รอยเตอร์ - ไอเอ็มเอฟแถลง กองทุนความมั่งคั่งภาครัฐรายยักษ์ทั่วโลก นัดประชุมกันสัปดาห์นี้ โดยหวังว่าจะสามารถบรรลุความเข้าใจร่วมกัน ในเรื่องหลักการที่จะชี้นำแนวทางการลงทุนของบรรดากองทุนแห่งรัฐ
การนัดหมายหารือของกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐ 26 กองทุน ในกรุงซันติอาโก ประเทศชิลี ในวันจันทร์และอังคาร (1-2 ก.ย.) นับเป็นการประชุมครั้งที่สามในรอบปี 2008 ของคณะทำงานเพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติตามความสมัครใจสำหรับกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐ ในขณะที่กองทุนประเภทนี้กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น และควบคุมสินทรัพย์นับล้านล้านดอลลาร์ในเวลานี้
"การประชุมครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อบรรลุความเข้าใจว่าด้วยหลักการและแนวทางปฏิบัติที่เป็นที่รับรองทั่วไปของกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐ ก่อนจะถึงการประชุมประจำปีไอเอ็มเอฟ-ธนาคารโลกในวันที่ 10-13 ตุลาคม" กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แถลงเมื่อวันเสาร์ (30 ก.ย.)
ทั้งนี้ แนวทางปฏิบัติที่ออกมาจากการประชุมซันติอาโกดังกล่าว จะได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมการเงินตราและการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟซี) ซึ่งเป็นคณะกรรมการอำนวยการของไอเอ็มเอฟ ในวันที่ 11 เดือนหน้า ระหว่างการประชุมประจำปีในกรุงวอชิงตัน
สำหรับคณะทำงานเพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติตามความสมัครใจฯ มี ฮาเหม็ด อัล สุไวดี ปลัดกระทรวงการคลังอาบูดาบี และผู้อำนวยการ อาบู ดาบี อินเวสต์เมนท์ ออธอลิตี้ กับ เจมี คารัวนา ผู้อำนวยการแผนกตลาดเงินและตลาดทุนของไอเอ็มเอฟ เป็นประธานร่วมกัน
ในบรรดากองทุนความมั่งคั่งของรัฐนั้น ผู้เล่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีอาทิ จีน คูเวต นอร์เวย์ รัสเซีย สิงคโปร์ และบรรดารัฐที่รวมอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนประเทศอื่นๆ ที่เป็นสมาชิกคณะทำงานชุดนี้ ยังประกอบด้วย ลิเบีย เกาหลีใต้ ชิลี บอสวานา แคนาดา นอร์เวย์ ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ และสหรัฐฯ เป็นต้น ขณะที่ซาอุดีอาระเบีย โอมาน และเวียดนาม มีฐานะเป็นผู้สังเกตการณ์
กองทุนความมั่งคั่งภาครัฐ มีการจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1950 แล้ว แต่เพิ่งจะมาขยายขนาดและจำนวนอย่างคึกคักในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จากทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่เพิ่มพูนขึ้นในประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ของเอเชีย ตลอดจนประเทศผู้ผลิตน้ำมัน
ปัจจุบัน กองทุนเหล่านี้ควบคุมสินทรัพย์รวมกัน 2-3 ล้านล้านดอลลาร์ และคาดว่าตัวเลขน่าจะเพิ่มเป็น 10 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2012
อย่างไรก็ดี ข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์และกลยุทธ์การลงทุนของกองทุนเหล่านี้ไม่เป็นที่เปิดเผยมากนัก ทำให้หลายประเทศที่เป็นเป้าหมายการลงทุน เช่น สหรัฐฯ กังวลว่ากองทุนความมั่งคั่งภาครัฐอาจมีพลังมากพอที่จะทำให้ตลาดโลกปั่นป่วน
บางประเทศเป้าหมายยังวิตกกับความมั่นคงแห่งชาติ หากกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐสามารถเข้าถึงข้อมูลอ่อนไหวในภาคอุตสาหกรรมสำคัญๆ ของตน กระนั้น ไอเอ็มเอฟยืนยันว่าไม่มีหลักฐานชัดเจนที่สนับสนุนความวิตกกังวลเหล่านี้
นอกจากนั้น ระหว่างที่เกิดวิกฤตการเงินปัจจุบันที่เริ่มต้นจากตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ กองทุนความมั่งคั่งภาครัฐยังแสดงบทบาทในการเข้าไปช่วยเหลือฟื้นเสถียรภาพในตลาด ด้วยการลงทุนนับพันล้านดอลลาร์ในธนาคารสำคัญๆ ของตะวันตกที่ประสบปัญหาสภาพคล่องและฐานะงบดุลบัญชี
ในทางตรงข้าม กองทุนเหล่านี้ก็กำลังรู้สึกเป็นห่วงเกี่ยวกับกระแสลัทธิกีดกันการค้า ซึ่งจะขัดขวางการไหลเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศ
การนัดหมายหารือของกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐ 26 กองทุน ในกรุงซันติอาโก ประเทศชิลี ในวันจันทร์และอังคาร (1-2 ก.ย.) นับเป็นการประชุมครั้งที่สามในรอบปี 2008 ของคณะทำงานเพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติตามความสมัครใจสำหรับกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐ ในขณะที่กองทุนประเภทนี้กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น และควบคุมสินทรัพย์นับล้านล้านดอลลาร์ในเวลานี้
"การประชุมครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อบรรลุความเข้าใจว่าด้วยหลักการและแนวทางปฏิบัติที่เป็นที่รับรองทั่วไปของกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐ ก่อนจะถึงการประชุมประจำปีไอเอ็มเอฟ-ธนาคารโลกในวันที่ 10-13 ตุลาคม" กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แถลงเมื่อวันเสาร์ (30 ก.ย.)
ทั้งนี้ แนวทางปฏิบัติที่ออกมาจากการประชุมซันติอาโกดังกล่าว จะได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมการเงินตราและการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟซี) ซึ่งเป็นคณะกรรมการอำนวยการของไอเอ็มเอฟ ในวันที่ 11 เดือนหน้า ระหว่างการประชุมประจำปีในกรุงวอชิงตัน
สำหรับคณะทำงานเพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติตามความสมัครใจฯ มี ฮาเหม็ด อัล สุไวดี ปลัดกระทรวงการคลังอาบูดาบี และผู้อำนวยการ อาบู ดาบี อินเวสต์เมนท์ ออธอลิตี้ กับ เจมี คารัวนา ผู้อำนวยการแผนกตลาดเงินและตลาดทุนของไอเอ็มเอฟ เป็นประธานร่วมกัน
ในบรรดากองทุนความมั่งคั่งของรัฐนั้น ผู้เล่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีอาทิ จีน คูเวต นอร์เวย์ รัสเซีย สิงคโปร์ และบรรดารัฐที่รวมอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนประเทศอื่นๆ ที่เป็นสมาชิกคณะทำงานชุดนี้ ยังประกอบด้วย ลิเบีย เกาหลีใต้ ชิลี บอสวานา แคนาดา นอร์เวย์ ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ และสหรัฐฯ เป็นต้น ขณะที่ซาอุดีอาระเบีย โอมาน และเวียดนาม มีฐานะเป็นผู้สังเกตการณ์
กองทุนความมั่งคั่งภาครัฐ มีการจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1950 แล้ว แต่เพิ่งจะมาขยายขนาดและจำนวนอย่างคึกคักในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จากทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่เพิ่มพูนขึ้นในประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ของเอเชีย ตลอดจนประเทศผู้ผลิตน้ำมัน
ปัจจุบัน กองทุนเหล่านี้ควบคุมสินทรัพย์รวมกัน 2-3 ล้านล้านดอลลาร์ และคาดว่าตัวเลขน่าจะเพิ่มเป็น 10 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2012
อย่างไรก็ดี ข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์และกลยุทธ์การลงทุนของกองทุนเหล่านี้ไม่เป็นที่เปิดเผยมากนัก ทำให้หลายประเทศที่เป็นเป้าหมายการลงทุน เช่น สหรัฐฯ กังวลว่ากองทุนความมั่งคั่งภาครัฐอาจมีพลังมากพอที่จะทำให้ตลาดโลกปั่นป่วน
บางประเทศเป้าหมายยังวิตกกับความมั่นคงแห่งชาติ หากกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐสามารถเข้าถึงข้อมูลอ่อนไหวในภาคอุตสาหกรรมสำคัญๆ ของตน กระนั้น ไอเอ็มเอฟยืนยันว่าไม่มีหลักฐานชัดเจนที่สนับสนุนความวิตกกังวลเหล่านี้
นอกจากนั้น ระหว่างที่เกิดวิกฤตการเงินปัจจุบันที่เริ่มต้นจากตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ กองทุนความมั่งคั่งภาครัฐยังแสดงบทบาทในการเข้าไปช่วยเหลือฟื้นเสถียรภาพในตลาด ด้วยการลงทุนนับพันล้านดอลลาร์ในธนาคารสำคัญๆ ของตะวันตกที่ประสบปัญหาสภาพคล่องและฐานะงบดุลบัญชี
ในทางตรงข้าม กองทุนเหล่านี้ก็กำลังรู้สึกเป็นห่วงเกี่ยวกับกระแสลัทธิกีดกันการค้า ซึ่งจะขัดขวางการไหลเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศ