บลจ.ทิสโก้ตั้งเป้าปี52 เอยูเอ็มโต 20% ครึ่งปีแรกเตรียมเปิดขายกองทุนเพิ่มกว่า 18 กอง เน้นหุ้นเอเชีย และหุ้นกู้เอกชนในประเทศเป็นหลัก ระบุภายใน 12 เดือนหุ้นเอเชียฟื้นมากกว่าสหรัฐและยุโรป พร้อมชูกลยุทธ์สู้ศึกอุตสาหกรรมกองทุนรวม เดินหน้าประสานมือแบงก์แม่ และออกกองทุนที่เหมาะกับความต้องการของนักลงทุน ขณะเดียวกันเตรียมประเดิมขายกองหุ้นต่างประเทศ"เอเชีย แปซิฟิก เอ็กซ์ เจแปน ทริกเกอร์ 15% # 3"ระหว่างวันที่ 15-23 มกราคมนี้
นายธีรนาถ รุจิเมธาภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า การดำเนินงานของบริษัทในปีนี้ตั้งเป้าการเติบโตของสินทรัพย์รวมภายใต้การบริหาร(AUM) เอาไว้ที่ประมาณ 20% ในกองทุนรวม และกองส่วนบุคคล ขณะที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเองน่าจะขยายตัวในระดับเดียวกันคือ 20% เช่นกัน
ทั้งนี้ ในส่วนของกองทุนรวมเองน่าจะมีการขยายตัวมากขึ้นหลังจากนี้ เนื่องจากบริษัทจะมีความร่วมมือกับธนาคารทิสโก้ โดยเฉพาะการตั้งเป้าขยายสาขาแบงก์เป็น 100 สาขาในอนาคตที่จะเป็นการเพิ่มช่องทางการขายให้กับลูกค้ารายย่อยของบริษัท และในส่วนเซลลิงค์เอเยนท์อย่าง บริษัทเคจีไอ บล.ภัทร และธนาคารแสตนดาร์ดฯ ก็ยังคงให้ความร่วมมือกับบริษัทต่อไป
“ลูกค้ารายย่อยของเราน่าจะเพิ่มขึ้น หลังจากแบงก์มาขยายสาขา เพราะที่ผ่านมาเรามีลูกค้าอยู่ 2 ส่วนอยู่แล้วคือเป็น รายใหญ่ คอร์เปอร์เรต ส่วนรายย่อยคงไม่มากถ้าเป็นเรื่องของเม็ดเงิน แต่ส่วนของบัญชีคงมากกว่า ซึ่งเป็นไปตามธรรมดาอยู่แล้ว”นายธีรนาถกล่าว
สำหรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในปีนี้ บริษัทจะเดินหน้าขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลูกค้ารายย่อย และกองทุนส่วนบุคคลที่เน้นลูกค้าสถาบันและรายใหญ่ โดยจุดเด่นที่จะนำมาสร้างความแตกต่างคือการบริหารความเสี่ยงที่ดี และการให้คำแนะนำจากที่ปรึกษาการลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญ
"กรณีของกองทุนรวมนั้น บลจ.ทิสโก้ มีจุดยืนที่ชัดเจนที่จะแนะนำกองทุนรวมประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการลงทุน เช่น ถ้าเรามองว่าปีนี้แนวโน้มดอกเบี้ยเป็นขาลง เราก็จะออกกองทุนที่มีอายุยาวกว่าที่มีขายในท้องตลาด เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ลงทุนที่ต้องการล็อกผลตอบแทนที่แน่นอน”นายธีรนาถกล่าว
ส่วนถ้าเป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเสนอขายผู้ลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนที่สูงและสามารถรับความเสี่ยงในการลงทุนได้มากกว่า เราก็จะแนะนำให้ลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้นทุน หรือกองทุนรวมที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น สินค้าเกษตร หรือ น้ำมัน เนื่องจากมองว่าตอนนี้ราคาหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลงมาในระดับที่น่าสนใจมาก เป็นต้น คือเราต้องอัพเดตสถานการณ์การลงทุนตลอดเวลา เพื่อหาผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
ขณะที่กองทุนส่วนบุคคลบริษัทจะเน้นการให้บริการแนะนำและให้คำปรึกษาการลงทุนอย่างใกล้ชิด จากผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์ในการดูแลเงินลงทุนให้กับผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นหลัก
นายธีรนาถ กล่าวอีกว่า กองทุนที่จะเสนอขายให้กับนักลงทุนในครึ่งปีแรกในส่วนของตราสารหนี้จะเป็นกองทุนในซีรีสซ์ สเปเชี่ยลพลัส ที่ลงทุนในตราสารหนี้เอกชนอายุ 2 ปี ซึ่งได้นำเสนอขายแก่นักลงทุนไปก่อนหน้านี้แล้วจำนวน 6 กองทุน ส่วนกองตราสารทุนจะเน้นกองทุนในตระกูล เอเชีย แปซิฟิก เอ็กซ์ เจแปน ทริกเกอร์ 15% เป็นหลัก ส่วนกองตราสารทุนในประเทศจะนำเสนอกองทุนที่มีอยู่แล้วให้กับนักลงทุน
“ครึ่งปีแรกเราน่าจะมีสเปเชี่ยล พลัส ออกมาเป็นซีรีส์ประมาณเดือนละ 2 กองรวมแล้วประมาณ 12 กองส่วนกองทริกเกอร์นั้นคงจะมีประมาณเดือนละหนึ่งกอง แต่หากดัชนีมันปรับตัวขึ้นเกินกว่าที่จะทำกำไรได้ก็จำเป็นที่จะต้องยกเลิกไป โดยจะต้องดูตามสถานการณ์แล้วหากองทุนอื่นเข้ามาทดแทน”นายธีรนาถกล่าว
ทั้งนี้ การที่บริษัทเลือกอออกองทุนตรสารหนี้ที่มีอายุประมาณ 2 ปีเพราะมองว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะอยู่ในช่วงขาลง เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งการล็อกอายุของตราสารให้ยาวขึ้นจะทำให้ได้รับผลตอบแทนที่ดี
ส่วนการที่หันมาลงทุนในหุ้นกู้เอกชนคุณภาพดี(เรตติ้งA-ขึ้นไป) เนื่องจากมองว่าที่ผ่านมาอัตรผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลมีการปรับตัวลดลงมาอย่างมากแล้ว โดยมีส่วนต่างกับพันธบัตรบาลสูงถึงกว่า 4-4.5%ในบางตัว ซึ่งจากเดิมจะมีส่วนต่างกันแค่ 1% เท่านั้น
ด้าน นายพิชา รัตนธรรม หัวหน้าธุรกิจกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล บลจ.ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า การออกกองทุนที่ลงทุนในหุ้นของประเทศแถบเอเชียยกเว้น ญี่ปุ่น เนื่องจากบริษัทมีความเชื่อมั่นในอีก 12 เดือนข้างหน้า ตลาดหุ้นของประเทศในแถบนี้จะสามารถฟื้นตัวได้ดีกว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา และทวีปยุโรป
"แม้ในปีที่ผ่านมาราคาหุ้นในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกปรับตัวลดลงมามากจนทำสถิติต่ำสุดในรอบหลายปี เนื่องจากแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งๆที่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศในแถบเอเชียยังคงดีอยู่เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ อีกทั้งในปีนี้นักวิเคราะห์หลายสำนักยังมองว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเอเชียจะสูงที่สุดในโลก และจะทำให้หุ้นในกลุ่มอีเมอร์จิ้งมาร์เก็ตในแถบเอเชียน่าจะรีบาวน์เป็นไปตามเป้าหมายคือ 15%""นายพิชากล่าว
ส่วนการออกกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในหุ้นกู้เอกชนนั้น เชื่อว่าในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยขาลงแบบนี้ นักลงทุนจำเป็นที่จะต้องมีการแบ่งเงินเข้ามาลงทุนในกองทุนประเภทนี้บ้าง โดยหากเป็นการลงทุนในระยะสั้นแบบเดิม เมื่อมีการโรลโอเวอร์แล้วอาจทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ลดลง ส่วนพันธบัตรรัฐบาลเองผลตอบแทนก็มีการปรับตัวลดลงมามากจนไม่น่าสนใจสักเท่าไรในปัจจุบัน
"หุ้นกู้ของบริษัทเอกชนในปัจจุบันในครึ่งปีแรกน่าจะให้ผลตอบแทนดี แต่ในครึ่งปีหลังต้องดูอีกว่าหากสถาการณ์เศรษฐกิจฟื้นขึ้นตามที่คาดกันไว้ ยิลด์ของมันก็จะลดต่ำลง ทำให้ช่วงห่างกับพันธบัตรรัฐบาลน้อยลงจนความน่าสนใจมันหายไป ซึ่งหากดูถึงซับพลายของหุ้นกู้เรตติ้งดีๆ ตอนนี้ยังมี และที่ผ่านมาตอนเราเปิดขายยอดมันก็ไม่ได้สูงมาก ทำให้หามาลงทุนได้ง่ายกว่า"นายพิชากล่าว
ขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศนั้นยังไม่เป็นที่น่าสนใจในช่วงนี้ เนื่องจากผลตอบแทนปรับลดลงมาอย่างมาก โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลในประเทศต่างๆ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป โดยอาจเป็นไปได้ว่าในอนาคตอาจมีความน่าสนใจได้เช่นกัน
AUMปี51ทรงตัว
นายธีรนาถ กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมกองทุนรวมต้องเจอกับการลงทุนที่ผันผวน ทั้งปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ปัญหาวิกฤตการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา และการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทำให้สินทรัพย์รวมภายใต้การบริหาร(AUM) ของบริษัทไม่ขยายตัวเท่าที่ควร
สำหรับ AUM ในปีที่ผ่านมาจะอยู่ที่ 106,985 ล้านบาท แบ่งเป็น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 68,525 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 64.1%, กองทุนส่วนบุคคล 23,848 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 22.3% และกองทุนรวม 14,612 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 13.7% โดยเฉพาะธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทสามารถรักษาตำแหน่งผู้นำตลาด โดยมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 เอาไว้ได้อย่างต่อเนื่อง
“ในปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นปีที่พอใช้ได้ ถึงแม้เอยูเอ็มจะขยายตัวไม่มากหรือคงที่ แต่เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นและปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นก็น่านพอใจอยู่”นายธีรนาถกล่าว
ประเดิมออกกองหุ้นต่างประเทศ
นายพิชา กล่าวว่า บริษัทได้เตรียมทำการเปิดขาย "กองทุนเปิด ทิสโก้ เอเชีย แปซิฟิก เอ็กซ์ เจแปน ทริกเกอร์ 15% # 3" ซึ่งเป็นกอง FIF ซีรีย์ 3 ในระหว่างวันที่ 15-23 ม.ค. 52 โดยมีเงินทุนของโครงการที่จดทะเบียนไว้คือ 1,400 ล้านบาท อายุโครงการ 1 ปี ลงทุนขั้นต่ำ 20,000 บาท
สำหรับ นโยบายการลงทุนจะเหมือน 2 กองแรกในตระกูลเดียวกัน ซึ่งเปิดขายในปีที่ผ่านมา คือเป็นกองทุนรวมต่างประเทศประเภทกองทุนหน่วยลงทุน (Feeder Fund) เน้นลงทุนในหุ้นของกลุ่มประเทศในเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่น โดยมีกองทุนหลัก คือ "กองทุน Lyxor ETF MSCI AC Asia-Pacific Ex Japan" ซึ่งเป็นกองอีทีเอฟที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง
สำหรับกองทุนดังกล่าวที่จะนำเงินไปลงทุนนั้นจะมีนโยบายลงทุนในหุ้นเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี MSCI AC Asia-Pacific Ex Japan และมีอายุโครงการ 1 ปี ซึ่งสามารถเลิกกองทุนขายทำกำไรอัตโนมัติได้ทันทีโดยไม่ต้องรอครบ 1 ปี หากกองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามเป้าหมาย 15% ของมูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วย (10.00 บาท) เป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกัน
นายธีรนาถ รุจิเมธาภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า การดำเนินงานของบริษัทในปีนี้ตั้งเป้าการเติบโตของสินทรัพย์รวมภายใต้การบริหาร(AUM) เอาไว้ที่ประมาณ 20% ในกองทุนรวม และกองส่วนบุคคล ขณะที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเองน่าจะขยายตัวในระดับเดียวกันคือ 20% เช่นกัน
ทั้งนี้ ในส่วนของกองทุนรวมเองน่าจะมีการขยายตัวมากขึ้นหลังจากนี้ เนื่องจากบริษัทจะมีความร่วมมือกับธนาคารทิสโก้ โดยเฉพาะการตั้งเป้าขยายสาขาแบงก์เป็น 100 สาขาในอนาคตที่จะเป็นการเพิ่มช่องทางการขายให้กับลูกค้ารายย่อยของบริษัท และในส่วนเซลลิงค์เอเยนท์อย่าง บริษัทเคจีไอ บล.ภัทร และธนาคารแสตนดาร์ดฯ ก็ยังคงให้ความร่วมมือกับบริษัทต่อไป
“ลูกค้ารายย่อยของเราน่าจะเพิ่มขึ้น หลังจากแบงก์มาขยายสาขา เพราะที่ผ่านมาเรามีลูกค้าอยู่ 2 ส่วนอยู่แล้วคือเป็น รายใหญ่ คอร์เปอร์เรต ส่วนรายย่อยคงไม่มากถ้าเป็นเรื่องของเม็ดเงิน แต่ส่วนของบัญชีคงมากกว่า ซึ่งเป็นไปตามธรรมดาอยู่แล้ว”นายธีรนาถกล่าว
สำหรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในปีนี้ บริษัทจะเดินหน้าขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลูกค้ารายย่อย และกองทุนส่วนบุคคลที่เน้นลูกค้าสถาบันและรายใหญ่ โดยจุดเด่นที่จะนำมาสร้างความแตกต่างคือการบริหารความเสี่ยงที่ดี และการให้คำแนะนำจากที่ปรึกษาการลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญ
"กรณีของกองทุนรวมนั้น บลจ.ทิสโก้ มีจุดยืนที่ชัดเจนที่จะแนะนำกองทุนรวมประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการลงทุน เช่น ถ้าเรามองว่าปีนี้แนวโน้มดอกเบี้ยเป็นขาลง เราก็จะออกกองทุนที่มีอายุยาวกว่าที่มีขายในท้องตลาด เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ลงทุนที่ต้องการล็อกผลตอบแทนที่แน่นอน”นายธีรนาถกล่าว
ส่วนถ้าเป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเสนอขายผู้ลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนที่สูงและสามารถรับความเสี่ยงในการลงทุนได้มากกว่า เราก็จะแนะนำให้ลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้นทุน หรือกองทุนรวมที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น สินค้าเกษตร หรือ น้ำมัน เนื่องจากมองว่าตอนนี้ราคาหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลงมาในระดับที่น่าสนใจมาก เป็นต้น คือเราต้องอัพเดตสถานการณ์การลงทุนตลอดเวลา เพื่อหาผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
ขณะที่กองทุนส่วนบุคคลบริษัทจะเน้นการให้บริการแนะนำและให้คำปรึกษาการลงทุนอย่างใกล้ชิด จากผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์ในการดูแลเงินลงทุนให้กับผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นหลัก
นายธีรนาถ กล่าวอีกว่า กองทุนที่จะเสนอขายให้กับนักลงทุนในครึ่งปีแรกในส่วนของตราสารหนี้จะเป็นกองทุนในซีรีสซ์ สเปเชี่ยลพลัส ที่ลงทุนในตราสารหนี้เอกชนอายุ 2 ปี ซึ่งได้นำเสนอขายแก่นักลงทุนไปก่อนหน้านี้แล้วจำนวน 6 กองทุน ส่วนกองตราสารทุนจะเน้นกองทุนในตระกูล เอเชีย แปซิฟิก เอ็กซ์ เจแปน ทริกเกอร์ 15% เป็นหลัก ส่วนกองตราสารทุนในประเทศจะนำเสนอกองทุนที่มีอยู่แล้วให้กับนักลงทุน
“ครึ่งปีแรกเราน่าจะมีสเปเชี่ยล พลัส ออกมาเป็นซีรีส์ประมาณเดือนละ 2 กองรวมแล้วประมาณ 12 กองส่วนกองทริกเกอร์นั้นคงจะมีประมาณเดือนละหนึ่งกอง แต่หากดัชนีมันปรับตัวขึ้นเกินกว่าที่จะทำกำไรได้ก็จำเป็นที่จะต้องยกเลิกไป โดยจะต้องดูตามสถานการณ์แล้วหากองทุนอื่นเข้ามาทดแทน”นายธีรนาถกล่าว
ทั้งนี้ การที่บริษัทเลือกอออกองทุนตรสารหนี้ที่มีอายุประมาณ 2 ปีเพราะมองว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะอยู่ในช่วงขาลง เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งการล็อกอายุของตราสารให้ยาวขึ้นจะทำให้ได้รับผลตอบแทนที่ดี
ส่วนการที่หันมาลงทุนในหุ้นกู้เอกชนคุณภาพดี(เรตติ้งA-ขึ้นไป) เนื่องจากมองว่าที่ผ่านมาอัตรผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลมีการปรับตัวลดลงมาอย่างมากแล้ว โดยมีส่วนต่างกับพันธบัตรบาลสูงถึงกว่า 4-4.5%ในบางตัว ซึ่งจากเดิมจะมีส่วนต่างกันแค่ 1% เท่านั้น
ด้าน นายพิชา รัตนธรรม หัวหน้าธุรกิจกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล บลจ.ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า การออกกองทุนที่ลงทุนในหุ้นของประเทศแถบเอเชียยกเว้น ญี่ปุ่น เนื่องจากบริษัทมีความเชื่อมั่นในอีก 12 เดือนข้างหน้า ตลาดหุ้นของประเทศในแถบนี้จะสามารถฟื้นตัวได้ดีกว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา และทวีปยุโรป
"แม้ในปีที่ผ่านมาราคาหุ้นในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกปรับตัวลดลงมามากจนทำสถิติต่ำสุดในรอบหลายปี เนื่องจากแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งๆที่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศในแถบเอเชียยังคงดีอยู่เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ อีกทั้งในปีนี้นักวิเคราะห์หลายสำนักยังมองว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเอเชียจะสูงที่สุดในโลก และจะทำให้หุ้นในกลุ่มอีเมอร์จิ้งมาร์เก็ตในแถบเอเชียน่าจะรีบาวน์เป็นไปตามเป้าหมายคือ 15%""นายพิชากล่าว
ส่วนการออกกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในหุ้นกู้เอกชนนั้น เชื่อว่าในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยขาลงแบบนี้ นักลงทุนจำเป็นที่จะต้องมีการแบ่งเงินเข้ามาลงทุนในกองทุนประเภทนี้บ้าง โดยหากเป็นการลงทุนในระยะสั้นแบบเดิม เมื่อมีการโรลโอเวอร์แล้วอาจทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ลดลง ส่วนพันธบัตรรัฐบาลเองผลตอบแทนก็มีการปรับตัวลดลงมามากจนไม่น่าสนใจสักเท่าไรในปัจจุบัน
"หุ้นกู้ของบริษัทเอกชนในปัจจุบันในครึ่งปีแรกน่าจะให้ผลตอบแทนดี แต่ในครึ่งปีหลังต้องดูอีกว่าหากสถาการณ์เศรษฐกิจฟื้นขึ้นตามที่คาดกันไว้ ยิลด์ของมันก็จะลดต่ำลง ทำให้ช่วงห่างกับพันธบัตรรัฐบาลน้อยลงจนความน่าสนใจมันหายไป ซึ่งหากดูถึงซับพลายของหุ้นกู้เรตติ้งดีๆ ตอนนี้ยังมี และที่ผ่านมาตอนเราเปิดขายยอดมันก็ไม่ได้สูงมาก ทำให้หามาลงทุนได้ง่ายกว่า"นายพิชากล่าว
ขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศนั้นยังไม่เป็นที่น่าสนใจในช่วงนี้ เนื่องจากผลตอบแทนปรับลดลงมาอย่างมาก โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลในประเทศต่างๆ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป โดยอาจเป็นไปได้ว่าในอนาคตอาจมีความน่าสนใจได้เช่นกัน
AUMปี51ทรงตัว
นายธีรนาถ กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมกองทุนรวมต้องเจอกับการลงทุนที่ผันผวน ทั้งปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ปัญหาวิกฤตการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา และการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทำให้สินทรัพย์รวมภายใต้การบริหาร(AUM) ของบริษัทไม่ขยายตัวเท่าที่ควร
สำหรับ AUM ในปีที่ผ่านมาจะอยู่ที่ 106,985 ล้านบาท แบ่งเป็น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 68,525 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 64.1%, กองทุนส่วนบุคคล 23,848 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 22.3% และกองทุนรวม 14,612 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 13.7% โดยเฉพาะธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทสามารถรักษาตำแหน่งผู้นำตลาด โดยมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 เอาไว้ได้อย่างต่อเนื่อง
“ในปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นปีที่พอใช้ได้ ถึงแม้เอยูเอ็มจะขยายตัวไม่มากหรือคงที่ แต่เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นและปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นก็น่านพอใจอยู่”นายธีรนาถกล่าว
ประเดิมออกกองหุ้นต่างประเทศ
นายพิชา กล่าวว่า บริษัทได้เตรียมทำการเปิดขาย "กองทุนเปิด ทิสโก้ เอเชีย แปซิฟิก เอ็กซ์ เจแปน ทริกเกอร์ 15% # 3" ซึ่งเป็นกอง FIF ซีรีย์ 3 ในระหว่างวันที่ 15-23 ม.ค. 52 โดยมีเงินทุนของโครงการที่จดทะเบียนไว้คือ 1,400 ล้านบาท อายุโครงการ 1 ปี ลงทุนขั้นต่ำ 20,000 บาท
สำหรับ นโยบายการลงทุนจะเหมือน 2 กองแรกในตระกูลเดียวกัน ซึ่งเปิดขายในปีที่ผ่านมา คือเป็นกองทุนรวมต่างประเทศประเภทกองทุนหน่วยลงทุน (Feeder Fund) เน้นลงทุนในหุ้นของกลุ่มประเทศในเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่น โดยมีกองทุนหลัก คือ "กองทุน Lyxor ETF MSCI AC Asia-Pacific Ex Japan" ซึ่งเป็นกองอีทีเอฟที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง
สำหรับกองทุนดังกล่าวที่จะนำเงินไปลงทุนนั้นจะมีนโยบายลงทุนในหุ้นเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี MSCI AC Asia-Pacific Ex Japan และมีอายุโครงการ 1 ปี ซึ่งสามารถเลิกกองทุนขายทำกำไรอัตโนมัติได้ทันทีโดยไม่ต้องรอครบ 1 ปี หากกองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามเป้าหมาย 15% ของมูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วย (10.00 บาท) เป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกัน