดในวันที่ 18 ธันวาคม) หลังจากกลุ่มพันธมิตรสลายการชุมนุม เนื่องจากบรรยากาศการลงทุนปรับตัวดีขึ้นเพราะพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาเป็นรัฐบาลและสหรัฐฯวางแผนให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตรถยนต์ 3 รายใหญ่ ทั้งนี้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สามารถทรงตัวอยู่ได้และปิดที่ 449.96 จุด ตอนสิ้นเดือน ธันวาคม เนื่องจากนักลงทุนกลับมาซื้อหุ้นขนาดใหญ่ก่อนสิ้นปีทั้งๆที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง
แนวโน้มตลาดเดือนมกราคม
January effect น่าจะมีไม่ได้ไกลสำหรับปี 2552 โดยตลาดมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นทดสอบระดับ 480 จุด เราคาดว่า บรรยากาศการลงทุนน่าจะดีขึ้นหลังจากพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯที่กำลังจะมีขึ้นและการอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจและตลาดเพิ่มเติม ดัชนีตลาดไม่น่าจะปรับตัวผ่าน 500 จุดไปได้ เนื่องจากจะมีกระแสข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเงินเข้ามากีดขวางการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังเดือนมกราคม อย่างไรก็ดี เรามองว่าตอนนี้เป็นโอกาสในการเข้าสะสมหุ้นขนาดใหญ่ เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนจะอยู่ที่การปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันหลังจากเกิดความวุ่นวายในตะวันออกกลางที่จะเป็นผลบวกกับหลักทรัพย์ในหมวดพลังงานของไทยกอปรสถานการณ์การเมืองในประเทศที่สงบขึ้น
กลยุทธ์ประจำเดือนมกราคม
ให้น้ำหนักการลงทุน มากกว่าตลาด ในหมวด ธนาคารขนาดใหญ่ สื่อสาร และพลังงาน ให้น้ำหนักการลงทุน เท่ากับตลาดในหมวด อสังหาริมทรัพย์ให้น้ำหนักการลงทุน น้อยกว่าตลาดในหมวด ปิโตรเคมี และวัสดุก่อสร้าง