ไม่มีถ้อยคำใดๆ ในภาษามนุษย์ หรือภาษาไทยที่เราเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นคำว่า เลว ต่ำทราม หรือชั่วช้า แม้กระทั้งคำที่หยาบคายที่สุดเองก็ยังไม่สามารถนำมาประณามให้สาสมกับการกระทำของกลุ่มบุคคล หรือโจรที่อยู่เบื้องหลังการก่อเหตุปาระเบิดทำร้ายประชาชนที่ทำเนียบรัฐบาลในเช้าของวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เวลา 03.25 น. จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 1ราย และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
ทั้งเจ็บแค้นและเสียใจกับผู้เสียชีวิตรวมทั้งผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่มาชุมนุมด้วยเจตนาบริสุทธ์ต้องการที่จะเห็นการเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แต่กลับถูกสัตว์(ที่มาจาก)นรก หรืออาจจะต่ำช้ากว่านั้นทำร้ายอย่างไร้ความปราณี!!!
ที่สำคัญเหตุรุนแรงที่ทำร้ายประชาชนในเหตุการณ์ต่างๆในระหว่างการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยครั้งแล้วครั้งเล่า ตั้งแต่การใช้ในการสลายการชุมนุมของตำรวจที่สะพานมัฆวานฯ และการใช้แก็สน้ำตาที่มีสะเก็ดระเบิดยิงเข้าใส่ประชาชนในวันที่ 7 ตุลาคม กลับไม่มีความคืบหน้าหรือการรับผิดชอบใดๆ จากผู้บริหารประเทศ หรือ ฝ่ายบริหาร แม้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะมีบทสรุปออกมาว่า รัฐลบาลและผู้เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในครั้งนี้ มีความผิดก็ตาม
สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้สะท้อนให้เห็นเฉพาะความไม่รับผิดชอบทางการเมืองของรัฐบาลเท่านั้น
แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายครั้งหลายคราวในช่วงที่ผ่านมา ยังเป็นตัวบ่งชี้ถึงเสถียรภาพในการบริหารประเทศของรัฐบาล ด้านการแก้ไขปัญหาอื่นๆภายในประเทศ ไม่ว่าภาคเศรษฐกิจที่กำลังอยู่ในสภาวะหมิ่นเหม่อย่างยิ่ง ภาคการลงทุนที่ชะลอตัวมาอย่างยาวนาน รวมถึงการดูแลประชาชนด้วย
หากจะเอ่ยถึงด้านการลงทุนแล้ว ตัวแปรที่นักลงทุนมักนำมาพิจารณาจะมีอยู่ 2 ส่วนหลักๆ ด้วยกันคือ ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกประเทศ หากยกเรื่องปัจจัยภายนอกที่ทราบกันดีว่าสถาการณ์ทั่วโลกเป็นอย่างไรพักเอาก่อน แล้วหันมามองปัจจัยภายในประกอบการพิจารณา เชื่อว่า เสถียรภาพของรัฐบาล นโยบายการส่งเสริมการลงทุน และความน่าเชื่อถือของผู้นำประเทศ จะเป็นอันดับต้นๆ ที่นักลงทุนต้องคำนึงถึง
นักวิเคราะห์ด้านการลงทุนต่างมีความเห็นว่า เสถียรภาพของรัฐบาลเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนภายในประเทศมากที่สุด แต่ช่วงที่ผ่านมารัฐบาลพรรคพลังประชาชนกลับไม่แสดงออกถึงสิ่งดังกล่าวเลย เนื่องจาก การแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ได้เป็นรูปธรรม ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง แต่กลับให้ความสนใจกับการแก้ไขรัฐบาลธรรมนูญ ตามเจตนา(ความต้องการ)ของพรรคการเมืองมากกว่า
หากลองดูสถิติการปรับตัวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาแล้วจะพบว่า
ในช่วงต้นปี 2551 ดัชนีของตลาดหลักทรัพย์อยู่ในระดับที่ 858 จุด ซึ่งเป็นช่วงที่นายสมัคร สุนทรเวช เริ่มเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
สิ่งที่ตามมาในการบริหารงานของนายสมัครช่วงเวลานั้น(29 มกราคม-9 กันยายน 2551) ส่งผลต่อการลงทุนมาโดยตลอดไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าด้วยวาจา หรือการกระทำ แต่ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ การประกาศพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 2 ก.ย. 51 ส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพยปรับตัวลดลงทันที จากราคาปิด ณ ระดับ 675.22 จุด ในช่วงก่อนประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งในระยะเวลาประมาณ 9 วันทำการที่มีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉบับนี้ นักลงทุนต่างชาติได้เทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดขายสุทธิรวม 9 วันทำการสูงกว่า 18,311.16 ล้านบาท และทำให้ยอดขายสุทธิรวมตั้งแต่ต้นปีเพิ่มสูงขึ้นเป็น 116,365.54 ล้านบาท
ส่วนสถานการณ์ตลาดหลักทรัพย์ในช่วงของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ยิ่งน่าเป็นห่วงมากขึ้นอีก เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์นับตั้งแต่การบริหารของนายสมชาย(ตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่ง 18 กันยายน) มีการปรับตัวลดอย่างต่อเนื่องจนในปัจจุบัน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์(วานี้ 20 พ.ย.51) ซึ่งปิดที่ 393.85 จุด ติดลบ 14.66 จุด จากเมื่อวานก่อนหน้าที่จะมีเหตุการณ์ปาระเบิดเข้าในทำเนียบรัฐบาล
รับรองว่าเหตุผลหนึ่งที่จะนำมาแก้ต่างเกี่ยวกับการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์คงเป็นเรื่องของวิกฤตเศรษฐกิจโลก และปัญหาสถาบันการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกรวมถึงภูมิภาคเอเชีย
แต่อย่าลืมเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นเรื่องเสถียรภาพ และการบริหารงานของรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาอย่าว่าแต่ผลงาน หรือความรับชอบตามหน้าที่อันพึ่งกระทำก็ตาม ยังไม่มีอะไรที่เรียกได้ว่าเป็นการสร้างบรรยากาศ และความเชื่อมั่นที่ดีต่อนักลงทุนเลย
นโยบาย การตั้งแม็ตชิ่งฟันด์ การส่งเสริมการลงทุนด้วยมาตรการภาษีสำหรับกองทุนรวมประเภทLTF และ RMF ที่รัฐบาลนำออกมาใช้เสมือนเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาแบบเฉพาะ แต่มิได้เป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศแต่อย่างใด
6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยเอง ยังดูเหมือนเป็นประชานิยมที่ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่าย และรายได้ของรัฐบาลมากกว่าการแก้ไขในระยะยาว
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนน้อยที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยหากเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียอย่างจีน หรือ อินเดีย ที่จะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับประเทศไทย แต่
เสถียรภาพและการบริหารงานของรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศดูเหมือนจะทำให้บรรยากาศของการลงทุนไม่น่าวิตกมากนัก ถึงแม้จะมีนักลงทุนต่างชาติเทขายหลักทรัพย์เพื่อรักษาความเสี่ยง หรือสภาพคล่องของแต่ละสถาบันออกไปก็ตาม แต่นักลงทุนภายในประเทศเองก็ยังมีความเชื่อมั่นในสภาพเศรษฐกิจ นโยบาย และการบริหารประเทศของรัฐบาลตนเองอยู่
ผิดกับประเทศไทยในขณะนี้ที่เสถียรภาพของรัฐบาลนั้นง่อนแง่น เพราะหลงลืมที่จะพิจารณาการทำงานของตนเองมากกว่าจะมานั่งโทษผู้อื่น โดยขาดความพยายามที่จะสร้างผลงานออกมาให้เป็นที่ประจักษ์อย่างเด่นชัด ส่วนความพยายามที่ดูเหมือนจะเร่งรีบขณะนี้กลับมุ่งเป้าไปที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่า การปรับปรุงแก้ไขการทำงานของตน เพียงเพราะคำกล่าวอ้างว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมดด้วยหนทางเดียวเท่านั้น
สุดท้ายแล้วประเทศไทยจะไปรอดหรือไม่ รัฐบาลชุดนี้จะเป็นกลไกสำคัญที่สุด ซึ่งหากหลงผิดติดอยู่กับพวกพ้องแล้ว ประเทศคงต้องบอบช้ำด้วยผลกระทบจากทั้งภายในและภายนอกอย่างแน่นอน แล้วเมื่อแก้ไขอะไรไม่ได้ยังจะยึดติดกับอำนาจ(ด้าน)อยู่ต่อไปทำไม?...
ทั้งเจ็บแค้นและเสียใจกับผู้เสียชีวิตรวมทั้งผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่มาชุมนุมด้วยเจตนาบริสุทธ์ต้องการที่จะเห็นการเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แต่กลับถูกสัตว์(ที่มาจาก)นรก หรืออาจจะต่ำช้ากว่านั้นทำร้ายอย่างไร้ความปราณี!!!
ที่สำคัญเหตุรุนแรงที่ทำร้ายประชาชนในเหตุการณ์ต่างๆในระหว่างการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยครั้งแล้วครั้งเล่า ตั้งแต่การใช้ในการสลายการชุมนุมของตำรวจที่สะพานมัฆวานฯ และการใช้แก็สน้ำตาที่มีสะเก็ดระเบิดยิงเข้าใส่ประชาชนในวันที่ 7 ตุลาคม กลับไม่มีความคืบหน้าหรือการรับผิดชอบใดๆ จากผู้บริหารประเทศ หรือ ฝ่ายบริหาร แม้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะมีบทสรุปออกมาว่า รัฐลบาลและผู้เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในครั้งนี้ มีความผิดก็ตาม
สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้สะท้อนให้เห็นเฉพาะความไม่รับผิดชอบทางการเมืองของรัฐบาลเท่านั้น
แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายครั้งหลายคราวในช่วงที่ผ่านมา ยังเป็นตัวบ่งชี้ถึงเสถียรภาพในการบริหารประเทศของรัฐบาล ด้านการแก้ไขปัญหาอื่นๆภายในประเทศ ไม่ว่าภาคเศรษฐกิจที่กำลังอยู่ในสภาวะหมิ่นเหม่อย่างยิ่ง ภาคการลงทุนที่ชะลอตัวมาอย่างยาวนาน รวมถึงการดูแลประชาชนด้วย
หากจะเอ่ยถึงด้านการลงทุนแล้ว ตัวแปรที่นักลงทุนมักนำมาพิจารณาจะมีอยู่ 2 ส่วนหลักๆ ด้วยกันคือ ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกประเทศ หากยกเรื่องปัจจัยภายนอกที่ทราบกันดีว่าสถาการณ์ทั่วโลกเป็นอย่างไรพักเอาก่อน แล้วหันมามองปัจจัยภายในประกอบการพิจารณา เชื่อว่า เสถียรภาพของรัฐบาล นโยบายการส่งเสริมการลงทุน และความน่าเชื่อถือของผู้นำประเทศ จะเป็นอันดับต้นๆ ที่นักลงทุนต้องคำนึงถึง
นักวิเคราะห์ด้านการลงทุนต่างมีความเห็นว่า เสถียรภาพของรัฐบาลเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนภายในประเทศมากที่สุด แต่ช่วงที่ผ่านมารัฐบาลพรรคพลังประชาชนกลับไม่แสดงออกถึงสิ่งดังกล่าวเลย เนื่องจาก การแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ได้เป็นรูปธรรม ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง แต่กลับให้ความสนใจกับการแก้ไขรัฐบาลธรรมนูญ ตามเจตนา(ความต้องการ)ของพรรคการเมืองมากกว่า
หากลองดูสถิติการปรับตัวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาแล้วจะพบว่า
ในช่วงต้นปี 2551 ดัชนีของตลาดหลักทรัพย์อยู่ในระดับที่ 858 จุด ซึ่งเป็นช่วงที่นายสมัคร สุนทรเวช เริ่มเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
สิ่งที่ตามมาในการบริหารงานของนายสมัครช่วงเวลานั้น(29 มกราคม-9 กันยายน 2551) ส่งผลต่อการลงทุนมาโดยตลอดไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าด้วยวาจา หรือการกระทำ แต่ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ การประกาศพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 2 ก.ย. 51 ส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพยปรับตัวลดลงทันที จากราคาปิด ณ ระดับ 675.22 จุด ในช่วงก่อนประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งในระยะเวลาประมาณ 9 วันทำการที่มีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉบับนี้ นักลงทุนต่างชาติได้เทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดขายสุทธิรวม 9 วันทำการสูงกว่า 18,311.16 ล้านบาท และทำให้ยอดขายสุทธิรวมตั้งแต่ต้นปีเพิ่มสูงขึ้นเป็น 116,365.54 ล้านบาท
ส่วนสถานการณ์ตลาดหลักทรัพย์ในช่วงของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ยิ่งน่าเป็นห่วงมากขึ้นอีก เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์นับตั้งแต่การบริหารของนายสมชาย(ตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่ง 18 กันยายน) มีการปรับตัวลดอย่างต่อเนื่องจนในปัจจุบัน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์(วานี้ 20 พ.ย.51) ซึ่งปิดที่ 393.85 จุด ติดลบ 14.66 จุด จากเมื่อวานก่อนหน้าที่จะมีเหตุการณ์ปาระเบิดเข้าในทำเนียบรัฐบาล
รับรองว่าเหตุผลหนึ่งที่จะนำมาแก้ต่างเกี่ยวกับการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์คงเป็นเรื่องของวิกฤตเศรษฐกิจโลก และปัญหาสถาบันการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกรวมถึงภูมิภาคเอเชีย
แต่อย่าลืมเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นเรื่องเสถียรภาพ และการบริหารงานของรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาอย่าว่าแต่ผลงาน หรือความรับชอบตามหน้าที่อันพึ่งกระทำก็ตาม ยังไม่มีอะไรที่เรียกได้ว่าเป็นการสร้างบรรยากาศ และความเชื่อมั่นที่ดีต่อนักลงทุนเลย
นโยบาย การตั้งแม็ตชิ่งฟันด์ การส่งเสริมการลงทุนด้วยมาตรการภาษีสำหรับกองทุนรวมประเภทLTF และ RMF ที่รัฐบาลนำออกมาใช้เสมือนเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาแบบเฉพาะ แต่มิได้เป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศแต่อย่างใด
6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยเอง ยังดูเหมือนเป็นประชานิยมที่ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่าย และรายได้ของรัฐบาลมากกว่าการแก้ไขในระยะยาว
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนน้อยที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยหากเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียอย่างจีน หรือ อินเดีย ที่จะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับประเทศไทย แต่
เสถียรภาพและการบริหารงานของรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศดูเหมือนจะทำให้บรรยากาศของการลงทุนไม่น่าวิตกมากนัก ถึงแม้จะมีนักลงทุนต่างชาติเทขายหลักทรัพย์เพื่อรักษาความเสี่ยง หรือสภาพคล่องของแต่ละสถาบันออกไปก็ตาม แต่นักลงทุนภายในประเทศเองก็ยังมีความเชื่อมั่นในสภาพเศรษฐกิจ นโยบาย และการบริหารประเทศของรัฐบาลตนเองอยู่
ผิดกับประเทศไทยในขณะนี้ที่เสถียรภาพของรัฐบาลนั้นง่อนแง่น เพราะหลงลืมที่จะพิจารณาการทำงานของตนเองมากกว่าจะมานั่งโทษผู้อื่น โดยขาดความพยายามที่จะสร้างผลงานออกมาให้เป็นที่ประจักษ์อย่างเด่นชัด ส่วนความพยายามที่ดูเหมือนจะเร่งรีบขณะนี้กลับมุ่งเป้าไปที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่า การปรับปรุงแก้ไขการทำงานของตน เพียงเพราะคำกล่าวอ้างว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมดด้วยหนทางเดียวเท่านั้น
สุดท้ายแล้วประเทศไทยจะไปรอดหรือไม่ รัฐบาลชุดนี้จะเป็นกลไกสำคัญที่สุด ซึ่งหากหลงผิดติดอยู่กับพวกพ้องแล้ว ประเทศคงต้องบอบช้ำด้วยผลกระทบจากทั้งภายในและภายนอกอย่างแน่นอน แล้วเมื่อแก้ไขอะไรไม่ได้ยังจะยึดติดกับอำนาจ(ด้าน)อยู่ต่อไปทำไม?...