บลจ. ทหารไทยไม่วางใจวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ดึงเงินกองทุน USD Money Market กลับ ก่อนโยกเข้าบัญชีสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศแทน แจงเพื่อความปลอดภัยของเงินต้นและรักษาระดับผลตอบแทนที่เหมาะสม หลังวิกฤตการเงิน กดดันยิลด์ตั๋วเงินคลังระยะสั้น ลดตํ่ากว่า 0.25% ย้ำติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ก่อนส่งเงินกลับไปลงทุนรอบใหม่
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด เปิดเผยว่า ตามที่กองทุนเปิดทหารไทย USD Money Market ซึ่งมีนโยบายเน้นลงทุนในต่างประเทศ โดยรักษาสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศให้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนนั้น แต่เนื่องจากได้เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติในตลาดการเงินของต่างประเทศอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากวิกฤตการณ์การล้มละลายของบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส รวมถึงบริษัท AIG Group และบริษัท Merrill Lynch ต้องประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง จนก่อให้เกิดวิกฤติสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา และเกิดความไม่เชื่อมั่นในสถาบันการเงินอื่นๆ ตามเป็นลูกโซ่ ขณะเดียวกันอัตราผลตอบแทนตั๋วเงินคลังระยะสั้นของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ปรับลดลงอย่างรวดเร็วมาอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 0.25 ต่อปี ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 54 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ส่งผลทำให้เพื่อความปลอดภัยของเงินต้นและรักษาระดับผลตอบแทนที่เหมาะสมจากการลงทุน บลจ.ทหารไทยจึงได้นำเงินลงทุนในต่างประเทศทั้งหมดของกองทุนเปิดทหารไทย USD Money Market กลับมาฝากในบัญชีเงินฝากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยแทนเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2551 เป็นต้นมา จนกว่าสถานการณ์ในตลาดเงินต่างประเทศเริ่มมีความชัดเจนและกลับสู่สภาวะปกติ ซึ่งทางบลจ.ทหารไทยจะติดตามสถานการณ์ในต่างประเทศอย่างใกล้ชิดเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการนำเงินกลับไปลงทุนในต่างประเทศต่อไป
ขณะที่ช่วงเวลานี้สัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศของกองทุนเปิดทหารไทย USD Money Market จึงอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขพิเศษตามที่ระบุในข้อ 2 หน้า 2 ของหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปของกองทุน และข้อ 3.3 หน้า 11 ของหนังสือชี้ชวนส่วนโครงการของกองทุน ที่ระบุว่ากองทุนจะลงทุนในต่างประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.5 ยกเว้นสภาวการณ์ที่ไม่ปกติ และ/หรือกรณีที่อยู่ระหว่างการขออนุมัติวงเงินลงทุนในต่างประเทศ และ/หรือเหตุการณ์อื่นใดที่ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้อย่างสมเหตุสมผล กองทุนจะทำรายงานการลงทุนที่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กำหนด พร้อมทั้งเหตุผล และจัดส่งมายังสำนักงาน ก.ล.ต. ภายในเวลาที่กำหนด โดยบลจ.ทหารไทยยังคงเปิดให้มีการซื้อ/ขาย/สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดทหารไทย USD Money Market ได้ตามปกติ หากท่านมีข้อสงสัยประการใด กรุณาติดต่อส่วนลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 1725
ก่อนหน้านี้รายงานข่าวจากการรวบรวมข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ระบุว่าการลงทุนของกองทุนเอฟไอเอฟในต่างประเทศมีมูลค่าลงทุนอยู่ที่ 4 แสนล้านบาท โดยส่วนใหญ่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลร้อยละ 95 มีบางส่วนที่ลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวทฟันด์) และที่เหลือร้อยละ 5 เป็นการลงทุนผ่านเอกชน
สำหรับการลงทุนของกองทุนเอฟไอเอฟนั้น จากการสำรวจพบว่ามีการลงทุนในเลย์แมน บราเธอร์ส จำนวน 58 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนผ่านหุ้นและตราสาร ส่วนการลงทุนผ่านกลุ่มเอไอจีนั้นมีจำนวน 10-20 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนผ่านหุ้นและตราสารเช่นกัน และมีกองทุนที่นำเงินไปฝากใน AIG Retail Bank ซึ่งมีเม็ดเงินจำนวน 2,000 ล้านบาท โดยในเงินส่วนดังกล่าวก.ล.ต.มองว่าไม่น่ามีความกังวล เนื่องจากมีการค้ำประกันเงินฝาก
อย่างไรก็ตามการลงทุนในมอร์แกน สแตนเลย์ และโกลด์แมน แซคส์ วาณิชธนกิจอันดับต้นๆ ของสหรัฐ มีการลงทุนรวม 68 ล้านบาท ซึ่งทั้งในส่วนของมอร์แกน สแตนเลย์ และโกลด์แมน แซคส์ ยังไม่ได้ล้มเพียงแต่มีความเสี่ยงเท่านั้น ก.ล.ต.จึงจับตามองกองทุนที่เข้าไปลงทุนใน 2 บริษัทดังกล่าว เนื่องจากการติดตามของ ก.ล.ต.ในขณะนี้ได้ติดตามจากตราสารหนี้ประกันความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งมีการจัดอันดับความเสี่ยง ซึ่งปรากฏว่า มอร์แกน สแตนเลย์ และโกลด์แมน แซคส์ ติดอันดับความเสี่ยงต้นๆ จึงทำให้ ก.ล.ต.มีการจับตามองอย่างใกล้ชิด ว่ากองทุนเอฟไอเอฟไปเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด เปิดเผยว่า ตามที่กองทุนเปิดทหารไทย USD Money Market ซึ่งมีนโยบายเน้นลงทุนในต่างประเทศ โดยรักษาสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศให้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนนั้น แต่เนื่องจากได้เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติในตลาดการเงินของต่างประเทศอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากวิกฤตการณ์การล้มละลายของบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส รวมถึงบริษัท AIG Group และบริษัท Merrill Lynch ต้องประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง จนก่อให้เกิดวิกฤติสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา และเกิดความไม่เชื่อมั่นในสถาบันการเงินอื่นๆ ตามเป็นลูกโซ่ ขณะเดียวกันอัตราผลตอบแทนตั๋วเงินคลังระยะสั้นของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ปรับลดลงอย่างรวดเร็วมาอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 0.25 ต่อปี ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 54 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ส่งผลทำให้เพื่อความปลอดภัยของเงินต้นและรักษาระดับผลตอบแทนที่เหมาะสมจากการลงทุน บลจ.ทหารไทยจึงได้นำเงินลงทุนในต่างประเทศทั้งหมดของกองทุนเปิดทหารไทย USD Money Market กลับมาฝากในบัญชีเงินฝากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยแทนเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2551 เป็นต้นมา จนกว่าสถานการณ์ในตลาดเงินต่างประเทศเริ่มมีความชัดเจนและกลับสู่สภาวะปกติ ซึ่งทางบลจ.ทหารไทยจะติดตามสถานการณ์ในต่างประเทศอย่างใกล้ชิดเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการนำเงินกลับไปลงทุนในต่างประเทศต่อไป
ขณะที่ช่วงเวลานี้สัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศของกองทุนเปิดทหารไทย USD Money Market จึงอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขพิเศษตามที่ระบุในข้อ 2 หน้า 2 ของหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปของกองทุน และข้อ 3.3 หน้า 11 ของหนังสือชี้ชวนส่วนโครงการของกองทุน ที่ระบุว่ากองทุนจะลงทุนในต่างประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.5 ยกเว้นสภาวการณ์ที่ไม่ปกติ และ/หรือกรณีที่อยู่ระหว่างการขออนุมัติวงเงินลงทุนในต่างประเทศ และ/หรือเหตุการณ์อื่นใดที่ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้อย่างสมเหตุสมผล กองทุนจะทำรายงานการลงทุนที่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กำหนด พร้อมทั้งเหตุผล และจัดส่งมายังสำนักงาน ก.ล.ต. ภายในเวลาที่กำหนด โดยบลจ.ทหารไทยยังคงเปิดให้มีการซื้อ/ขาย/สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดทหารไทย USD Money Market ได้ตามปกติ หากท่านมีข้อสงสัยประการใด กรุณาติดต่อส่วนลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 1725
ก่อนหน้านี้รายงานข่าวจากการรวบรวมข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ระบุว่าการลงทุนของกองทุนเอฟไอเอฟในต่างประเทศมีมูลค่าลงทุนอยู่ที่ 4 แสนล้านบาท โดยส่วนใหญ่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลร้อยละ 95 มีบางส่วนที่ลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวทฟันด์) และที่เหลือร้อยละ 5 เป็นการลงทุนผ่านเอกชน
สำหรับการลงทุนของกองทุนเอฟไอเอฟนั้น จากการสำรวจพบว่ามีการลงทุนในเลย์แมน บราเธอร์ส จำนวน 58 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนผ่านหุ้นและตราสาร ส่วนการลงทุนผ่านกลุ่มเอไอจีนั้นมีจำนวน 10-20 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนผ่านหุ้นและตราสารเช่นกัน และมีกองทุนที่นำเงินไปฝากใน AIG Retail Bank ซึ่งมีเม็ดเงินจำนวน 2,000 ล้านบาท โดยในเงินส่วนดังกล่าวก.ล.ต.มองว่าไม่น่ามีความกังวล เนื่องจากมีการค้ำประกันเงินฝาก
อย่างไรก็ตามการลงทุนในมอร์แกน สแตนเลย์ และโกลด์แมน แซคส์ วาณิชธนกิจอันดับต้นๆ ของสหรัฐ มีการลงทุนรวม 68 ล้านบาท ซึ่งทั้งในส่วนของมอร์แกน สแตนเลย์ และโกลด์แมน แซคส์ ยังไม่ได้ล้มเพียงแต่มีความเสี่ยงเท่านั้น ก.ล.ต.จึงจับตามองกองทุนที่เข้าไปลงทุนใน 2 บริษัทดังกล่าว เนื่องจากการติดตามของ ก.ล.ต.ในขณะนี้ได้ติดตามจากตราสารหนี้ประกันความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งมีการจัดอันดับความเสี่ยง ซึ่งปรากฏว่า มอร์แกน สแตนเลย์ และโกลด์แมน แซคส์ ติดอันดับความเสี่ยงต้นๆ จึงทำให้ ก.ล.ต.มีการจับตามองอย่างใกล้ชิด ว่ากองทุนเอฟไอเอฟไปเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่