รอยเตอร์ - บรรดาผู้บริหารกองทุนเพื่อการลงทุนภาคเอกชน (ไพรเวต อิควิตี ฟันด์) จากสหรัฐฯ พากันเดินทางไปยังดูไบในสัปดาห์นี้ เพื่อหาผู้ร่วมลงทุนและทำสัญญาต่าง ๆในช่วงอุตสาหกรรมการเงินโลกกำลังประสบปัญหาครั้งร้ายแรง
การประชุมประจำปีที่มีชื่อว่า "ซูเปอร์ รีเทิร์น มิดเดิล อีสต์" ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลาสามวันนี้ มีขึ้นในช่วงที่ตลาดการเงินทั่วโลกกำลังปั่นป่วนอย่างหนัก รวมทั้งเกิดภาวะสินเชื่อเหือดแห้ง ที่ทำให้ความสามารถของกองทุนเพื่อลงทุนภาคเอกชน ในการระดมทุนความเสี่ยงสูง มีอันลดต่ำลงไปมาก
ผู้ที่เข้าร่วมประชุมจะได้รับฟังบรรดาผู้ยิ่งใหญ่ในวอลสตรีทอย่างเช่น เฮนรี คราวิส จากเคเคอาร์ , เดวิด รูเบนสไตน์ แห่งคาร์ไลล์ และสตีฟ ชวอร์ซแมนของแบล็กสโตนกรุ๊ป พูดเกี่ยวกับเรื่องอุตสาหกรรมไพรเวทอิควิตีสหรัฐฯ จะฝ่าคลื่นลมโหมกระหน่ำไปได้อย่างไร และลู่ทางโอกาสการลงทุนที่พวกเขามองเห็นในขณะนี้
ส่วนผู้พูดจากตะวันออกกลางก็มีอาทิ ตัวแทนของกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐของดูไบที่ชื่อ อิสทิธมาร์ เวิร์ลด์ แคปิตอลซึ่ง เป็นเจ้าของเครือข่ายขายปลีกเสื้อผ้าแฟชั่น "บาร์นีย์ส" ในนครนิวยอร์ก และกองทุนไพรเวทอิคิวตีของซาอุดีอาระเบียชื่อว่า สวิคอร์ปซึ่งเมื่อเร็ว ๆนี้ได้ซื้อหุ้นในบริษัทจอร์แดน เอวิเอชัน ซึ่งเป็นบริษัทเช่าซื้อขนาดใหญ่เอาไว้
นอกจากรายการสัมมนาที่ให้ผู้สนใจเข้าฟังแล้ว ก็ยังมีการประชุมเป็นการภายในระหว่างผู้บริหารไพรเวทอิควิตีสหรัฐฯกับกองทุนในตะวันออกกลางเพื่อร่วมทุนกัน หรือเพ่รอระดมทุน รวมทั้งทำข้อตกลงต่างๆ ระหว่างกันอื่นๆ เพื่อสยายการลงทุนเข้าไปในสหรัฐฯ
ก่อนหน้านี้ กองทุนความมั่งคั่งภาครัฐหลายแห่ง ได้เข้าถือหุ้นในบริษัทชื่อดังในสหรัฐฯ ที่ราคาหุ้นร่วงลงอย่างมหาศาล แต่ก็ได้รับการต้อนรับไม่ค่อยดีนัก หลายฝ่ายในสหรัฐฯโดยเฉพาะพวกนักการเมืองตั้งคำถามถึงแรงจูงใจการซื้อหุ้น เพราะสงสัยว่าอาจมีเป้าหมายทางการเมืองเข้ามาแอบแฝงอยู่ จึงกลายเป็นการสร้างความกังวลให้กับบรรดาผู้บริหารบริษัทเหล่านี้ว่ากองทุนยังจะคงลงทุนในสหรัฐต่อไปหรือไม่
สำหรับการลงทุนขนาดใหญ่ๆ ในบริษัทสหรัฐฯของพวกกองทุนในตะวันออกกลาง ที่เกิดขึ้นในรอบปีเศษที่ผ่านมา ก็อย่างเช่น เมื่อเดือนมกราคมปีนี้ ซิติกรุ๊ป ได้ระดมทุน 12,500 ล้านดอลลาร์จากการขายหลักทรัพย์บุริมสิทธิแปลงสภาพแก่นักลงทุนแบบเจาะจงตัว ซึ่งทั้งกองทุนของคูเวตและเจ้าชายอัลวาลีด บิน ทาลัล ได้เข้ามาลงทุน ทว่าในรอบปีนี้ราคาหุ้นของซิติกรุ๊ปก็ร่วงลงไปประมาณครึ่งหนึ่งแล้ว
นอกจากนี้กองทุนของอาบูดาบีก็เข้าซื้อหุ้นในคาร์ไลล์กรุ๊ปเป็นมูลค่า 1,350 ล้านดอลลาร์ในเดือนกันยายนปี 2007 ส่วนดูไบก็เข้าซื้อหุ้น 1,260 ล้านดอลลาร์ในกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ออช ซิฟฟ์ แคปิตอล แมเนจเมนท์ กรุ๊ป ในเดือนตุลาคมปี 2007 ก่อนหน้าที่กองทุนนี้จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และตอนนี้ราคาหุ้นของออช ซิฟก็ร่วงลงจากเดิมประมาณ 80%
เมื่อปีที่แล้ว นักลงทุนจากตะวันออกกลางซื้อสินทรัพย์ในสหรัฐฯไปเป็นเงินถึง 42,000 ล้านดอลลาร์ และในปีนี้ก็ใช้เงินไปแล้ว 14,000 ล้านดอลลาร์ แต่จำนวนการลงทุนจากสหรัฐฯที่เข้าไปในประเทศตะวันออกกลางนั้นมีเพียงน้อยนิด เมื่อปีที่แล้วสหรัฐฯลงทุนสินทรัพย์ในตะวันออกกลางไปเพียง 1,400 ล้านดอลลาร์ และการลงทุนในปีนี้มีมูลค่าเพียง 652 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
นอกเหนือไปจากการซื้อหุ้นในบริษัทต่าง ๆโดยตรงแล้ว กองทุนความมั่นคั่งภาครัฐในตะวันออกกลาง ยังเข้าซื้อหุ้นของไพรเวต อิคิวตี ฟันด์ต่าง ๆอีกด้วย ตามรายงานจากไพรเวต อิควิตี อินเทลลิเจนซ์ ที่ตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงลอนดอนระบุว่า การเข้าซื้อในแบบหลังมีมูลค่าถึง 150,000 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 10% ของมูลค่ารวมของอุตสาหกรรมนี้ทั้งโลก
การประชุมประจำปีที่มีชื่อว่า "ซูเปอร์ รีเทิร์น มิดเดิล อีสต์" ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลาสามวันนี้ มีขึ้นในช่วงที่ตลาดการเงินทั่วโลกกำลังปั่นป่วนอย่างหนัก รวมทั้งเกิดภาวะสินเชื่อเหือดแห้ง ที่ทำให้ความสามารถของกองทุนเพื่อลงทุนภาคเอกชน ในการระดมทุนความเสี่ยงสูง มีอันลดต่ำลงไปมาก
ผู้ที่เข้าร่วมประชุมจะได้รับฟังบรรดาผู้ยิ่งใหญ่ในวอลสตรีทอย่างเช่น เฮนรี คราวิส จากเคเคอาร์ , เดวิด รูเบนสไตน์ แห่งคาร์ไลล์ และสตีฟ ชวอร์ซแมนของแบล็กสโตนกรุ๊ป พูดเกี่ยวกับเรื่องอุตสาหกรรมไพรเวทอิควิตีสหรัฐฯ จะฝ่าคลื่นลมโหมกระหน่ำไปได้อย่างไร และลู่ทางโอกาสการลงทุนที่พวกเขามองเห็นในขณะนี้
ส่วนผู้พูดจากตะวันออกกลางก็มีอาทิ ตัวแทนของกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐของดูไบที่ชื่อ อิสทิธมาร์ เวิร์ลด์ แคปิตอลซึ่ง เป็นเจ้าของเครือข่ายขายปลีกเสื้อผ้าแฟชั่น "บาร์นีย์ส" ในนครนิวยอร์ก และกองทุนไพรเวทอิคิวตีของซาอุดีอาระเบียชื่อว่า สวิคอร์ปซึ่งเมื่อเร็ว ๆนี้ได้ซื้อหุ้นในบริษัทจอร์แดน เอวิเอชัน ซึ่งเป็นบริษัทเช่าซื้อขนาดใหญ่เอาไว้
นอกจากรายการสัมมนาที่ให้ผู้สนใจเข้าฟังแล้ว ก็ยังมีการประชุมเป็นการภายในระหว่างผู้บริหารไพรเวทอิควิตีสหรัฐฯกับกองทุนในตะวันออกกลางเพื่อร่วมทุนกัน หรือเพ่รอระดมทุน รวมทั้งทำข้อตกลงต่างๆ ระหว่างกันอื่นๆ เพื่อสยายการลงทุนเข้าไปในสหรัฐฯ
ก่อนหน้านี้ กองทุนความมั่งคั่งภาครัฐหลายแห่ง ได้เข้าถือหุ้นในบริษัทชื่อดังในสหรัฐฯ ที่ราคาหุ้นร่วงลงอย่างมหาศาล แต่ก็ได้รับการต้อนรับไม่ค่อยดีนัก หลายฝ่ายในสหรัฐฯโดยเฉพาะพวกนักการเมืองตั้งคำถามถึงแรงจูงใจการซื้อหุ้น เพราะสงสัยว่าอาจมีเป้าหมายทางการเมืองเข้ามาแอบแฝงอยู่ จึงกลายเป็นการสร้างความกังวลให้กับบรรดาผู้บริหารบริษัทเหล่านี้ว่ากองทุนยังจะคงลงทุนในสหรัฐต่อไปหรือไม่
สำหรับการลงทุนขนาดใหญ่ๆ ในบริษัทสหรัฐฯของพวกกองทุนในตะวันออกกลาง ที่เกิดขึ้นในรอบปีเศษที่ผ่านมา ก็อย่างเช่น เมื่อเดือนมกราคมปีนี้ ซิติกรุ๊ป ได้ระดมทุน 12,500 ล้านดอลลาร์จากการขายหลักทรัพย์บุริมสิทธิแปลงสภาพแก่นักลงทุนแบบเจาะจงตัว ซึ่งทั้งกองทุนของคูเวตและเจ้าชายอัลวาลีด บิน ทาลัล ได้เข้ามาลงทุน ทว่าในรอบปีนี้ราคาหุ้นของซิติกรุ๊ปก็ร่วงลงไปประมาณครึ่งหนึ่งแล้ว
นอกจากนี้กองทุนของอาบูดาบีก็เข้าซื้อหุ้นในคาร์ไลล์กรุ๊ปเป็นมูลค่า 1,350 ล้านดอลลาร์ในเดือนกันยายนปี 2007 ส่วนดูไบก็เข้าซื้อหุ้น 1,260 ล้านดอลลาร์ในกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ออช ซิฟฟ์ แคปิตอล แมเนจเมนท์ กรุ๊ป ในเดือนตุลาคมปี 2007 ก่อนหน้าที่กองทุนนี้จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และตอนนี้ราคาหุ้นของออช ซิฟก็ร่วงลงจากเดิมประมาณ 80%
เมื่อปีที่แล้ว นักลงทุนจากตะวันออกกลางซื้อสินทรัพย์ในสหรัฐฯไปเป็นเงินถึง 42,000 ล้านดอลลาร์ และในปีนี้ก็ใช้เงินไปแล้ว 14,000 ล้านดอลลาร์ แต่จำนวนการลงทุนจากสหรัฐฯที่เข้าไปในประเทศตะวันออกกลางนั้นมีเพียงน้อยนิด เมื่อปีที่แล้วสหรัฐฯลงทุนสินทรัพย์ในตะวันออกกลางไปเพียง 1,400 ล้านดอลลาร์ และการลงทุนในปีนี้มีมูลค่าเพียง 652 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
นอกเหนือไปจากการซื้อหุ้นในบริษัทต่าง ๆโดยตรงแล้ว กองทุนความมั่นคั่งภาครัฐในตะวันออกกลาง ยังเข้าซื้อหุ้นของไพรเวต อิคิวตี ฟันด์ต่าง ๆอีกด้วย ตามรายงานจากไพรเวต อิควิตี อินเทลลิเจนซ์ ที่ตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงลอนดอนระบุว่า การเข้าซื้อในแบบหลังมีมูลค่าถึง 150,000 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 10% ของมูลค่ารวมของอุตสาหกรรมนี้ทั้งโลก