บลจ.ยูโอบี ขานรับ ก.ล.ต ยกเลิกขายหน่วยแอลทีเอฟปีละ 2 ครั้ง เล็งปรับเพิ่มความถี่เปิดทางผู้ถือหน่วยขายออก พร้อมเดินหน้ากระตุ้นยอดขายกองทุนเปิดยูโอบี ชัวร์ เดลี แย้มเตรียมต่อสัญญาพรีเซ็นเตอร์คนแรก “พอล” ภัทรพล ศิลปาจารย์ ไปอีก 1 ปี
นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า การที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้อนุญาตให้กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) สามารถกำหนดช่วงเวลาขายหน่วยลงทุนได้มากกว่า 2 ครั้งต่อปีนั้น ขณะนี้เรากำลังอยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะใช้ระยะเวลาเท่าใดในการเปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาทำการซื้อขาย หรือสับเปลี่ยนโยกย้ายหน่วยลงทุนได้ แต่ยืนยันจะปรับเพิ่มความถี่ให้มากขึ้นจากเดิมปีละ 2 ครั้งอย่างแน่นอน
ส่วนการนำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิงหุ้นรายตัว (Stock Futures) มาช่วยในการบริหารพอร์ตลงทุนนั้น บริษัทยังไม่มีความสนใจในการนำเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ในการบริหารพอร์ตลงทุนในช่วงนี้ แต่คาดว่าอาจจะมีแนวโน้มนำเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม การที่ Commodity Futures Trading Commission (CFTC) ซึ่งเป็นองค์กรกำกับดูแลการซื้อขายอนุพันธ์ของสหรัฐอเมริกาได้ให้ความเห็นชอบ SET50 Index Futures ในการเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ผู้ลงทุนในสหรัฐอเมริกาสามารถที่จะซื้อขายได้ในสหรัฐอเมริกานั้น ไม่แน่ใจว่าในระยะแรกจะมีนักลงทุนสหรัฐฯให้ความสนใจลงทุนมากน้อยแค่ไหน แต่คาดว่าจะเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นในอนาคต และอย่างน้อยจะเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุนสหรัฐเองด้วย
ปัจจุบัน สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับดัชนีหลักทรัพย์ ( Index Futures contract) ที่สำคัญในตลาดอนุพันธ์ในแถบภูมิภาคเอเชียที่ได้รับ no-action letter แล้ว ได้แก่ ไต้หวัน (Taiwan Stock Exchange Capitalization Weighted Stock Index (TAIEX) Futures Contract) ฮ่องกง (Hang SengIndex Futures Contract) สิงคโปร์ (MSCI Singapore Free Index Futures Contract ) และ เกาหลี (KOSPI 200 Index Futures Contract) โดยเกาหลีนั้นได้รับ no-action letter พร้อมกับ TFEX
นายวนา กล่าวว่า แผนการลงทุนในช่วงที่เหลือของปีนี้บริษัทจะเน้นขายกองทุนเปิดยูโอบี ชัวร์ เดลี (UOBSD) เนื่องจากเน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความปลอดภัยสูง ขณะเดียวกัน บริษัทมีแนวโน้มในการต่อสัญญาพรีเซ็นเตอร์คนแรกของกองทุนซึ่งได้แก่ “พอล ภัทรพล ศิลปาจารย์" ออกไปประมาณ 1 ปี หลังจากประสบความสำเร็จในการช่วยโฆษณาและประชาสัมพันธ์กองทุนเป็นอย่างมาก ส่วนกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายกองทุนที่จะทำเพิ่มเติมจะต้องดูภาวะเศรษฐกิจ และสภาพตลาดในอนาคตด้วย
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ร่วมมือกับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด (มหาชน) ในการแต่งตั้งเป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุนให้กับบริษัทเพื่อที่จะใช้กองทุนเปิดยูโอบี ชัวร์ เดลี (UOBSD) มาเป็นที่พักเงินสำหรับลูกค้าที่ซื้อขายหุ้น ละยังอยู่ระหว่างเจรจากับบริษัทหลักทรัพย์เพิ่มเติมอีก 2 – 3 แห่ง โดยยังอยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมของระบบจากทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อให้สามารถรองรับนักลงทุนได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด
สำหรับกองทุนเปิดยูโอบี ชัวร์ เดลี จะเน้นลงทุนในลงทุนในตราสารแห่งหนี้ภาครัฐ ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล ตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน และเงินฝากธนาคาร ทั้งนี้ จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือตราสารที่เสนอขายในต่างประเทศ ตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร (Structured Notes) และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivative)
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของกองทุน ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 สามารถให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.91% ขณะที่ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.53% และผลตอบแทนจากดัชนีกองทุนตราสารหนี้ย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 6.98% ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 3.15% ขณะที่ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 2.76% และผลตอบแทนจากดัชนีกองทุนตราสารหนี้ย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 12.30% ผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 3.06% ขณะที่ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 2.76% และผลตอบแทนจากดัชนีกองทุนตราสารหนี้ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 11.67% ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 2.90% ขณะที่ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 2.56% และผลตอบแทนจากดัชนีกองทุนตราสารหนี้ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 6.98%
นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า การที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้อนุญาตให้กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) สามารถกำหนดช่วงเวลาขายหน่วยลงทุนได้มากกว่า 2 ครั้งต่อปีนั้น ขณะนี้เรากำลังอยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะใช้ระยะเวลาเท่าใดในการเปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาทำการซื้อขาย หรือสับเปลี่ยนโยกย้ายหน่วยลงทุนได้ แต่ยืนยันจะปรับเพิ่มความถี่ให้มากขึ้นจากเดิมปีละ 2 ครั้งอย่างแน่นอน
ส่วนการนำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิงหุ้นรายตัว (Stock Futures) มาช่วยในการบริหารพอร์ตลงทุนนั้น บริษัทยังไม่มีความสนใจในการนำเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ในการบริหารพอร์ตลงทุนในช่วงนี้ แต่คาดว่าอาจจะมีแนวโน้มนำเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม การที่ Commodity Futures Trading Commission (CFTC) ซึ่งเป็นองค์กรกำกับดูแลการซื้อขายอนุพันธ์ของสหรัฐอเมริกาได้ให้ความเห็นชอบ SET50 Index Futures ในการเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ผู้ลงทุนในสหรัฐอเมริกาสามารถที่จะซื้อขายได้ในสหรัฐอเมริกานั้น ไม่แน่ใจว่าในระยะแรกจะมีนักลงทุนสหรัฐฯให้ความสนใจลงทุนมากน้อยแค่ไหน แต่คาดว่าจะเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นในอนาคต และอย่างน้อยจะเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุนสหรัฐเองด้วย
ปัจจุบัน สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับดัชนีหลักทรัพย์ ( Index Futures contract) ที่สำคัญในตลาดอนุพันธ์ในแถบภูมิภาคเอเชียที่ได้รับ no-action letter แล้ว ได้แก่ ไต้หวัน (Taiwan Stock Exchange Capitalization Weighted Stock Index (TAIEX) Futures Contract) ฮ่องกง (Hang SengIndex Futures Contract) สิงคโปร์ (MSCI Singapore Free Index Futures Contract ) และ เกาหลี (KOSPI 200 Index Futures Contract) โดยเกาหลีนั้นได้รับ no-action letter พร้อมกับ TFEX
นายวนา กล่าวว่า แผนการลงทุนในช่วงที่เหลือของปีนี้บริษัทจะเน้นขายกองทุนเปิดยูโอบี ชัวร์ เดลี (UOBSD) เนื่องจากเน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความปลอดภัยสูง ขณะเดียวกัน บริษัทมีแนวโน้มในการต่อสัญญาพรีเซ็นเตอร์คนแรกของกองทุนซึ่งได้แก่ “พอล ภัทรพล ศิลปาจารย์" ออกไปประมาณ 1 ปี หลังจากประสบความสำเร็จในการช่วยโฆษณาและประชาสัมพันธ์กองทุนเป็นอย่างมาก ส่วนกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายกองทุนที่จะทำเพิ่มเติมจะต้องดูภาวะเศรษฐกิจ และสภาพตลาดในอนาคตด้วย
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ร่วมมือกับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด (มหาชน) ในการแต่งตั้งเป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุนให้กับบริษัทเพื่อที่จะใช้กองทุนเปิดยูโอบี ชัวร์ เดลี (UOBSD) มาเป็นที่พักเงินสำหรับลูกค้าที่ซื้อขายหุ้น ละยังอยู่ระหว่างเจรจากับบริษัทหลักทรัพย์เพิ่มเติมอีก 2 – 3 แห่ง โดยยังอยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมของระบบจากทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อให้สามารถรองรับนักลงทุนได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด
สำหรับกองทุนเปิดยูโอบี ชัวร์ เดลี จะเน้นลงทุนในลงทุนในตราสารแห่งหนี้ภาครัฐ ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล ตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน และเงินฝากธนาคาร ทั้งนี้ จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือตราสารที่เสนอขายในต่างประเทศ ตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร (Structured Notes) และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivative)
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของกองทุน ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 สามารถให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.91% ขณะที่ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.53% และผลตอบแทนจากดัชนีกองทุนตราสารหนี้ย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 6.98% ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 3.15% ขณะที่ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 2.76% และผลตอบแทนจากดัชนีกองทุนตราสารหนี้ย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 12.30% ผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 3.06% ขณะที่ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 2.76% และผลตอบแทนจากดัชนีกองทุนตราสารหนี้ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 11.67% ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 2.90% ขณะที่ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 2.56% และผลตอบแทนจากดัชนีกองทุนตราสารหนี้ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 6.98%