บลจ. แอสเซท พลัส ย้ำความมั่นใจลูกค้า ไม่มีพอรต์การลงทุนลงทุนใน เลห์แมน บราเธอร์ส ชี้ตลาดหุ้นรีบานด์ตอบรับการอัดฉีดสภาพคล่อง แค่สัญญาณระยะสั้น ระบุยังคงติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาและฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อไป แนะผู้ลงทุนควรหลีกเลี่ยงการเก็งกำไร โดยเน้นลงทุนระยะยาว ในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง ส่วนการลงทุนระยะสั้น ควรเน้นการถือครองเงินสด ล่าสุด ส่ง 2 กองทุนตราสารหนี้ เพิ่มทางเลือกหนีความผันผวน
นางลดาวรรณ เจริญรัชต์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซท พลัส จำกัด เปิดเผยว่า ในสภาวะการลงทุนปัจจุบันมีความผันผวนจากปัญหาทางด้านการเงินของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะข่าวการประกาศล้มละลายและพิทักษ์ทรัพย์ของเลห์แมน บราเธอร์ส การเข้าถือหุ้นในเมอร์ริล ลินซ์ ของแบงก์ ออฟ อเมริกา และการขอกู้เงินระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่องของ AIG ซึ่งส่งผลให้ผู้ลงทุนมีความกังวลในเรื่องของสถานการณ์การลงทุนที่มีผลกระทบต่อสถานะการลงทุนของกองทุนรวมทั้งอุตสาหกรรม โดยมีการสอบถามเข้ามายังสมาคมอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ทางการสหรัฐได้ประกาศมาตรการฉุกเฉินในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินด้วยงบประมาณ 700,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อแก้ไขหนี้เสียภาคอสังหาริมทรัพย์และปัญหาสถาบันการเงินที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าสามารถฟื้นความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาได้ โดยตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นตอบรับมาตรการการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ทั้งนี้ ในส่วนของ บลจ. แอสเซท พลัส กองทุนที่อยู่ภายใต้การจัดการทั้งหมดของบริษัทฯ ไม่ได้ลงทุนในตราสารหรือหลักทรัพย์ที่มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินต่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ด้านการเงินดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งบริษัทฯ ได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบ เพื่อคลายความกังวลในเรื่องดังกล่าวแล้ว
“ในด้านพอร์ตการลงทุนของบริษัทฯ จะค่อนข้างเข้มงวดในการเลือกตราสารหรือบริษัทที่จะเข้าลงทุน จากการมีคณะกรรมการการลงทุนเป็นผู้พิจารณาตราสารแต่ละตัวก่อนการอนุมัติให้ลงทุนได้ ซึ่งเป็นนโยบายการบริหารกองทุนแบบอนุรักษ์นิยมตั้งแต่เริ่มจัดตั้งบริษัท โดยมีการพิจารณาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สามารถปรับพอร์ตการลงทุนได้ทันกับแนวโน้มการลงทุนแต่ละขณะ” นางลดาวรรณ กล่าว
ทั้งนี้ พอร์ตการลงทุนของบริษัทปัจจุบัน ในด้านการลงทุนของตราสารหนี้ได้ปรับการลงทุนโดยให้น้ำหนักในตราสารความเสี่ยงต่ำมากขึ้น และลดการลงทุนในตราสารที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน เพื่อรอดูความชัดเจน รวมถึงทยอยเข้าลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี โดยเน้นในหุ้นที่มีการปรับลดลงของราคาสวนทางกับปัจจัยพื้นฐานที่มี Active Return จากการอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นสูง
นางลดาวรรณกล่าวว่า สำหรับการลงทุนช่วงนี้ หลังจากที่ตลาดปรับลดลงเมื่อสัปดาห์ก่อนและปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการตอบรับต่อการเข้าร่วมมือการแก้ปัญหาภาคการเงินสหรัฐจากธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าว อาจเป็นการตอบรับในระยะสั้นก่อน โดยคาดว่าตลาดจะยังคงติดตามความคืบหน้าของแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และการฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ส่วนตลาดหุ้นไทยนั้น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลายบริษัท เป็นบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งเพียงพอในการต้านทานกับความผันผวนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงนี้ เช่น การมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ต่ำมาก สะท้อนให้เห็นว่าไม่มีการลงทุนเกินกว่าความสามารถของบริษัท ซึ่งถือเป็นสัญญานที่ดีว่า บริษัทจดทะเบียนไทยมีการปรับตัวในภาคการบริหารการดำเนินงานดีกว่าในอดีตที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน ซึ่งคาดว่าหากปัจจัยลบต่าง ๆ คลี่คลายลงบริษัทเหล่านี้จะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
“ในระยะสั้นผู้ลงทุนควรหลีกเลี่ยงการเก็งกำไร โดยเน้นลงทุนระยะยาวในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง ซึ่งมองว่าตลาดหุ้นไทยในระดับ P/E ปัจจุบันที่ 8 เท่าอยู่ในระดับที่สามารถรับปัจจัยลบต่าง ๆ ทั้งความวิตกกังวลของสถาบันการเงินต่างประเทศ และปัจจัยทางการเมืองในขณะนี้ได้ แต่สำหรับผู้ลงทุนที่มีกังวลในความผันผวนระยะสั้น ๆ ในช่วงนี้ ควรเน้นการถือครองเงินสด หรือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล อายุสั้น ๆ เพื่อรอดูทิศทางที่ชัดเจนอีกครั้ง” นางลดาวรรณ กล่าว
สำหรับแผนการเสนอขายกองทุนเพื่อรองรับสถานการณ์ในช่วงนี้ บริษัทฯ จะเสนอขายกองทุนพันธบัตรรัฐบาลไทย อายุประมาณ 6 เดือน ได้แก่ กองทุนเปิดแอสเซทพลัสพันธบัตรรัฐบาล 1 (Asset Plus Active Government Bond Fund 1 : ASP-ACGOV1) ซึ่งจะเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 24-30 กันยายน 2551 และรอบการลงทุนใหม่ของกองทุนเปิดแอสเซทพลัสพรีเมี่ยม 6M3 (Asset Plus Premium 6M3 Fund : ASP-P6M3) ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ โดยในรอบการลงทุนใหม่ วันที่ 26 กันยายน 2551 จะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลประเทศเกาหลีใต้อายุประมาณ 6 เดือนและป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน
ทั้งนี้ คาดว่าจากผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยที่คาดว่าจะลงทุนหักค่าใช้จ่ายประมาณ 0.30% จะสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 3.50% สำหรับกองทุน ASP-ACGOV1 และ 4.00% เป็นอย่างน้อย สำหรับกองทุน ASP-P6M3
นางลดาวรรณ เจริญรัชต์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซท พลัส จำกัด เปิดเผยว่า ในสภาวะการลงทุนปัจจุบันมีความผันผวนจากปัญหาทางด้านการเงินของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะข่าวการประกาศล้มละลายและพิทักษ์ทรัพย์ของเลห์แมน บราเธอร์ส การเข้าถือหุ้นในเมอร์ริล ลินซ์ ของแบงก์ ออฟ อเมริกา และการขอกู้เงินระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่องของ AIG ซึ่งส่งผลให้ผู้ลงทุนมีความกังวลในเรื่องของสถานการณ์การลงทุนที่มีผลกระทบต่อสถานะการลงทุนของกองทุนรวมทั้งอุตสาหกรรม โดยมีการสอบถามเข้ามายังสมาคมอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ทางการสหรัฐได้ประกาศมาตรการฉุกเฉินในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินด้วยงบประมาณ 700,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อแก้ไขหนี้เสียภาคอสังหาริมทรัพย์และปัญหาสถาบันการเงินที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าสามารถฟื้นความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาได้ โดยตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นตอบรับมาตรการการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ทั้งนี้ ในส่วนของ บลจ. แอสเซท พลัส กองทุนที่อยู่ภายใต้การจัดการทั้งหมดของบริษัทฯ ไม่ได้ลงทุนในตราสารหรือหลักทรัพย์ที่มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินต่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ด้านการเงินดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งบริษัทฯ ได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบ เพื่อคลายความกังวลในเรื่องดังกล่าวแล้ว
“ในด้านพอร์ตการลงทุนของบริษัทฯ จะค่อนข้างเข้มงวดในการเลือกตราสารหรือบริษัทที่จะเข้าลงทุน จากการมีคณะกรรมการการลงทุนเป็นผู้พิจารณาตราสารแต่ละตัวก่อนการอนุมัติให้ลงทุนได้ ซึ่งเป็นนโยบายการบริหารกองทุนแบบอนุรักษ์นิยมตั้งแต่เริ่มจัดตั้งบริษัท โดยมีการพิจารณาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สามารถปรับพอร์ตการลงทุนได้ทันกับแนวโน้มการลงทุนแต่ละขณะ” นางลดาวรรณ กล่าว
ทั้งนี้ พอร์ตการลงทุนของบริษัทปัจจุบัน ในด้านการลงทุนของตราสารหนี้ได้ปรับการลงทุนโดยให้น้ำหนักในตราสารความเสี่ยงต่ำมากขึ้น และลดการลงทุนในตราสารที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน เพื่อรอดูความชัดเจน รวมถึงทยอยเข้าลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี โดยเน้นในหุ้นที่มีการปรับลดลงของราคาสวนทางกับปัจจัยพื้นฐานที่มี Active Return จากการอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นสูง
นางลดาวรรณกล่าวว่า สำหรับการลงทุนช่วงนี้ หลังจากที่ตลาดปรับลดลงเมื่อสัปดาห์ก่อนและปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการตอบรับต่อการเข้าร่วมมือการแก้ปัญหาภาคการเงินสหรัฐจากธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าว อาจเป็นการตอบรับในระยะสั้นก่อน โดยคาดว่าตลาดจะยังคงติดตามความคืบหน้าของแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และการฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ส่วนตลาดหุ้นไทยนั้น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลายบริษัท เป็นบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งเพียงพอในการต้านทานกับความผันผวนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงนี้ เช่น การมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ต่ำมาก สะท้อนให้เห็นว่าไม่มีการลงทุนเกินกว่าความสามารถของบริษัท ซึ่งถือเป็นสัญญานที่ดีว่า บริษัทจดทะเบียนไทยมีการปรับตัวในภาคการบริหารการดำเนินงานดีกว่าในอดีตที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน ซึ่งคาดว่าหากปัจจัยลบต่าง ๆ คลี่คลายลงบริษัทเหล่านี้จะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
“ในระยะสั้นผู้ลงทุนควรหลีกเลี่ยงการเก็งกำไร โดยเน้นลงทุนระยะยาวในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง ซึ่งมองว่าตลาดหุ้นไทยในระดับ P/E ปัจจุบันที่ 8 เท่าอยู่ในระดับที่สามารถรับปัจจัยลบต่าง ๆ ทั้งความวิตกกังวลของสถาบันการเงินต่างประเทศ และปัจจัยทางการเมืองในขณะนี้ได้ แต่สำหรับผู้ลงทุนที่มีกังวลในความผันผวนระยะสั้น ๆ ในช่วงนี้ ควรเน้นการถือครองเงินสด หรือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล อายุสั้น ๆ เพื่อรอดูทิศทางที่ชัดเจนอีกครั้ง” นางลดาวรรณ กล่าว
สำหรับแผนการเสนอขายกองทุนเพื่อรองรับสถานการณ์ในช่วงนี้ บริษัทฯ จะเสนอขายกองทุนพันธบัตรรัฐบาลไทย อายุประมาณ 6 เดือน ได้แก่ กองทุนเปิดแอสเซทพลัสพันธบัตรรัฐบาล 1 (Asset Plus Active Government Bond Fund 1 : ASP-ACGOV1) ซึ่งจะเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 24-30 กันยายน 2551 และรอบการลงทุนใหม่ของกองทุนเปิดแอสเซทพลัสพรีเมี่ยม 6M3 (Asset Plus Premium 6M3 Fund : ASP-P6M3) ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ โดยในรอบการลงทุนใหม่ วันที่ 26 กันยายน 2551 จะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลประเทศเกาหลีใต้อายุประมาณ 6 เดือนและป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน
ทั้งนี้ คาดว่าจากผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยที่คาดว่าจะลงทุนหักค่าใช้จ่ายประมาณ 0.30% จะสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 3.50% สำหรับกองทุน ASP-ACGOV1 และ 4.00% เป็นอย่างน้อย สำหรับกองทุน ASP-P6M3