ตลาดหุ้นผันผวนหนัก ฉุดกองทุนรวมเดือนตุลาคมดำดิ่ง เงินลงทุนทั้งระบบหายไปกว่า 6.3 หมื่นล้านบาทจากเดือนก่อนหน้า โดยกองทุนหุ้นอ่วมสุด เดือนเดียววูบไปกว่า 4.8 หมื่นล้าน ส่งผลให้ตัวเลข 10 เดือนอุตสาหกรรมกองทุนรวมติดลบไปแล้ว 6.61% คิดเป็นมูลค่าที่สูญไป 9.4 หมื่นล้าน ผู้จัดการกองทุนชี้ โอกาสเห็นตัวเลขทั้งปีเด้งกลับเป็นบวกไม่มี แต่เชื่อไม่ต่ำกว่า 10% แน่นอน ส่วน 2 เดือนสุดท้าย จะได้ LTF-RMF ช่วยหนุนอีกหมื่นล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการลงทุนในกองทุนรวม ค่อนข้างซบเซาเป็นพิเศษ โดยสาเหตุหลักมาจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐ จนส่งผลกระทบเป็นไฟลามทุ่งไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนเป็นอย่างมาก จนหลายคนตัดสินใจที่จะเก็บเงินสดเอาไว้แทนการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นหลังจากดัชนีดำดิ่งลงจากต้นปีไปกว่า 50% ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้เอง กองทุนที่ลงทุนต่างประเทศต้องชะลอไปโดยปริยาย เพราะนักลงทุนไม่มีความเชื่อมั่น ทำให้ช่วงที่ผ่านมา กองทุนตราสารหนี้ในประเทศ ที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำ ได้รับความนิยมจากนักลงทุนแทน
ทั้งนี้ จากการรายงานตัวเลขเงินลงทุนในกองทุนรวมของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) สิ้นสุดเดือนตุลาคมที่ผ่านมา พบว่า ธุรกิจกองทุนรวมทั้งระบบ มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,332,285.14 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 1,396,170.50 ล้านบาท ทั้งสิ้น 63,885.36 ล้านบาท และหากเทียบกับเงินลงทุนในกองทุนรวมทั้งระบบ 1,426,626.92 ล้านบาท ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา คิดเป็นจำนวนเงินที่ลดลงถึง 94,341.78 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนที่ลดลงถึง 6.61%
โดยจากการสำรวจเงินลงทุนแยกตามประเภทพบว่า กองทุนหุ้นมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 239,704.01 ล้านบาท ลดลงถึง 48,195.32 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 287,899.33 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งสาเหตุที่กองทุนหุ้นลดลงค่อนข้างมากถึงกว่า 4.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากดัชนีหุ้นไทยในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ปรับลดลงอย่างรุนแรง จากการเทขายของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปชดเชยการขาดทุนจากวิกฤตการเงิน จนส่งผลให้ราคาหุ้นหลายตัวปรับลดลงต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานของหุ้น ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นในเดือนตุลาคมปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 416.53 จากระดับดัชนี 596.54 จุดในช่วงปลายเดือนกันยายน ทำให้เดือนตุลาคมเดือนเดียวดัชนีปรับลดลงไปถึง 180.01 จุด หรือคิดเป็นลดลง 30.18%
ในขณะที่กองทุนตราสารหนี้เองก็ลดลงเช่นกัน ซึ่งปัจจัยหลักน่าจะมาจากกองทุนที่ทยอยครบอายุ แล้วไม่มีการลงทุนต่อ โดยเงินลงทุนรวมในกองทุนตราสารหนี้มีอยู่ทั้ง
สิ้น 967,668.52 ล้านบาท ลดลงประมาณ 6,657.18 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 974,325.70 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากแยกตามกองทุนที่มีลักษณะพิเศษ จะพบว่า กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) เป็นกองทุนที่เงินลงทุนลดลงมากที่สุด นั่นเพราะกองทุนมีนโยบายลงทุนในหุ้นเป็นหลักนั่นเอง โดยกองทุนแอลทีเอฟมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 33,855.75 ล้านบาท ลดลงประมาณ 10,250.74 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 44,106.50 ล้านบาทในเดือนกันยายน ส่วนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 32,262.42 ล้านบาท ลดลงประมาณ 4,218.65 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวมในเดือนก่อนหน้านี้ 36,481.07 ล้านบาท
ขณะที่กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 326,632.23 ล้านบาท ลดลงประมาณ 30,264.73 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวม 356,896.96 ล้านบาทจากเดือนก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ สาเหตุหลัก มาจากการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงอย่างหนัก โดยเฉพาะตลาดหุ้นจีน รวมถึงราคาสินค้ากลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้สินทรัพย์ของกองทุนลดลงตามไปด้วย
นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด เปิดเผยว่า การที่กองทุนรวมทั้งระบบติดลบไปกว่า 6% มีสาเหตุหลักมาจากตลาดหุ้นไม่ดี ซึ่งหากเทียบกับต้นปีติดลบไปแล้วประมาณ 50% ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลให้เงินลงทุนในกองทุนหายไปพอสมควร ตามการปรับลดลงของตลาด โดยในช่วงที่เหลือของปีอีก 2 เดือนนั้น กองทุนรวมน่าจะได้รับแรงหนุนจากกองทุนแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟ โดยคาดว่ากองทุนทั้ง 2 ประเภทจะมีเงินลงทุนใหม่ไหลเเข้ามาอีกประมาณ 10,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม กองทุนตราสารหนี้ รวมถึงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) ทั้งที่ออกมาแล้วและกำลังจะออกมาในช่วงที่เหลือของปี ไม่น่าจะช่วยให้กองทุนรวมเพิ่มขึ้นมากนัก แต่ก็น่าจะช่วยไม่ให้เงินลงทุนในกองทุนรวมทั้งระบบลดลงไปมากกว่านี้ เพราะส่วนใหญ่ออกมาเพื่อรองรับกองทุนที่ทยอยครบอายุมากกว่า ซึ่งแนวโน้มที่เกิดขึ้นในปีนี้ โอกาสที่จะเห็นกองทุนรวมเติบโตเป็นบวกคงเป็นไปไม่ได้แล้ว แต่ว่าทั้งแล้ว เชื่อว่าคงจะไม่ติดลบต่ำกว่า 10% เพราะจะได้กองทุนแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟเข้ามาช่วยหนุน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการลงทุนในกองทุนรวม ค่อนข้างซบเซาเป็นพิเศษ โดยสาเหตุหลักมาจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐ จนส่งผลกระทบเป็นไฟลามทุ่งไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนเป็นอย่างมาก จนหลายคนตัดสินใจที่จะเก็บเงินสดเอาไว้แทนการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นหลังจากดัชนีดำดิ่งลงจากต้นปีไปกว่า 50% ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้เอง กองทุนที่ลงทุนต่างประเทศต้องชะลอไปโดยปริยาย เพราะนักลงทุนไม่มีความเชื่อมั่น ทำให้ช่วงที่ผ่านมา กองทุนตราสารหนี้ในประเทศ ที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำ ได้รับความนิยมจากนักลงทุนแทน
ทั้งนี้ จากการรายงานตัวเลขเงินลงทุนในกองทุนรวมของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) สิ้นสุดเดือนตุลาคมที่ผ่านมา พบว่า ธุรกิจกองทุนรวมทั้งระบบ มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,332,285.14 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 1,396,170.50 ล้านบาท ทั้งสิ้น 63,885.36 ล้านบาท และหากเทียบกับเงินลงทุนในกองทุนรวมทั้งระบบ 1,426,626.92 ล้านบาท ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา คิดเป็นจำนวนเงินที่ลดลงถึง 94,341.78 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนที่ลดลงถึง 6.61%
โดยจากการสำรวจเงินลงทุนแยกตามประเภทพบว่า กองทุนหุ้นมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 239,704.01 ล้านบาท ลดลงถึง 48,195.32 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 287,899.33 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งสาเหตุที่กองทุนหุ้นลดลงค่อนข้างมากถึงกว่า 4.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากดัชนีหุ้นไทยในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ปรับลดลงอย่างรุนแรง จากการเทขายของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปชดเชยการขาดทุนจากวิกฤตการเงิน จนส่งผลให้ราคาหุ้นหลายตัวปรับลดลงต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานของหุ้น ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นในเดือนตุลาคมปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 416.53 จากระดับดัชนี 596.54 จุดในช่วงปลายเดือนกันยายน ทำให้เดือนตุลาคมเดือนเดียวดัชนีปรับลดลงไปถึง 180.01 จุด หรือคิดเป็นลดลง 30.18%
ในขณะที่กองทุนตราสารหนี้เองก็ลดลงเช่นกัน ซึ่งปัจจัยหลักน่าจะมาจากกองทุนที่ทยอยครบอายุ แล้วไม่มีการลงทุนต่อ โดยเงินลงทุนรวมในกองทุนตราสารหนี้มีอยู่ทั้ง
สิ้น 967,668.52 ล้านบาท ลดลงประมาณ 6,657.18 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 974,325.70 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากแยกตามกองทุนที่มีลักษณะพิเศษ จะพบว่า กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) เป็นกองทุนที่เงินลงทุนลดลงมากที่สุด นั่นเพราะกองทุนมีนโยบายลงทุนในหุ้นเป็นหลักนั่นเอง โดยกองทุนแอลทีเอฟมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 33,855.75 ล้านบาท ลดลงประมาณ 10,250.74 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 44,106.50 ล้านบาทในเดือนกันยายน ส่วนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 32,262.42 ล้านบาท ลดลงประมาณ 4,218.65 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวมในเดือนก่อนหน้านี้ 36,481.07 ล้านบาท
ขณะที่กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 326,632.23 ล้านบาท ลดลงประมาณ 30,264.73 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวม 356,896.96 ล้านบาทจากเดือนก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ สาเหตุหลัก มาจากการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงอย่างหนัก โดยเฉพาะตลาดหุ้นจีน รวมถึงราคาสินค้ากลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้สินทรัพย์ของกองทุนลดลงตามไปด้วย
นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด เปิดเผยว่า การที่กองทุนรวมทั้งระบบติดลบไปกว่า 6% มีสาเหตุหลักมาจากตลาดหุ้นไม่ดี ซึ่งหากเทียบกับต้นปีติดลบไปแล้วประมาณ 50% ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลให้เงินลงทุนในกองทุนหายไปพอสมควร ตามการปรับลดลงของตลาด โดยในช่วงที่เหลือของปีอีก 2 เดือนนั้น กองทุนรวมน่าจะได้รับแรงหนุนจากกองทุนแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟ โดยคาดว่ากองทุนทั้ง 2 ประเภทจะมีเงินลงทุนใหม่ไหลเเข้ามาอีกประมาณ 10,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม กองทุนตราสารหนี้ รวมถึงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) ทั้งที่ออกมาแล้วและกำลังจะออกมาในช่วงที่เหลือของปี ไม่น่าจะช่วยให้กองทุนรวมเพิ่มขึ้นมากนัก แต่ก็น่าจะช่วยไม่ให้เงินลงทุนในกองทุนรวมทั้งระบบลดลงไปมากกว่านี้ เพราะส่วนใหญ่ออกมาเพื่อรองรับกองทุนที่ทยอยครบอายุมากกว่า ซึ่งแนวโน้มที่เกิดขึ้นในปีนี้ โอกาสที่จะเห็นกองทุนรวมเติบโตเป็นบวกคงเป็นไปไม่ได้แล้ว แต่ว่าทั้งแล้ว เชื่อว่าคงจะไม่ติดลบต่ำกว่า 10% เพราะจะได้กองทุนแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟเข้ามาช่วยหนุน