หลายคนเริ่มตระหนักดีแล้วว่า สังคมไทยเปลี่ยนไปจากเดิมเป็นสังคมเกษตรชุมชนและครอบครัวขนาดใหญ่และเครือญาติอยู่ด้วยกัน หรือมองอีกนัยหนึ่งก็คือ คนในช่วงอายุต่อมาคือรุ่นลูกหรือรุ่นหลานเป็นผู้เลี้ยงดูคนช่วงอายุก่อนหน้านั้นไปเป็นรุ่น ๆ แต่เมื่อสังคมการเกษตรเริ่มสลายลงไปเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมอุตสาหกรรม ครอบครัวขนาดใหญ่ลดขนาดลงเป็นครอบครัวเดี่ยว ประกอบกับคนส่วนมากเมื่อทำงานได้เงินเดือน แต่อาจมีโอกาสที่จะตกงานได้ง่ายขึ้น หรือเกษียณอายุก่อนกำหนดได้ ดังนั้นการที่ลูกหลานจะทำหน้าที่เลี้ยงดูพ่อแม่ หรือปู่ย่าตายายหรือเครือญาติเริ่มเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้นเนื่องจากต่างต้องเลี้ยงดูตัวเองให้รอดด้วย
เมื่อพิจารณาในระดับใหญ่มากกว่าครอบครัว หรือในระดับชาตินั้นได้มีแนวคิดที่เกี่ยวกับเงินออมระยะยาวว่า เงินออมระยะยาวของคนที่ทำงานในวันนี้ ก็คือส่วนหนึ่งของประเทศที่จะสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในสังคมของประเทศนั้นๆ ดังนั้น ในเรื่องของระบบการออมเงินต่างๆ และโครงการสวัสดิการสังคมที่มีให้กับประชาชนแต่ละคนนั้น เป็นเรื่องสำคัญสำหรับความมั่นคงทางสังคมที่จำเป็นต้องเร่งทำควบคู่ไปกับการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความกินดีอยู่ดีให้กับประชาชนให้ครบถ้วน ทั้งสำหรับคนที่ทำงานได้และทำงานไม่ได้หรือไม่ได้ทำงานแล้ว ตัวอย่างเช่น **ระบบการออมระยะยาวล่วงหน้าของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข.** ซึ่งสมาชิกของกองทุนทุกคนจะได้มีการสะสมเงินเข้ามาทุกเดือนไว้ในบัญชีของตนเองรวมกับส่วนที่ทางราชการจะจ่ายเข้ามาสมทบ เป็นเงินของแต่ละคนแยกต่างหากจากกัน หรือ Individual Account โดยกองทุนทำหน้าที่นำเงินในบัญชีของสมาชิกทุกคนมารวมกัน นำไปลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์เพิ่มเติมให้แก่สมาชิก และรอจ่ายคืนเมื่อข้าราชการสมาชิกได้เกษียณอายุไปแล้วหรือออกจากราชการทุกเหตุ ซึ่งการออมเงินแบบนี้ ถือได้ว่าเป็นการเฉลี่ยเงินได้จากวันที่มีเงินเดือน มีรายได้ ไปสู่เวลาที่ไม่มีรายได้แล้วยังคงมีรายจ่ายอยู่ ซึ่งเป็นบั้นปลายชีวิตของทุกคน จึงนับเป็นมาตรฐานการออมที่ดีหากคุณต้องการให้มีเงินไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณ นั่นหมายถึงในวัยทำงานเราจะต้องรู้จักการเก็บออมอย่างมีวินัย และให้ได้เป้าหมายอย่างที่ตั้งไว้ ยิ่งเราเก็บออมได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีเงินไว้ใช้จ่ายได้มากเท่านั้น มาตรฐานชีวิตก็จะดีขึ้นตามไปด้วย เพื่อเป็นการสร้างตาข่ายความมั่นคงในอนาคตให้กับชีวิตนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เมื่อการแพทย์ดีขึ้นคนเราแก่แล้วตายช้าลก็จะทำให้สังคมโดยรวมมีคนแก่จำนวนมากขึ้นตามลำดับดังนั้นในประเทศหลายแห่งจึงเริ่มหันมาเห็นความสำคัญของระบบการออมเงินแบบระยะยาวของประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ เพราะหากยิ่งทำได้มากก็ยิ่งดี เพราะจะช่วยทำให้คนสามารถพึ่งตนเองได้ ไม่เป็นภาระของรัฐบาลในระยะยาว รวมทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในสังคมของประเทศนั้น ๆ ด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้เราควรทำให้รูปแบบการออมกว้างขึ้นได้ในอีกหลายด้าน เช่น การครอบคลุมคนที่อยู่ในวัยทำงานและมีรายได้ทั้งหมด ไม่ควรให้มีการนำเงินออมนี้ออกไปใช้ก่อนเวลาอันควรหรือแม้เมื่อออกจากงานหนึ่งไปทำงานอีกที่หนึ่งก็ควรให้เงินออมนั้นอยู่เป็นเงินที่เราจะได้เอาไว้ใช้เมื่อถึงช่วงเกษียณเท่านั้น หรือไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทางเลือกใหม่ให้ไม่ต้องนำเงินออมออกไปทั้งก้อน แต่ควรจะมีระบบฝากเงินไว้ไห้ผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่บริหารและทยอยจ่ายเงินเป็นงวดๆ คล้ายกับบำนาญแทนให้กับผู้ออมเงินทุกคน
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความร่วมมือช่วยกันสร้างตาข่ายแห่งความมั่นคงของสังคมในอนาคต เพื่อที่เราทุกคนจะได้มีความเป็นอยู่ที่ดีไปตลอดช่วงบั้นปลายของชีวิต
เมื่อพิจารณาในระดับใหญ่มากกว่าครอบครัว หรือในระดับชาตินั้นได้มีแนวคิดที่เกี่ยวกับเงินออมระยะยาวว่า เงินออมระยะยาวของคนที่ทำงานในวันนี้ ก็คือส่วนหนึ่งของประเทศที่จะสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในสังคมของประเทศนั้นๆ ดังนั้น ในเรื่องของระบบการออมเงินต่างๆ และโครงการสวัสดิการสังคมที่มีให้กับประชาชนแต่ละคนนั้น เป็นเรื่องสำคัญสำหรับความมั่นคงทางสังคมที่จำเป็นต้องเร่งทำควบคู่ไปกับการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความกินดีอยู่ดีให้กับประชาชนให้ครบถ้วน ทั้งสำหรับคนที่ทำงานได้และทำงานไม่ได้หรือไม่ได้ทำงานแล้ว ตัวอย่างเช่น **ระบบการออมระยะยาวล่วงหน้าของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข.** ซึ่งสมาชิกของกองทุนทุกคนจะได้มีการสะสมเงินเข้ามาทุกเดือนไว้ในบัญชีของตนเองรวมกับส่วนที่ทางราชการจะจ่ายเข้ามาสมทบ เป็นเงินของแต่ละคนแยกต่างหากจากกัน หรือ Individual Account โดยกองทุนทำหน้าที่นำเงินในบัญชีของสมาชิกทุกคนมารวมกัน นำไปลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์เพิ่มเติมให้แก่สมาชิก และรอจ่ายคืนเมื่อข้าราชการสมาชิกได้เกษียณอายุไปแล้วหรือออกจากราชการทุกเหตุ ซึ่งการออมเงินแบบนี้ ถือได้ว่าเป็นการเฉลี่ยเงินได้จากวันที่มีเงินเดือน มีรายได้ ไปสู่เวลาที่ไม่มีรายได้แล้วยังคงมีรายจ่ายอยู่ ซึ่งเป็นบั้นปลายชีวิตของทุกคน จึงนับเป็นมาตรฐานการออมที่ดีหากคุณต้องการให้มีเงินไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณ นั่นหมายถึงในวัยทำงานเราจะต้องรู้จักการเก็บออมอย่างมีวินัย และให้ได้เป้าหมายอย่างที่ตั้งไว้ ยิ่งเราเก็บออมได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีเงินไว้ใช้จ่ายได้มากเท่านั้น มาตรฐานชีวิตก็จะดีขึ้นตามไปด้วย เพื่อเป็นการสร้างตาข่ายความมั่นคงในอนาคตให้กับชีวิตนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เมื่อการแพทย์ดีขึ้นคนเราแก่แล้วตายช้าลก็จะทำให้สังคมโดยรวมมีคนแก่จำนวนมากขึ้นตามลำดับดังนั้นในประเทศหลายแห่งจึงเริ่มหันมาเห็นความสำคัญของระบบการออมเงินแบบระยะยาวของประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ เพราะหากยิ่งทำได้มากก็ยิ่งดี เพราะจะช่วยทำให้คนสามารถพึ่งตนเองได้ ไม่เป็นภาระของรัฐบาลในระยะยาว รวมทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในสังคมของประเทศนั้น ๆ ด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้เราควรทำให้รูปแบบการออมกว้างขึ้นได้ในอีกหลายด้าน เช่น การครอบคลุมคนที่อยู่ในวัยทำงานและมีรายได้ทั้งหมด ไม่ควรให้มีการนำเงินออมนี้ออกไปใช้ก่อนเวลาอันควรหรือแม้เมื่อออกจากงานหนึ่งไปทำงานอีกที่หนึ่งก็ควรให้เงินออมนั้นอยู่เป็นเงินที่เราจะได้เอาไว้ใช้เมื่อถึงช่วงเกษียณเท่านั้น หรือไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทางเลือกใหม่ให้ไม่ต้องนำเงินออมออกไปทั้งก้อน แต่ควรจะมีระบบฝากเงินไว้ไห้ผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่บริหารและทยอยจ่ายเงินเป็นงวดๆ คล้ายกับบำนาญแทนให้กับผู้ออมเงินทุกคน
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความร่วมมือช่วยกันสร้างตาข่ายแห่งความมั่นคงของสังคมในอนาคต เพื่อที่เราทุกคนจะได้มีความเป็นอยู่ที่ดีไปตลอดช่วงบั้นปลายของชีวิต