บลจ.แอสเซท พลัส คาด เศรษฐกิจเอเชียจะเติบโตอย่างช้าจนถึง ปี 2010 สาเหตุหลักมาจากปัจจัยส่งออก แนะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศลดพึ่งพาการส่งออก ขณะเดียวกัน ชูผลการดำเนินงานกองทุนที่ลงทุนในเอเชียดีกว่าเกณฑ์
นางสาวสุทธินี สิมะกุลธร ผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)แอสเซท พลัส จำกัด เปิดเผยถึงภาพรวมทางเศรษฐกิจโลกโดยคาดการณ์ว่า ตัวเลขทางเศรษฐกิจของเดือนพฤศจิกายนออกมาในทิศทางที่ไม่ดีนัก ซึ่งกลุ่มประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจทั้ง 4 กลุ่ม (G-4) ได้แก่ สหรัฐฯ ประเทศในยูโรโซน ญี่ปุ่น และอังกฤษ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นลบในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา โดยประเทศในกลุ่มยูโรโซน และญี่ปุ่น ถือว่าอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ออกมาติดลบติดต่อกัน 2 ไตรมาส ซึ่งแต่ละประเทศได้ออกมาตรการด้านการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และอัดฉีดสภาพคล่อง ส่วนในประเทศต่างๆ ได้มีการประกาศใช้นโยบายด้านอื่นๆ เช่น การประกาศลดภาษีในประเทศอังกฤษ ซึ่งนโยบายต่างๆ นี้ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรกว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรม ดังนั้น ในระยะเวลาใกล้ๆ นี้ ตัวเลขเศรษฐกิจน่าจะยังคงชะลอตัวต่อไป
สำหรับตัวเลขทางเศรษฐกิจล่าสุดของกลุ่มประเทศในทวีปเอเชียยกเว้นประเทศญี่ปุ่นได้ปรับตัวลดลงเช่นกัน โดยระดับเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยก็ได้ลดต่ำลงในช่วงเดือนพฤศจิกายนอันเป็นผลกระทบมาจากปัญหาวิกฤตการณ์ด้านการเงิน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซีย ปรับตัวลดลดมากในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา สำหรับในประเทศฮ่องกง ยอดการส่งออกปรับตัวลดลงมากที่สุด นับตั้งแต่โรคซาร์สระบาด รวมไปถึงเศรษฐกิจของประเทศอินโดนีเซียก็มีการชะลอตัวลงเช่นกัน จากตัวเลขการส่งออกที่ลดลง เป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ได้รับผลกระทบมาจากความต้องการสินค้าที่ลดลงจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
ทั้งนี้ การลดลงของอัตราเงินเฟ้อในช่วงเดือนที่ผ่านมาในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกส่งผลให้หลายประเทศมีการใช้นโยบายทางการเงินอย่างเอาจริงเอาจังมากขึ้น โดยธนาคารกลางของประเทศจีน อินเดีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน ได้ปรับลดดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาดหมายที่ระดับ 1.08% อยู่ที่ระดับ 5.58% ซึ่งเป็นการปรับลดดอกเบี้ยมากที่สุดในรอบ 11 ปี เพราะความกังวลจากการเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงาน และความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะถดถอยขนาดหนัก ซึ่งคาดว่าธนาคารกลางในทวีปเอเชียจะยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเช่นนี้ต่อไป โดยทางด้านของประเทศจีนจะมีการขยายแผนการใช้จ่ายเงินของภาครัฐให้มากขึ้น โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินเพื่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงปี 2010 ทั้งนี้ ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปีหน้าว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวต่ำสุดตั้งแต่ปี 1990 ซึ่งปรับลดคาดการณ์จีดีพี ในปีหน้าลงมาสู่ 7.5% จาก 9.2% โดยธนาคารโลกคาดว่าเศรษฐกิจจีนในปีนี้จะชะลอตัวลงสู่ 9.4% ซึ่งเป็นการขยายตัวแบบตัวเลขหลักเดียวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2002 จากที่เคยโต 11.9% ในปี 2007
สำหรับประเทศเกาหลีใต้ ปัญหาเรื่องเครดิตในประเทศเกาหลีใต้ ส่งผลให้ธนาคารกลางเกาหลีใต้จำเป็นต้องขยายวงเงินการแลกเปลี่ยนเงินตราจากวอนเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ (Currency swap line) เพื่อเพิ่มปริมาณเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในธนาคารประเทศเกาหลีใต้ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับกองทุนต่างประเทศ
ส่วนของแนวโน้มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชีย ในปีหน้า จนถึงปี 2010 จะเติบโตอย่างช้าๆ เนื่องจากตัวเลขการส่งออกที่ชะลอตัวลงโดยเฉพาะใน 4 ประเทศหลักๆ ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย และไต้หวัน นับตั้งแต่การระบาดของโรคซาร์ส ซึ่งครั้งนี้คาดว่าตลาดน่าจะฟื้นตัวช้ากว่าเดิม แต่หากความต้องการบริโภคสินค้าของประเทศตะวันตกปรับตัวดีขึ้นจะเป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้ยอดส่งออกของเอเชียปรับตัวดีขึ้นตาม ซึ่งทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืนที่สุดสำหรับเอเชีย คือ การกระตุ้นบริโภคภายในประเทศของกลุ่มประเทศเอเชียเอง เพื่อลดการพึ่งพารายได้จากการส่งออกลง เนื่องจากปัจจุบัน ค่าเงินหยวนได้แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา จากเดิมอยู่ที่ระดับ 8 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์ ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 6 หยวน ต่อ 1 ดอลลาร์ ซึ่งค่าเงินหยวนในระดับนี้ ถือว่าอยู่ในระดับแข็งค่าพอสมควรแล้ว
ดังนั้น ทางการจีนจึงปรับนโยบายโดยจะลดการแข็งค่าของค่าเงินหยวนลง เพราะหากเงินหยวนแข็งค่ามากไปจะไม่เป็นผลดีต่อการส่งออก เนื่องจาก ต่างประเทศจะต้องซื้อสินค้าจากจีนในราคาที่สูงขึ้น ทำให้ชะลอการบริโภคลง อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินหยวนส่งผลดีต่อการนำเข้า เพราะจีนสามารถซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้ในราคาถูกลง ซึ่งทำให้จีนปรับนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ โดยนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามา และเร่งการใช้จ่ายในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่จะต้องพึ่งพาการนำเข้าเครื่องจักรเป็นหลัก และกระตุ้นให้เกิดการจ้างแรงงาน ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในประเทศ และกระตุ้นการบริโภคของประชาชนในที่สุด
ด้านความเคลื่อนไหวของกองทุนของ บลจ.แอสเซท พลัส ที่ลงทุนในหุ้นของประเทศเอเชีย คือ กองทุนเปิดแอสเซทพลัสเอเชี่ยนสเปเชียลซิททูเอชั่นส์ (ASP-ASIAN) เป็นกองทุนที่ลงทุนในกองทุน Fidelity Advisor World – Asian Special Situations Fund (กองทุนหลัก) ซึ่งบริหารและจัดการโดย Fidelity Management & Research Company (FMR) เน้นลงทุนในหุ้นประเทศแถบเอเชีย ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น โดยหุ้นที่ลงทุนจะเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่อง รวมทั้งหลักทรัพย์ที่มีแนวโน้มการฟื้นตัวของธุรกิจ หรือการปรับโครงสร้างหนี้ ที่เรียกว่า Special Situation Stocks โดยหุ้นกลุ่มนี้จะมีมูลค่าตลาดต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ หรือมีความสามารถในการทำกำไรสูง โดยที่ผ่านมากองทุนหลักมีผลการดำเนินงานดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานในช่วงเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม สินค้าอุปโภคบริโภคและเวชภัณฑ์ เช่น บริษัท Woolworth ที่ดำเนินธุรกิจเชนซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ในออสเตรเลียที่มีผลการดำเนินงานที่ดีมาก หรือการลงทุนในบริษัท BYD ของจีน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตถ่านชนิดที่น่ากลับมาใช้ใหม่ได้ (Rechargeable battery) โดยมีราคาปรับตัวสูงขึ้นหลังจากบริษัท Berkshire Hathaway เข้าซื้อหุ้นบางส่วนของบริษัท
ทั้งนี้ ราคาหุ้นของบริษัทน้ำมันทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนปรับตัวลดลง เพราะราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงถึงแม้ว่า บริษัทเหล่านี้จะมีกำไรมหาศาล อย่างไรก็ตามผู้จัดการกองทุนหลักยังคงเชื่อมั่นว่า ความต้องการน้ำมันยังคงมีอยู่สูง ในขณะที่ปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้นั้นมีจำกัด ซึ่งประเด็นนี้จะยังคงสนับสนุนราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานต่อไปในระยะยาว ส่วนหุ้นธนาคารในไต้หวันได้ปรับตัวลดลงเนื่องจากธนาคารได้เปิดเผยว่ามีการลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งค้ำประกันโดยสินเชื่อจำนองบ้านของสหรัฐฯ (US Mortgage-back securities) แต่ผู้จัดการกองทุนหลักได้พิจารณาแล้วว่าจะยังคงสัดส่วนการลงทุนในหุ้นดังกล่าวอยู่เนื่องจากเล็งเห็นถึงผลดีของการที่ไต้หวันมีสัมพันธ์ที่ดีกับจีนและมีโอกาสในการพัฒนาธุรกิจในจีนมากขึ้น และสัดส่วนที่ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีปัญหานั้นเป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดย ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2551 กองทุนลงทุนในประเทศจีน 25.7% ประเทศฮ่องกง 21.9% เกาหลีใต้ 15.7% และประเทศไต้หวัน 14.2% ซึ่งมีสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมการเงินร้อยละ 30% กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ 17% กลุ่มสื่อสารโทรคมนาคม 16.3% และพลังงาน 8.2% ทั้งนี้บริษัทที่กองทุนลงทุนสูงสุด ได้แก่ Taiwan Semiconduct Manufacturing 4.9% Samsung Electronics 4.6% China Mobile 4.1% Hang seng Bank 2.5% China Life Insurance “H” 2.4% และ SK Telecom 2.4%
นางสาวสุทธินี สิมะกุลธร ผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)แอสเซท พลัส จำกัด เปิดเผยถึงภาพรวมทางเศรษฐกิจโลกโดยคาดการณ์ว่า ตัวเลขทางเศรษฐกิจของเดือนพฤศจิกายนออกมาในทิศทางที่ไม่ดีนัก ซึ่งกลุ่มประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจทั้ง 4 กลุ่ม (G-4) ได้แก่ สหรัฐฯ ประเทศในยูโรโซน ญี่ปุ่น และอังกฤษ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นลบในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา โดยประเทศในกลุ่มยูโรโซน และญี่ปุ่น ถือว่าอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ออกมาติดลบติดต่อกัน 2 ไตรมาส ซึ่งแต่ละประเทศได้ออกมาตรการด้านการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และอัดฉีดสภาพคล่อง ส่วนในประเทศต่างๆ ได้มีการประกาศใช้นโยบายด้านอื่นๆ เช่น การประกาศลดภาษีในประเทศอังกฤษ ซึ่งนโยบายต่างๆ นี้ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรกว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรม ดังนั้น ในระยะเวลาใกล้ๆ นี้ ตัวเลขเศรษฐกิจน่าจะยังคงชะลอตัวต่อไป
สำหรับตัวเลขทางเศรษฐกิจล่าสุดของกลุ่มประเทศในทวีปเอเชียยกเว้นประเทศญี่ปุ่นได้ปรับตัวลดลงเช่นกัน โดยระดับเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยก็ได้ลดต่ำลงในช่วงเดือนพฤศจิกายนอันเป็นผลกระทบมาจากปัญหาวิกฤตการณ์ด้านการเงิน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซีย ปรับตัวลดลดมากในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา สำหรับในประเทศฮ่องกง ยอดการส่งออกปรับตัวลดลงมากที่สุด นับตั้งแต่โรคซาร์สระบาด รวมไปถึงเศรษฐกิจของประเทศอินโดนีเซียก็มีการชะลอตัวลงเช่นกัน จากตัวเลขการส่งออกที่ลดลง เป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ได้รับผลกระทบมาจากความต้องการสินค้าที่ลดลงจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
ทั้งนี้ การลดลงของอัตราเงินเฟ้อในช่วงเดือนที่ผ่านมาในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกส่งผลให้หลายประเทศมีการใช้นโยบายทางการเงินอย่างเอาจริงเอาจังมากขึ้น โดยธนาคารกลางของประเทศจีน อินเดีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน ได้ปรับลดดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาดหมายที่ระดับ 1.08% อยู่ที่ระดับ 5.58% ซึ่งเป็นการปรับลดดอกเบี้ยมากที่สุดในรอบ 11 ปี เพราะความกังวลจากการเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงาน และความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะถดถอยขนาดหนัก ซึ่งคาดว่าธนาคารกลางในทวีปเอเชียจะยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเช่นนี้ต่อไป โดยทางด้านของประเทศจีนจะมีการขยายแผนการใช้จ่ายเงินของภาครัฐให้มากขึ้น โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินเพื่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงปี 2010 ทั้งนี้ ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปีหน้าว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวต่ำสุดตั้งแต่ปี 1990 ซึ่งปรับลดคาดการณ์จีดีพี ในปีหน้าลงมาสู่ 7.5% จาก 9.2% โดยธนาคารโลกคาดว่าเศรษฐกิจจีนในปีนี้จะชะลอตัวลงสู่ 9.4% ซึ่งเป็นการขยายตัวแบบตัวเลขหลักเดียวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2002 จากที่เคยโต 11.9% ในปี 2007
สำหรับประเทศเกาหลีใต้ ปัญหาเรื่องเครดิตในประเทศเกาหลีใต้ ส่งผลให้ธนาคารกลางเกาหลีใต้จำเป็นต้องขยายวงเงินการแลกเปลี่ยนเงินตราจากวอนเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ (Currency swap line) เพื่อเพิ่มปริมาณเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในธนาคารประเทศเกาหลีใต้ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับกองทุนต่างประเทศ
ส่วนของแนวโน้มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชีย ในปีหน้า จนถึงปี 2010 จะเติบโตอย่างช้าๆ เนื่องจากตัวเลขการส่งออกที่ชะลอตัวลงโดยเฉพาะใน 4 ประเทศหลักๆ ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย และไต้หวัน นับตั้งแต่การระบาดของโรคซาร์ส ซึ่งครั้งนี้คาดว่าตลาดน่าจะฟื้นตัวช้ากว่าเดิม แต่หากความต้องการบริโภคสินค้าของประเทศตะวันตกปรับตัวดีขึ้นจะเป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้ยอดส่งออกของเอเชียปรับตัวดีขึ้นตาม ซึ่งทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืนที่สุดสำหรับเอเชีย คือ การกระตุ้นบริโภคภายในประเทศของกลุ่มประเทศเอเชียเอง เพื่อลดการพึ่งพารายได้จากการส่งออกลง เนื่องจากปัจจุบัน ค่าเงินหยวนได้แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา จากเดิมอยู่ที่ระดับ 8 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์ ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 6 หยวน ต่อ 1 ดอลลาร์ ซึ่งค่าเงินหยวนในระดับนี้ ถือว่าอยู่ในระดับแข็งค่าพอสมควรแล้ว
ดังนั้น ทางการจีนจึงปรับนโยบายโดยจะลดการแข็งค่าของค่าเงินหยวนลง เพราะหากเงินหยวนแข็งค่ามากไปจะไม่เป็นผลดีต่อการส่งออก เนื่องจาก ต่างประเทศจะต้องซื้อสินค้าจากจีนในราคาที่สูงขึ้น ทำให้ชะลอการบริโภคลง อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินหยวนส่งผลดีต่อการนำเข้า เพราะจีนสามารถซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้ในราคาถูกลง ซึ่งทำให้จีนปรับนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ โดยนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามา และเร่งการใช้จ่ายในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่จะต้องพึ่งพาการนำเข้าเครื่องจักรเป็นหลัก และกระตุ้นให้เกิดการจ้างแรงงาน ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในประเทศ และกระตุ้นการบริโภคของประชาชนในที่สุด
ด้านความเคลื่อนไหวของกองทุนของ บลจ.แอสเซท พลัส ที่ลงทุนในหุ้นของประเทศเอเชีย คือ กองทุนเปิดแอสเซทพลัสเอเชี่ยนสเปเชียลซิททูเอชั่นส์ (ASP-ASIAN) เป็นกองทุนที่ลงทุนในกองทุน Fidelity Advisor World – Asian Special Situations Fund (กองทุนหลัก) ซึ่งบริหารและจัดการโดย Fidelity Management & Research Company (FMR) เน้นลงทุนในหุ้นประเทศแถบเอเชีย ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น โดยหุ้นที่ลงทุนจะเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่อง รวมทั้งหลักทรัพย์ที่มีแนวโน้มการฟื้นตัวของธุรกิจ หรือการปรับโครงสร้างหนี้ ที่เรียกว่า Special Situation Stocks โดยหุ้นกลุ่มนี้จะมีมูลค่าตลาดต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ หรือมีความสามารถในการทำกำไรสูง โดยที่ผ่านมากองทุนหลักมีผลการดำเนินงานดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานในช่วงเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม สินค้าอุปโภคบริโภคและเวชภัณฑ์ เช่น บริษัท Woolworth ที่ดำเนินธุรกิจเชนซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ในออสเตรเลียที่มีผลการดำเนินงานที่ดีมาก หรือการลงทุนในบริษัท BYD ของจีน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตถ่านชนิดที่น่ากลับมาใช้ใหม่ได้ (Rechargeable battery) โดยมีราคาปรับตัวสูงขึ้นหลังจากบริษัท Berkshire Hathaway เข้าซื้อหุ้นบางส่วนของบริษัท
ทั้งนี้ ราคาหุ้นของบริษัทน้ำมันทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนปรับตัวลดลง เพราะราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงถึงแม้ว่า บริษัทเหล่านี้จะมีกำไรมหาศาล อย่างไรก็ตามผู้จัดการกองทุนหลักยังคงเชื่อมั่นว่า ความต้องการน้ำมันยังคงมีอยู่สูง ในขณะที่ปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้นั้นมีจำกัด ซึ่งประเด็นนี้จะยังคงสนับสนุนราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานต่อไปในระยะยาว ส่วนหุ้นธนาคารในไต้หวันได้ปรับตัวลดลงเนื่องจากธนาคารได้เปิดเผยว่ามีการลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งค้ำประกันโดยสินเชื่อจำนองบ้านของสหรัฐฯ (US Mortgage-back securities) แต่ผู้จัดการกองทุนหลักได้พิจารณาแล้วว่าจะยังคงสัดส่วนการลงทุนในหุ้นดังกล่าวอยู่เนื่องจากเล็งเห็นถึงผลดีของการที่ไต้หวันมีสัมพันธ์ที่ดีกับจีนและมีโอกาสในการพัฒนาธุรกิจในจีนมากขึ้น และสัดส่วนที่ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีปัญหานั้นเป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดย ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2551 กองทุนลงทุนในประเทศจีน 25.7% ประเทศฮ่องกง 21.9% เกาหลีใต้ 15.7% และประเทศไต้หวัน 14.2% ซึ่งมีสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมการเงินร้อยละ 30% กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ 17% กลุ่มสื่อสารโทรคมนาคม 16.3% และพลังงาน 8.2% ทั้งนี้บริษัทที่กองทุนลงทุนสูงสุด ได้แก่ Taiwan Semiconduct Manufacturing 4.9% Samsung Electronics 4.6% China Mobile 4.1% Hang seng Bank 2.5% China Life Insurance “H” 2.4% และ SK Telecom 2.4%