ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศที่กำลังระอุอยู่ในขณะนี้ ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนในประเทศไทยตึงเครียดตามไปด้วย เนื่องจากนักลงทุนต่างเกิดความกังวลและขาดความมั่นใจในการลงทุน ซึ่งตรงจุดนี้ นักลงทุนหลายคนอาจจะมองว่า การลงทุนในกองทุนระยะสั้นตอนนี้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง และยิ่งเป็นช่วงใกล้สิ้นปีด้วยแล้ว นักลงทุนส่วนใหญ่ย่อมมองหาการลงทุนระยะยาวที่สามารถให้ความมั่นคงกับตนเอง และได้รับผลประโยชน์จากการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกด้วย
ทั้งนี้ กองทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ก็เป็นกองทุนที่น่าสนใจ เพราะมีการลงทุนทั้งในหุ้นและตราสารหนี้ ซึ่งการลงทุนในตราสารหนี้ น่าจะมีความเสี่ยงที่เหมาะสมในช่วงเวลานี้
ดังนั้น คอลัมน์ "Best of Fund" ฉบับนี้ จึงขอนำเสนอผลการดำเนินงานของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ ว่ามีกองทุนใด ของค่ายไหน ที่มีผลตอบแทนย้อนหลังโดดเด่นและน่าจับตามอง ให้นักลงทุนทุกท่านได้ศึกษาข้อมูล เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจที่จะลงทุนต่อไป
สำหรับกองทุน RMF ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่1 กองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 6.95% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 4.42% อันดับที่2 กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ภาครัฐเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของบลจ. กรุงไทย โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 6.14% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 3.61%
อันดับที่3 กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ. กรุงไทย โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 5.85% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 3.32% อันดับที่4 กองทุนเปิดธนชาติพันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ. ธนชาต โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 5.27% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.74%
อันดับที่5 กองทุนเปิดตราสารหนี้คุณค่าเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ. วรรณ โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.58% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.05% อันดับที่6 กองทุนไอเอ็นจีไทยพันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ. ไอเอ็นจี โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.56% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.03%
อันดับที่7 กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ. บัวหลวง โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.53% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.00% อันดับที่8 กองทุนเปิดยูโอบีพันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ. ยูโอบี โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.30% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.77%
อันดับที่9 กองทุนเปิดอยุธยาพันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ. อยุธยา โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 3.52% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 0.99% และอันดับที่10 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ. ไทยพาญิชย์ โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 3.43% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 0.90%
ทั้งนี้ เกณฑ์มาตรฐานที่ใช้คือTHB 1 Yr Avg 3 Banks Fixed Deposit equal 1 Million ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.53%
เปิดพอร์ตกองทุนอันดับ 1
นายวิศิษฐ์ ชื่นรัตนกุล ผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ) ธนชาต จำกัด กล่าวว่า สำหรับกองทุนเปิดธนชาติตราสารหนีเเพื่อการเลี้ยงชีพ (NFRMF) บริษัทได้มีกลยุทธ์การลงทุนโดยแบ่งการพิจารณาเป็น 2 ส่วนคือ ในส่วนของเครดิต ที่เน้นการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ภาคเอกชนที่มีคุณภาพดี และในส่วนของดอกเบี้ยที่จะได้รับและอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่บริษัทเลือกเข้าไปลงทุน ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา บริษัทมีการปรับพอร์ตการลงทุนตามแน้วโน้มสภาพเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุน
"เราได้พิจารณาถึงแนวโน้มดอกเบี้ยในช่วงเวลานั้น พร้อมทั้งมองภาพรวมเศรษฐกิจโลก เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศไทยมีแนวโน้มและทิศทางตามสภาพเศรษฐกิจโลก จึงทำให้กองทุนของเราสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้"
สำหรับ กองทุนเปิดธนชาติตราสารหนีเเพื่อการเลี้ยงชีพ (NFRMF)เป็นกองทุนเปิด จดทะเบียนกองทุนเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2545 มีมูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท โดยกองทุนได้มีนโยบายเน้นลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้และตราสารการเงินต่างๆของภาครัฐและเอกชน
ทั้งนี้ กองทุนมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง3 เดือนอยู่ที่ 11.28% ขณะที่ดัชนีมาตรฐานอยู่ที่ 15.52% ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 6.96%ขณะที่ดัชนีมาตรฐานอยู่ที่9.78%ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 7.43%ขณะที่ดัชนีมาตรฐานอยู่ที่7.36%ผลการดำเนินงานย้อนหลังนับตั้งแต่วันเริ่มโครงการหรือวันเปลี่ยนแปลงนโยบายอยู่ที่ 3.82%ขณะที่ดัชนีมาตรฐานอยู่ที่3.14%
โดย กองทุนได้มีสัดส่วนการลงทุน ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2551 แบ่งเป็น หุ้นกู้ภาคเอกชน 39.82% พันธบัตรรัฐบาล ที่ค้ำประกันโดยกระทรวงการคลัง 19.03% พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 13.16%และหุ้นกู้สถาบันการเงิน 11.17% รวม 83.18%
ทั้งนี้ กองทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ก็เป็นกองทุนที่น่าสนใจ เพราะมีการลงทุนทั้งในหุ้นและตราสารหนี้ ซึ่งการลงทุนในตราสารหนี้ น่าจะมีความเสี่ยงที่เหมาะสมในช่วงเวลานี้
ดังนั้น คอลัมน์ "Best of Fund" ฉบับนี้ จึงขอนำเสนอผลการดำเนินงานของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ ว่ามีกองทุนใด ของค่ายไหน ที่มีผลตอบแทนย้อนหลังโดดเด่นและน่าจับตามอง ให้นักลงทุนทุกท่านได้ศึกษาข้อมูล เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจที่จะลงทุนต่อไป
สำหรับกองทุน RMF ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่1 กองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 6.95% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 4.42% อันดับที่2 กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ภาครัฐเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของบลจ. กรุงไทย โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 6.14% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 3.61%
อันดับที่3 กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ. กรุงไทย โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 5.85% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 3.32% อันดับที่4 กองทุนเปิดธนชาติพันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ. ธนชาต โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 5.27% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.74%
อันดับที่5 กองทุนเปิดตราสารหนี้คุณค่าเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ. วรรณ โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.58% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.05% อันดับที่6 กองทุนไอเอ็นจีไทยพันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ. ไอเอ็นจี โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.56% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.03%
อันดับที่7 กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ. บัวหลวง โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.53% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.00% อันดับที่8 กองทุนเปิดยูโอบีพันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ. ยูโอบี โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.30% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.77%
อันดับที่9 กองทุนเปิดอยุธยาพันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ. อยุธยา โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 3.52% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 0.99% และอันดับที่10 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ. ไทยพาญิชย์ โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 3.43% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 0.90%
ทั้งนี้ เกณฑ์มาตรฐานที่ใช้คือTHB 1 Yr Avg 3 Banks Fixed Deposit equal 1 Million ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.53%
เปิดพอร์ตกองทุนอันดับ 1
นายวิศิษฐ์ ชื่นรัตนกุล ผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ) ธนชาต จำกัด กล่าวว่า สำหรับกองทุนเปิดธนชาติตราสารหนีเเพื่อการเลี้ยงชีพ (NFRMF) บริษัทได้มีกลยุทธ์การลงทุนโดยแบ่งการพิจารณาเป็น 2 ส่วนคือ ในส่วนของเครดิต ที่เน้นการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ภาคเอกชนที่มีคุณภาพดี และในส่วนของดอกเบี้ยที่จะได้รับและอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่บริษัทเลือกเข้าไปลงทุน ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา บริษัทมีการปรับพอร์ตการลงทุนตามแน้วโน้มสภาพเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุน
"เราได้พิจารณาถึงแนวโน้มดอกเบี้ยในช่วงเวลานั้น พร้อมทั้งมองภาพรวมเศรษฐกิจโลก เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศไทยมีแนวโน้มและทิศทางตามสภาพเศรษฐกิจโลก จึงทำให้กองทุนของเราสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้"
สำหรับ กองทุนเปิดธนชาติตราสารหนีเเพื่อการเลี้ยงชีพ (NFRMF)เป็นกองทุนเปิด จดทะเบียนกองทุนเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2545 มีมูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท โดยกองทุนได้มีนโยบายเน้นลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้และตราสารการเงินต่างๆของภาครัฐและเอกชน
ทั้งนี้ กองทุนมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 โดยมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง3 เดือนอยู่ที่ 11.28% ขณะที่ดัชนีมาตรฐานอยู่ที่ 15.52% ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 6.96%ขณะที่ดัชนีมาตรฐานอยู่ที่9.78%ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 7.43%ขณะที่ดัชนีมาตรฐานอยู่ที่7.36%ผลการดำเนินงานย้อนหลังนับตั้งแต่วันเริ่มโครงการหรือวันเปลี่ยนแปลงนโยบายอยู่ที่ 3.82%ขณะที่ดัชนีมาตรฐานอยู่ที่3.14%
โดย กองทุนได้มีสัดส่วนการลงทุน ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2551 แบ่งเป็น หุ้นกู้ภาคเอกชน 39.82% พันธบัตรรัฐบาล ที่ค้ำประกันโดยกระทรวงการคลัง 19.03% พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 13.16%และหุ้นกู้สถาบันการเงิน 11.17% รวม 83.18%