กองทุนTFUND ยังเดินหน้าเพิ่มไซส์ไม่หยุด ด้านเจ้ามือใหญ่ "ไทคอนฯ" วางแผนปีหน้าขายโรงงานเข้ากองทุนเพิ่มอีก 2.3 -3พันล้านบาทในไตรมาส3/2552 ส่วนหน่วยลงทุนใหม่ที่จะเปิดขาย25พ.ย.นี้ ผู้บริหารมั่นใจหมดเกลี้ยง แม้จีอีฯไม่ขอเพิ่มทุน แต่ประกันสังคมและกองทุนประกันชีวิตหวังฮุบเพิ่ม ส่วนภาพรวมปีนี้ TICON เชื่อฟันกำไรใกล้เคียงปี 2550
นายวีรพันธ์ พลูเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) (TICON) เปิดเผยว่า ในปีหน้า บริษัทคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2.3-2.5 พันล้านบาท ลดลงจากเดิมที่เคยประมาณการใช้เงินลงทุน 2.6-2.7 พันล้านบาท โดยเป็นการลงทุนก่อสร้างโรงงาน 40 แห่ง จำนวนพื้นที่ 1 แสนตร.ม. และ คลังสินค้า 1 แสนตร.ม. ในพื้นที่เดิมได้แก่ที่บางนาตราด กม.39, วังน้อย และ แหลมฉบัง จากนั้นจะนำทรัพย์สินดังกล่าวเข้าไปขยายขนาดกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทคอน (TFUND) ในไตรมาส 3/2552
อย่างไรก็ตามแนวโน้มกำไรในไตรมาส 4/2551 คาดว่าน่าจะสูงสุดในรอบปีนี้ หลังบริษัทฯสามารถขายสินทรัพย์ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทคอน หรือ TFUND ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 2.5 พันล้านบาท แต่ไม่มากนัก หากนำมาเปรียบเทียบกับไตรมาส 4/2550 เพราะปีที่แล้วบริษัทฯมีกำไรจากรายการพิเศษในการขายหุ้นประมาณ 80 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ในส่วนการเพิ่มทุนใหม่ของ TFUND กรรมการผู้จัดการ บมจ.ไทคอนฯ มั่นใจว่าแม้ภาวะโดยรวมขณะนี้ยังไม่เอื้ออำนวย แต่เชื่อว่ากองทุน TFUND จะขายหน่วยลงทุนที่เพิ่มใหม่ได้หมด เพราะรอบใหม่นี้จะให้ผลตอบแทนมากกว่า 8% ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 7.5%
นอกจากนี้แม้ กลุ่มจีอี ฯจะไม่ลงทุนเพิ่มในกองทุนTFUND ซึ่งขณะนี้ถืออยู่ในสัดส่วน 5% ก็ตาม แต่ยังมีกองทุนประกันสังคม (สปส.) และกองทุนของประกันชีวิต สนใจหน่วยเพิ่มทุนดังกล่าว รวมทั้งจากการที่โรดโชว์กับผู้ถือหน่วยเดิมรายอื่นล้วนต้องการซื้อเพิ่ม และหากขายไม่หมด ทาง TICON เองก็พร้อมที่จะเข้าซื้อไปเพิ่มเป็น 30% จากปัจจุบันที่ถือ 26% อีกทั้งบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวงเองได้รับประกันการจำหน่ายอยู่แล้ว
ทั้งนี้ กองทุน TFUND จะเปิดขายหน่วยลงทุนใหม่ จำนวน 2.4 พันล้านบาท ในวันที่ 25 พ.ย.-2 ธ.ค. ซึ่งต่ำกว่าราคาประเมินที่ 2.8 พันล้านบาท ในราคาหน่วยละ 10.25 บาท โดยจะจัดสรรขายให้กับผู้ถือหน่วยเดิม 60%และ ประชาชนทั่วไป 40%
ส่วนกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปีนี้ของ TICONนั้น บริษัทคาดว่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ซึ่งมีกำไร 1.06 พันล้านบาท เนื่องจากมีการขยายกองทุน TFUND ได้ตามแผนงาน โดยจะบันทึกกำไรดังกล่าวเข้ามาในผลดำเนินงานไตรมาส 4/2551 ทำให้บริษัทยังสามารถจ่ายเงินปันผลได้ตามปกติ อีกทั้งคาดว่า Net Margin ในปีนี้จะไม่ต่ำกว่า 30% จากปีก่อนอยู่ที่ 30.2%
ดังนั้นเชื่อว่า จากแผนขยายกองทุนTFUND เพิ่มอีก 2.3 - 3พันล้านบาทในปีหน้า จะช่วยให้บริษัทมีรายได้เติบโตมากกว่า 4,000 ล้านบาท
"ในปีหน้า เราคาดหวังว่าอะไรๆจะดีขึ้น แต่ครึ่งปีแรกคงจะชะลอตัว อย่างไรก็ตามแม้ภาพรวมจะไม่ดี เพราะรับผลกระทบ จาก global crisis ซึ่งจะมีการปิดโรงงานในที่แพงๆ แต่คิดว่าไทยน่าจะได้ประโยชน์ในระยะยาว เพราะจะมีการย้ายฐานการผลิตมาหาแหล่งต้นทุนผลิตไม่สูงเช่นเราเพิ่มขึ้น " นายวีรพันธ์กล่าว
โดยขณะนี้ TICON เริ่มทยอยลดการก่อสร้างโรงงานใหม่เพื่อไม่ให้เกิด inventory มากเกินไป โดยจะลดลงมาให้เหลือ 20 โรงงาน จาก 32 โรงงานในสิ้นไตรมาส 3/2551
สำหรับความคืบหน้าการออกวอร์แรนต์จำนวน 221.79 ล้านหน่วย ที่จะจัดสรรในสัดส่วน 3 หุ้นเดิมต่อ 1 วอร์แรนต์ ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯได้ยื่นไฟลิ่งให้กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และจะรอกฎเกณฑ์ใหม่ของก.ล.ต.ที่จะออกประมาณเดือนธันวามคมนี้ ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถออกวอร์แรนต์ได้เลยหากผู้ถือหุ้นอนุมัติ โดยทำให้บริษัทประหยัดต้นทุนในการขออนุญาตออกวอร์แรนต์จำนวน 1 ล้านบาทอีกด้วย
"ตอนนี้การออกวอร์แรนต์เราก็รอกฎใหม่ของก.ล.ต. ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 1 ล้านบาท โดยกฎใหม่นี้น่าจะออกได้ประมาณ เดือนธันวาคม และเมื่อมีผลบังคับใช้เราก็พร้อมที่จะออกทันที ส่วนราคาใช้สิทธิที่ 20 บาทนั้น เราจะศึกษาดูอีกครั้ง"นายวีรพันธ์ กล่าว
ด้านนักวิเคราะห์ บล.ยูไนเต็ด ให้ความเห็นถึงหุ้น TICON ว่า จากผลประกอบการใน งวด9เดือนปีนี้ เท่ากับ 210 ล้านบาท ลดลง 30%YoY ซึ่งคาดว่าผลประกอบการจะเติบโตสูงในไตรมาสสี่ โดยมาจากการขายโรงงานให้กับกองทุน TFUND ประมาณ 40 โรง และคลังสินค้าอีก 10 แห่ง ซึ่งจะเป็นรายได้ประมาณ 2,583 ล้านบาท ทำให้กำไรโดยรวมทั้งปีอยู่ในระดับทรงตัวที่ 1,000 ล้านบาท
แต่สำหรับปีหน้า TICON ยังมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลก โดยลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัดส่วน 50% และเป็นธุรกิจเพื่อการส่งออก ซึ่งคาดว่ามีโอกาสได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้การส่งออกได้น้อย และอาจส่งผลให้ความต้องการเช่าโรงงานลดลง เนื่องจากไม่มีลูกค้าที่ต้องการขยายพื้นที่โรงงาน จึงมองว่ากำไรปี2552 ยังคงทรงตัวจากปีนี้ แต่จากที่ราคาหุ้นปรับลดลงมามากจน P/B เหลือเพียง 0.8x และ P/E 4.8x โดยมีโอกาสจ่ายเงินปันผล 1 บาท/หุ้น คิดเป็น 14%ต่อปี ในเบื้องต้นยังแนะนำ “ซื้อลงทุน” โดยมีราคาเป้าหมาย 11.2 บาท
นายวีรพันธ์ พลูเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) (TICON) เปิดเผยว่า ในปีหน้า บริษัทคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2.3-2.5 พันล้านบาท ลดลงจากเดิมที่เคยประมาณการใช้เงินลงทุน 2.6-2.7 พันล้านบาท โดยเป็นการลงทุนก่อสร้างโรงงาน 40 แห่ง จำนวนพื้นที่ 1 แสนตร.ม. และ คลังสินค้า 1 แสนตร.ม. ในพื้นที่เดิมได้แก่ที่บางนาตราด กม.39, วังน้อย และ แหลมฉบัง จากนั้นจะนำทรัพย์สินดังกล่าวเข้าไปขยายขนาดกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทคอน (TFUND) ในไตรมาส 3/2552
อย่างไรก็ตามแนวโน้มกำไรในไตรมาส 4/2551 คาดว่าน่าจะสูงสุดในรอบปีนี้ หลังบริษัทฯสามารถขายสินทรัพย์ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทคอน หรือ TFUND ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 2.5 พันล้านบาท แต่ไม่มากนัก หากนำมาเปรียบเทียบกับไตรมาส 4/2550 เพราะปีที่แล้วบริษัทฯมีกำไรจากรายการพิเศษในการขายหุ้นประมาณ 80 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ในส่วนการเพิ่มทุนใหม่ของ TFUND กรรมการผู้จัดการ บมจ.ไทคอนฯ มั่นใจว่าแม้ภาวะโดยรวมขณะนี้ยังไม่เอื้ออำนวย แต่เชื่อว่ากองทุน TFUND จะขายหน่วยลงทุนที่เพิ่มใหม่ได้หมด เพราะรอบใหม่นี้จะให้ผลตอบแทนมากกว่า 8% ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 7.5%
นอกจากนี้แม้ กลุ่มจีอี ฯจะไม่ลงทุนเพิ่มในกองทุนTFUND ซึ่งขณะนี้ถืออยู่ในสัดส่วน 5% ก็ตาม แต่ยังมีกองทุนประกันสังคม (สปส.) และกองทุนของประกันชีวิต สนใจหน่วยเพิ่มทุนดังกล่าว รวมทั้งจากการที่โรดโชว์กับผู้ถือหน่วยเดิมรายอื่นล้วนต้องการซื้อเพิ่ม และหากขายไม่หมด ทาง TICON เองก็พร้อมที่จะเข้าซื้อไปเพิ่มเป็น 30% จากปัจจุบันที่ถือ 26% อีกทั้งบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวงเองได้รับประกันการจำหน่ายอยู่แล้ว
ทั้งนี้ กองทุน TFUND จะเปิดขายหน่วยลงทุนใหม่ จำนวน 2.4 พันล้านบาท ในวันที่ 25 พ.ย.-2 ธ.ค. ซึ่งต่ำกว่าราคาประเมินที่ 2.8 พันล้านบาท ในราคาหน่วยละ 10.25 บาท โดยจะจัดสรรขายให้กับผู้ถือหน่วยเดิม 60%และ ประชาชนทั่วไป 40%
ส่วนกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปีนี้ของ TICONนั้น บริษัทคาดว่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ซึ่งมีกำไร 1.06 พันล้านบาท เนื่องจากมีการขยายกองทุน TFUND ได้ตามแผนงาน โดยจะบันทึกกำไรดังกล่าวเข้ามาในผลดำเนินงานไตรมาส 4/2551 ทำให้บริษัทยังสามารถจ่ายเงินปันผลได้ตามปกติ อีกทั้งคาดว่า Net Margin ในปีนี้จะไม่ต่ำกว่า 30% จากปีก่อนอยู่ที่ 30.2%
ดังนั้นเชื่อว่า จากแผนขยายกองทุนTFUND เพิ่มอีก 2.3 - 3พันล้านบาทในปีหน้า จะช่วยให้บริษัทมีรายได้เติบโตมากกว่า 4,000 ล้านบาท
"ในปีหน้า เราคาดหวังว่าอะไรๆจะดีขึ้น แต่ครึ่งปีแรกคงจะชะลอตัว อย่างไรก็ตามแม้ภาพรวมจะไม่ดี เพราะรับผลกระทบ จาก global crisis ซึ่งจะมีการปิดโรงงานในที่แพงๆ แต่คิดว่าไทยน่าจะได้ประโยชน์ในระยะยาว เพราะจะมีการย้ายฐานการผลิตมาหาแหล่งต้นทุนผลิตไม่สูงเช่นเราเพิ่มขึ้น " นายวีรพันธ์กล่าว
โดยขณะนี้ TICON เริ่มทยอยลดการก่อสร้างโรงงานใหม่เพื่อไม่ให้เกิด inventory มากเกินไป โดยจะลดลงมาให้เหลือ 20 โรงงาน จาก 32 โรงงานในสิ้นไตรมาส 3/2551
สำหรับความคืบหน้าการออกวอร์แรนต์จำนวน 221.79 ล้านหน่วย ที่จะจัดสรรในสัดส่วน 3 หุ้นเดิมต่อ 1 วอร์แรนต์ ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯได้ยื่นไฟลิ่งให้กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และจะรอกฎเกณฑ์ใหม่ของก.ล.ต.ที่จะออกประมาณเดือนธันวามคมนี้ ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถออกวอร์แรนต์ได้เลยหากผู้ถือหุ้นอนุมัติ โดยทำให้บริษัทประหยัดต้นทุนในการขออนุญาตออกวอร์แรนต์จำนวน 1 ล้านบาทอีกด้วย
"ตอนนี้การออกวอร์แรนต์เราก็รอกฎใหม่ของก.ล.ต. ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 1 ล้านบาท โดยกฎใหม่นี้น่าจะออกได้ประมาณ เดือนธันวาคม และเมื่อมีผลบังคับใช้เราก็พร้อมที่จะออกทันที ส่วนราคาใช้สิทธิที่ 20 บาทนั้น เราจะศึกษาดูอีกครั้ง"นายวีรพันธ์ กล่าว
ด้านนักวิเคราะห์ บล.ยูไนเต็ด ให้ความเห็นถึงหุ้น TICON ว่า จากผลประกอบการใน งวด9เดือนปีนี้ เท่ากับ 210 ล้านบาท ลดลง 30%YoY ซึ่งคาดว่าผลประกอบการจะเติบโตสูงในไตรมาสสี่ โดยมาจากการขายโรงงานให้กับกองทุน TFUND ประมาณ 40 โรง และคลังสินค้าอีก 10 แห่ง ซึ่งจะเป็นรายได้ประมาณ 2,583 ล้านบาท ทำให้กำไรโดยรวมทั้งปีอยู่ในระดับทรงตัวที่ 1,000 ล้านบาท
แต่สำหรับปีหน้า TICON ยังมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลก โดยลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัดส่วน 50% และเป็นธุรกิจเพื่อการส่งออก ซึ่งคาดว่ามีโอกาสได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้การส่งออกได้น้อย และอาจส่งผลให้ความต้องการเช่าโรงงานลดลง เนื่องจากไม่มีลูกค้าที่ต้องการขยายพื้นที่โรงงาน จึงมองว่ากำไรปี2552 ยังคงทรงตัวจากปีนี้ แต่จากที่ราคาหุ้นปรับลดลงมามากจน P/B เหลือเพียง 0.8x และ P/E 4.8x โดยมีโอกาสจ่ายเงินปันผล 1 บาท/หุ้น คิดเป็น 14%ต่อปี ในเบื้องต้นยังแนะนำ “ซื้อลงทุน” โดยมีราคาเป้าหมาย 11.2 บาท