"การอ่อนค่าของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนและนักเก็งกำไรหันไปลงทุนและเก็งกำไรในตลาดโภคภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า เช่น น้ำมันดิบ ในขณะเดียวกันก็ทำให้เงินสกุลท้องถิ่นของประเทศต่างๆ แข็งค่าขึ้นและมีอำนาจซื้อมากขึ้น จึงมีการเข้าซื้อในตลาดน้ำมันดิบล่วงหน้ามากขึ้น ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันดิบจะยังอยู่เหนือ 130 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จนถึงปี 2557 "
สถานการณ์ราคานํ้ามันในขณะนี้มีการปรับตัวลดลงมาอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้วทำให้ผู้ใช้นํ้ามันได้หยุดหายใจหายคอกันได้บ้างอย่างน้อยก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นไปอีก แต่อย่างไรก็ตามนํ้ามันเป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป แต่ความต้องการใช้ยังไม่ได้หมดไปด้วย ซึ่งแน่นอนว่าของมีน้อยแต่คนอยากได้มากย่อมมีราคาแพง ดังนั้นแล้วการติดตามเรื่องของสถานการณ์ราคาน้ำมันยังเป็นที่สนใจของคนทั่วไป รวมทั้งนักลงทุนด้วย
ราคาน้ำมันโลกสูงชนวนเหตุเงินเฟ้อโลก
ล่าสุด สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค กระทรวงการคลัง ได้จัดทำบทวิเคราะห์ เรื่อง วิกฤตราคาน้ำมันสู่วิกฤตเงินเฟ้อโลก ของสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค กระทรวงการคลัง ซึ่งมีเนื้อหาข้อมูลที่น่าสนใจยิ่ง โดยระบุว่า ในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2551 ราคาน้ำมันดิบ WTI และ Dubai ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจากเฉลี่ยที่ 97.8 และ 91.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในไตรมาส 1 มาอยู่ที่ 123.9 และ 116.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในไตรมาส 2 และมาสูงสุดในประวิติศาสตร์ที่ 145.3 และ 140.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2551 ส่วนราคาเฉลี่ย WTI และ Dubai ตั้งแต่ต้นปีถึงล่าสุด ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2551 อยู่ที่ 112.4 และ 105.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ คือ 1.ความต้องการใช้ยังคงเพิ่มขึ้นมากจากกลุ่ม Non-OECD International Energy Agency (IEA) ซึ่งคาดว่า ในปี 2551 ความต้องการน้ำมันดิบทั่วโลกจะอยู่ที่ 86.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2550 ที่อยู่ที่ 85.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นเพียง 1 แสนบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 1.2 ต่อปี แต่จากความต้องการจาก OECD ไม่น่าจะมีส่วนสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยประเทศในกลุ่ม OECD พบว่าความต้องการยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงคาดว่าในปี 2551 จะมีความต้องการใช้นํ้ามันดิบรวมอยู่ที่ 48.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปี 2550 ที่ 94.1 ล้านบาร์เรลต่อวันหรือลดลงร้อยละ -0.9 ต่อปี และอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง
โดยมีสาเหตุหลักมาจากอุปสงค์จากสหรัฐฯ หดตัวลงมากถึงร้อยละ -2.5 ต่อปี เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี เทียบกับปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปี ส่งผลต่อเนื่องให้อุปสงค์จากยูโรป 4 ประเทศ คือ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ หดตัวตามไปด้วยที่ร้อยละ -0.4 ต่อปี
ขณะที่ประเทศกลุ่ม Non-OECD น่าจะมีส่วนสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยคาดว่าในปี 2551 มีความต้องการใช้น้ำมัน 38.14 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.4 ต่อปี เป็นการเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์จากจีน ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา อินเดีย และสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.4 5.1 4.3 3.7 และ 1.9 ต่อปี ตามลำดับ ในส่วนของประเทศจีน พบว่า หลังจากที่จีนประสบภาวะขาดแคลนพลังงานจากพายุหิมะและแผ่นดินไหวทำให้ท่อแก๊สเสียหาย ประกอบกับนโยบายสำรองน้ำมันให้พอเพียงในช่วงการจัดกีฬาโอลิมปิกในเดือนสิงหาคม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้จีนยิ่งเพิ่มการนำเข้าน้ำมันดิบมากขึ้น โดยในไตรมาส 1 ปี 2551 ความต้องการน้ำมันดิบอยู่ที่ 7.85 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดว่าในไตรมาส 2 ปี 2551 จะเพิ่มเป็น 8.06 ล้านบาร์เรลต่อวัน ถือเป็นระดับการนำเข้าน้ำมันดิบสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของจีน
แต่หลังจากการจัดกีฬาโอลิมปิกผ่านพ้นไป บวกกับรัฐบาลได้ปรับขึ้นราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ 18% ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปีความต้องการนำเข้าน้ำมันของจีนน่าจะลดลง ส่วนในอินเดีย คาดว่าหลังจากรัฐบาลได้ปรับขึ้นราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ 11% น่าจะทำให้ความต้องการนำเข้าลดลงได้
2. กำลังการผลิตน้ำมันดิบของโลกเพิ่มได้อย่างจำกัดมาก IEA คาดว่า ในปี 2551 ปริมาณน้ำมันที่ผลิตทั่วโลกจะอยู่ที่ 87.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2550 ที่อยู่ที่ 85.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 1.8 ต่อปี ซึ่งในกลุ่ม OPEC แม้จะมีการเพิ่มกำลังการผลิตได้บ้าง แต่ก็ยังเพิ่มได้จำกัดมาก คาดว่า กำลังการผลิตในปี 2551 อยู่ที่ระดับ 36.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2550 ที่อยู่ที่ 35.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นเพียง 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 3.7 ต่อปี ซึ่งรวมผลของการประชุมกลุ่มผู้ผลิตและผู้บริโภคน้ำมัน ณ เมืองเจดดาห์ ประเทศซาอุดิอาระเบียเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซาอุดิอาระเบียผู้ส่งออกน้ำมันดิบอันดับ 1 ในกลุ่ม OPEC ประกาศจะเพิ่มกำลังการผลิตอีก 2 แสนบาร์เรลต่อวัน หลังจากก่อนหน้านี้เพิ่มไปแล้ว 5 แสนบาร์เรลต่อวัน ทำให้กำลังการผลิตของซาอุดิอาระเบียอยู่ที่ 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดในรอบ 27 ปี และมีแผนขยายกำลังการผลิตให้ได้ 12.5 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในสิ้นปี 2552 เพื่อลดความร้อนแรงของราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งส่งผลระยะสั้นให้ราคาในตลาดโลกลดลงได้บ้าง
ส่วนในกลุ่ม Non-OPEC คาดว่า กำลังการผลิตในปี 2551 อยู่ที่ระดับ 50.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2550 ที่อยู่ที่ 50.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อปี จะเห็นว่าอุปทานจากกลุ่ม Non-OPEC มีค่อนข้างจำกัด เนื่องจากโรงกลั่นในหลายประเทศอยู่ในภาวะเต็มกำลังการผลิต อีกทั้งการเพิ่มกำลังการผลิตต้องใช้เงินทุนมหาศาลบาร์เรลละ 60-70 ดอลลาร์สหรัฐฯ
3. การเก็งกำไรในตลาดซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้า ผลจากความเสี่ยงในการถือครองเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ และความไม่เชื่อมั่นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนขายหุ้นและหันไปหาการลงทุนอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงและเร็วกว่า เช่น ตลาดน้ำมัน ในปีที่ผ่านมาพบว่า ผลตอบแทนจากตลาดหุ้นไม่สดใสเหมือนในอดีต บวกกับปัญหา Sub-prime ในสหรัฐฯ ลุกลามไปยังยุโรป ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ทำให้นักลงทุนมองหาที่ลงทุนใหม่ที่ผลตอบแทนสูงและเร็วกว่าตลาดหุ้น ซึ่งก็คือตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า และนโยบายของกองทุนเก็งกำไรต่างๆ ก็หันมาเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตลาดน้ำมันมากขึ้น
โดย การอ่อนค่าของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนและนักเก็งกำไรหันไปลงทุนและเก็งกำไรในตลาดโภคภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า เช่น น้ำมันดิบ ในขณะเดียวกันก็ทำให้เงินสกุลท้องถิ่นของประเทศต่างๆ แข็งค่าขึ้นและมีอำนาจซื้อมากขึ้น จึงมีการเข้าซื้อในตลาดน้ำมันดิบล่วงหน้ามากขึ้น ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันดิบจะยังอยู่เหนือ 130 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จนถึงปี 2557
Temporary shock และ Persistent shock
ปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปัจจุบันนั้นเป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่า เกิดจากสาเหตุราคาน้ำมันและอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งส่งผลโดยตรงต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปให้เพิ่มสูงขึ้นในอัตราเร่ง แต่หากพิจารณาอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารและพลังงาน) ในกรณีของสหรัฐพบว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานค่อนข้างคงที่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า แรงกดดันเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันและอาหารไม่ได้ส่งผ่านเข้าสู่ราคาสินค้าและบริการโดยรวมในประเทศ (Pass through effect) เพราะเรื่องดังกล่าวขึ้นอยู่กับโครงสร้างสินค้าในตะกร้าเงินเฟ้อ
โดยทั่วไปแล้ว หากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกมีการปรับตัวเข้าสู่เสถียรภาพ ผลกระทบของแรงกดดันดังกล่าวต่อเงินเฟ้อจะหมดไป (Temporary shock) อย่างไรก็ตาม ความกังวลที่เกิดขึ้นก็คือ แรงกดดันของราคาสินค้าโภคภัณฑ์อาจจะส่งผ่านผลกระทบต่อเศรษฐกิจแบบถาวร (Persistent shock) และท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจะทำให้การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเป็นไปด้วยความยากลำบากมากกว่าเดิม
Demand pull และ/หรือ Cost push
นอกจากนี้ ในขณะที่เศรษฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่เริ่มชะลอลง เศรษฐกิจของประเทศในเขตเอเชียกลับมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูง แม้จะมีการชะลอลงบ้างในปีนี้ จากการที่ภาคการส่งออกชะลอลงตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตามแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เร่งขึ้นจะนำมาซึ่งภาวะเงินเฟ้อ (Demand pull inflation)
ดังนั้นการมีอัตราเงินเฟ้อที่สูงมิได้หมายถึงปัญหาหรือการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด หากประเทศยังมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจมีการขยายตัวช้ากว่าระดับราคาสินค้าในประเทศย่อมแสดงถึงการมีอุปสงค์ส่วนเกินในระบบ หากด้านอุปทานไม่มีการปรับตัวให้มีผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการส่วนเกินดังกล่าว แรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อก็อาจนำไปสู่วงจรอุบาทว์ (Vicious cycle)
................. (อ่านต่อฉบับวันพรุ่งนี้)
สถานการณ์ราคานํ้ามันในขณะนี้มีการปรับตัวลดลงมาอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้วทำให้ผู้ใช้นํ้ามันได้หยุดหายใจหายคอกันได้บ้างอย่างน้อยก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นไปอีก แต่อย่างไรก็ตามนํ้ามันเป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป แต่ความต้องการใช้ยังไม่ได้หมดไปด้วย ซึ่งแน่นอนว่าของมีน้อยแต่คนอยากได้มากย่อมมีราคาแพง ดังนั้นแล้วการติดตามเรื่องของสถานการณ์ราคาน้ำมันยังเป็นที่สนใจของคนทั่วไป รวมทั้งนักลงทุนด้วย
ราคาน้ำมันโลกสูงชนวนเหตุเงินเฟ้อโลก
ล่าสุด สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค กระทรวงการคลัง ได้จัดทำบทวิเคราะห์ เรื่อง วิกฤตราคาน้ำมันสู่วิกฤตเงินเฟ้อโลก ของสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค กระทรวงการคลัง ซึ่งมีเนื้อหาข้อมูลที่น่าสนใจยิ่ง โดยระบุว่า ในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2551 ราคาน้ำมันดิบ WTI และ Dubai ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจากเฉลี่ยที่ 97.8 และ 91.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในไตรมาส 1 มาอยู่ที่ 123.9 และ 116.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในไตรมาส 2 และมาสูงสุดในประวิติศาสตร์ที่ 145.3 และ 140.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2551 ส่วนราคาเฉลี่ย WTI และ Dubai ตั้งแต่ต้นปีถึงล่าสุด ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2551 อยู่ที่ 112.4 และ 105.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ คือ 1.ความต้องการใช้ยังคงเพิ่มขึ้นมากจากกลุ่ม Non-OECD International Energy Agency (IEA) ซึ่งคาดว่า ในปี 2551 ความต้องการน้ำมันดิบทั่วโลกจะอยู่ที่ 86.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2550 ที่อยู่ที่ 85.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นเพียง 1 แสนบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 1.2 ต่อปี แต่จากความต้องการจาก OECD ไม่น่าจะมีส่วนสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยประเทศในกลุ่ม OECD พบว่าความต้องการยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงคาดว่าในปี 2551 จะมีความต้องการใช้นํ้ามันดิบรวมอยู่ที่ 48.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปี 2550 ที่ 94.1 ล้านบาร์เรลต่อวันหรือลดลงร้อยละ -0.9 ต่อปี และอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง
โดยมีสาเหตุหลักมาจากอุปสงค์จากสหรัฐฯ หดตัวลงมากถึงร้อยละ -2.5 ต่อปี เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี เทียบกับปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปี ส่งผลต่อเนื่องให้อุปสงค์จากยูโรป 4 ประเทศ คือ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ หดตัวตามไปด้วยที่ร้อยละ -0.4 ต่อปี
ขณะที่ประเทศกลุ่ม Non-OECD น่าจะมีส่วนสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยคาดว่าในปี 2551 มีความต้องการใช้น้ำมัน 38.14 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.4 ต่อปี เป็นการเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์จากจีน ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา อินเดีย และสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.4 5.1 4.3 3.7 และ 1.9 ต่อปี ตามลำดับ ในส่วนของประเทศจีน พบว่า หลังจากที่จีนประสบภาวะขาดแคลนพลังงานจากพายุหิมะและแผ่นดินไหวทำให้ท่อแก๊สเสียหาย ประกอบกับนโยบายสำรองน้ำมันให้พอเพียงในช่วงการจัดกีฬาโอลิมปิกในเดือนสิงหาคม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้จีนยิ่งเพิ่มการนำเข้าน้ำมันดิบมากขึ้น โดยในไตรมาส 1 ปี 2551 ความต้องการน้ำมันดิบอยู่ที่ 7.85 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดว่าในไตรมาส 2 ปี 2551 จะเพิ่มเป็น 8.06 ล้านบาร์เรลต่อวัน ถือเป็นระดับการนำเข้าน้ำมันดิบสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของจีน
แต่หลังจากการจัดกีฬาโอลิมปิกผ่านพ้นไป บวกกับรัฐบาลได้ปรับขึ้นราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ 18% ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปีความต้องการนำเข้าน้ำมันของจีนน่าจะลดลง ส่วนในอินเดีย คาดว่าหลังจากรัฐบาลได้ปรับขึ้นราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ 11% น่าจะทำให้ความต้องการนำเข้าลดลงได้
2. กำลังการผลิตน้ำมันดิบของโลกเพิ่มได้อย่างจำกัดมาก IEA คาดว่า ในปี 2551 ปริมาณน้ำมันที่ผลิตทั่วโลกจะอยู่ที่ 87.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2550 ที่อยู่ที่ 85.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 1.8 ต่อปี ซึ่งในกลุ่ม OPEC แม้จะมีการเพิ่มกำลังการผลิตได้บ้าง แต่ก็ยังเพิ่มได้จำกัดมาก คาดว่า กำลังการผลิตในปี 2551 อยู่ที่ระดับ 36.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2550 ที่อยู่ที่ 35.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นเพียง 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 3.7 ต่อปี ซึ่งรวมผลของการประชุมกลุ่มผู้ผลิตและผู้บริโภคน้ำมัน ณ เมืองเจดดาห์ ประเทศซาอุดิอาระเบียเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซาอุดิอาระเบียผู้ส่งออกน้ำมันดิบอันดับ 1 ในกลุ่ม OPEC ประกาศจะเพิ่มกำลังการผลิตอีก 2 แสนบาร์เรลต่อวัน หลังจากก่อนหน้านี้เพิ่มไปแล้ว 5 แสนบาร์เรลต่อวัน ทำให้กำลังการผลิตของซาอุดิอาระเบียอยู่ที่ 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดในรอบ 27 ปี และมีแผนขยายกำลังการผลิตให้ได้ 12.5 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในสิ้นปี 2552 เพื่อลดความร้อนแรงของราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งส่งผลระยะสั้นให้ราคาในตลาดโลกลดลงได้บ้าง
ส่วนในกลุ่ม Non-OPEC คาดว่า กำลังการผลิตในปี 2551 อยู่ที่ระดับ 50.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี 2550 ที่อยู่ที่ 50.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อปี จะเห็นว่าอุปทานจากกลุ่ม Non-OPEC มีค่อนข้างจำกัด เนื่องจากโรงกลั่นในหลายประเทศอยู่ในภาวะเต็มกำลังการผลิต อีกทั้งการเพิ่มกำลังการผลิตต้องใช้เงินทุนมหาศาลบาร์เรลละ 60-70 ดอลลาร์สหรัฐฯ
3. การเก็งกำไรในตลาดซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้า ผลจากความเสี่ยงในการถือครองเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ และความไม่เชื่อมั่นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนขายหุ้นและหันไปหาการลงทุนอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงและเร็วกว่า เช่น ตลาดน้ำมัน ในปีที่ผ่านมาพบว่า ผลตอบแทนจากตลาดหุ้นไม่สดใสเหมือนในอดีต บวกกับปัญหา Sub-prime ในสหรัฐฯ ลุกลามไปยังยุโรป ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ทำให้นักลงทุนมองหาที่ลงทุนใหม่ที่ผลตอบแทนสูงและเร็วกว่าตลาดหุ้น ซึ่งก็คือตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า และนโยบายของกองทุนเก็งกำไรต่างๆ ก็หันมาเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตลาดน้ำมันมากขึ้น
โดย การอ่อนค่าของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนและนักเก็งกำไรหันไปลงทุนและเก็งกำไรในตลาดโภคภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า เช่น น้ำมันดิบ ในขณะเดียวกันก็ทำให้เงินสกุลท้องถิ่นของประเทศต่างๆ แข็งค่าขึ้นและมีอำนาจซื้อมากขึ้น จึงมีการเข้าซื้อในตลาดน้ำมันดิบล่วงหน้ามากขึ้น ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันดิบจะยังอยู่เหนือ 130 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จนถึงปี 2557
Temporary shock และ Persistent shock
ปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปัจจุบันนั้นเป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่า เกิดจากสาเหตุราคาน้ำมันและอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งส่งผลโดยตรงต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปให้เพิ่มสูงขึ้นในอัตราเร่ง แต่หากพิจารณาอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารและพลังงาน) ในกรณีของสหรัฐพบว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานค่อนข้างคงที่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า แรงกดดันเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันและอาหารไม่ได้ส่งผ่านเข้าสู่ราคาสินค้าและบริการโดยรวมในประเทศ (Pass through effect) เพราะเรื่องดังกล่าวขึ้นอยู่กับโครงสร้างสินค้าในตะกร้าเงินเฟ้อ
โดยทั่วไปแล้ว หากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกมีการปรับตัวเข้าสู่เสถียรภาพ ผลกระทบของแรงกดดันดังกล่าวต่อเงินเฟ้อจะหมดไป (Temporary shock) อย่างไรก็ตาม ความกังวลที่เกิดขึ้นก็คือ แรงกดดันของราคาสินค้าโภคภัณฑ์อาจจะส่งผ่านผลกระทบต่อเศรษฐกิจแบบถาวร (Persistent shock) และท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจะทำให้การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเป็นไปด้วยความยากลำบากมากกว่าเดิม
Demand pull และ/หรือ Cost push
นอกจากนี้ ในขณะที่เศรษฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่เริ่มชะลอลง เศรษฐกิจของประเทศในเขตเอเชียกลับมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูง แม้จะมีการชะลอลงบ้างในปีนี้ จากการที่ภาคการส่งออกชะลอลงตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตามแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เร่งขึ้นจะนำมาซึ่งภาวะเงินเฟ้อ (Demand pull inflation)
ดังนั้นการมีอัตราเงินเฟ้อที่สูงมิได้หมายถึงปัญหาหรือการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด หากประเทศยังมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจมีการขยายตัวช้ากว่าระดับราคาสินค้าในประเทศย่อมแสดงถึงการมีอุปสงค์ส่วนเกินในระบบ หากด้านอุปทานไม่มีการปรับตัวให้มีผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการส่วนเกินดังกล่าว แรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อก็อาจนำไปสู่วงจรอุบาทว์ (Vicious cycle)
................. (อ่านต่อฉบับวันพรุ่งนี้)