ถาม - ปัจจุบัน ผมทำงานอยู่ในบริษัทที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่ในอีก 2 เดือนข้างหน้า ผมจะลาออกเพื่อไปทำงานอีกบริษัทหนึ่ง ซึ่งหากลาออกจากบริษัท ผมก็จะต้องพ้นสมาชิกภาพของกองทุนนี้โดยอัตโนมัติ ต้องถอนเงินออกมา ซึ่งเงินดังกล่าว จะต้องถือว่าเป็นรายได้ถูกคำนวณภาษีด้วย เพราะยังอายุไม่ถึง 55 ปัญหาของผมคือ บริษัทใหม่ที่ผมจะไปทำงาน ยังไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ) อยากทราบว่าผมจะทำอย่างไรได้บ้างกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก้อนนี้ ได้ยินมาว่าสมาชิกสามารถจะคงเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ในกองทุนเดิมได้ จริงหรือไม่ ถ้าจริง ผมต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง แล้วถ้าผมจะโอนเงินดังกล่าวจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไปยัง กองทุนรวม RMF ที่ผมถืออยู่แทนได้ไหม ? รบกวนขอคำแนะนำด้วยครับ
ตอบ - เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีการออมอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ขาดช่วงแม้มีการเปลี่ยนงาน จึงมีการเปิดโอกาสให้ลูกจ้างที่มีการออมในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วระยะหนึ่ง และต่อมาได้ลาออกจากงานหรือเปลี่ยนที่ทำงานใหม่ สามารถขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมต่อไปได้ จนกว่าสมาชิกจะได้งานใหม่กับนายจ้างที่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่ทั้งนี้ สมาชิกสามารถจะคงเงินไว้ในกองทุนเดิมได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีเท่านั้นค่ะ
เมื่อสมาชิก ออกจากงานก็จะสิ้นสุดสมาชิกภาพจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองเดิม แต่หากต้องการจะคงเงินเอาไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อน ก็ให้ไปแจ้งความประสงค์ต่อ คณะกรรมการกองทุน หรือบริษัทจัดการให้ทราบไว้ว่า สมาชิกจะขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อน และอย่าลืมแจ้งเลขที่บัญชีธนาคารไว้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการโอนเงินนั่นเองค่ะ เพราะถ้าหากพ้น 1 ปี ไปแล้ว สมาชิกยังไม่สามารถแจ้งโอนย้ายเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอื่นได้ บริษัทจัดการจะได้ดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร สมาชิกได้ทันที กรณีนี้บริษัทจัดการจะหักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งสรรพากรไว้ด้วย ซึ่งตัวสมาชิกเองก็ต้องนำเงินที่ได้รับไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีในปีนั้นๆ เช่นกัน
ทั้งนี้ เงินที่สมาชิกแจ้งให้คงไว้ในกองทุนนั้น บริษัทจัดการจะไม่สามารถนำไปลงทุนให้เกิดผลประโยชน์ได้ เนื่องจากบริษัทจัดการจะตั้งเงินจำนวนดังกล่าวไว้เป็นบัญชีเจ้าหนี้ของกองทุน และในการคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม ทางบริษัทจัดการจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากสมาชิกด้วย โดยจะเก็บเป็นจำนวนรายละไม่เกิน 500 บาท ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการที่บริษัทจัดการอาจจะต้องมีภาระดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเพิ่มขึ้น
ส่วนประเด็นที่ว่า จะโอนย้ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวม RMF ที่ถืออยู่ได้หรือเปล่านั้น คำตอบก็คือ ณ ปัจจุบัน ยังไม่อนุญาตให้ปฏิบัติได้ค่ะ หมายเหตุ หากสมาชิกท่านใด ที่ไม่สามารถโอนย้ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของตัวเองได้ภายใน 1 ปีที่กำหนด ต้องจำใจรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และมีภาระภาษีเกิดขึ้น ในการยื่นภาษีสมาชิกสามารถเลือกได้ว่าจะนำเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (เป็นเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน) ไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นๆ เพื่อเสียภาษี หรือจะคำนวณยื่นแยกตามแบบของกรมสรรพากรที่เรียกว่า “ใบแนบแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด. 91 ต่างหากก็ได้
ทั้งนี้ สมาชิกอาจจะลองคำนวณภาษีดูก่อนได้ว่า ระหว่างการนำเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปรวมคำนวณกับรายได้อื่นๆ เพื่อเสียภาษี กับการยื่นแยกเพื่อเสียภาษี อย่างไหนจะทำให้เราประหยัดภาษีได้มากกว่ากัน โดยสมาชิกสามารถไปดาวน์โหลดโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้ง ภ.ง.ด. 90 และภ.ง.ด. 91 รวมถึงใบแนบแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด. 91 (ไม่มีโปรแกรมช่วยคำนวณ ) ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากรค่ะ www.rd.go.th
หากท่านผู้อ่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการลงุทนในกองทุนรวม หรือสงสัยในกองทุนที่ท่านผู้อ่านเข้าไปลงทุน ทางเรายินดีเป็นสื่อกลางให้ครับ ท่านสามารถส่งคำถามมาได้ที่อีเมล์ fund@manager.co.th หรือโพสต์คำถามไว้ที่ www.manager.co.th ในหน้ากองทุนรวม ทีมงานเต็มใจที่จะหาคำตอบให้ทางผู้อ่านได้ทราบอย่างเเน่นอนครับ พรุ่งนี้มาดูกันต่อนะครับสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่จากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
ตอบ - เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีการออมอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ขาดช่วงแม้มีการเปลี่ยนงาน จึงมีการเปิดโอกาสให้ลูกจ้างที่มีการออมในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วระยะหนึ่ง และต่อมาได้ลาออกจากงานหรือเปลี่ยนที่ทำงานใหม่ สามารถขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมต่อไปได้ จนกว่าสมาชิกจะได้งานใหม่กับนายจ้างที่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่ทั้งนี้ สมาชิกสามารถจะคงเงินไว้ในกองทุนเดิมได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีเท่านั้นค่ะ
เมื่อสมาชิก ออกจากงานก็จะสิ้นสุดสมาชิกภาพจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองเดิม แต่หากต้องการจะคงเงินเอาไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อน ก็ให้ไปแจ้งความประสงค์ต่อ คณะกรรมการกองทุน หรือบริษัทจัดการให้ทราบไว้ว่า สมาชิกจะขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อน และอย่าลืมแจ้งเลขที่บัญชีธนาคารไว้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการโอนเงินนั่นเองค่ะ เพราะถ้าหากพ้น 1 ปี ไปแล้ว สมาชิกยังไม่สามารถแจ้งโอนย้ายเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอื่นได้ บริษัทจัดการจะได้ดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร สมาชิกได้ทันที กรณีนี้บริษัทจัดการจะหักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งสรรพากรไว้ด้วย ซึ่งตัวสมาชิกเองก็ต้องนำเงินที่ได้รับไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีในปีนั้นๆ เช่นกัน
ทั้งนี้ เงินที่สมาชิกแจ้งให้คงไว้ในกองทุนนั้น บริษัทจัดการจะไม่สามารถนำไปลงทุนให้เกิดผลประโยชน์ได้ เนื่องจากบริษัทจัดการจะตั้งเงินจำนวนดังกล่าวไว้เป็นบัญชีเจ้าหนี้ของกองทุน และในการคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม ทางบริษัทจัดการจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากสมาชิกด้วย โดยจะเก็บเป็นจำนวนรายละไม่เกิน 500 บาท ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการที่บริษัทจัดการอาจจะต้องมีภาระดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเพิ่มขึ้น
ส่วนประเด็นที่ว่า จะโอนย้ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวม RMF ที่ถืออยู่ได้หรือเปล่านั้น คำตอบก็คือ ณ ปัจจุบัน ยังไม่อนุญาตให้ปฏิบัติได้ค่ะ หมายเหตุ หากสมาชิกท่านใด ที่ไม่สามารถโอนย้ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของตัวเองได้ภายใน 1 ปีที่กำหนด ต้องจำใจรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และมีภาระภาษีเกิดขึ้น ในการยื่นภาษีสมาชิกสามารถเลือกได้ว่าจะนำเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (เป็นเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน) ไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นๆ เพื่อเสียภาษี หรือจะคำนวณยื่นแยกตามแบบของกรมสรรพากรที่เรียกว่า “ใบแนบแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด. 91 ต่างหากก็ได้
ทั้งนี้ สมาชิกอาจจะลองคำนวณภาษีดูก่อนได้ว่า ระหว่างการนำเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปรวมคำนวณกับรายได้อื่นๆ เพื่อเสียภาษี กับการยื่นแยกเพื่อเสียภาษี อย่างไหนจะทำให้เราประหยัดภาษีได้มากกว่ากัน โดยสมาชิกสามารถไปดาวน์โหลดโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้ง ภ.ง.ด. 90 และภ.ง.ด. 91 รวมถึงใบแนบแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด. 91 (ไม่มีโปรแกรมช่วยคำนวณ ) ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากรค่ะ www.rd.go.th
หากท่านผู้อ่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการลงุทนในกองทุนรวม หรือสงสัยในกองทุนที่ท่านผู้อ่านเข้าไปลงทุน ทางเรายินดีเป็นสื่อกลางให้ครับ ท่านสามารถส่งคำถามมาได้ที่อีเมล์ fund@manager.co.th หรือโพสต์คำถามไว้ที่ www.manager.co.th ในหน้ากองทุนรวม ทีมงานเต็มใจที่จะหาคำตอบให้ทางผู้อ่านได้ทราบอย่างเเน่นอนครับ พรุ่งนี้มาดูกันต่อนะครับสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่จากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน