ผู้จัดการรายวัน - บลจ.เอ็มเอฟซี แจงผลประกอบการไตรมาส 3 ฟันกำไรสุทธิรวม 9.621 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 30.439 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนที่ลดลงถึง 68.39% เหตุวิกฤตการเงินโลกและการเมืองในประเทศ ฉุดรายได้ค่าธรรมเนียมหดหาย ด้าน "พิชิต" ยังมั่นใจทั้งปี รายได้เข้าเป้า 15-20% จากธุรกิจด้านที่ปรึกษาและกองทุนใหม่
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า ผลการดำเนินในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ในส่วนของงบการเงินรวม บริษัทมีกำไรสุทธิรวม 9.621 ล้านบาท ลดลงจากกำไรในงวดเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีกำไรสุทธิ 30.439 ล้านบาท โดยคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท ในขณะที่งวด 9 เดือน บริษัทมีกำไรสุทธิ 65.754 ล้านบาท ส่วนกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 0.55 บาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปีที่แล้วเช่นกัน โดยงวด 9 เดือนของปี 2550 มีกำไรสุทธิ 76.102 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 0.63 บาท
ส่วนงบการเงินเฉพาะกิจในช่วงไตรมาสที่ 3 บริษัทมีกำไรสุทธิ 9.962 ล้านบาท โดยคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2550 ที่มีกำไรสุทธิ 23.720 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 0.20 บาท ในขณะที่ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน บริษัทมีกำไรสุทธิ 68.371 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.57 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 52.214 ล้านบาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.44 บาท
นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับสาเหตุที่ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 งบการเงินรวมของบริษัทฯ ซึ่งได้รวมผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม มีผลกำไรสุทธิ จำนวน 9.62 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 20.82 ล้านบาท หรือ 68.39% นั้น เนื่องจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ (ค่าฟี) ลดลงจากปีก่อน จำนวน 14.98 ล้านบาท ซึ่งได้รับผลกระทบจากการที่ราคาหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศลดลง อันสืบเนื่องมาจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ ปัญหาระบบสถาบันการเงินในต่างประเทศและความกังวลเกี่ยวกับสภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม งบการเงินรวมงวด 9 เดือน มีกำไรสุทธิ 65.75 ล้านบาท ต่ำกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 13.60% โดยงบการเงินรวมงวด 6 เดือนแรก มีกำไรสุทธิ 56.13 ล้านบาท สูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 22.91%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วนี้ นายพิชิตได้เปิดเผยว่า บริษัทยังคงเป้าหมายเพิ่มรายได้ของปีนี้ไว้ที่ 15-20% ที่เคยตั้งเป้าไว้ก่อนหน้านี้ ถึงแม้สินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการของบลจ.(AUM) จะลดลงตามภาวะตลาดก็ตาม โดยในส่วนของรายได้นั้น คาดว่าจะมาจากธุรกิจเสริม ทั้งจากการเป็นบริษัทให้คำปรึกษาทางด้านการลงทุน ประกอบกับบลจ.ได้จัดตั้งบริษัทลูก พร้อมกับบริษัทร่วมทุน ขณะเดียวกันในปลายปีนี้จะมีกองทุนอสังหาริมทรัพย์และกองทุนตราสารหนี้เพิ่มอีก 2-3 กองทุน ดังนั้น จึงเชื่อว่ารายได้จะเป็นไปตามที่ตั้งไว้
สำหรับแผนงานในช่วงไตรมาสที่ 4 นี้หรือก่อนปลายปี 2551 บลจ.จะเปิดขายกองทุนอสังหาริมทรัพย์ อีก 2 กองทุน คือ โครงการบ้านเดียวให้เช่า ของนิชดา ธานี ซึ่งมีขนาดกองทุนประมาณ 1 พันล้านบาท และอาคารสำนักงานให้เช่าในกรุงเทพ มีขนาดกองทุน 1 พันล้านบาทเช่นกัน นอกจากนี้ทางบลจ.จะเสนอขายกองทุนที่ตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำเพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนในช่วงนี้ สำหรับกองทุนต่างประเทศ (FIF) คงต้องชะลอไปก่อน เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงหวาดระแวงกับวิกฤติสถาบันการเงินของสหัฐอเมริกา และยุโรป รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอีกด้วย
ทั้งนี้ บลจ. เอ็มเอฟซี กำลังอยู่ระหว่างการเปิดขายกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี พันธบัตรตลาดเงินหรือ MM-GOV ซึ่งกองทุนดังกล่าว เป็นกองทุนรวมตลาดเงินที่มีความมั่นคงสูง เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ไม่ชอบการลงทุนที่มีความเสี่ยง ต้องการความมั่นคงในการลงทุน และคาดหวังผลตอบแทนที่มากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ โดยกองทุนเปิด MM-GOV มีมูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีและแน่นอนจากการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐอายุไม่เกิน 1 ปี โดยกองทุนจะลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรที่องค์กรภาครัฐเป็นผู้ออกหรือค้ำประกัน พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ที่เหลือลงทุนในเงินฝากธนาคารพาณิชย์ โดยกองทุนจะเปิดขายครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายนนี้
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า ผลการดำเนินในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ในส่วนของงบการเงินรวม บริษัทมีกำไรสุทธิรวม 9.621 ล้านบาท ลดลงจากกำไรในงวดเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีกำไรสุทธิ 30.439 ล้านบาท โดยคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท ในขณะที่งวด 9 เดือน บริษัทมีกำไรสุทธิ 65.754 ล้านบาท ส่วนกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 0.55 บาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปีที่แล้วเช่นกัน โดยงวด 9 เดือนของปี 2550 มีกำไรสุทธิ 76.102 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 0.63 บาท
ส่วนงบการเงินเฉพาะกิจในช่วงไตรมาสที่ 3 บริษัทมีกำไรสุทธิ 9.962 ล้านบาท โดยคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2550 ที่มีกำไรสุทธิ 23.720 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 0.20 บาท ในขณะที่ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน บริษัทมีกำไรสุทธิ 68.371 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.57 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 52.214 ล้านบาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.44 บาท
นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับสาเหตุที่ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 งบการเงินรวมของบริษัทฯ ซึ่งได้รวมผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม มีผลกำไรสุทธิ จำนวน 9.62 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 20.82 ล้านบาท หรือ 68.39% นั้น เนื่องจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ (ค่าฟี) ลดลงจากปีก่อน จำนวน 14.98 ล้านบาท ซึ่งได้รับผลกระทบจากการที่ราคาหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศลดลง อันสืบเนื่องมาจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ ปัญหาระบบสถาบันการเงินในต่างประเทศและความกังวลเกี่ยวกับสภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม งบการเงินรวมงวด 9 เดือน มีกำไรสุทธิ 65.75 ล้านบาท ต่ำกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 13.60% โดยงบการเงินรวมงวด 6 เดือนแรก มีกำไรสุทธิ 56.13 ล้านบาท สูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 22.91%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วนี้ นายพิชิตได้เปิดเผยว่า บริษัทยังคงเป้าหมายเพิ่มรายได้ของปีนี้ไว้ที่ 15-20% ที่เคยตั้งเป้าไว้ก่อนหน้านี้ ถึงแม้สินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการของบลจ.(AUM) จะลดลงตามภาวะตลาดก็ตาม โดยในส่วนของรายได้นั้น คาดว่าจะมาจากธุรกิจเสริม ทั้งจากการเป็นบริษัทให้คำปรึกษาทางด้านการลงทุน ประกอบกับบลจ.ได้จัดตั้งบริษัทลูก พร้อมกับบริษัทร่วมทุน ขณะเดียวกันในปลายปีนี้จะมีกองทุนอสังหาริมทรัพย์และกองทุนตราสารหนี้เพิ่มอีก 2-3 กองทุน ดังนั้น จึงเชื่อว่ารายได้จะเป็นไปตามที่ตั้งไว้
สำหรับแผนงานในช่วงไตรมาสที่ 4 นี้หรือก่อนปลายปี 2551 บลจ.จะเปิดขายกองทุนอสังหาริมทรัพย์ อีก 2 กองทุน คือ โครงการบ้านเดียวให้เช่า ของนิชดา ธานี ซึ่งมีขนาดกองทุนประมาณ 1 พันล้านบาท และอาคารสำนักงานให้เช่าในกรุงเทพ มีขนาดกองทุน 1 พันล้านบาทเช่นกัน นอกจากนี้ทางบลจ.จะเสนอขายกองทุนที่ตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำเพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนในช่วงนี้ สำหรับกองทุนต่างประเทศ (FIF) คงต้องชะลอไปก่อน เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงหวาดระแวงกับวิกฤติสถาบันการเงินของสหัฐอเมริกา และยุโรป รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอีกด้วย
ทั้งนี้ บลจ. เอ็มเอฟซี กำลังอยู่ระหว่างการเปิดขายกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี พันธบัตรตลาดเงินหรือ MM-GOV ซึ่งกองทุนดังกล่าว เป็นกองทุนรวมตลาดเงินที่มีความมั่นคงสูง เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ไม่ชอบการลงทุนที่มีความเสี่ยง ต้องการความมั่นคงในการลงทุน และคาดหวังผลตอบแทนที่มากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ โดยกองทุนเปิด MM-GOV มีมูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีและแน่นอนจากการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐอายุไม่เกิน 1 ปี โดยกองทุนจะลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรที่องค์กรภาครัฐเป็นผู้ออกหรือค้ำประกัน พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ที่เหลือลงทุนในเงินฝากธนาคารพาณิชย์ โดยกองทุนจะเปิดขายครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายนนี้