“พฤกษา” ปรับพอร์ตสินค้าใหม่ลดปริมาณสินค้าบ้านต่ำกว่า 1 ล้านบาทลง พร้อมเพิ่มพอร์ตสินค้า 1.2-3 ล้านบาทเป็น 70-80% หลังลูกค้ากลุ่มดังกล่าวได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ส่งผลกู้ไม่ผ่านเพิ่มขึ้น อีกทั้งต้นทุนสูงจนไม่สามารถสร้างได้ หวังBOIขยายราคาเป็น 1 ล้านบาท เพื่อคนจนจะได้มีบ้าน ดีเดย์ 20 พ.ย.นี้ เซ็นสัญญาร่วมทุนลุยอสังหาฯในอินเดีย
นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS เปิดเผยว่า จากภาวะวิกฤตการเงินโลก สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพื่อป้องกันหนี้เสีย นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทย ทำให้ประชาชนที่มีรายได้ปานกลาง-ล่าง ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ซื้อบ้านระดับราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท ถูกปฏิเสธสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น พิจารณาได้จากลูกค้าของพฤกษาในช่วงไตรมาส 2/51 ยอดปฏิเสธสินเชื่ออยู่ที่ระดับ 29.72% ไตรมาส 3 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 25.46% และในช่วงเดือนตุลาคม-ปัจจุบันกลับมียอดเพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ระดับ 30% ทำให้ต้องจับตาดูสถานการณ์เป็นพิเศษ
นอกจากนี้ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ยังไม่ขยายเกณฑ์บ้านบีโอไอจาก 6 แสนบาท ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวใช้มากว่า 15 ปีแล้ว ในขณะที่ต้นทุนก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้นสูงมากจนไม่สามารถพัฒนาได้ ทำให้บริษัทมีความจำเป็นต้องชะลอการพัฒนาบ้านราคาไม่เกิน 1 ล้านบาทออกไปก่อน โดยจะไปเพิ่มพอร์ตในส่วนของบ้านระดับราคา 1.2-3 ล้านบาท จากเดิมมีอยู่ประมาณ 30% ของพอร์ตจะเพิ่มเป็น 70-80% ซึ่งจะทำให้บ้านราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท แทบจะไม่มีอยู่ในพอร์ตในปีหน้า อย่างไรก็ตาม หากตลาดในกลุ่มดังกล่าวเปิดหรือบีโอไอขยายเกณฑ์ให้บ้านราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท พฤกษาก็จะกลับมาพัฒนาใหม่อีกครั้ง
**เร่งระบายสต๊อกเก่าเสริมสภาพคล่อง**
นายทองมากล่าวต่อว่า นอกจากการถูกปฏิเสธสินเชื่อแล้ว ลูกค้าบางรายยังขาดความเชื่อมั่นในรายได้ของตนเอง ทำให้ชะลอการโอนบ้านออกไป บางรายถึงกลับทิ้งเงินดาวน์ แต่อย่างไรก็ตาม ผลกระทบดังกล่าวไม่ได้มาก เพราะบริษัทได้ขายบ้านแบบสั่งสร้าง หากมีการปฏิเสธสินเชื่อหรือยกเลิกการซื้อก็จะสามารถนำกลับมาขายใหม่ได้ในทันที อีกทั้งระยะเวลาในการก่อสร้างที่สั้นจะทำให้หมุนรอบในการลงทุนได้เร็วขึ้น
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจ บริษัทยังมีแผนที่จะระบายสต๊อกบ้านสร้างเสร็จ จำนวน 700 ล้านบาทออกไปให้ได้มากที่สุด เพื่อนำเงินมาเป็นทุนหมุนเวียน ส่วนแผนการออกหุ้นกู้ประมาณ 1,000 ล้านบาททที่เลื่อนมาจากไตรมาส 3 นั้น ขณะนี้ตลาดยังไม่เอื้ออำนวย จึงต้องเลื่อนออกไปคาดว่าไตรมาส 1 ปีหน้าจะดำเนินการได้ อย่าไงรก็ตาม บริษัทยังมีวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินประมาณ 4,520 ล้านบาทที่จะสามารถนำมาใช้ได้ แต่จะพยายามใช้ให้น้อยที่สุดเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ย โดยแผนลงทุนในปีหน้าตั้งงบลงทุนได้ประมาณ 5,000 ล้านบาท
นายทองมา กล่าวว่า สำหรับบริษัท พฤกษา โอเวอร์ซีส์ จำกัด บริษัทลูกที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาโครงการในต่างประเทศด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท เบื้องต้นจะลงทุนในเมืองบังคาลอร์ ประเทศอินเดีย โดยในวันที่ 20 พ.ย.นี้จะไปลงนามในบันทึกข้อตกลงการรวมทุนกับนักลงทุนท้องถิ่น ในสัดส่วน 50:50 เพื่อพัฒนาโครงการทาวน์เฮาส์หน้ากว้าง 6 เมตร บนเนื้อที่ 40 ไร่ ประมาณ 400-500 ยูนิต มูลค่าโครงการประมาณ 800-1,000 ล้านบาท
โครงการดังกล่างตั้งอยู่ห่างจากเมืองไอทีเซ็นเตอร์ 17 กิโลเมตร เสนอขายในราคาเริ่มต้น 2 ล้านรูปี หรือ 1.6 ล้านบาท ซึ่งเป็นตลาดระดับ BถึงB- ซึ่งผู้ประกอบการที่พัฒนาในตลาดนี้มีจำนวนน้อยมาก ส่วนใหญ่พัฒนาบ้านในระดับราคา 4 ล้านนรูปีขึ้นไป นอกจากนี้ต้นทุนการก่อสร้างของที่อินเดียจะสูงกว่าไทยประมาณ 20% แต่เชื่อว่าหากนำเทคโนโลยีและการบริหารจัดการของบริษัทที่ใช้ในไทยจะช่วยลดต้นทุนได้สูงถึง 20%
ด้าน นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมผู้จัดการ บริษัท พฤกษาฯกล่าวเสริมว่า ในไตรมาสสุดท้ายของปี51 บริษัทฯ จะรับรู้รายได้จากการโอนคอนโดฯ 2 โครงการ มูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการไอวี่ รัชดา และโครงการเดอะซี้ด พหลโยธิน 14 นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมียอดขายที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) อีกมูลค่า 12,744 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ไปจนถึงปี 2554
นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS เปิดเผยว่า จากภาวะวิกฤตการเงินโลก สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพื่อป้องกันหนี้เสีย นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทย ทำให้ประชาชนที่มีรายได้ปานกลาง-ล่าง ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ซื้อบ้านระดับราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท ถูกปฏิเสธสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น พิจารณาได้จากลูกค้าของพฤกษาในช่วงไตรมาส 2/51 ยอดปฏิเสธสินเชื่ออยู่ที่ระดับ 29.72% ไตรมาส 3 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 25.46% และในช่วงเดือนตุลาคม-ปัจจุบันกลับมียอดเพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ระดับ 30% ทำให้ต้องจับตาดูสถานการณ์เป็นพิเศษ
นอกจากนี้ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ยังไม่ขยายเกณฑ์บ้านบีโอไอจาก 6 แสนบาท ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวใช้มากว่า 15 ปีแล้ว ในขณะที่ต้นทุนก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้นสูงมากจนไม่สามารถพัฒนาได้ ทำให้บริษัทมีความจำเป็นต้องชะลอการพัฒนาบ้านราคาไม่เกิน 1 ล้านบาทออกไปก่อน โดยจะไปเพิ่มพอร์ตในส่วนของบ้านระดับราคา 1.2-3 ล้านบาท จากเดิมมีอยู่ประมาณ 30% ของพอร์ตจะเพิ่มเป็น 70-80% ซึ่งจะทำให้บ้านราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท แทบจะไม่มีอยู่ในพอร์ตในปีหน้า อย่างไรก็ตาม หากตลาดในกลุ่มดังกล่าวเปิดหรือบีโอไอขยายเกณฑ์ให้บ้านราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท พฤกษาก็จะกลับมาพัฒนาใหม่อีกครั้ง
**เร่งระบายสต๊อกเก่าเสริมสภาพคล่อง**
นายทองมากล่าวต่อว่า นอกจากการถูกปฏิเสธสินเชื่อแล้ว ลูกค้าบางรายยังขาดความเชื่อมั่นในรายได้ของตนเอง ทำให้ชะลอการโอนบ้านออกไป บางรายถึงกลับทิ้งเงินดาวน์ แต่อย่างไรก็ตาม ผลกระทบดังกล่าวไม่ได้มาก เพราะบริษัทได้ขายบ้านแบบสั่งสร้าง หากมีการปฏิเสธสินเชื่อหรือยกเลิกการซื้อก็จะสามารถนำกลับมาขายใหม่ได้ในทันที อีกทั้งระยะเวลาในการก่อสร้างที่สั้นจะทำให้หมุนรอบในการลงทุนได้เร็วขึ้น
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจ บริษัทยังมีแผนที่จะระบายสต๊อกบ้านสร้างเสร็จ จำนวน 700 ล้านบาทออกไปให้ได้มากที่สุด เพื่อนำเงินมาเป็นทุนหมุนเวียน ส่วนแผนการออกหุ้นกู้ประมาณ 1,000 ล้านบาททที่เลื่อนมาจากไตรมาส 3 นั้น ขณะนี้ตลาดยังไม่เอื้ออำนวย จึงต้องเลื่อนออกไปคาดว่าไตรมาส 1 ปีหน้าจะดำเนินการได้ อย่าไงรก็ตาม บริษัทยังมีวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินประมาณ 4,520 ล้านบาทที่จะสามารถนำมาใช้ได้ แต่จะพยายามใช้ให้น้อยที่สุดเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ย โดยแผนลงทุนในปีหน้าตั้งงบลงทุนได้ประมาณ 5,000 ล้านบาท
นายทองมา กล่าวว่า สำหรับบริษัท พฤกษา โอเวอร์ซีส์ จำกัด บริษัทลูกที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาโครงการในต่างประเทศด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท เบื้องต้นจะลงทุนในเมืองบังคาลอร์ ประเทศอินเดีย โดยในวันที่ 20 พ.ย.นี้จะไปลงนามในบันทึกข้อตกลงการรวมทุนกับนักลงทุนท้องถิ่น ในสัดส่วน 50:50 เพื่อพัฒนาโครงการทาวน์เฮาส์หน้ากว้าง 6 เมตร บนเนื้อที่ 40 ไร่ ประมาณ 400-500 ยูนิต มูลค่าโครงการประมาณ 800-1,000 ล้านบาท
โครงการดังกล่างตั้งอยู่ห่างจากเมืองไอทีเซ็นเตอร์ 17 กิโลเมตร เสนอขายในราคาเริ่มต้น 2 ล้านรูปี หรือ 1.6 ล้านบาท ซึ่งเป็นตลาดระดับ BถึงB- ซึ่งผู้ประกอบการที่พัฒนาในตลาดนี้มีจำนวนน้อยมาก ส่วนใหญ่พัฒนาบ้านในระดับราคา 4 ล้านนรูปีขึ้นไป นอกจากนี้ต้นทุนการก่อสร้างของที่อินเดียจะสูงกว่าไทยประมาณ 20% แต่เชื่อว่าหากนำเทคโนโลยีและการบริหารจัดการของบริษัทที่ใช้ในไทยจะช่วยลดต้นทุนได้สูงถึง 20%
ด้าน นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมผู้จัดการ บริษัท พฤกษาฯกล่าวเสริมว่า ในไตรมาสสุดท้ายของปี51 บริษัทฯ จะรับรู้รายได้จากการโอนคอนโดฯ 2 โครงการ มูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการไอวี่ รัชดา และโครงการเดอะซี้ด พหลโยธิน 14 นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมียอดขายที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) อีกมูลค่า 12,744 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ไปจนถึงปี 2554