ที่ผ่านมาเมื่อย่างเข้าปลายปีทีไรบรรยากาศการลงทุนก็เริ่มจะคึกคัก แต่สำหรับปี 2551 แล้วการลงทุนอาจจะถูกขัดจังหวะไปบ้าง จากเหตุการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่เป็นปัญหาบั่นทอนภาวะจิตใจของผู้ลงทุนทำให้ตลาดการลงทุนอาจจะเงียบเหงาซบเซาไปบ้างบางขณะ แต่ก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะเก็บเกี่ยวของราคาถูกตุนเข้ากระเป๋าไว้บ้าง เพราะถึงจะเกิดปัญหามากน้อยแค่ไหนการลงทุนก็จะต้องเกิดขึ้นต่อไป
สำหรับช่วงปลายปีราวเดือนกันยายนจนถึงเดือนธันวาคม จะมีงานตลาดนัดกองทุนรวม งานมหกรรมการลงทุน ซึ่งภายในงานก็จะมีการให้ความรู้เรื่องการลงทุน ความรู้ด้านนโยบายลงทุน การศึกษาทำความเข้าใจในกองทุนประเภทต่างๆ การเสนอผลตอบแทนจากการลงทุนแต่ละประเภทเพื่อดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดการเงินต่างๆ
ผลิตภัณฑ์ที่เหล่านักลงทุนเข้ามาเลือกซื้อมากที่สุดในช่วงโค้งสุดท้ายแห่งปี จะเป็นกองทุนเปิด RMF และ LTF เพราะเวลาทองแห่งการลงทุนเพื่อนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีประจำปีใกล้หมดแล้วนั่นเอง ทั้งการมาเดินงานแบบนี้ยังสามารถสอบถามกับเจ้าหน้าที่ประจำบูธแต่ละ บลจ.ต่างๆได้โดยตรง โดยคำถามบางคำถามเป็นคำถามยอดฮิตและบางคำถามก็ควรที่จะถามแต่อาจลืมไปได้ ฉะนั้นก่อนที่จะไปเดินเยี่ยมชมหรือเลือกสรรผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุนภายในงานตลาดนัดกองทุนรวม เราควรที่จะตั้งคำถามสำหรับตอบโจทย์ในใจของตนเองไว้ล่วงหน้าก่อนการตัดสินใจลงทุน
สำหรับ 10 คำถามยอดฮิต ที่ผู้ลงทุนนิยมสอบถามและควรรู้มีดังนี้1. เลือกลงทุนกับกองทุน RMF กองไหนดี กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือ RMF จะมีหลายประเภทแตกต่างกันที่นโยบายการลงทุนเป็นหลัก ทำให้มีความเสี่ยงจากการลงทุนและได้รับผลตอบแทนที่แตกต่างกันออกไป ฉะนั้นก่อนที่จะเลือกซื้อเราควรถามใจตัวเองก่อนว่าเรารับความเสี่ยงได้มากน้อยขนาดไหน เมื่อตอบโจทย์ข้อนี้ได้ก็เลือกลงทุนตามต้องการครับ
2. เงื่อนไขการลงทุนในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพเป็นอย่างไรการลงทุนใน RMF เพื่อนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีก็จะต้องมีเงื่อนไขทางด้านภาษีที่ต้องปฎิบัติเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเราจะต้องปฎิบัติตามอย่างถูกต้องถึงจะได้รับประโยชน์จากการลงทุนและการใช้สิทธิทางด้านภาษีอย่างคุ้มค่า โดยหลักการของ RMF เนื่องจากเป็นกองทุนเพื่อสนับสนุนให้เก็บเงินไว้ใช้ยามเกษียณ จึงมีเงื่อนไขให้ลงทุนต่อเนื่องทุกปีไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ และต้องลงทุนไปจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ถึงจะไถ่ถอนคืนได้โดยไม่ผิดเงื่อนไข สำหรับเงื่อนไขทางด้านภาษีนี้อาจจะเป็นคำถามที่หลายๆท่านทราบดีอยู่แล้ว แต่สาเหตุที่อยากให้ถามก็เพราะว่าถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดหรือเงื่อนไขบางประการเราก็จะได้รีบทราบและทำความเข้าใจได้ครับ
3. เลือกลงทุนกับกองทุน LTF กองไหนดี กองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าหุ้นระยะยาว กองทุนนี้จึงเน้นการลงทุนในหุ้น ถ้าเลือกลงทุนในกองทุนนี้ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนที่มีอยู่สูงพอสมควร แต่ถึงอย่างไรกองทุนรวมหุ้นระยะยาวนี้ก็ยังได้รับความนิยมมาก สาเหตุมาจากการถือครองของกองทุนที่สั้นกว่า RMF คือเพียง 5 ปีปฏิทิน
4. จ่ายปันผลหรือไม่จ่ายปันผล แล้วจะเลือกอย่างไรดี กองทุน LTF มีเป็นจำนวนมาก บางครั้งทำให้นักลงทุนตัดสินใจไม่ได้ว่าควรเลือกลงทุนกองไหนดี โดยเฉพาะการเลือกระหว่างกองทุนที่จ่ายปันผลและไม่จ่ายปันผล ซึ่งแต่ละประเภทมีข้อแตกต่างกันคือ การจ่ายเงินปันผล ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากเงินที่ตนเองลงทุนตลอดช่วงของการลงทุนหากกองทุนบริหารแล้วมีกำไร แต่เงินปันผลที่ได้รับจะถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีด้วย โดยผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาเลือกได้ว่าจะให้หักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ ส่วนกองทุนที่ไม่จ่ายเงินปันผลนั้นก็จะนำผลตอบแทนจากการลงทุนที่ได้รับไปลงทุนต่อเนื่องไปอีก ดังนั้นกองทุนก็สามารถสร้างผลตอบแทนจากเงินที่ไม่ได้จ่ายเงินปันผลได้ด้วย
5. ผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร อีกสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องดูและศึกษาก็คือผลการดำเนินงานย้อนหลัง ผลการดำเนินงานนี้เป็นการแสดงค่าในช่วงเวลาต่างๆซึ่งก็จะบอกว่าขณะนั้นกองทุนแต่ละกองทุนมีการลงทุนแล้วมีกำไรหรือขาดทุนเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งก็จะสะท้อนการบริหารจัดการกองทุนของเจ้าของกองทุนได้ ซึ่งการดูผลตอบแทนนี้แนะนำให้ดูช่วงเวลายาวๆ เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนได้ แต่ผู้ลงทุนต้องพึงระลึกเสมอว่าผลตอบแทนในอดีตมิใช่สิ่งยืนยันผลตอบแทนในอนาคตนะครับ
6. ของพรีเมี่ยมแจกอะไร ลงทุนแล้วได้อะไรบ้าง ผู้ลงทุนจำนวนมากนิยมเลือกของพรีเมี่ยมก่อนการตัดสินใจลงทุน ซึ่งจริงๆแล้วของแจกหรือของพรีเมี่ยมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ล่อตาล่อใจเท่านั้น มูลค่าของพรีเมี่ยมที่แจกก็มีราคาไม่สูงคุณภาพก็อาจจะไม่ดีเยี่ยมหรือจัดเป็นสินค้าเกรดA ฉะนั้นจึงอยากที่ให้ดูที่ตัวกองทุนมากกว่าของพรีเมี่ยมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือใยการตัดสินใจลงทุนครับ
7. การลงทุนทำที่ไหนได้บ้าง นี่ก็เป็นอีกคำถามที่ควรทราบก่อนการลงทุน การลงทุนที่มีความสะดวกหรือความคล่องตัวก็จะเป็นประโยชน์กับผู้ลงทุนเองครับ ฉะนั้นควรที่จะถามกับเจ้าของกองทุนต่างๆให้ครบถ้วนเพื่อประโยชน์กับตัวท่านเอง โดยเฉพาะการทำรายการซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ระบบโทรศัพท์ ตู้เอทีเอ็ม ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อครั้งต่อๆ ไปได้
8. ช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารกองทุน การรับทราบข้อมูลข่าวสารของกองทุนหรือผลการดำเนินงานของกองทุนที่รวดเร็วหรือสามารถตรวจได้โดยง่ายก็จะทำให้ผู้ลงทุนมีความได้เปรียบกว่าบุคคลอื่นและสามารถบริหารการลงทุนครั้งนี้ได้ดียิ่งขึ้น 9. เงื่อนไขเฉพาะของกองทุน ก่อนตัดสินใจลงทุนกับที่ใดที่หนึ่งควรจะศึกษาเงื่อนไขที่แต่ละที่กำหนดด้วยเพื่อจะได้รับประโยชน์จากการลงทุนอย่างแท้จริง เช่น เงื่อนไขการสับเปลี่ยน วันเวลาที่เปิดให้ซื้อหรือขายคืน ค่าธรรมเนียมต่างๆ เงื่อนไขของการได้ผลตอบแทน เป็นต้น
10. ใครเป็นผู้ให้คำแนะนำและรับรายการธุรกรรม การทำธุรกรรมทางด้านการเงินต่างๆ แล้วมีหลักฐานหรือเอกสารยืนยันการทำธุรกรรมจะช่วยให้ผู้ลงทุนมั่นใจได้ว่าธุรกรรมนั้นถูกต้อง หรือเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจากธุรกรรมนั้นๆ ผู้ลงทุนก็จะสามารถติดต่อกับผู้รับธุรกรรมของท่านได้อย่างสะดวกสำหรับคำถามทั้ง 10 คำถามเป็นคำถามที่ควรจะถามหรือรับทราบเพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนแต่ที่ผ่านมาอาจจะไม่ครบถ้วนสำหรับผู้ลงทุนบางท่าน ฉะนั้นถ้าอยากถามอะไรที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเรามีโอกาสที่จะพบกับเจ้าหน้าที่ผู้ให้คำแนะนำโดยตรงแล้วเราก็อย่าทิ้งโอกาสนี้ไปนะครับ
สำหรับช่วงปลายปีราวเดือนกันยายนจนถึงเดือนธันวาคม จะมีงานตลาดนัดกองทุนรวม งานมหกรรมการลงทุน ซึ่งภายในงานก็จะมีการให้ความรู้เรื่องการลงทุน ความรู้ด้านนโยบายลงทุน การศึกษาทำความเข้าใจในกองทุนประเภทต่างๆ การเสนอผลตอบแทนจากการลงทุนแต่ละประเภทเพื่อดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดการเงินต่างๆ
ผลิตภัณฑ์ที่เหล่านักลงทุนเข้ามาเลือกซื้อมากที่สุดในช่วงโค้งสุดท้ายแห่งปี จะเป็นกองทุนเปิด RMF และ LTF เพราะเวลาทองแห่งการลงทุนเพื่อนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีประจำปีใกล้หมดแล้วนั่นเอง ทั้งการมาเดินงานแบบนี้ยังสามารถสอบถามกับเจ้าหน้าที่ประจำบูธแต่ละ บลจ.ต่างๆได้โดยตรง โดยคำถามบางคำถามเป็นคำถามยอดฮิตและบางคำถามก็ควรที่จะถามแต่อาจลืมไปได้ ฉะนั้นก่อนที่จะไปเดินเยี่ยมชมหรือเลือกสรรผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุนภายในงานตลาดนัดกองทุนรวม เราควรที่จะตั้งคำถามสำหรับตอบโจทย์ในใจของตนเองไว้ล่วงหน้าก่อนการตัดสินใจลงทุน
สำหรับ 10 คำถามยอดฮิต ที่ผู้ลงทุนนิยมสอบถามและควรรู้มีดังนี้1. เลือกลงทุนกับกองทุน RMF กองไหนดี กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือ RMF จะมีหลายประเภทแตกต่างกันที่นโยบายการลงทุนเป็นหลัก ทำให้มีความเสี่ยงจากการลงทุนและได้รับผลตอบแทนที่แตกต่างกันออกไป ฉะนั้นก่อนที่จะเลือกซื้อเราควรถามใจตัวเองก่อนว่าเรารับความเสี่ยงได้มากน้อยขนาดไหน เมื่อตอบโจทย์ข้อนี้ได้ก็เลือกลงทุนตามต้องการครับ
2. เงื่อนไขการลงทุนในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพเป็นอย่างไรการลงทุนใน RMF เพื่อนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีก็จะต้องมีเงื่อนไขทางด้านภาษีที่ต้องปฎิบัติเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเราจะต้องปฎิบัติตามอย่างถูกต้องถึงจะได้รับประโยชน์จากการลงทุนและการใช้สิทธิทางด้านภาษีอย่างคุ้มค่า โดยหลักการของ RMF เนื่องจากเป็นกองทุนเพื่อสนับสนุนให้เก็บเงินไว้ใช้ยามเกษียณ จึงมีเงื่อนไขให้ลงทุนต่อเนื่องทุกปีไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ และต้องลงทุนไปจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ถึงจะไถ่ถอนคืนได้โดยไม่ผิดเงื่อนไข สำหรับเงื่อนไขทางด้านภาษีนี้อาจจะเป็นคำถามที่หลายๆท่านทราบดีอยู่แล้ว แต่สาเหตุที่อยากให้ถามก็เพราะว่าถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดหรือเงื่อนไขบางประการเราก็จะได้รีบทราบและทำความเข้าใจได้ครับ
3. เลือกลงทุนกับกองทุน LTF กองไหนดี กองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าหุ้นระยะยาว กองทุนนี้จึงเน้นการลงทุนในหุ้น ถ้าเลือกลงทุนในกองทุนนี้ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนที่มีอยู่สูงพอสมควร แต่ถึงอย่างไรกองทุนรวมหุ้นระยะยาวนี้ก็ยังได้รับความนิยมมาก สาเหตุมาจากการถือครองของกองทุนที่สั้นกว่า RMF คือเพียง 5 ปีปฏิทิน
4. จ่ายปันผลหรือไม่จ่ายปันผล แล้วจะเลือกอย่างไรดี กองทุน LTF มีเป็นจำนวนมาก บางครั้งทำให้นักลงทุนตัดสินใจไม่ได้ว่าควรเลือกลงทุนกองไหนดี โดยเฉพาะการเลือกระหว่างกองทุนที่จ่ายปันผลและไม่จ่ายปันผล ซึ่งแต่ละประเภทมีข้อแตกต่างกันคือ การจ่ายเงินปันผล ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากเงินที่ตนเองลงทุนตลอดช่วงของการลงทุนหากกองทุนบริหารแล้วมีกำไร แต่เงินปันผลที่ได้รับจะถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีด้วย โดยผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาเลือกได้ว่าจะให้หักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ ส่วนกองทุนที่ไม่จ่ายเงินปันผลนั้นก็จะนำผลตอบแทนจากการลงทุนที่ได้รับไปลงทุนต่อเนื่องไปอีก ดังนั้นกองทุนก็สามารถสร้างผลตอบแทนจากเงินที่ไม่ได้จ่ายเงินปันผลได้ด้วย
5. ผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร อีกสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องดูและศึกษาก็คือผลการดำเนินงานย้อนหลัง ผลการดำเนินงานนี้เป็นการแสดงค่าในช่วงเวลาต่างๆซึ่งก็จะบอกว่าขณะนั้นกองทุนแต่ละกองทุนมีการลงทุนแล้วมีกำไรหรือขาดทุนเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งก็จะสะท้อนการบริหารจัดการกองทุนของเจ้าของกองทุนได้ ซึ่งการดูผลตอบแทนนี้แนะนำให้ดูช่วงเวลายาวๆ เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนได้ แต่ผู้ลงทุนต้องพึงระลึกเสมอว่าผลตอบแทนในอดีตมิใช่สิ่งยืนยันผลตอบแทนในอนาคตนะครับ
6. ของพรีเมี่ยมแจกอะไร ลงทุนแล้วได้อะไรบ้าง ผู้ลงทุนจำนวนมากนิยมเลือกของพรีเมี่ยมก่อนการตัดสินใจลงทุน ซึ่งจริงๆแล้วของแจกหรือของพรีเมี่ยมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ล่อตาล่อใจเท่านั้น มูลค่าของพรีเมี่ยมที่แจกก็มีราคาไม่สูงคุณภาพก็อาจจะไม่ดีเยี่ยมหรือจัดเป็นสินค้าเกรดA ฉะนั้นจึงอยากที่ให้ดูที่ตัวกองทุนมากกว่าของพรีเมี่ยมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือใยการตัดสินใจลงทุนครับ
7. การลงทุนทำที่ไหนได้บ้าง นี่ก็เป็นอีกคำถามที่ควรทราบก่อนการลงทุน การลงทุนที่มีความสะดวกหรือความคล่องตัวก็จะเป็นประโยชน์กับผู้ลงทุนเองครับ ฉะนั้นควรที่จะถามกับเจ้าของกองทุนต่างๆให้ครบถ้วนเพื่อประโยชน์กับตัวท่านเอง โดยเฉพาะการทำรายการซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ระบบโทรศัพท์ ตู้เอทีเอ็ม ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อครั้งต่อๆ ไปได้
8. ช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารกองทุน การรับทราบข้อมูลข่าวสารของกองทุนหรือผลการดำเนินงานของกองทุนที่รวดเร็วหรือสามารถตรวจได้โดยง่ายก็จะทำให้ผู้ลงทุนมีความได้เปรียบกว่าบุคคลอื่นและสามารถบริหารการลงทุนครั้งนี้ได้ดียิ่งขึ้น 9. เงื่อนไขเฉพาะของกองทุน ก่อนตัดสินใจลงทุนกับที่ใดที่หนึ่งควรจะศึกษาเงื่อนไขที่แต่ละที่กำหนดด้วยเพื่อจะได้รับประโยชน์จากการลงทุนอย่างแท้จริง เช่น เงื่อนไขการสับเปลี่ยน วันเวลาที่เปิดให้ซื้อหรือขายคืน ค่าธรรมเนียมต่างๆ เงื่อนไขของการได้ผลตอบแทน เป็นต้น
10. ใครเป็นผู้ให้คำแนะนำและรับรายการธุรกรรม การทำธุรกรรมทางด้านการเงินต่างๆ แล้วมีหลักฐานหรือเอกสารยืนยันการทำธุรกรรมจะช่วยให้ผู้ลงทุนมั่นใจได้ว่าธุรกรรมนั้นถูกต้อง หรือเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจากธุรกรรมนั้นๆ ผู้ลงทุนก็จะสามารถติดต่อกับผู้รับธุรกรรมของท่านได้อย่างสะดวกสำหรับคำถามทั้ง 10 คำถามเป็นคำถามที่ควรจะถามหรือรับทราบเพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนแต่ที่ผ่านมาอาจจะไม่ครบถ้วนสำหรับผู้ลงทุนบางท่าน ฉะนั้นถ้าอยากถามอะไรที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเรามีโอกาสที่จะพบกับเจ้าหน้าที่ผู้ให้คำแนะนำโดยตรงแล้วเราก็อย่าทิ้งโอกาสนี้ไปนะครับ